อย่างที่หลายๆ ท่านที่เป็นพุทธศาสนิกชนอาจทราบแล้วว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือหนทางอันมาซึ่งบุญกุศลนั้นมีสามทาง คือการทำทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนา ซึ่งตามที่ จขกท. เข้าใจ สำหรับคฤหัสถ์ในสมัยก่อนนั้นมักจะสร้างบุญด้วยการทำทานและรักษาศีลเป็นหลัก ส่วนการเจริญจิตภาวนามักเป็นกิจที่บรรพชิต พระภิกษุและสามเณรที่ปฏิบัติอยู่ตลอด และที่คฤหัสถ์บางส่วนที่ปวารณาตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาปฏิบัติโดยตลอด หรืออย่างน้อยในวันอุโบสถ
เช่นนี้เลยอยากทราบครับว่า กระแสการปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนาอย่างแพร่หลายในหมู่คฤหัสถ์ไทยเริ่มตั้งแต่ประมาณช่วงใด เคยได้ยินมาประมาณว่ากระแสการปฏิบัติกรรมฐานนั้นมาจากทางพม่า ไม่แน่ใจว่าเข้ามาในสยามประมาณช่วงใด ถ้าให้เดา คหสต. ว่าอาจจะช่วงประมาณทศวรรษที่ 2500 ต้นๆ หรือทศวรรษที่ 2490 เท่าที่ดูจากวิดีโอบันทึกการสอนนั่งสมาธิของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงปู่สด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เคยได้ยินมาอีกว่า ในช่วงประมาณทศวรรษที่ 2520 ได้มีการเริ่มกระแสการปฏิบัติธรรมแบบสำนักปฏิบัติธรรมหลายๆ สำนักเริ่มดำเนินการโดยคฤหัสถ์ ไม่จำกัดแต่ที่ดำเนินการโดยบรรพชิตเช่นในอดีต ส่วนนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้างครับ
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
กระแสการปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนาอย่างแพร่หลายในหมู่คฤหัสถ์ไทยเริ่มตั้งแต่ประมาณช่วงใด
เช่นนี้เลยอยากทราบครับว่า กระแสการปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนาอย่างแพร่หลายในหมู่คฤหัสถ์ไทยเริ่มตั้งแต่ประมาณช่วงใด เคยได้ยินมาประมาณว่ากระแสการปฏิบัติกรรมฐานนั้นมาจากทางพม่า ไม่แน่ใจว่าเข้ามาในสยามประมาณช่วงใด ถ้าให้เดา คหสต. ว่าอาจจะช่วงประมาณทศวรรษที่ 2500 ต้นๆ หรือทศวรรษที่ 2490 เท่าที่ดูจากวิดีโอบันทึกการสอนนั่งสมาธิของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงปู่สด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เคยได้ยินมาอีกว่า ในช่วงประมาณทศวรรษที่ 2520 ได้มีการเริ่มกระแสการปฏิบัติธรรมแบบสำนักปฏิบัติธรรมหลายๆ สำนักเริ่มดำเนินการโดยคฤหัสถ์ ไม่จำกัดแต่ที่ดำเนินการโดยบรรพชิตเช่นในอดีต ส่วนนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้างครับ
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ