- เอเอฟพี – ผู้อพยพชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศต่างแสดงความดีอกดีใจเมื่อทราบว่ารัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียจะให้ที่พักพิงชั่วคราว แต่ยังอ้ำอึ้งกับข้อเสนอของ “แกมเบีย” ที่ประกาศจะรับพวกเขาเข้าประเทศ โดยบางคนที่ไม่เคยได้ยินชื่อประเทศเล็กๆ แห่งนี้มาก่อนถึงกับถามว่า “แกมเบียแปลว่าอะไร?”
ในช่วง 10 กว่าวันที่ผ่านมามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศเกือบ 3,000 คนว่ายน้ำมาขึ้นฝั่ง หรือได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพของทั้ง 3 ประเทศ หลังจากที่ไทยมีมาตรการกวาดล้างเครือข่ายค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้นายหน้าบางรายตัดสินใจทิ้งผู้อพยพเอาไว้กลางทะเล
นักสิทธิมนุษยชนและองค์กรระหว่างประเทศต่างตำหนิติเตียน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ใช้นโยบายผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำ ทว่าล่าสุดรัฐบาลจาการ์ตาและกัวลาลัมเปอร์ได้ประกาศเมื่อวันพุธ(20 พ.ย.) ว่าจะจัดหาที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนเหล่านี้
ในส่วนของไทยยังไม่รับปากว่าจะยึดแนวทางเดียวกับเพื่อนบ้านทั้งสองหรือไม่ โดยระบุแต่เพียงว่า จะไม่ผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำของไทยอีก ที่จังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย ผู้อพยพชาวบังกลาเทศและชาวโรฮีนจาราว 1,800 คนต่างแสดงความยินดีเมื่อทราบข่าวนี้
“ผมดีใจที่อินโดนีเซียและมาเลเซียจะรับชาวโรฮีนจาไว้” มูฮัมมาดุล ฮัสซัน เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ซึ่งได้รับการช่วยเหลือพร้อมผู้อพยพอีกหลายร้อยคนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กล่าว
“หลังจากนี้ทุกอย่างคงดีขึ้น พวกเราในอารากันถูกข่มเหงทรมานอย่างต่อเนื่อง และคงจะหลั่งไหลมากันอีก” เขากล่าว โดยหมายถึงชาวโรฮีนจาที่บ้านเกิดของเขาในรัฐยะไข่ของเมียนมาร์
อย่างไรก็ดี ผู้อพยพบางส่วนยังไม่แน่ใจกับท่าทีของแกมเบียซึ่งประกาศความพร้อมในการรองรับชาวโรฮีนจา เพราะถือเป็น “หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์” ในการบรรเทาความทุกข์ยากแก่พี่น้องมุสลิม
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เขาคิดอย่างไรกับข้อเสนอของรัฐบาลแกมเบีย ฮัสซัน ก็ถามกลับมาว่า “แกมเบียแปลว่าอะไร”
ด้าน มูฮัมหมัด จาเบอร์ ชาวโรฮีนจาวัย 27 ปี เป็นอีกคนที่ยังสับสนเมื่อคิดว่าจะต้องเดินทางไปอาศัยอยู่ในประเทศที่ห่างไกลออกไปหลายพันไมล์ และเป็นบ้านเมืองที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน
ถึงกระนั้น เขาก็สรุปคำตอบออกมาง่ายๆ ว่า “ถ้าที่นั่นเป็นประเทศมุสลิม และพวกเขายินดีรับเราเป็นพลเมือง ทำไมจะไม่ไปล่ะ?”
ข้อเสนอของแกมเบียดูเหมือนจะขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับจุดยืนของประธานาธิบดี ยะห์ยา จัมเมห์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า เขาชิงชังชาวแอฟริกาที่พยายามอพยพข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปแสวงหาชีวิตใหม่ในยุโรป ซึ่งคนเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็เป็นพลเมืองแกมเบีย
ชาวโรฮีนจาเป็นบุคคลไร้รัฐที่เผชิญการล่วงละเมิดจากชาวพุทธในเมียนมาร์เสมอมา ขณะที่รัฐบาลเมียนมาร์ก็มองมุสลิมโรฮีนจาว่าเป็นพวกหลบหนีเข้าเมืองจากบังกลาเทศ และปฏิเสธที่จะรับผิดชอบชีวิตของคนเหล่านี้ จาเบอร์ บอกว่า เขาไม่รู้สึกโกรธรัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียที่เคยใช้นโยบายขับไล่ไสส่งชาวโรฮีนจา “พวกเรายินดีจะไปอยู่ประเทศไหนก็ได้ที่ยอมรับเราเป็นพลเมือง แต่จะไม่กลับไปเมียนมาร์” เขากล่าว
เวลานี้ทั้ง 2 ชาติตกลงที่จะรับผู้อพยพทางเรือขึ้นฝั่ง และให้ที่พักพิงชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี จนกว่าพวกเขาจะได้ที่อยู่ใหม่หรือถูกส่งกลับไปยังเมียนมาร์โดยความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ อินโดนีเซียไม่มีพันธกรณีที่จะต้องรองรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา เนื่องจากไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย (UN Refugee Convention)
ผู้อพยพต่างเล่าถึงการเดินทางที่แสนลำบาก ต้องลอยเรืออยู่กลางทะเลอย่างไร้ความหวังเมื่อถูกทางการไทยและมาเลเซียผลักดันออกจากน่านน้ำ ทุกคนบอกตรงกันว่า หากส่งพวกเขากลับไปเมียนมาร์ก็เท่ากับหยิบยื่น “ความตาย” ให้ “ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียส่งเรากลับไปเมียนมาร์ ก็ไม่ต่างกับฆ่าเรา” โซฮิดุลเลาะห์ วัย 45 ปี กล่าว
ที่มา :
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000058324
“โรฮีนจา” สุดอึ้ง “แกมเบีย” ประกาศอ้าแขนรับ-ถามงงๆ “แกมเบียแปลว่าอะไร?”
ในช่วง 10 กว่าวันที่ผ่านมามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศเกือบ 3,000 คนว่ายน้ำมาขึ้นฝั่ง หรือได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพของทั้ง 3 ประเทศ หลังจากที่ไทยมีมาตรการกวาดล้างเครือข่ายค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้นายหน้าบางรายตัดสินใจทิ้งผู้อพยพเอาไว้กลางทะเล
นักสิทธิมนุษยชนและองค์กรระหว่างประเทศต่างตำหนิติเตียน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ใช้นโยบายผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำ ทว่าล่าสุดรัฐบาลจาการ์ตาและกัวลาลัมเปอร์ได้ประกาศเมื่อวันพุธ(20 พ.ย.) ว่าจะจัดหาที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนเหล่านี้
ในส่วนของไทยยังไม่รับปากว่าจะยึดแนวทางเดียวกับเพื่อนบ้านทั้งสองหรือไม่ โดยระบุแต่เพียงว่า จะไม่ผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำของไทยอีก ที่จังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย ผู้อพยพชาวบังกลาเทศและชาวโรฮีนจาราว 1,800 คนต่างแสดงความยินดีเมื่อทราบข่าวนี้
“ผมดีใจที่อินโดนีเซียและมาเลเซียจะรับชาวโรฮีนจาไว้” มูฮัมมาดุล ฮัสซัน เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ซึ่งได้รับการช่วยเหลือพร้อมผู้อพยพอีกหลายร้อยคนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กล่าว
“หลังจากนี้ทุกอย่างคงดีขึ้น พวกเราในอารากันถูกข่มเหงทรมานอย่างต่อเนื่อง และคงจะหลั่งไหลมากันอีก” เขากล่าว โดยหมายถึงชาวโรฮีนจาที่บ้านเกิดของเขาในรัฐยะไข่ของเมียนมาร์
อย่างไรก็ดี ผู้อพยพบางส่วนยังไม่แน่ใจกับท่าทีของแกมเบียซึ่งประกาศความพร้อมในการรองรับชาวโรฮีนจา เพราะถือเป็น “หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์” ในการบรรเทาความทุกข์ยากแก่พี่น้องมุสลิม
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เขาคิดอย่างไรกับข้อเสนอของรัฐบาลแกมเบีย ฮัสซัน ก็ถามกลับมาว่า “แกมเบียแปลว่าอะไร”
ด้าน มูฮัมหมัด จาเบอร์ ชาวโรฮีนจาวัย 27 ปี เป็นอีกคนที่ยังสับสนเมื่อคิดว่าจะต้องเดินทางไปอาศัยอยู่ในประเทศที่ห่างไกลออกไปหลายพันไมล์ และเป็นบ้านเมืองที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน
ถึงกระนั้น เขาก็สรุปคำตอบออกมาง่ายๆ ว่า “ถ้าที่นั่นเป็นประเทศมุสลิม และพวกเขายินดีรับเราเป็นพลเมือง ทำไมจะไม่ไปล่ะ?”
ข้อเสนอของแกมเบียดูเหมือนจะขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับจุดยืนของประธานาธิบดี ยะห์ยา จัมเมห์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า เขาชิงชังชาวแอฟริกาที่พยายามอพยพข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปแสวงหาชีวิตใหม่ในยุโรป ซึ่งคนเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็เป็นพลเมืองแกมเบีย
ชาวโรฮีนจาเป็นบุคคลไร้รัฐที่เผชิญการล่วงละเมิดจากชาวพุทธในเมียนมาร์เสมอมา ขณะที่รัฐบาลเมียนมาร์ก็มองมุสลิมโรฮีนจาว่าเป็นพวกหลบหนีเข้าเมืองจากบังกลาเทศ และปฏิเสธที่จะรับผิดชอบชีวิตของคนเหล่านี้ จาเบอร์ บอกว่า เขาไม่รู้สึกโกรธรัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียที่เคยใช้นโยบายขับไล่ไสส่งชาวโรฮีนจา “พวกเรายินดีจะไปอยู่ประเทศไหนก็ได้ที่ยอมรับเราเป็นพลเมือง แต่จะไม่กลับไปเมียนมาร์” เขากล่าว
เวลานี้ทั้ง 2 ชาติตกลงที่จะรับผู้อพยพทางเรือขึ้นฝั่ง และให้ที่พักพิงชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี จนกว่าพวกเขาจะได้ที่อยู่ใหม่หรือถูกส่งกลับไปยังเมียนมาร์โดยความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ อินโดนีเซียไม่มีพันธกรณีที่จะต้องรองรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา เนื่องจากไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย (UN Refugee Convention)
ผู้อพยพต่างเล่าถึงการเดินทางที่แสนลำบาก ต้องลอยเรืออยู่กลางทะเลอย่างไร้ความหวังเมื่อถูกทางการไทยและมาเลเซียผลักดันออกจากน่านน้ำ ทุกคนบอกตรงกันว่า หากส่งพวกเขากลับไปเมียนมาร์ก็เท่ากับหยิบยื่น “ความตาย” ให้ “ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียส่งเรากลับไปเมียนมาร์ ก็ไม่ต่างกับฆ่าเรา” โซฮิดุลเลาะห์ วัย 45 ปี กล่าว
ที่มา : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000058324