ช่วงนี้ประเด็นเปรียบเทียบละครไทยกับซีรีส์เรียกได้ว่าท็อปฟอร์มจัง

ช่วงนี้ประเด็นเปรียบเทียบละครไทยกับซีรีส์เรียกได้ว่าท็อปฟอร์มจัง
วันนี้ขอถือโอกาสออกมาพูดด้วยเลยละกัน ในฐานะที่เป็นคนนึง ที่เคยติดตามละครไทยมาตั้งแต่เด็ก ผมคนหนึ่งที่เติบโตกับละครไทย ลืมตาร้องอุแหวะ อุแหวะ ก็เห็นที่บ้านเปิดดูละครไทยแล้ว จริงๆถ้าจะให้นับว่าดูละครไทยมาแล้วกี่เรื่อง คงต้องใช้เวลามากพอสมควรเหมือนกัน เรียกได้ว่าเมื่อก่อนเป็นติ่งละครไทยคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ ครั้งหนึ่งเราเคยไฟท์กับเพื่อนที่เขาไล่ให้ผมไปดูซีรีส์เกาหลี และซีรีส์ฝรั่งอเมริกาด้วย แต่ด้วยความตอนนั้น ตัวเองยังไม่ได้เปิดใจดูซีรีส์ของต่างประเทศ เลยติดตามแค่ของไทย ซึ่งพอย้อนกลับไปคิดดูแล้ว รู้สึกตลกตัวเองเหมือนกันนะ ว่าเราทำแบบนั้นจริงๆหรอ ที่เพื่อนพูดมันก็มีเหตุผลนะเออ 55555555 จริงๆตอนนั้นเราเกือบเสพทุกอย่างที่เกี่ยวกับของไทย ทั้งละคร รายการโชว์ เรียลลิตี้ต่างๆ ก็คือติ่งอะ เอาง่ายๆ
.
ตอนนี้หลายๆอย่าง เริ่มพัฒนาขึ้น ช่องทางการติดตามต่างๆก็เริ่มเยอะขึ้น เว็บสตรีมมิ่งทั้งละคร และซีรีส์เริ่มผุดเป็นว่าเล่นเลยตอนนี้ มีทั้ง Netflix , VIU , WeTV , Disney hotstar , Iqiyi ซึ่งหลายๆแพลตฟอร์มตอนนี้ต่างแข่งขันกันสุดฤทธิ์สุดเดชมาก ในเรื่องของการผลิตซีรีส์ออริจินัล ผลิตภาพยนตร์ออริจินัล รวมทั้งไป ซื้อลิขสิทธิ์หนัง หรือซีรีส์มาฉายฉาย เพื่อดึงคนดูให้ได้มากที่สุด ซึ่งแพลตฟอร์มที่ใหญ่สุดตอนนี้ก็น่าจะเป็น Netflix ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากทั้งรายได้และกำไร และปัจจุบัน Netflix มีผู้ใช้งาน 200 กว่าล้านคน ข้อมูลปี 2020 จากเว็บ The Standard
.
ตั้งแต่เข้ายุคทีวีดิจิตอลเนี้ย มันทำให้คนดูอย่างเรามีช่องในการเลือกชมเยอะขึ้นนะ สามารถเลือกเสพวัตถุดิบที่มันถูกจริตกับเราได้เยอะขึ้น โดยไม่ต้องง้อกับอะไรที่มันเป็นเดิมๆ ซึ่งมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ตอนนี้ผมเองก็ได้ออกจากวงการละครไทย และภาพยนตร์ของไทย เรียกได้ว่าเกือบ 100% แล้ว ถ้าถามว่าเพราะอะไร ซึ่งก็คงเป็นเหตุผลเดียวกับเพื่อนๆที่เลือกออกมาจากจุดนั้น ก็คือหลังๆละครแทบไม่สนุก แคสติ้งหน้าเดิมๆ โปรดักส์ชั่นไม่สมจริง บทเดาง่าย ไม่มีมิติ และมักจะผลิตแนวเดิมๆ ตบตีแย่งผู้ชาย CG ไม่ค่อยลงทุน เรียกได้ว่าเปิดช่องไหน ก็จะเห็นเป็นแนวนี้ส่วนใหญ่ ซึ่งมันต่างกับซีรีส์ฝังเกาหลีมากๆเลย มีให้เลือกหลายแนวมากๆ สืบสวนสอบสวน การทำงานของอัยการ ตีแผ่วงการตำรวจ ตีแผ่วงการแพทย์ สังคมไฮโซ แนวอีลีท แนวธุรกิจสตาร์ทอัพและล่าสุด ตามติดชีวิตคนทำงานในกรมอุตุนิยม ซึ่งผมได้ดูไปแล้วสองตอน เรื่องนี้บทสนุกมาก แล้วมันได้ความรู้ควบคู่ไปกับความสนุกของละครด้วย เปิดโลกทัศน์คนดูอย่างเรามากๆ อยากให้ทุกคนลองไปดูนะ
.
จริงๆแล้วตอนนี้ถ้าจะให้พูดถึงภาพยนตร์ของไทยที่ผลิตบนแพลตฟอร์ม Netflix
Thai original Netflix เกือบสิบเรื่องเลยนะ อย่างเช่น Bangkok Breaking , เคว้ง , สาวลับใช้ , Ghost Lab , The Whole Truth , น้องใหม่ , และล่าสุดที่จับคู่ คู่จิ้นที่ประสบความสำเร็จในภาพยนตร์ สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก อย่างมาริโอ้ และใบเฟิร์น มาลงในภาพยนตร์ออริจินัลใน Netflix AI love you เรียกได้ว่ากระแสวิจารณ์ทางด้านลบเยอะมาก เป็นภาพยนตร์ที่ทำออกมาเละและพังไม่เป็นท่าเลยทีเดียว จริงๆผมแอบเสียดายหลายๆเรื่องที่ผ่านมานะ พูดถึงแล้วไทยมีโอกาสเติบโตบนแพลตฟอร์มนี้เยอะมาก อีกอย่างดูเหมือน Netflix ก็เปิดโอกาสให้ไทยด้วยเหมือนกัน แต่ดูเหมือนจะล้มเหลวทางด้านนี้ ไม่ว่ากี่เรื่องๆ ก็ไม่รอดสักเรื่อง
.
สิ่งที่อยากบอกอีกอย่างนึงก็คือประเทศเกาหลี เขามีหน่วยงานที่สนับสนุนจริงๆจังทางด้านนี้โดยตรงเลย ก็คือ KOCCA = วัฒนธรรม เนื้อหา และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมันดีมากกกกกก
.
ในปี ค.ศ 1998 เกาหลีใต้ได้ประกาศนโยบาย Korea : Culture, Creativity and Content เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ ด้วยการจัดสรรงบประมาณพัฒนาบุคลากรในวงการภาพยนตร์ ดนตรี การแสดง การออกแบบ ฯลฯ ต่อมาในปี ค.ศ 2009 ได้มีการก่อตั้งสถาบัน ‘The Korea Creative Content Agency’ หรือ ‘KOCCA’ ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ผ่านการร่วมมือจากหลายองค์ เพื่อวางแผน บริหารจัดการ และพัฒนาธุรกิจด้านวัฒนธรรมเกาหลีอย่างครบวงจร โดยการส่งเสริมให้เนื้อหาสาระความเป็นเกาหลี สอดแทรกลงไปในสื่อบันเทิงต่างๆ
.
หน้าที่ของ KOCCA คือการออกกฎระเบียบที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาเทคโนโลยี สนับสนุนภาคเอกชนโดยเฉพาะรายเล็กๆ ในการจัดตั้งธุรกิจด้านเนื้อหาวัฒนธรรม รวมทั้งยังร่วมลงทุนและให้กู้ ไปจนถึงมีสตูดิโอให้เช่าในราคาถูกอีกด้วย หน้าที่ของ KOCCA ยังครอบคลุมไปถึงการสนับสนุนการขยายตลาดวัฒนธรรมไปยังต่างประเทศ เพื่อเป็นธุรกิจส่งออก ซึ่งปัจจุบันมีสำนักงานที่ต่างประเทศอยู่ทั้งสิ้น 8 สาขา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และจีน 2 สาขา
.
ปัจจุบัน KOCCA ได้ให้การส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมอยู่ 12 ธุรกิจ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์คลื่นดิจิตอล (Broardcasting), เพลง (Music), เกม (Game), การ์ตูน (Comics), ภาพเคลื่อนไหว (Animation) , คาแรคเตอร์ (Character licensing), แฟชั่น (Fashion), การขยายไปยังต่างประเทศ (Overseas expansion), เทคโนโลยีวัฒนธรรม (Culture Technology R&D), การสร้างเนื้อหา สำหรับคนรุ่นหลัง (Next-generation content), การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development), การสร้างศูนย์สนับสนุนและเรียนรู้ด้านธุรกิจ (CKL Business support center & Academy)
.
ไม่ว่าขาดเงินทุน ขาดสคริปต์ ไม่มีสถานที่ หรือต้องการรีเสิร์ชข้อมูลการตลาด KOCCA ก็สามารถอำนวยความสะดวกและจัดหาให้ได้ เรียกได้ว่าเป็นองค์กรที่ซัพพอร์ตอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของเกาหลีอย่างแท้จริง

https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach%2F577745%2F577745.pdf&title=577745&cate=586&d=0&fbclid=IwAR36uWyGiPoeCA8b7scoWphOrHi1sZ-NPeZnYFBhQc0Ra8nEya_M7tLw_Mk

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่