'เส้นด้าย' เจออีกภาพหดหู่ ลุงวิกฤต ออกซิเจนต่ำ ติดโควิดไม่มีที่รักษา ต้องมานอนรอข้างทาง
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6901861
‘เส้นด้าย’ เจออีกภาพหดหู่ ลุงวิกฤต ออกซิเจนต่ำ ติดโควิดไม่มีที่รักษา ต้องมานอนรอข้างทาง พยายามอยู่นานกว่าจะได้ที่รักษา
วันที่ 22 ก.พ.65 เฟซบุ๊กเพจ
เส้นด้าย – Zendai กลุ่มอาสาสมัครที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องการเตียงเพื่อเข้ารับการรักษาตัวโรงพยาบาล โพสต์ข้อความระบุว่า
สี่ทุ่มตอนนี้ เส้นด้ายกับ ท่านหนึ่งตรวจโควิดจากรพ.แห่งหนึ่งผลออกมาติดเชื้อ ไร้ที่รักษาบ้านก็ไม่มีจึงมานอนข้างทาง
เราได้รับแจ้งจึงเข้าตรวจสอบพบอาการอ่อนเพลีย ออกซิเจนต่ำเพียง 88 ซึ่งถือว่าวิกฤติ ตอนนี้คุณลุงยังอยู่ที่เดิม มากกว่า 2 ชั่วโมง ยังหาโรงพยาบาลปลายทางรักษาไม่ได้ แม้พยายามติดตามหลายช่องทางแล้ว
ตอนนี้หน่วยแพทย์ฉุกเฉินช่วยเหลืออยู่บนรถพยาบาลด้วยการขยายหลอดลมและออกซิเจน เบื้องต้นแล้ว และรอหาโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อเข้ารักษา
ต่อมา กลุ่มเส้นด้าย รายงานความคืบหน้า ระบุว่า
ตอนนี้นำส่งคุณลุงเข้ารักษาภายในโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้วครับ
https://www.facebook.com/zendai.org/posts/279419107640443
https://www.facebook.com/zendai.org/posts/279419107640443?comment_id=279464227635931
‘ไอติม’ ชี้รัฐไทยถึงจุดเสื่อมสุดสุด ค้ามนุษย์โรฮีนจา ผ่านมา 6 ปี พูดวันนี้ยังสะเทือนหนัก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3195699
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ กลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อเขียนเรื่อง [
ผู้อพยพและการค้ามนุษย์ กับ 4 ประเด็นสำคัญต่ออนาคต ] เผยแพร่ผ่านเพจส่วนตัว โดยมีเนื้อหาดังนี้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการอภิปรายในสภาของคุณรังสิมันต์ โรม ต่อกรณีการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาเมื่อปี 2558 และการลี้ภัยของ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ทำให้สังคมตระหนักถึง และตั้งคำถามต่อความไม่ชอบมาพากลของโครงสร้างและการดำเนินการของรัฐที่ผ่านมา ซึ่งจำเป็นต้องนำมาสู่ทั้งคำชี้แจงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาความจริงและความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย
แต่หากมองไปไกลกว่าวิกฤตและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ประเด็นเรื่องการอพยพและการลี้ภัย-ไม่ว่าโดยกลุ่มคนเชื้อชาติใด-จะเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นในอนาคต และเป็นประเด็นที่รัฐต้องใส่ใจและเตรียมการรับมือในเชิงรุก เพราะมีความเชื่อมโยงกับปัญหา 4 ประการ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการอภิปรายในสภาของคุณรังสิมันต์ โรม ต่อกรณีการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาเมื่อปี 2558 และการลี้ภัยของ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ทำให้สังคมตระหนักถึง และตั้งคำถามต่อความไม่ชอบมาพากลของโครงสร้างและการดำเนินการของรัฐที่ผ่านมา ซึ่งจำเป็นต้องนำมาสู่ทั้งคำชี้แจงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาความจริงและความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย
แต่หากมองไปไกลกว่าวิกฤตและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ประเด็นเรื่องการอพยพและการลี้ภัย-ไม่ว่าโดยกลุ่มคนเชื้อชาติใด-จะเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นในอนาคต และเป็นประเด็นที่รัฐต้องใส่ใจและเตรียมการรับมือในเชิงรุก เพราะมีความเชื่อมโยงกับปัญหา 4 ประการ
• 1 ปัญหาการทุจริตและระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ ที่มักฉวยโอกาสจากกลุ่มเปราะบาง
แทนที่จะได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ชีวิตของผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาหลายร้อยคนกลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐหลายส่วนฉกฉวยไปเป็นโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
เหตุการณ์นี้เป็นอีกครั้งที่เราได้เห็นว่าผู้มีหน้าที่รักษากฎหมายกลับเป็นผู้ละเมิดกฎหมายเสียเอง เมื่อจำเลยหลายคนในคดีค้ามนุษย์โรฮีนจาเป็นข้าราชการตำรวจ-ทหาร แต่ในขณะที่เจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดยังมีความพยายามใช้เส้นสายผ่านระบบอุปถัมภ์เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ที่เปิดโปงการกระทำผิดอย่างตรงไปตรงมากลับต้องดำเนินชีวิตต่อด้วยความกังวลว่า “ค่าของงาน” อาจไม่สามารถเป็นเกราะคุ้มกันให้ตัวเองได้
หากเราไม่แก้ปัญหาเรื่องการทุจริตและระบบอุปถัมภ์อย่างจริงจัง-ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม หรือการส่งต่อวัฒนธรรม “ทำตามนาย” ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างไม่กล้าปฏิเสธคำสั่งที่มิชอบเพราะกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความก้าวหน้าทางอาชีพหรือความปลอดภัยของตนเอง-ก็มีโอกาสสูงที่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยในอนาคตจะยังตกเป็นเหยื่อของการทุจริตเชิงอำนาจแบบนี้ต่อไป โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มคนไร้สัญชาติซึ่งอยู่ในสถานะที่เปราะบางเป็นพิเศษ จนทำให้เจ้าหน้าที่อาจคิดว่ากระทำความผิดต่อพวกเขาได้ง่ายกว่าเพราะเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียนน้อยกว่า
• 2 ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ต้องอยู่เหนือทุกความขัดแย้งและความแตกต่างทางเชื้อชาติ
ในมุมหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงไปของความรู้สึกของคนไทยจำนวนมากต่อกรณีการอพยพของชาวโรฮีนจา เมื่อเทียบกับ 6 ปีที่แล้ว อาจแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวมากขึ้นของคนในประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ที่อยู่เหนือความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือมิติอื่นๆ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง เรายังคงเห็นถึงหลายกรณีที่บางกลุ่มกระทำหรือแสดงความเห็นไปในทางที่สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนบางกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบหรือไม่เห็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนที่เห็นต่างทางการเมือง หรือการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา (เช่น กรณีผู้กำกับโจ้เมื่อไม่นานมานี้)
การร่วมกันสร้างวัฒนธรรมที่ปลูกฝังและยืนยัน-ผ่านทั้งระบบการศึกษาในรั้วโรงเรียน และการอบรมเจ้าหน้าที่รัฐในทุกหน่วยงาน-ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับการคุ้มครอง ไม่ว่าเขาจะเป็นคนเชื้อชาติใด ศาสนาใด หรือมีความเห็นทางการเมืองแบบใด เป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำให้สังคมปลอดภัยสำหรับทุกคน ทำให้ประเทศเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และทำให้เศรษฐกิจถูกปกป้องจากการถูกกีดกันทางการค้า
• 3 ปัญหาความร่วมมือกับต่างประเทศ ที่จำเป็นต่อการแก้วิกฤตระดับนานาชาติ
ปัญหาเรื่องผู้อพยพที่จำเป็นต้องหลบหนีจากความรุนแรงในประเทศต้นทางเพื่อหาความปลอดภัยในประเทศอื่น เป็นตัวอย่างของปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการหาทางออก
ในโลกที่มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น หลายปัญหาที่เราเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบันเป็นปัญหาที่แม้จะมีต้นเหตุจากประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศข้างเคียงจนกลายเป็นวิกฤตระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัย ปัญหาเรื่องฝุ่นหมอกควัน หรือ ปัญหาเรื่องการเข้าไม่ถึงวัคซีนโควิดของชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน
การแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ ทั้งใหญ่ และซับซ้อนเกินกว่ากำลังของประเทศใดประเทศหนึ่งจะแก้ไขได้ด้วยตนเอง แต่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ข้ามพรมแดน จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจที่นิยาม ขอบเขตและความเหมาะสมของหลักการ “ไม่แทรกแซงกิจการภายใน” (Principle of Non-interference) ขององค์กรระดับนานาชาติอย่างอาเซียน ถูกตั้งคำถามมากขึ้นและสมควรต่อการทบทวน เพื่อทำให้กลไกอาเซียนเป็นที่พึ่งพาได้ในการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบระดับภูมิภาค โดยเฉพาะปัญหาที่มีต้นกำเนิดจากการละเมิดหรือละเลยต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศใดประเทศหนึ่ง
• 4 ปัญหาเรื่องสังคมสูงวัย ที่ต้องอาศัยการดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศ
แน่นอนว่าปัญหาเรื่องสังคมสูงวัยเป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยหลายมาตรการ แต่หนึ่งในมาตรการนั้นคงหนีไม่พ้นการเติมแรงงานจากต่างประเทศให้เข้ามาทำงานในไทยเพื่อเพิ่มสัดส่วนคนวัยทำงานในอนาคต
ทว่ามาตรการนี้จะสำเร็จยาก หากเราไม่สามารถทำให้คนต่างประเทศรู้สึกปลอดภัยหรือสบายใจในการใช้ชีวิตในประเทศไทย-นอกเหนือจากประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานแล้ว (เช่น การป้องกันอาชญากรรม การลดมลพิษ) บทเรียนจากการเติบโตของกระแส “ขวาประชานิยม” ในยุโรปที่มีแนวคิดต่อต้านแรงงานต่างประเทศ (ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกระแสความเกลียดชังของคนไทยจำนวนหนึ่งต่อผู้อพยพชาวโรฮีนจาเมื่อปี 2558) ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของรัฐ ในการสร้างความเข้าใจกับสังคม เพื่อลดแนวคิดชาตินิยมสุดโต่ง ที่มีโอกาสรุกล้ำไปสู่การกีดกันหรือเหยียดหยามคนต่างชาติ ไม่ว่าจะเพราะความกังวลเกินความเป็นจริงว่าจะถูกแย่งงาน หรือเพราะอคติทางเชื้อชาติ
หากรัฐไม่สามารถสร้างบรรยากาศที่ทำให้คนในประเทศยอมรับถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาสังคมสูงวัยผ่านการดึงดูดแรงงานต่างชาติ และยอมรับถึงการอยู่ร่วมกันในประเทศของคนหลายเชื้อชาติบนพื้นฐานของสิทธิและสวัสดิการที่เท่ากัน ประเทศมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องเผชิญกับความแตกแยกในสังคม
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยต้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการอพยพและความสัมพันธ์กับปัญหาอื่นๆ ในสังคม เพื่อช่วยกันคิดหาทางแก้ไขในอนาคต
ส่วนปัจจุบัน ผมมองว่าเหตุการณ์นี้กำลังเป็นเครื่องสะท้อนอันน่าหดหู่ ว่าหากการนำความจริงเมื่อ 6 ปีก่อนมาตีแผ่ในสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ ยังสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อสังคมในระดับที่สูงขนาดนี้ได้ แสดงว่าความผิดปกติ และความเสื่อมศรัทธาต่อโครงสร้างและการดำเนินการของรัฐไทย ณ ปัจจุบัน อยู่ในจุดที่ตกต่ำมืดมิดจริงๆ
หรือที่มิตรสหายท่านหนึ่งหยิบยกคำพูดในอดีตที่ว่า “ในช่วงเวลาแห่งการหลอกลวง การพูดความจริงคือการปฏิวัติ” (“In a time of universal deceit, telling the truth is a revolutionary act”)
https://www.facebook.com/paritw/posts/488640742630716
JJNY : 'เส้นด้าย'เจออีกภาพหดหู่│‘ไอติม’ชี้รัฐไทยถึงจุดเสื่อมสุดสุด│ชี้รัสเซียเปิดสงครามลามศก.│ยูเครนยืนกรานไม่ยกดินแดน
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6901861
‘เส้นด้าย’ เจออีกภาพหดหู่ ลุงวิกฤต ออกซิเจนต่ำ ติดโควิดไม่มีที่รักษา ต้องมานอนรอข้างทาง พยายามอยู่นานกว่าจะได้ที่รักษา
วันที่ 22 ก.พ.65 เฟซบุ๊กเพจ เส้นด้าย – Zendai กลุ่มอาสาสมัครที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องการเตียงเพื่อเข้ารับการรักษาตัวโรงพยาบาล โพสต์ข้อความระบุว่า
สี่ทุ่มตอนนี้ เส้นด้ายกับ ท่านหนึ่งตรวจโควิดจากรพ.แห่งหนึ่งผลออกมาติดเชื้อ ไร้ที่รักษาบ้านก็ไม่มีจึงมานอนข้างทาง
เราได้รับแจ้งจึงเข้าตรวจสอบพบอาการอ่อนเพลีย ออกซิเจนต่ำเพียง 88 ซึ่งถือว่าวิกฤติ ตอนนี้คุณลุงยังอยู่ที่เดิม มากกว่า 2 ชั่วโมง ยังหาโรงพยาบาลปลายทางรักษาไม่ได้ แม้พยายามติดตามหลายช่องทางแล้ว
ตอนนี้หน่วยแพทย์ฉุกเฉินช่วยเหลืออยู่บนรถพยาบาลด้วยการขยายหลอดลมและออกซิเจน เบื้องต้นแล้ว และรอหาโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อเข้ารักษา
ต่อมา กลุ่มเส้นด้าย รายงานความคืบหน้า ระบุว่า ตอนนี้นำส่งคุณลุงเข้ารักษาภายในโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้วครับ
https://www.facebook.com/zendai.org/posts/279419107640443
https://www.facebook.com/zendai.org/posts/279419107640443?comment_id=279464227635931
‘ไอติม’ ชี้รัฐไทยถึงจุดเสื่อมสุดสุด ค้ามนุษย์โรฮีนจา ผ่านมา 6 ปี พูดวันนี้ยังสะเทือนหนัก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3195699
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ กลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อเขียนเรื่อง [ ผู้อพยพและการค้ามนุษย์ กับ 4 ประเด็นสำคัญต่ออนาคต ] เผยแพร่ผ่านเพจส่วนตัว โดยมีเนื้อหาดังนี้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการอภิปรายในสภาของคุณรังสิมันต์ โรม ต่อกรณีการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาเมื่อปี 2558 และการลี้ภัยของ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ทำให้สังคมตระหนักถึง และตั้งคำถามต่อความไม่ชอบมาพากลของโครงสร้างและการดำเนินการของรัฐที่ผ่านมา ซึ่งจำเป็นต้องนำมาสู่ทั้งคำชี้แจงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาความจริงและความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย
แต่หากมองไปไกลกว่าวิกฤตและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ประเด็นเรื่องการอพยพและการลี้ภัย-ไม่ว่าโดยกลุ่มคนเชื้อชาติใด-จะเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นในอนาคต และเป็นประเด็นที่รัฐต้องใส่ใจและเตรียมการรับมือในเชิงรุก เพราะมีความเชื่อมโยงกับปัญหา 4 ประการ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการอภิปรายในสภาของคุณรังสิมันต์ โรม ต่อกรณีการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาเมื่อปี 2558 และการลี้ภัยของ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ทำให้สังคมตระหนักถึง และตั้งคำถามต่อความไม่ชอบมาพากลของโครงสร้างและการดำเนินการของรัฐที่ผ่านมา ซึ่งจำเป็นต้องนำมาสู่ทั้งคำชี้แจงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาความจริงและความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย
แต่หากมองไปไกลกว่าวิกฤตและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ประเด็นเรื่องการอพยพและการลี้ภัย-ไม่ว่าโดยกลุ่มคนเชื้อชาติใด-จะเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นในอนาคต และเป็นประเด็นที่รัฐต้องใส่ใจและเตรียมการรับมือในเชิงรุก เพราะมีความเชื่อมโยงกับปัญหา 4 ประการ
• 1 ปัญหาการทุจริตและระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ ที่มักฉวยโอกาสจากกลุ่มเปราะบาง
แทนที่จะได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ชีวิตของผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาหลายร้อยคนกลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐหลายส่วนฉกฉวยไปเป็นโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
เหตุการณ์นี้เป็นอีกครั้งที่เราได้เห็นว่าผู้มีหน้าที่รักษากฎหมายกลับเป็นผู้ละเมิดกฎหมายเสียเอง เมื่อจำเลยหลายคนในคดีค้ามนุษย์โรฮีนจาเป็นข้าราชการตำรวจ-ทหาร แต่ในขณะที่เจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดยังมีความพยายามใช้เส้นสายผ่านระบบอุปถัมภ์เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ที่เปิดโปงการกระทำผิดอย่างตรงไปตรงมากลับต้องดำเนินชีวิตต่อด้วยความกังวลว่า “ค่าของงาน” อาจไม่สามารถเป็นเกราะคุ้มกันให้ตัวเองได้
หากเราไม่แก้ปัญหาเรื่องการทุจริตและระบบอุปถัมภ์อย่างจริงจัง-ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม หรือการส่งต่อวัฒนธรรม “ทำตามนาย” ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างไม่กล้าปฏิเสธคำสั่งที่มิชอบเพราะกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อความก้าวหน้าทางอาชีพหรือความปลอดภัยของตนเอง-ก็มีโอกาสสูงที่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยในอนาคตจะยังตกเป็นเหยื่อของการทุจริตเชิงอำนาจแบบนี้ต่อไป โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มคนไร้สัญชาติซึ่งอยู่ในสถานะที่เปราะบางเป็นพิเศษ จนทำให้เจ้าหน้าที่อาจคิดว่ากระทำความผิดต่อพวกเขาได้ง่ายกว่าเพราะเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียนน้อยกว่า
• 2 ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ต้องอยู่เหนือทุกความขัดแย้งและความแตกต่างทางเชื้อชาติ
ในมุมหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงไปของความรู้สึกของคนไทยจำนวนมากต่อกรณีการอพยพของชาวโรฮีนจา เมื่อเทียบกับ 6 ปีที่แล้ว อาจแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวมากขึ้นของคนในประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ที่อยู่เหนือความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือมิติอื่นๆ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง เรายังคงเห็นถึงหลายกรณีที่บางกลุ่มกระทำหรือแสดงความเห็นไปในทางที่สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนบางกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบหรือไม่เห็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนที่เห็นต่างทางการเมือง หรือการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา (เช่น กรณีผู้กำกับโจ้เมื่อไม่นานมานี้)
การร่วมกันสร้างวัฒนธรรมที่ปลูกฝังและยืนยัน-ผ่านทั้งระบบการศึกษาในรั้วโรงเรียน และการอบรมเจ้าหน้าที่รัฐในทุกหน่วยงาน-ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับการคุ้มครอง ไม่ว่าเขาจะเป็นคนเชื้อชาติใด ศาสนาใด หรือมีความเห็นทางการเมืองแบบใด เป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำให้สังคมปลอดภัยสำหรับทุกคน ทำให้ประเทศเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และทำให้เศรษฐกิจถูกปกป้องจากการถูกกีดกันทางการค้า
• 3 ปัญหาความร่วมมือกับต่างประเทศ ที่จำเป็นต่อการแก้วิกฤตระดับนานาชาติ
ปัญหาเรื่องผู้อพยพที่จำเป็นต้องหลบหนีจากความรุนแรงในประเทศต้นทางเพื่อหาความปลอดภัยในประเทศอื่น เป็นตัวอย่างของปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการหาทางออก
ในโลกที่มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น หลายปัญหาที่เราเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบันเป็นปัญหาที่แม้จะมีต้นเหตุจากประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศข้างเคียงจนกลายเป็นวิกฤตระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัย ปัญหาเรื่องฝุ่นหมอกควัน หรือ ปัญหาเรื่องการเข้าไม่ถึงวัคซีนโควิดของชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน
การแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ ทั้งใหญ่ และซับซ้อนเกินกว่ากำลังของประเทศใดประเทศหนึ่งจะแก้ไขได้ด้วยตนเอง แต่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ข้ามพรมแดน จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจที่นิยาม ขอบเขตและความเหมาะสมของหลักการ “ไม่แทรกแซงกิจการภายใน” (Principle of Non-interference) ขององค์กรระดับนานาชาติอย่างอาเซียน ถูกตั้งคำถามมากขึ้นและสมควรต่อการทบทวน เพื่อทำให้กลไกอาเซียนเป็นที่พึ่งพาได้ในการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบระดับภูมิภาค โดยเฉพาะปัญหาที่มีต้นกำเนิดจากการละเมิดหรือละเลยต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศใดประเทศหนึ่ง
• 4 ปัญหาเรื่องสังคมสูงวัย ที่ต้องอาศัยการดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศ
แน่นอนว่าปัญหาเรื่องสังคมสูงวัยเป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยหลายมาตรการ แต่หนึ่งในมาตรการนั้นคงหนีไม่พ้นการเติมแรงงานจากต่างประเทศให้เข้ามาทำงานในไทยเพื่อเพิ่มสัดส่วนคนวัยทำงานในอนาคต
ทว่ามาตรการนี้จะสำเร็จยาก หากเราไม่สามารถทำให้คนต่างประเทศรู้สึกปลอดภัยหรือสบายใจในการใช้ชีวิตในประเทศไทย-นอกเหนือจากประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานแล้ว (เช่น การป้องกันอาชญากรรม การลดมลพิษ) บทเรียนจากการเติบโตของกระแส “ขวาประชานิยม” ในยุโรปที่มีแนวคิดต่อต้านแรงงานต่างประเทศ (ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกระแสความเกลียดชังของคนไทยจำนวนหนึ่งต่อผู้อพยพชาวโรฮีนจาเมื่อปี 2558) ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของรัฐ ในการสร้างความเข้าใจกับสังคม เพื่อลดแนวคิดชาตินิยมสุดโต่ง ที่มีโอกาสรุกล้ำไปสู่การกีดกันหรือเหยียดหยามคนต่างชาติ ไม่ว่าจะเพราะความกังวลเกินความเป็นจริงว่าจะถูกแย่งงาน หรือเพราะอคติทางเชื้อชาติ
หากรัฐไม่สามารถสร้างบรรยากาศที่ทำให้คนในประเทศยอมรับถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาสังคมสูงวัยผ่านการดึงดูดแรงงานต่างชาติ และยอมรับถึงการอยู่ร่วมกันในประเทศของคนหลายเชื้อชาติบนพื้นฐานของสิทธิและสวัสดิการที่เท่ากัน ประเทศมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องเผชิญกับความแตกแยกในสังคม
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยต้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการอพยพและความสัมพันธ์กับปัญหาอื่นๆ ในสังคม เพื่อช่วยกันคิดหาทางแก้ไขในอนาคต
ส่วนปัจจุบัน ผมมองว่าเหตุการณ์นี้กำลังเป็นเครื่องสะท้อนอันน่าหดหู่ ว่าหากการนำความจริงเมื่อ 6 ปีก่อนมาตีแผ่ในสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ ยังสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อสังคมในระดับที่สูงขนาดนี้ได้ แสดงว่าความผิดปกติ และความเสื่อมศรัทธาต่อโครงสร้างและการดำเนินการของรัฐไทย ณ ปัจจุบัน อยู่ในจุดที่ตกต่ำมืดมิดจริงๆ
หรือที่มิตรสหายท่านหนึ่งหยิบยกคำพูดในอดีตที่ว่า “ในช่วงเวลาแห่งการหลอกลวง การพูดความจริงคือการปฏิวัติ” (“In a time of universal deceit, telling the truth is a revolutionary act”)
https://www.facebook.com/paritw/posts/488640742630716