ผมเชื่อว่าหลายต่อหลายครั้งที่เดินทางผ่านไปมาบนถนนรอบคูเมืองในเชียงใหม่
เราจะสังเกตว่ามีวัดเชียงยืนที่มีพระเจ้าทันใจองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่
และมีถนนแยกมุ่งตรงไปทางสนามกีฬาฯ จะมีอุโบสถแปดเหลี่ยมโบราณตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ใกล้ๆ ทางเข้าโรงเรียน
ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตของวัดเชียงยืน
ภายในอุโบสถแปดเหลี่ยมนี้ ปกติแต่เดิมที่ผ่านมานั้น ไม่เปิดใช้มานานมากครับ
วันนี้ได้มีโอกาสเข้าชมภายใน รู้สึกตื่นตาตื่นใจมากๆ ครับ
แต่เดิมภายในอุโบสถแปดเหลี่ยมนี้ จะมีเพียงพระประธานองค์เดียวเท่านั้น
แต่ด้วยสาเหตุแห่งการถวายพระแก้วมรกตในเครื่องทรงสามฤดู ทำให้ได้มีโอกาสเข้าไปชมภายในครับ
สัตตภัณฑ์นี้ย้ายลงมาเพื่อประกอบพิธีในงานนี้ ซึ่งปกติจะประดิษฐานบนวิหารวัดเชียงยืน
เพดานเป็นการตีไม้ฝาในรูปทรงแปดเหลี่ยมเล่นกัน ทำให้ดูเข้ากันกับรูปทรงอุโบสถ ประกอบกับสีฟ้า ดูเด่นมากๆ กลางอุโบสถหลังนี้
บานหน้าต่าง ยังคงรูปแบบโบราณ ด้วยการใช้กลอนไม้แบบสลัก
เท่าที่ได้พูดคุยกับพระสงฆ์ที่เป็นพระลูกวัด แต่ดูแลพระที่พรรษาน้อยกว่า ทราบว่า
ในโอกาสต่อๆ ไป อุโบสถแปดเหลี่ยมนี้ จะเปิดใช้ในโอกาสวันพระสำคัญ และ/หรือ วันพระ ๑๕ ค่ำ
ทำให้รู้สึกปลาบปลื้มที่จะได้เห็นการบำรุงรักษาและใช้งานสถานที่นี้
แล้วสถานที่นี้มีอะไรที่น่าสนใจ เรามาติดตามดูกันครับ
อุโบสถแปดเหลี่ยมนี้ ตามประวัติทราบว่าถูกสร้างโดยหลวงโยฯ หรือหม่องปันโย่ว ซึ่งผมได้กราบเรียนเสนอแนะให้ทาง
พระสงฆ์ที่ได้พูดคุยด้วยรับทราบในวันที่เข้าไปถ่ายภาพ เพราะผมก็สนใจและติดตามงานของหลวงโยฯ ท่านเช่นกัน
ที่วัดเชียงยืน เชียงใหม่ ที่ลูกหลานทราบว่าหลวงโยฯ เคยไปสร้างอุโบสถถวายวัด
พบภาพเก่าอุโบสถวัดเชียงยืนที่บ้านนางแสงเพ็ชร กระแสชัย และทางลูกหลานได้นำไปถวายวัด
โขงวัดเชียงยืน เชียงใหม่ ที่ยังปรากฏดอกสัญลักษณ์ดอกไม้หลายกลีบของหลวงโยฯ
โขงวัดอุปคุตพม่าเหมือนโขงหน้าอุโบสถวัดเชียงยืน ภาพวัดอุปคุตพม่าจากคุณบุญเสริม สาตราภัย
จะเห็นความเหมือนของโขงหน้าอุโบสถว่าเหมือนโขงที่กำแพงวัดอุปคุตพม่าที่ถูกทุบทิ้งไปตั้งแต่ปี ๒๔๙๖
งานปูนปั้นที่ประดับโดยรอบอุโบสถแปดเหลี่ยมวัดเชียงยืน จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายๆ หรือใกล้เคียง
กับอีกหลายๆ วัดที่หลวงโยฯ ได้สร้างไว้ในเชียงใหม่
ลวดลายไม้ฉลุเชิงชายที่คงความเป็นเอกลักษณ์ งานสร้างของหลวงโยฯ ได้ถูกถ่ายทอด เพื่อตรึงตราแก่ลูกหลานได้รับทราบ
ว่าท่านได้ทุ่มเทกับพระพุทธศาสนามากมาย และส่งต่อเจตนารมย์มายังรุ่นลูกหลาน
เรื่องราวของหลวงโยฯ ยังมีอีกมากมาย แต่สำหรับอุโบสถแปดเหลี่ยม วัดเชียงยืน นี้
ก็ขอบันทึกไว้เป็นสังเขปเท่านี้ก่อนครับ
เชียงใหม่<UNSEEN>นำชมอุโบสถแปดเหลี่ยมวัดเชียงยืน สถานที่ที่เปิดให้เข้าชมได้น้อยครั้งมากๆ
ผมเชื่อว่าหลายต่อหลายครั้งที่เดินทางผ่านไปมาบนถนนรอบคูเมืองในเชียงใหม่
เราจะสังเกตว่ามีวัดเชียงยืนที่มีพระเจ้าทันใจองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่
และมีถนนแยกมุ่งตรงไปทางสนามกีฬาฯ จะมีอุโบสถแปดเหลี่ยมโบราณตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ใกล้ๆ ทางเข้าโรงเรียน
ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตของวัดเชียงยืน
ภายในอุโบสถแปดเหลี่ยมนี้ ปกติแต่เดิมที่ผ่านมานั้น ไม่เปิดใช้มานานมากครับ
วันนี้ได้มีโอกาสเข้าชมภายใน รู้สึกตื่นตาตื่นใจมากๆ ครับ
แต่เดิมภายในอุโบสถแปดเหลี่ยมนี้ จะมีเพียงพระประธานองค์เดียวเท่านั้น
แต่ด้วยสาเหตุแห่งการถวายพระแก้วมรกตในเครื่องทรงสามฤดู ทำให้ได้มีโอกาสเข้าไปชมภายในครับ
สัตตภัณฑ์นี้ย้ายลงมาเพื่อประกอบพิธีในงานนี้ ซึ่งปกติจะประดิษฐานบนวิหารวัดเชียงยืน
เพดานเป็นการตีไม้ฝาในรูปทรงแปดเหลี่ยมเล่นกัน ทำให้ดูเข้ากันกับรูปทรงอุโบสถ ประกอบกับสีฟ้า ดูเด่นมากๆ กลางอุโบสถหลังนี้
บานหน้าต่าง ยังคงรูปแบบโบราณ ด้วยการใช้กลอนไม้แบบสลัก
เท่าที่ได้พูดคุยกับพระสงฆ์ที่เป็นพระลูกวัด แต่ดูแลพระที่พรรษาน้อยกว่า ทราบว่า
ในโอกาสต่อๆ ไป อุโบสถแปดเหลี่ยมนี้ จะเปิดใช้ในโอกาสวันพระสำคัญ และ/หรือ วันพระ ๑๕ ค่ำ
ทำให้รู้สึกปลาบปลื้มที่จะได้เห็นการบำรุงรักษาและใช้งานสถานที่นี้
แล้วสถานที่นี้มีอะไรที่น่าสนใจ เรามาติดตามดูกันครับ
อุโบสถแปดเหลี่ยมนี้ ตามประวัติทราบว่าถูกสร้างโดยหลวงโยฯ หรือหม่องปันโย่ว ซึ่งผมได้กราบเรียนเสนอแนะให้ทาง
พระสงฆ์ที่ได้พูดคุยด้วยรับทราบในวันที่เข้าไปถ่ายภาพ เพราะผมก็สนใจและติดตามงานของหลวงโยฯ ท่านเช่นกัน
ที่วัดเชียงยืน เชียงใหม่ ที่ลูกหลานทราบว่าหลวงโยฯ เคยไปสร้างอุโบสถถวายวัด
พบภาพเก่าอุโบสถวัดเชียงยืนที่บ้านนางแสงเพ็ชร กระแสชัย และทางลูกหลานได้นำไปถวายวัด
โขงวัดเชียงยืน เชียงใหม่ ที่ยังปรากฏดอกสัญลักษณ์ดอกไม้หลายกลีบของหลวงโยฯ
โขงวัดอุปคุตพม่าเหมือนโขงหน้าอุโบสถวัดเชียงยืน ภาพวัดอุปคุตพม่าจากคุณบุญเสริม สาตราภัย
จะเห็นความเหมือนของโขงหน้าอุโบสถว่าเหมือนโขงที่กำแพงวัดอุปคุตพม่าที่ถูกทุบทิ้งไปตั้งแต่ปี ๒๔๙๖
งานปูนปั้นที่ประดับโดยรอบอุโบสถแปดเหลี่ยมวัดเชียงยืน จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายๆ หรือใกล้เคียง
กับอีกหลายๆ วัดที่หลวงโยฯ ได้สร้างไว้ในเชียงใหม่
ลวดลายไม้ฉลุเชิงชายที่คงความเป็นเอกลักษณ์ งานสร้างของหลวงโยฯ ได้ถูกถ่ายทอด เพื่อตรึงตราแก่ลูกหลานได้รับทราบ
ว่าท่านได้ทุ่มเทกับพระพุทธศาสนามากมาย และส่งต่อเจตนารมย์มายังรุ่นลูกหลาน
เรื่องราวของหลวงโยฯ ยังมีอีกมากมาย แต่สำหรับอุโบสถแปดเหลี่ยม วัดเชียงยืน นี้
ก็ขอบันทึกไว้เป็นสังเขปเท่านี้ก่อนครับ