กรมควบคุมโรคแจงเหตุเด็ก 2 ขวบเสียชีวิตไม่ใช่ลองโควิด แต่อาจว่าเป็นภาวะ MIS-C คือการอักเสบตามอวัยวะทั่วร่างกาย สังเกตได้ยาก
วันที่ 25 ก.พ. 2565
จากกรณีเพจอยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 3 เผยแพร่เรื่องราวของแม่ที่ต้องสูญเสียลูกชายวัย 2 ขวบหลังมีไข้สูง อาเจียน พาไปโรงพยาบาลตามสิทธิและถูกย้ายโดยไม่แจ้ง ก่อนอาการทรุดและเสียชีวิตในเวลาต่อมา แพทย์วินิจฉัยเป็นลองโควิด (Long Covid)
ล่าสุด นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การเสียชีวิตของเด็กชายวัย 2 ขวบไม่ใช่ลองโควิด แต่เป็นภาวะมิสซี หรือ MIS-C (multisystem inflammatory syndrome of children) มากกว่า
อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า ลองโควิดกับมิสซี ต่างกัน ลองโควิดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากหายป่วยโควิด เป็นอาการที่หลงเหลืออยู่จะทำให้มีอาการอ่อนเพลียพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมิสซีเป็นภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไตอักเสบ เส้นเลือด สมอง และไม่ได้เกิดจากโควิดเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การป้องกันภาวะมิสซีคือให้เด็กรับวัคซีน ส่วนสัญญาณของมิสซีไม่สามารถบอกได้จากอาการไข้ เพราะส่วนใหญ่ไข้มักเป็นอาการพื้นฐาน แต่ต้องดูประวัติการป่วยของเด็กด้วยและภาวะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกรายดังนั้นเด็กที่หายป่วยแล้ว ยังต้องติดตามอาการ หรือหากไม่แน่ใจก็ควรรีบปรึกษาแพทย์
ด้านนพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า กลุ่มอาการนี้เริ่มมีการรายงานครั้งแรกเมื่อเดือนเม.ย. 2563 ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นมีรายงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อายุโดยเฉลี่ย 8-10 ปี อุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 0.03 ของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิดทั้งหมด เด็กมักจะมาด้วยอาการไข้สูง ผื่น ปากแดง ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต อาเจียน ถ่ายเหลว บางรายมีหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ และมีภาวะช็อคจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ผู้ป่วยเด็กมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเนื่องจากภาวะช็อค ภาวะนี้มีอันตรายถึงชีวิตได้
ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 สามารถรักษาด้วยการให้อิมมูโนกลอบูลินและสเตียรอยด์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาดี ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีพบผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะนี้จำนวน 15 คน ซึ่งยังไม่พบผู้เสียชีวิต แต่ยังต้องติดตามการรักษาต่อเนื่องโดยพบว่าร้อยละ 7-14 ยังมีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังมีโครงการตรวจติดตามผู้ป่วยเด็กติดเชื้อโควิดที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นระยะๆ จากการติดตามในทุกระบบของร่างกายยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและสถาบันฯ ยังคงติดตามดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง
https://workpointtoday.com/mis-c-2/
กรมควบคุมโรคแจงเหตุเด็ก 2 ขวบเสียชีวิตไม่ใช่ลองโควิด แต่อาจว่าเป็นภาวะ MIS-C คือการอักเสบตามอวัยวะทั่วร่างกาย สังเกตได้ย
วันที่ 25 ก.พ. 2565
จากกรณีเพจอยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 3 เผยแพร่เรื่องราวของแม่ที่ต้องสูญเสียลูกชายวัย 2 ขวบหลังมีไข้สูง อาเจียน พาไปโรงพยาบาลตามสิทธิและถูกย้ายโดยไม่แจ้ง ก่อนอาการทรุดและเสียชีวิตในเวลาต่อมา แพทย์วินิจฉัยเป็นลองโควิด (Long Covid)
ล่าสุด นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การเสียชีวิตของเด็กชายวัย 2 ขวบไม่ใช่ลองโควิด แต่เป็นภาวะมิสซี หรือ MIS-C (multisystem inflammatory syndrome of children) มากกว่า
อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า ลองโควิดกับมิสซี ต่างกัน ลองโควิดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากหายป่วยโควิด เป็นอาการที่หลงเหลืออยู่จะทำให้มีอาการอ่อนเพลียพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมิสซีเป็นภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไตอักเสบ เส้นเลือด สมอง และไม่ได้เกิดจากโควิดเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การป้องกันภาวะมิสซีคือให้เด็กรับวัคซีน ส่วนสัญญาณของมิสซีไม่สามารถบอกได้จากอาการไข้ เพราะส่วนใหญ่ไข้มักเป็นอาการพื้นฐาน แต่ต้องดูประวัติการป่วยของเด็กด้วยและภาวะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกรายดังนั้นเด็กที่หายป่วยแล้ว ยังต้องติดตามอาการ หรือหากไม่แน่ใจก็ควรรีบปรึกษาแพทย์
ด้านนพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า กลุ่มอาการนี้เริ่มมีการรายงานครั้งแรกเมื่อเดือนเม.ย. 2563 ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นมีรายงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อายุโดยเฉลี่ย 8-10 ปี อุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 0.03 ของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิดทั้งหมด เด็กมักจะมาด้วยอาการไข้สูง ผื่น ปากแดง ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต อาเจียน ถ่ายเหลว บางรายมีหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ และมีภาวะช็อคจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ผู้ป่วยเด็กมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเนื่องจากภาวะช็อค ภาวะนี้มีอันตรายถึงชีวิตได้
ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 สามารถรักษาด้วยการให้อิมมูโนกลอบูลินและสเตียรอยด์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาดี ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีพบผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะนี้จำนวน 15 คน ซึ่งยังไม่พบผู้เสียชีวิต แต่ยังต้องติดตามการรักษาต่อเนื่องโดยพบว่าร้อยละ 7-14 ยังมีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังมีโครงการตรวจติดตามผู้ป่วยเด็กติดเชื้อโควิดที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นระยะๆ จากการติดตามในทุกระบบของร่างกายยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและสถาบันฯ ยังคงติดตามดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง
https://workpointtoday.com/mis-c-2/