JJNY : 4in1 เจ้าสัวฮ่องกงให้ยืมที่ดิน│นักวิจัยญี่ปุ่นชี้ BA.2ร้ายเท่าเดลตา│วงเสวนาค้านรวมทรู-ดีแทค│สุทินแนะเร่งทำกม.ลูก

เจ้าสัวฮ่องกงแห่ช่วย “ให้ยืมที่ดิน” สร้างโรงพยาบาล-แก้วิกฤตผู้ป่วยโควิดล้น
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6897847
 
 
เจ้าสัวฮ่องกงแห่ช่วย “ให้ยืมที่ดิน” สร้างโรงพยาบาล-แก้วิกฤตผู้ป่วยโควิดล้น
   
เจ้าสัวฮ่องกงแห่ช่วย – วันที่ 19 ก.พ. สเตรตส์ไทมส์ รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ยังวิกฤตต่อเนื่องใน ฮ่องกง หลังเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอนระบาดหนัก กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ป่วยใหม่ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาอีก 3,629 คน
 
 แม้ลดลงจากสถิติสูงสุดที่ 6,116 เมื่อ17 ก.พ. แต่ช่วงไม่ถึง 2 เดือนฮ่องกงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 20,200 คน มากกว่าผู้ป่วยสะสม 12,000 คนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดติดเชื้อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 40,700 คน และเสียชีวิตแล้ว 258 ราย
 
 รายงานระบุว่า นายลั่ว ฮุ่ยหนิง ผู้อำนวยนการสำนักงานประสานงานรัฐบาลกลางจีนในฮ่องกง จัดการประชุมออนไลน์กับเจ้าหน้าที่รัฐบาลฮ่องกง พร้อมด้วยบรรดานักธุรกิจมหาเศรษฐีแถวหน้าของฮ่องกงเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ก.พ. เพื่อรับมือหลังจากโรงพยาบาลหลายแห่งไม่สามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้
 
โดยนายเรย์มอนด์ ก็อก เจ้าพ่อวงการอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ซันฮุงไก พร็อพเพอร์ตีส์ นายปีเตอร์ ลี แห่งเฮนเดอร์สันแลนด์ เดเวลอปเมนต์ นายเอเดรียน เจิ้น ประธานบริษัท นิวเวิลด์ เดเวลอปเมนต์ และเจ้าสัวยักษ์ใหญ่ของฮ่องกงอีกหลายคน 
 
 เสนอหนทางแก้ปัญหาในเบื้องต้นด้วยการอนุญาตให้ทางการสร้างโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามบนที่ดินของบริษัท เปลี่ยนโรงแรมในเครือเป็นศูนย์กักตัว และบริจาคเงินเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
 


นักวิจัยญี่ปุ่น ชี้ โอมิครอน BA.2 ร้ายเท่าเดลตา วัคซีน-ยารักษา อาจเอาไม่อยู่
https://ch3plus.com/news/category/279723
 
เมื่อวันที่ 17 ก.พ.65 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานถึงผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการของนายเคอิ ซาโตะ นักวิจัยวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ของญี่ปุ่น พบว่า  สายพันธุ์โอมิครอน BA.2 ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงได้ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา ทั้งในแง่อาการ และการเสียชีวิต  
นอกจากนี้ สายพันธุ์รอง BA.2 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีน และยังต่อต้านกับการรักษาด้วยยา Sotrovimab หรือชื่อทางการค้าว่า Xevudy ซึ่งเป็นยารักษาโควิดด้วยแอนติบอดี ที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างบริษัท GlaxoSmithKline (GSK) ของสหราชอาณาจักร และบริษัท Vir Biotechnology จากสหรัฐฯ
 
ผลการศึกษาทั้งหมดตามข้างต้น ได้ถูกเก็บไว้ใน bioRxiv ซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงเอกสารงานวิจัย และผลการศึกษาทางการแพทย์ชั้นนำระดับโลก ก่อนที่จะถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ที่วงการแพทย์ทั่วโลกใช้เป็นที่อ้างอิง



วงเสวนาค้านควบรวมทรู-ดีแทค ป้องกันผูกขาด เสนอทางออกขายให้เจ้าอื่นดูแลแทน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3192272

วงเสวนาค้านควบรวมทรู-ดีแทค ป้องกันผูกขาด เสนอทางออกขายให้เจ้าอื่นดูแลแทน
 
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00 น. สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “ดีล True – Dtac ต้องโปร่งใส กสทช. ต้องรับฟังผู้บริโภค” ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ “สภาองค์กรของผู้บริโภค
 
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. กล่าวว่า การควบรวมกิจการ มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างชัดเจน มีทางเลือกน้อยลง เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล สิทธิในด้านกิจการโทรคมนาคมก็จะลดลงตามไปด้วย โดยทางออกคือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องไม่ให้มีการอนุญาตให้ควบรวม ,ให้ผู้เล่นแบบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (MVNO) มีเพิ่มขึ้น โดยมีมาตรการส่งเสริมจาก กสทช. ,พร้อมกับเพิ่มการมีจำนวนผู้เล่นมากราย อีกทั้งในปัจจุบันโอเปอเรเตอร์มีการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างมาก เช่น การปล่อยให้มีการส่ง SMS หลอกลวง กู้เงินนอกระบบ การพนัน
 
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การควบรวมกิจการระหว่าง ทรู ดีแทค จะเกิดผลกระทบด้านลบ เมื่อมีการควบรวมแล้ว จะมีผู้ให้บริการเพียงแค่ 2 ราย ซึ่งมีโอกาสว่าจะมีการผูกขาดแน่นอน เพราะผู้บริโภคไม่มีอำนาจในการต้อรองเท่าที่ควร ซึ่งองค์กรกำกับอย่าง กสทช. ที่ต้องเข้ามาดูแล ทั้งนี้มีข้อเสนอคือ 
 
1. ไม่ให้มีการควบรวม หรือให้ขายบริษัทกับรายอื่น พร้อมกับการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อลดต้นทุน 
2. ควบรวมกันได้ แต่มีเงื่อนที่ให้คืนคลื่นความถี่ที่มีการรวมกัน มาจัดประมูลให้กับผู้เล่นรายใหม่ 
3. ควบรวมกันได้ พร้อมกับส่งเสริมให้เกิด MVNO แต่ MVNO ไม่ได้เกิดง่ายและกำกับดูแลยาก ทั้งนี้ควรพิจารณาไม่ให้มีการผูกขาด ไม่ใช้ปล่อยให้มีการผูกขาดแล้วไปหาวิธีแก้ไข
 
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ทางสภาผู้แทนราษฎรได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยมีการเรียก กสทช. ,สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า(กขค.) เข้าไปประชุมชี้แจงความคืบหน้าการควบรวมเป็นระยะ โดยคณะกรรมาธิการมีข้อสรุปออกมาว่า รัฐต้องมีอำนาจในการกำกับดูแลกระบวนการการควบรวมธุรกิจโทรคมนาคม เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ต้องมีการพิจารณาข้อดีข้อเสีย การแบ่งปันโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน อีกทั้งกรณีศึกษาทางสหภาพยุโรป ได้มีเงื่อนไขหลังจากการควบรวมแล้ว เช่นให้กระจายคลื่นความถี่ การแบ่งเสาสัญญาณให้กับผู้เล่นรายใหม่ เพิ่มจำนวนผู้เล่นแบบ MVNO อย่างไรก็ตาม ต้องมีการศึกษาผลระยะยาวสภาพตลาด ภายหลังจากการควบรวม
 
นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ได้ตั้งข้อสังเกตว่าทั้ง 2 บริษัทมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการเจรจากัน ก่อนที่จะมีการประกาศการควบรวม ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน มองว่า กสทช. มีหน้าที่ต้องกำกับการะทำที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน กสทช. ต้องวางกระบวนการตั้งแต่วันแรกที่มีการประกาศควบรวม ต้องเรียกขอดูข้อมูล และต้องมีการตั้งที่ปรึกษาอิสระ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่