สศช.แถลงจีดีพีปี 64 ขยายตัวได้ 1.6% คาดปี 65 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.5 - 4.5%
สศช.แถลงจีดีพีไตรมาส 4/2564 ขยายตัว 1.9% ทั้งปี 64 จีดีพีขยายตัว 1.6% ดีกว่าคาดการณ์เดิมที่คาดไว้เดิมที่ 1.2% "ดนุชา" ระบุเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวได้ดี รอการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดปี 65 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.5 - 4.5%
https://www.bangkokbiznews.com/business/989373
คลัง ไม่ห่วง หนี้ครัวเรือนพุ่ง โชว์จีดีพีปี 64 โตเกินคาด
คลัง ชี้ หนี้ครัวเรือนพุ่ง ยังไม่น่ากังวล เพราะหนี้ส่วนใหญ่ก่อขึ้นเพื่อต่อยอดรายได้ พร้อมโชว์ตัวเลขจีดีพีปี 64 ของสภาพัฒน์ล่าสุดที่โต 1.6% นั้น สะท้อนไทยรับมือโควิดได้ดี และรัฐใช้จ่ายเงินกู้ได้ประโยชน์สูงสุด จึงหนุนจีดีพีปี 64 โตเกินคาด
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในขณะนี้ว่า ตัวเลขหนี้ครัวเรือนปัจจุบัน ที่ดูพุ่งสูงกว่า 89.3% ต่อจีดีพีนั้น เนื่องจากตัวเลขจีดีพี ที่ยังขยายตัวหรือโตได้ในอัตราต่ำ ทำให้เมื่อนำมาคำนวณตัวเลขหนี้ครัวเรือนแล้ว ตัวเลขหนี้ครัวเรือนจึงออกมาสูง
ทั้งนี้หากดูในรายละเอียด จะพบว่า 34.5% เป็นหนี้การจากซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ 12.4% เป็นหนี้จากการซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดอาชีพได้ และอีก 20% เป็นหนี้เพื่อการประกอบอาชีพโดยตรง ดังนั้นหนี้ในส่วนนี้เมื่อรวมกันแล้ว กว่า 65% จึงเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อการลงทุน เพื่อต่อยอดสร้างรายได้ และ หนี้เพื่อสะสมทรัพย์สิน ดังนั้น ตัวเลขหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันจึงยังไม่น่ากังวล ขณะเดียวกัน ตัวเลขหนี้เสียของสถาบันการเงิน ยังทรงตัวอยู่ในระดับ 2.8-2.9%
“โดยหลักการ คือ ใครที่มีหนี้ ก็น่าเป็นห่วงทั้งนั้น เพียงแต่ถ้าไปดูไส้ในก็เป็นหนี้ที่ก่อขึ้นมาเพื่อก่อให้เกิดรายได้ และเพื่อสะสมทรัพย์ จึงไม่น่ากังวล แต่หนี้เพื่อการบริโภค อาจต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรให้เขามีรายได้เพื่อชำระหนี้ คิดว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่สภาพัฒน์เป็นห่วงมากกว่า” นายพรชัย กล่าว
นายพรชัย ยังกล่าวถึง กรณีสภาพัฒน์แถลงจีดีพีปี 64 ขยายตัวที่ 1.6% นั้น เป็นเพราะได้รับอานิสงส์จากไตรมาสที่ 4 ที่ภาคการบริโภคของภาคเอกชนกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้นจากที่มองว่าจะไม่ขยายตัวได้มาก ขณะเดียวกัน การเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐก็ดีขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ ฉะนั้น ไตรมาสที่ 4 จึงเป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมิน โดยขยายตัวได้ถึง 1.9% ทำให้ทั้งปีสามารถขยายตัวได้ในระดับดังกล่าว
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังสะท้อนถึงการรับมือสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ได้อย่างดี และรัฐบาลมีการใช้เงินกู้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลภาคส่วนต่างๆ จึงส่งผลให้การขยายตัวเศรษฐกิจดีกว่าที่คาด ซึ่งสภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง ได้คาดการณ์จีดีพีปี 64 จะขยายตัวได้เพียง 1.2% และแบงก์ชาติก็คาดว่าจะขยายตัวได้ 1% กว่า เท่านั้น
https://www.thansettakij.com/money_market/514665
เมื่อวันที่ 21 ก.พ.65 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้รับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4/64 และทั้งปี 2564 จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่าทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ 1.6% ซึ่งสูงกว่าที่ สศช. ได้ประมาณการไว้ 1.2%
ทั้งนี้ การเติบโตในหลายส่วนก็เป็นผลจากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล เช่นการบริโภคของประชาชนที่ดีขึ้นจากที่รัฐบาลมีมาตรการเยียวยา แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย การบริโภคและลงทุนของรัฐที่เติบโตจากการเร่งรัดการเบิกจ่าย ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวจากการทยอยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวภายใต้มาตรการที่ปลอดภัย ควบคู่ไปกับการดูแลประชาชนทั้งด้านการป้องกันและรักษาจากโรคโควิด-19
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีพอใจกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2564 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเผชิญกับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงเช่นเดียวกับทุกประเทศทั่วโลก โดยรัฐบาลได้พยายามทุกวิถีทางอย่างเต็มที่ในการดูแลชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
สำหรับปี 2565 ที่สภาพัฒน์ได้ประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายด้านแต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่าในปี 2565 นี้รัฐบาลจะเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของโควิด-19 ควบคู่ไปกับการดูแลการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด
โดยรัฐบาลจะรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมาได้แล้วตั้งแต่ปลายปี 2564 ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายในครัวเรือน ที่จะมีการดูแลกลไกต่างๆ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพของประชาชน แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนให้ต่อเนื่อง ฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว เร่งรัดการเบิกจ่ายภาครัฐทั้งส่วนของรายจ่ายประจำและการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ขณะที่การลงทุนเอกชนจะดำเนินนโยบายสนับสนุนทั้งการฟื้นตัวและลงทุนของนักลงทุนไทย และการดึงดูดลงทุนของต่างชาติ ตลอดจนการขับเคลื่อนการส่งออกที่ปีนี้จะยังคงได้รับผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายกระทรวงการคลังและสศช. ในการเฝ้าติดตามประเด็นความผันผวนของเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น กรณีที่เกิดไวรัสกลายพันธุ์ นโยบายเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารประเทศต่างๆ ที่เริ่มปรับตัวตามแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วโลก ตลอดจนความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดในบางพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลมีนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป
https://www.bangkokbiznews.com/news/989468
ทีมเศรษฐกิจไทย รัฐบาลนี้ทำได้ จีดีพีโตเกินคาด
สศช.แถลงแล้ว ในภาวะวิกฤตโควิด นอกจากไม่ติดลบแล้วยังบวกเพิ่มขึ้นค่ะ
ส่วนคลังก็ชี้แจงว่า..หนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่ต่อยอดเพื่อลงทุนทำมาหากินเป็นส่วนใหญ่ค่ะ
แบบนี้นายกฯลุงตู่ท่านพอใจค่ะ ท่านทำทุกวิถีทางเพื่อดูแลประชาชน ได้ผลที่น่าพอใจ
คนทำงานยิ้มได้ และโชว์ตัวเลขเป็นผลงานของรัฐบาลเลยค่ะ
......
💛มาลาริน/GDPดีเกินคาด..สศช.แถลงปี 64 ขยายตัวได้ 1.6% คาดปี 65 ขยายตัว3.5 - 4.5% หนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ลงทุน นายกฯพอใจ
สศช.แถลงจีดีพีไตรมาส 4/2564 ขยายตัว 1.9% ทั้งปี 64 จีดีพีขยายตัว 1.6% ดีกว่าคาดการณ์เดิมที่คาดไว้เดิมที่ 1.2% "ดนุชา" ระบุเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวได้ดี รอการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดปี 65 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.5 - 4.5%
https://www.bangkokbiznews.com/business/989373
คลัง ไม่ห่วง หนี้ครัวเรือนพุ่ง โชว์จีดีพีปี 64 โตเกินคาด
คลัง ชี้ หนี้ครัวเรือนพุ่ง ยังไม่น่ากังวล เพราะหนี้ส่วนใหญ่ก่อขึ้นเพื่อต่อยอดรายได้ พร้อมโชว์ตัวเลขจีดีพีปี 64 ของสภาพัฒน์ล่าสุดที่โต 1.6% นั้น สะท้อนไทยรับมือโควิดได้ดี และรัฐใช้จ่ายเงินกู้ได้ประโยชน์สูงสุด จึงหนุนจีดีพีปี 64 โตเกินคาด
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในขณะนี้ว่า ตัวเลขหนี้ครัวเรือนปัจจุบัน ที่ดูพุ่งสูงกว่า 89.3% ต่อจีดีพีนั้น เนื่องจากตัวเลขจีดีพี ที่ยังขยายตัวหรือโตได้ในอัตราต่ำ ทำให้เมื่อนำมาคำนวณตัวเลขหนี้ครัวเรือนแล้ว ตัวเลขหนี้ครัวเรือนจึงออกมาสูง
ทั้งนี้หากดูในรายละเอียด จะพบว่า 34.5% เป็นหนี้การจากซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ 12.4% เป็นหนี้จากการซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดอาชีพได้ และอีก 20% เป็นหนี้เพื่อการประกอบอาชีพโดยตรง ดังนั้นหนี้ในส่วนนี้เมื่อรวมกันแล้ว กว่า 65% จึงเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อการลงทุน เพื่อต่อยอดสร้างรายได้ และ หนี้เพื่อสะสมทรัพย์สิน ดังนั้น ตัวเลขหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันจึงยังไม่น่ากังวล ขณะเดียวกัน ตัวเลขหนี้เสียของสถาบันการเงิน ยังทรงตัวอยู่ในระดับ 2.8-2.9%
“โดยหลักการ คือ ใครที่มีหนี้ ก็น่าเป็นห่วงทั้งนั้น เพียงแต่ถ้าไปดูไส้ในก็เป็นหนี้ที่ก่อขึ้นมาเพื่อก่อให้เกิดรายได้ และเพื่อสะสมทรัพย์ จึงไม่น่ากังวล แต่หนี้เพื่อการบริโภค อาจต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรให้เขามีรายได้เพื่อชำระหนี้ คิดว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่สภาพัฒน์เป็นห่วงมากกว่า” นายพรชัย กล่าว
นายพรชัย ยังกล่าวถึง กรณีสภาพัฒน์แถลงจีดีพีปี 64 ขยายตัวที่ 1.6% นั้น เป็นเพราะได้รับอานิสงส์จากไตรมาสที่ 4 ที่ภาคการบริโภคของภาคเอกชนกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้นจากที่มองว่าจะไม่ขยายตัวได้มาก ขณะเดียวกัน การเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐก็ดีขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ ฉะนั้น ไตรมาสที่ 4 จึงเป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมิน โดยขยายตัวได้ถึง 1.9% ทำให้ทั้งปีสามารถขยายตัวได้ในระดับดังกล่าว
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังสะท้อนถึงการรับมือสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ได้อย่างดี และรัฐบาลมีการใช้เงินกู้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลภาคส่วนต่างๆ จึงส่งผลให้การขยายตัวเศรษฐกิจดีกว่าที่คาด ซึ่งสภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง ได้คาดการณ์จีดีพีปี 64 จะขยายตัวได้เพียง 1.2% และแบงก์ชาติก็คาดว่าจะขยายตัวได้ 1% กว่า เท่านั้น
https://www.thansettakij.com/money_market/514665
เมื่อวันที่ 21 ก.พ.65 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้รับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4/64 และทั้งปี 2564 จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่าทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ 1.6% ซึ่งสูงกว่าที่ สศช. ได้ประมาณการไว้ 1.2%
ทั้งนี้ การเติบโตในหลายส่วนก็เป็นผลจากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล เช่นการบริโภคของประชาชนที่ดีขึ้นจากที่รัฐบาลมีมาตรการเยียวยา แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย การบริโภคและลงทุนของรัฐที่เติบโตจากการเร่งรัดการเบิกจ่าย ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวจากการทยอยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวภายใต้มาตรการที่ปลอดภัย ควบคู่ไปกับการดูแลประชาชนทั้งด้านการป้องกันและรักษาจากโรคโควิด-19
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีพอใจกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2564 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเผชิญกับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงเช่นเดียวกับทุกประเทศทั่วโลก โดยรัฐบาลได้พยายามทุกวิถีทางอย่างเต็มที่ในการดูแลชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
สำหรับปี 2565 ที่สภาพัฒน์ได้ประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายด้านแต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่าในปี 2565 นี้รัฐบาลจะเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของโควิด-19 ควบคู่ไปกับการดูแลการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด
โดยรัฐบาลจะรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมาได้แล้วตั้งแต่ปลายปี 2564 ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายในครัวเรือน ที่จะมีการดูแลกลไกต่างๆ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพของประชาชน แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนให้ต่อเนื่อง ฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว เร่งรัดการเบิกจ่ายภาครัฐทั้งส่วนของรายจ่ายประจำและการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ขณะที่การลงทุนเอกชนจะดำเนินนโยบายสนับสนุนทั้งการฟื้นตัวและลงทุนของนักลงทุนไทย และการดึงดูดลงทุนของต่างชาติ ตลอดจนการขับเคลื่อนการส่งออกที่ปีนี้จะยังคงได้รับผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายกระทรวงการคลังและสศช. ในการเฝ้าติดตามประเด็นความผันผวนของเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น กรณีที่เกิดไวรัสกลายพันธุ์ นโยบายเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารประเทศต่างๆ ที่เริ่มปรับตัวตามแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วโลก ตลอดจนความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดในบางพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลมีนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป
https://www.bangkokbiznews.com/news/989468
ทีมเศรษฐกิจไทย รัฐบาลนี้ทำได้ จีดีพีโตเกินคาด
สศช.แถลงแล้ว ในภาวะวิกฤตโควิด นอกจากไม่ติดลบแล้วยังบวกเพิ่มขึ้นค่ะ
ส่วนคลังก็ชี้แจงว่า..หนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่ต่อยอดเพื่อลงทุนทำมาหากินเป็นส่วนใหญ่ค่ะ
แบบนี้นายกฯลุงตู่ท่านพอใจค่ะ ท่านทำทุกวิถีทางเพื่อดูแลประชาชน ได้ผลที่น่าพอใจ
คนทำงานยิ้มได้ และโชว์ตัวเลขเป็นผลงานของรัฐบาลเลยค่ะ
......