คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1. ประเด็นค่าเสียหายที่ขับรถชนกำแพง
นายจ้างสามารถหักค่าจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
และการยินยอมที่ว่านี้ นายจ้างต้องเป็นฝ่ายทำหนังสือให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อ
ตามมาตรา 76 (4) ประกอบมาตรา 77
ถ้านายจ้างหักเองโดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม = ทำไม่ได้
และการหักค่าจ้างจะต้องไม่เกิน 1/5 ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม
2. ประเด็นค่าจ้างวันละ 250 บาท ซึ่งถ้าดูผิวเผินแค่นี้ ก็ถือว่าน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
(และไม่ทราบว่าคุณทำงานอยู่ในท้องที่จังหวัดอะไร เพราะแต่ละจังหวัดใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่เท่ากัน)
แต่คุณบอกว่ามี “คอมมิสชัน” ซึ่งต้องพิจาณราว่าคอมมิสชันเป็นเงินที่ตอบแทนการทำงานหรือมีสภาพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถ้าเป็นค่าจ้าง เมื่อรวมกับวันละ 250 บาท แล้วได้สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ถือว่าไม่ผิด
3. ไม่มีประกันสังคม ร้องเรียนไปที่สำนักงานประกันสังคมเพื่อตรวจสอบ
นายจ้างสามารถหักค่าจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
และการยินยอมที่ว่านี้ นายจ้างต้องเป็นฝ่ายทำหนังสือให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อ
ตามมาตรา 76 (4) ประกอบมาตรา 77
ถ้านายจ้างหักเองโดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม = ทำไม่ได้
และการหักค่าจ้างจะต้องไม่เกิน 1/5 ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม
2. ประเด็นค่าจ้างวันละ 250 บาท ซึ่งถ้าดูผิวเผินแค่นี้ ก็ถือว่าน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
(และไม่ทราบว่าคุณทำงานอยู่ในท้องที่จังหวัดอะไร เพราะแต่ละจังหวัดใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่เท่ากัน)
แต่คุณบอกว่ามี “คอมมิสชัน” ซึ่งต้องพิจาณราว่าคอมมิสชันเป็นเงินที่ตอบแทนการทำงานหรือมีสภาพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถ้าเป็นค่าจ้าง เมื่อรวมกับวันละ 250 บาท แล้วได้สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ถือว่าไม่ผิด
3. ไม่มีประกันสังคม ร้องเรียนไปที่สำนักงานประกันสังคมเพื่อตรวจสอบ
แสดงความคิดเห็น
โรงงานมีพนักงาน 13-14 แต่ไม่มีประกันสังคมค่าแรงขั้นต่ำแค่ 250 รวมค่าคอมแล้วประมาณ 3ร้อยกว่าบาท ไม่มีประกันรถยนต์