กรณีศึกษาการควบรวมกิจการในต่างประเทศ ที่ไทยเราเองไม่ใช่ประเทศแรกหรือประเทศเดียวที่มีการควบรวมกิจการภายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาการควบรวมกิจการภายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต่างก็เป็นทิศทางที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
ทั้งในทวีปอเมริกาที่มีการควบรวมกิจการระหว่าง Sprint กับ T-Mobile เมื่อปี 2563 ส่งผลให้เหลือผู้ให้บริการ
เพียง 3 รายใหญ่ ส่วนในทวีปเอเชียเองก็มีการควบรวมกิจการในมาเลเซียระหว่าง Celcom Axiata กับ Digi.Com
เมื่อปี 2564 และระหว่าง Vodafone กับ Idea Cellular ในอินเดีย เมื่อปี 2560 ส่งผลให้เหลือผู้ให้บริการเพียง
4 รายใหญ่เช่นเดียวกัน
แหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า การควบรวมกิจการ หรือ Mergers and Acquisitions (M&A) เป็นหนึ่งในเทรนด์และบันไดขั้นแรก
จัดเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกจนเป็นกระแสตลอดปี 2564 ซึ่งมีตั้งแต่การควบรวมกิจการแบบยุบรวมและมีการตั้งบริษัทใหม่เกิดขึ้น การควบรวมแบบการเข้าซื้อกิจการของอีกบริษัทเพื่อได้สิทธิ์เข้าไปประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิ์ในการออกเสียง การควบรวมแบบซื้อสินทรัพย์หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมดของกิจการ เป็นต้น
ตัวอย่าง
1.TOT รวม CAT - NT เพื่อให้บริการโดยเฉพาะเรื่อง 5G และดาวเทียม
ต่อยอดสู่การนำดิจิทัลมาให้บริการภาคการสาธารณสุข การเกษตร และคมนาคม เพื่อปรับตัวจากการที่ธุรกิจโทรคมนาคมแบบดั้งเดิมถูกดิสรัปต์
รวมถึงต่อยอดสู่การลงทุน ทั้งเครือข่าย สายสัญญาณ ดาวเทียม ที่จะนำมาซึ่งรายได้อีกนับไม่ถ้น
2.TRUE รวม DTAC = tech company
ที่ผมเคยเขียนจากข่าวไว้ อันนี้น่าติดตามทั้งการลงทุน รวมหุ้น และการพัฒนาต่อยอดกับการร่วมกิจการเดิม เพิ่มเติมคือดันให้เป็น Tech Company โดยจะเป็นพาร์ทเนอร์ในการสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัลและพัฒนาระบบนิเวศเทคโนโลยีของประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้ง ด้าน AI, Cloud, IoT, Telco, SpaceTech ฯลฯ ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่จะเกิดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแล้ว ยังช่วยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยไปสู่การเป็นฮับในภูมิภาคและมุ่งสู่ระดับโลก
3.ธนาคารธนชาต รวม ธนาคารทหารไทย
ใช้ชื่อย่อว่า ttb นอกจากนี้มีช่วยเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของธนาคารใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แข่งขันได้สูงขึ้นกับธนาคารอื่น ๆ ในระดับภูมิภาค การควบรวมสองธนาคารให้มีกิจการขนาดใหญ่ขึ้นส่วนหนึ่งเพื่อรองรับสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่ได้ ส่งผลดีต่อการช่วยส่งเสริมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในประเทศ
หรือจะเป็นการเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF ถือเป็นการลงทุนข้ามธุรกิจ การควบรวมแบบการเข้าซื้อกิจการและได้รับหุ้นเป็นส่วนแบ่งบางส่วนหรือทั้งหมด ทำให้บริษัทนั้น ๆสามารถเข้าไปร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิ์ในการออกเสียง หรือมีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ
อันนี้ก็น่าจับตามองอย่างยิ่ง จากธุรกิจพลังงาน มาสู่ tech ,การสื่อสาร ยังไม่รวบกับธุรกิจด้านการเงิน ที่มีไปจับมือกับ SCBX แล้วด้วย
เป็นการข้ามธุรกิจที่ไม่ใช่แค่ทำธุรกิจพลังงานเพียงอย่างเดียว มองการไกล ทุกรอบด้าน ค่อยๆจับเล็ก ผสมน้อย ในหลายๆธุรกิจ สู่ธุรกิจมูลค่าสูงในตลาด
สมกับฉายาเจ้าสัวพลังงาน ผู้กว้างขวาง จริงๆ
อย่างเมื่อปีที่แล้ว GULF เข้าซื้อหุ้น INTUCH 42.25% คิดเป็นมูลค่าลงทุน 4.86 หมื่นล้านบาท
หรือบิ๊กดีล SCBX ซื้อหุ้นบริษัท บิทคับออนไลน์ จำกัด ในสัดส่วน 51% คิดเป็นมูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท ขยับเข้าสู่ตลาดสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) อย่างเต็มตัว
การควบรวมธุรกิจและเข้าซื้อกิจการที่เกิดขึ้นทั่วโลกเหล่านี้จะมีมากขึ้นในหลายกลุ่มธุรกิจทั้งการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และการควบรวมแบบข้ามกลุ่มธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ เติบโตไปต่อได้ท่ามกลางยุคที่ธุรกิจทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่บนความท้าทายครั้งใหญ่หลังวิกฤตโควิด-19
ขอบคุณข่าวจาก :
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000018560
แนวโน้มธุรกิจ ควบรวมกิจการ สู่การจับมือสร้างเทคโนโลยี-นวัตกรรม สร้างสิ่งใหม่!!
ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาการควบรวมกิจการภายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต่างก็เป็นทิศทางที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
ทั้งในทวีปอเมริกาที่มีการควบรวมกิจการระหว่าง Sprint กับ T-Mobile เมื่อปี 2563 ส่งผลให้เหลือผู้ให้บริการ
เพียง 3 รายใหญ่ ส่วนในทวีปเอเชียเองก็มีการควบรวมกิจการในมาเลเซียระหว่าง Celcom Axiata กับ Digi.Com
เมื่อปี 2564 และระหว่าง Vodafone กับ Idea Cellular ในอินเดีย เมื่อปี 2560 ส่งผลให้เหลือผู้ให้บริการเพียง
4 รายใหญ่เช่นเดียวกัน
จัดเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกจนเป็นกระแสตลอดปี 2564 ซึ่งมีตั้งแต่การควบรวมกิจการแบบยุบรวมและมีการตั้งบริษัทใหม่เกิดขึ้น การควบรวมแบบการเข้าซื้อกิจการของอีกบริษัทเพื่อได้สิทธิ์เข้าไปประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิ์ในการออกเสียง การควบรวมแบบซื้อสินทรัพย์หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมดของกิจการ เป็นต้น
1.TOT รวม CAT - NT เพื่อให้บริการโดยเฉพาะเรื่อง 5G และดาวเทียม
ต่อยอดสู่การนำดิจิทัลมาให้บริการภาคการสาธารณสุข การเกษตร และคมนาคม เพื่อปรับตัวจากการที่ธุรกิจโทรคมนาคมแบบดั้งเดิมถูกดิสรัปต์
รวมถึงต่อยอดสู่การลงทุน ทั้งเครือข่าย สายสัญญาณ ดาวเทียม ที่จะนำมาซึ่งรายได้อีกนับไม่ถ้น
2.TRUE รวม DTAC = tech company
ที่ผมเคยเขียนจากข่าวไว้ อันนี้น่าติดตามทั้งการลงทุน รวมหุ้น และการพัฒนาต่อยอดกับการร่วมกิจการเดิม เพิ่มเติมคือดันให้เป็น Tech Company โดยจะเป็นพาร์ทเนอร์ในการสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัลและพัฒนาระบบนิเวศเทคโนโลยีของประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้ง ด้าน AI, Cloud, IoT, Telco, SpaceTech ฯลฯ ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่จะเกิดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแล้ว ยังช่วยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยไปสู่การเป็นฮับในภูมิภาคและมุ่งสู่ระดับโลก
3.ธนาคารธนชาต รวม ธนาคารทหารไทย
ใช้ชื่อย่อว่า ttb นอกจากนี้มีช่วยเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของธนาคารใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แข่งขันได้สูงขึ้นกับธนาคารอื่น ๆ ในระดับภูมิภาค การควบรวมสองธนาคารให้มีกิจการขนาดใหญ่ขึ้นส่วนหนึ่งเพื่อรองรับสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่ได้ ส่งผลดีต่อการช่วยส่งเสริมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในประเทศ
หรือจะเป็นการเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF ถือเป็นการลงทุนข้ามธุรกิจ การควบรวมแบบการเข้าซื้อกิจการและได้รับหุ้นเป็นส่วนแบ่งบางส่วนหรือทั้งหมด ทำให้บริษัทนั้น ๆสามารถเข้าไปร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิ์ในการออกเสียง หรือมีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ
อันนี้ก็น่าจับตามองอย่างยิ่ง จากธุรกิจพลังงาน มาสู่ tech ,การสื่อสาร ยังไม่รวบกับธุรกิจด้านการเงิน ที่มีไปจับมือกับ SCBX แล้วด้วย
เป็นการข้ามธุรกิจที่ไม่ใช่แค่ทำธุรกิจพลังงานเพียงอย่างเดียว มองการไกล ทุกรอบด้าน ค่อยๆจับเล็ก ผสมน้อย ในหลายๆธุรกิจ สู่ธุรกิจมูลค่าสูงในตลาด
สมกับฉายาเจ้าสัวพลังงาน ผู้กว้างขวาง จริงๆ
อย่างเมื่อปีที่แล้ว GULF เข้าซื้อหุ้น INTUCH 42.25% คิดเป็นมูลค่าลงทุน 4.86 หมื่นล้านบาท
หรือบิ๊กดีล SCBX ซื้อหุ้นบริษัท บิทคับออนไลน์ จำกัด ในสัดส่วน 51% คิดเป็นมูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท ขยับเข้าสู่ตลาดสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) อย่างเต็มตัว
การควบรวมธุรกิจและเข้าซื้อกิจการที่เกิดขึ้นทั่วโลกเหล่านี้จะมีมากขึ้นในหลายกลุ่มธุรกิจทั้งการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และการควบรวมแบบข้ามกลุ่มธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ เติบโตไปต่อได้ท่ามกลางยุคที่ธุรกิจทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่บนความท้าทายครั้งใหญ่หลังวิกฤตโควิด-19
ขอบคุณข่าวจาก : https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000018560