ข่าวจากลิงค์นี้
http://www.thairath.co.th/content/499530
"แอมเนสตี้" รณรงค์สมาชิกทั่วโลกกว่า 7 ล้านคน ร่อนจม.จี้ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย-อพยพกลางทะเล ตามก.ม.สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ไม่ใช่ผลักดันเรือออกจากชายฝั่ง เสมือนลงโทษประหารชีวิต...
วันที่ 18 พ.ค. 58 สำนักงานเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (องค์กรนิรโทษกรรมสากล) ซึ่งตั้งอยู่ที่
กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ได้ออกแถลการณ์ด่วนเรียกร้องสมาชิกทั่วโลก ส่งจดหมายถึงรัฐบาล 3 ประเทศ เพื่อแสดงความห่วงใยกรณีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพหลายพันคนเสี่ยงต่อความตาย อยู่กลางทะเลรอบประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย หลังจากประเทศเหล่านี้ ผลักดันเรือของพวกเขาออกไป หรือปฏิเสธไม่ให้เข้าชายฝั่ง โดยการรณรงค์ดังกล่าวจะมีไปจนถึงวันที่ 26 มิ.ย. 58
ทั้งนี้ ได้ระบุว่า มีผู้ถูกทอดทิ้งอยู่กลางทะเลมากถึง 8,000 คน ในขณะที่ทางการไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ผู้โดยสารกว่า 2,000 คน เดินทางไปถึงประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียในสัปดาห์นี้ บางส่วนถูกควบคุมตัวเมื่อเดินทางไปถึง หลายคนรอนแรมอยู่กลางทะเลกว่าสองเดือน ทั้งหมดจำเป็นต้องได้รับอาหาร น้ำ และการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน การปฏิเสธไม่ช่วยเหลือ หรือผลักให้เรือที่เต็มไปด้วยผู้โดยสารกลับสู่ท้องทะเล เสมือนเป็นการลงโทษประหารชีวิตบุคคลกลุ่มดังกล่าว รายงานข่าวระบุว่า ในเรือเหล่านี้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 10 คน
นอกจากนี้ ยังระบุอีกว่า ต้นสัปดาห์นี้ ทางการมาเลเซียประกาศใช้มาตรการลงโทษ ทั้งการผลักดันเรือออกไปและการส่งกลับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เข้ามาเพิ่มเติม ในวันที่ 12 พ.ค. ทางการอินโดนีเซียไม่ยอมให้เรือที่มีผู้โดยสารประมาณ 400 คนเข้าฝั่ง และอ้างว่าได้ให้อาหาร น้ำ และบอกทิศทางให้เรือมุ่งหน้าไปยังประเทศมาเลเซียแล้ว ทางการไทยประกาศเช่นกันเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า จะไม่ยอมให้เรือเหล่านี้เข้าฝั่ง ผู้โดยสารหลายพันคนบนเรือหลบหนีมาจากประเทศเมียนมาและบังกลาเทศ มีทั้งที่เป็นผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย รวมทั้งชาวมุสลิมโรฮีนจา ซึ่งหลบหนีการเลือกปฏิบัติและความรุนแรง บางส่วนตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ หลายคนเสี่ยงตายเดินทางในท้องทะเลที่เต็มไปด้วยอันตราย เพื่อหลบหนีจากสภาพที่ยากจะทนในบ้านเกิดของตนเอง
"ไม่ว่าบุคคลเหล่านี้ จะมีสถานภาพทางกฎหมายอย่างไร ไม่ว่าจะเดินทางมาถึงด้วยวิธีการใด หรือไม่ว่ามาจากที่ไหน ต้องมีการคุ้มครองสิทธิของพวกเขา ไม่ควรมีการควบคุมตัว ฟ้องคดี หรือลงโทษบุคคลเหล่านี้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ในแง่การเดินทางมาถึงเท่านั้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ให้เพิ่มความพยายามและประสานงานกันโดยทันที เพื่อการค้นหาและช่วยเหลือในภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ถูกทอดทิ้งอยู่กลางทะเล"
ขณะเดียวกัน ได้เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนกว่า 7 ล้านคนทั่วโลก ส่งเขียนจดหมายถึงทางการไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีข้อเรียกร้องถึง 3 ประเทศ ดังนี้ 1.ให้มีการประสานงานเพื่อค้นหาและช่วยเหลือ โดยการจำแนกตำแหน่งและให้ความช่วยเหลือเรือที่กำลังประสบอันตราย 2.ให้มีการอนุญาตให้เรือ ซึ่งมีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเหล่านี้เข้าฝั่งอย่างปลอดภัย ในประเทศที่ใกล้ที่สุด และไม่ผลักดันเรือออกไป ไม่คุกคามหรือไม่ข่มขู่พวกเขา
3.ให้มีการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยทันที สำหรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเหล่านี้ ทั้งการให้อาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัย และการรักษาพยาบาล 4.ให้เคารพหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) โดยประกันว่าจะไม่เคลื่อนย้ายบุคคลไปยังสถานที่ใด ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อชีวิต หรือเสรีภาพของพวกเขา รวมทั้งประเทศบ้านเกิด และ 5.ให้การประกันว่าจะไม่เอาผิดทางอาญา ไม่ควบคุมตัว หรือลงโทษบุคคลเพียงเพราะวิธีการเข้าประเทศของพวกเขา
////////
อยากส่งให้ไปที่อังกฤษจัง น่าจะดูแลพวกนี้ได้ดีเนาะ
"องค์กรนิรโทษกรรมสากล" รณรงค์สมาชิกทั่วโลกกว่า 7 ล้านคน ร่อนจม. จี้ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ช่วยเหลือโรฮีนจา
http://www.thairath.co.th/content/499530
"แอมเนสตี้" รณรงค์สมาชิกทั่วโลกกว่า 7 ล้านคน ร่อนจม.จี้ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย-อพยพกลางทะเล ตามก.ม.สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ไม่ใช่ผลักดันเรือออกจากชายฝั่ง เสมือนลงโทษประหารชีวิต...
วันที่ 18 พ.ค. 58 สำนักงานเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (องค์กรนิรโทษกรรมสากล) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ได้ออกแถลการณ์ด่วนเรียกร้องสมาชิกทั่วโลก ส่งจดหมายถึงรัฐบาล 3 ประเทศ เพื่อแสดงความห่วงใยกรณีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพหลายพันคนเสี่ยงต่อความตาย อยู่กลางทะเลรอบประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย หลังจากประเทศเหล่านี้ ผลักดันเรือของพวกเขาออกไป หรือปฏิเสธไม่ให้เข้าชายฝั่ง โดยการรณรงค์ดังกล่าวจะมีไปจนถึงวันที่ 26 มิ.ย. 58
ทั้งนี้ ได้ระบุว่า มีผู้ถูกทอดทิ้งอยู่กลางทะเลมากถึง 8,000 คน ในขณะที่ทางการไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ผู้โดยสารกว่า 2,000 คน เดินทางไปถึงประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียในสัปดาห์นี้ บางส่วนถูกควบคุมตัวเมื่อเดินทางไปถึง หลายคนรอนแรมอยู่กลางทะเลกว่าสองเดือน ทั้งหมดจำเป็นต้องได้รับอาหาร น้ำ และการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน การปฏิเสธไม่ช่วยเหลือ หรือผลักให้เรือที่เต็มไปด้วยผู้โดยสารกลับสู่ท้องทะเล เสมือนเป็นการลงโทษประหารชีวิตบุคคลกลุ่มดังกล่าว รายงานข่าวระบุว่า ในเรือเหล่านี้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 10 คน
นอกจากนี้ ยังระบุอีกว่า ต้นสัปดาห์นี้ ทางการมาเลเซียประกาศใช้มาตรการลงโทษ ทั้งการผลักดันเรือออกไปและการส่งกลับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เข้ามาเพิ่มเติม ในวันที่ 12 พ.ค. ทางการอินโดนีเซียไม่ยอมให้เรือที่มีผู้โดยสารประมาณ 400 คนเข้าฝั่ง และอ้างว่าได้ให้อาหาร น้ำ และบอกทิศทางให้เรือมุ่งหน้าไปยังประเทศมาเลเซียแล้ว ทางการไทยประกาศเช่นกันเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า จะไม่ยอมให้เรือเหล่านี้เข้าฝั่ง ผู้โดยสารหลายพันคนบนเรือหลบหนีมาจากประเทศเมียนมาและบังกลาเทศ มีทั้งที่เป็นผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย รวมทั้งชาวมุสลิมโรฮีนจา ซึ่งหลบหนีการเลือกปฏิบัติและความรุนแรง บางส่วนตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ หลายคนเสี่ยงตายเดินทางในท้องทะเลที่เต็มไปด้วยอันตราย เพื่อหลบหนีจากสภาพที่ยากจะทนในบ้านเกิดของตนเอง
"ไม่ว่าบุคคลเหล่านี้ จะมีสถานภาพทางกฎหมายอย่างไร ไม่ว่าจะเดินทางมาถึงด้วยวิธีการใด หรือไม่ว่ามาจากที่ไหน ต้องมีการคุ้มครองสิทธิของพวกเขา ไม่ควรมีการควบคุมตัว ฟ้องคดี หรือลงโทษบุคคลเหล่านี้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ในแง่การเดินทางมาถึงเท่านั้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ให้เพิ่มความพยายามและประสานงานกันโดยทันที เพื่อการค้นหาและช่วยเหลือในภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ถูกทอดทิ้งอยู่กลางทะเล"
ขณะเดียวกัน ได้เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนกว่า 7 ล้านคนทั่วโลก ส่งเขียนจดหมายถึงทางการไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีข้อเรียกร้องถึง 3 ประเทศ ดังนี้ 1.ให้มีการประสานงานเพื่อค้นหาและช่วยเหลือ โดยการจำแนกตำแหน่งและให้ความช่วยเหลือเรือที่กำลังประสบอันตราย 2.ให้มีการอนุญาตให้เรือ ซึ่งมีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเหล่านี้เข้าฝั่งอย่างปลอดภัย ในประเทศที่ใกล้ที่สุด และไม่ผลักดันเรือออกไป ไม่คุกคามหรือไม่ข่มขู่พวกเขา
3.ให้มีการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยทันที สำหรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเหล่านี้ ทั้งการให้อาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัย และการรักษาพยาบาล 4.ให้เคารพหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) โดยประกันว่าจะไม่เคลื่อนย้ายบุคคลไปยังสถานที่ใด ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อชีวิต หรือเสรีภาพของพวกเขา รวมทั้งประเทศบ้านเกิด และ 5.ให้การประกันว่าจะไม่เอาผิดทางอาญา ไม่ควบคุมตัว หรือลงโทษบุคคลเพียงเพราะวิธีการเข้าประเทศของพวกเขา
////////
อยากส่งให้ไปที่อังกฤษจัง น่าจะดูแลพวกนี้ได้ดีเนาะ