ยอดโควิดวันนี้ 13 ก.พ. ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 15,882 ราย เสียชีวิต 24 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3181454
ยอดโควิดวันนี้ 13 ก.พ. ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 15,882 ราย เสียชีวิต 24 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 รวมติดเชื้อเพิ่มขึ้น 15,882 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 15,682 ราย, ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 200 ราย และผู้ป่วยสะสม 369,892 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ขณะที่หายป่วยกลับบ้าน 9,482 ราย, หายป่วยสะสม 277,528 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565), ผู้ป่วยกำลังรักษา 124,869 ราย และเสียชีวิต 24 ราย
‘สวนดุสิตโพล’ สำรวจผู้ปกครองยุคโควิด เผย 55% ไม่เชื่อมั่นเรียนออนไลน์ได้คุณภาพ
https://www.matichon.co.th/education/news_3181489
‘สวนดิสุตโพล’ สำรวจผู้ปกครองยุคโควิด เผย 55% ไม่เชื่อมั่นเรียนออนไลน์ได้คุณภาพ
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่ต้องดูแลหลายด้าน ทั้งด้านการเรียน ค่าใช้จ่าย การเลี้ยงดู และด้านสุขภาพ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการตัดสินใจฉีดวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียน “
สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,089 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
จำนวนบุตรหลานที่ดูแลรับผิดชอบ 1 คน 46.84% 2 คน 41.51% 3 คน 9.54% มากกว่า 3 คน 2.11%
ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายใดบ้างในการดูแลบุตรหลานในยุคโควิด-19 อันดับ 1 ค่าเทอม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียน 78.26% อันดับ 2 ค่าอาหารการกิน 76.23% อันดับ 3 ค่าดูแลสุขภาพ เช่น ค่ายา หน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK 75.49%
เรื่องที่ผู้ปกครองหนักใจสำหรับการดูแลรับผิดชอบบุตรหลานในยุคโควิด-19 อันดับ 1 สุขภาพของบุตรหลาน การฉีดวัคซีนโควิด-19 83.79% อันดับ 2 การเรียนออนไลน์ 70.63% อันดับ 3 พฤติกรรมการแสดงออกและพัฒนาการ 69.43%
ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคโควิด-19 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 55.52% ค่อนข้างเชื่อมั่น 27.02% ไม่เชื่อมั่น 11.33% เชื่อมั่นมาก 6.13%
ผู้ปกครองอยากให้โรงเรียน/สถานศึกษา พัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์อย่างไร อันดับ 1 ออกแบบการเรียนการสอนที่สนุกและได้สาระความรู้ ไม่เครียด บรรยากาศการเรียนดี 87.42% อันดับ 2 ใช้วิธีการหลากหลาย เช่น เล่นเกม ทำกิจกรรม ใช้สื่อที่ดึงดูดผู้เรียนออนไลน์ได้ 63.92% อันดับ 3 จัดการเรียนการสอนที่เข้าใจผู้เรียนที่ไม่มีความพร้อม 55.13%
ตามที่มีการกำหนดให้มีการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก (อายุ 5 ปีขึ้นไป) ผู้ปกครองมีความกังวลหรือไม่ค่อนข้างกังวล 45.54% กังวลมาก 30.82% ไม่ค่อยกังวล 19.50% ไม่กังวล 4.14%
สิ่งที่ผู้ปกครองกังวลใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้กับบุตรหลานมีอะไรบ้าง อันดับ 1 ประสิทธิภาพของวัคซีน ฉีดแล้วอาจยังเสี่ยงติดโควิด-19 72.72% อันดับ 2 ผลข้างเคียงของวัคซีนที่มีต่อเด็กในระยะยาว 68.29% อันดับ 3อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนทันที 67.83%
สำหรับการป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มบุตรหลาน ถ้าให้เลือกระหว่าง “การฉีดวัคซีน” กับ “การป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวด”ผู้ปกครองจะเลือกอะไร อันดับ 1 ทำทั้งสองอย่างควบคู่กัน 66.75% อันดับ 2 ให้บุตรหลานป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวด 25.56%อันดับ 3 การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับบุตรหลาน 7.69%
‘นิด้าโพล’ เผยปชช.เชื่อเกมการเมืองทำสภาล่ม ชี้รัฐบาลควรรับผิดชอบ แนะลงโทษ ตัดเงินเดือน ส.ส.ขาดประชุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_3181478
‘นิด้าโพล’ เผยปชช.เชื่อเกมการเมืองทำสภาล่ม ชี้รัฐบาลควรรับผิดชอบ แนะลงโทษ ตัดเงินเดือน ส.ส.ขาดประชุม
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “
นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
สภาล่ม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเหตุการณ์ “
สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “
นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคล/กลุ่ม ที่ควรรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ “
สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.44 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 42.37 ระบุว่า รัฐบาล ร้อยละ 37.94 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายค้าน ร้อยละ 32.60 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 14.66 ระบุว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 12.60 ระบุว่า ประธานวิปรัฐบาล นายนิโรธ สุนทรเลขา ร้อยละ 11.83 ระบุว่า ประธานวิปฝ่ายค้าน นายสุทิน คลังแสง ร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ควรมีใครต้องรับผิดชอบ และร้อยละ 7.10 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ “สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.85 ระบุว่า เป็นเกมการเมืองของกลุ่มที่ต้องการล้มรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 31.98 ระบุว่า มี ส.ส. จำนวนหนึ่ง ไร้สามัญสำนึกในการทำหน้าที่ภายในรัฐสภา ร้อยละ 16.03 ระบุว่า วิปรัฐบาล ไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 11.91 ระบุว่า มี ส.ส. จำนวนหนึ่ง ขี้เกียจสันหลังยาว ร้อยละ 8.17 ระบุว่า รัฐบาลต้องการเตะถ่วงกฎหมาย ร้อยละ 4.89 ระบุว่า วาระการประชุมไม่ดึงดูดใจให้เข้าประชุม ร้อยละ 4.35 ระบุว่า วิปฝ่ายค้านไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 2.82 ระบุว่า สภาล่มเป็นอุบัติเหตุ ไม่มีใครอยากให้เกิด และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ส.ส. จำนวนหนึ่งมีภาระหน้าที่อื่น
ที่สำคัญกว่าต้องทำ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อวิธีแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ “สภาล่ม” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ลงโทษตัดเงินเดือน สวัสดิการ ส.ส. ที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น รองลงมา ร้อยละ 22.82 ระบุว่า ลงโทษตัดสิทธิทางการเมือง ส.ส. ที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น ร้อยละ 22.29 ระบุว่า ลงโทษไล่ออกจากตำแหน่ง ส.ส. ในกรณีที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น ร้อยละ 17.71 ระบุว่า ลงโทษปรับเงิน ส.ส. ทุกครั้งที่ไม่เข้าร่วมประชุม ร้อยละ 16.03 ระบุว่า ลงโทษประจานชื่อผู้ขาดประชุมสภาต่อสาธารณะ ร้อยละ 14.20 ระบุว่า ลงโทษยุบพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนด ร้อยละ 12.60 ระบุว่า ไม่มีวิธีใดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
JJNY : ติดเชื้อ15,882 เสียชีวิต24 │55%ไม่เชื่อมั่นเรียนออนไลน์│สภาล่ม ชี้รบ.ควรรับผิดชอบ│หวั่น Thailand Pass สะดุด!
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3181454
ยอดโควิดวันนี้ 13 ก.พ. ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 15,882 ราย เสียชีวิต 24 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 รวมติดเชื้อเพิ่มขึ้น 15,882 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 15,682 ราย, ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 200 ราย และผู้ป่วยสะสม 369,892 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ขณะที่หายป่วยกลับบ้าน 9,482 ราย, หายป่วยสะสม 277,528 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565), ผู้ป่วยกำลังรักษา 124,869 ราย และเสียชีวิต 24 ราย
‘สวนดุสิตโพล’ สำรวจผู้ปกครองยุคโควิด เผย 55% ไม่เชื่อมั่นเรียนออนไลน์ได้คุณภาพ
https://www.matichon.co.th/education/news_3181489
‘สวนดิสุตโพล’ สำรวจผู้ปกครองยุคโควิด เผย 55% ไม่เชื่อมั่นเรียนออนไลน์ได้คุณภาพ
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่ต้องดูแลหลายด้าน ทั้งด้านการเรียน ค่าใช้จ่าย การเลี้ยงดู และด้านสุขภาพ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการตัดสินใจฉีดวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,089 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
จำนวนบุตรหลานที่ดูแลรับผิดชอบ 1 คน 46.84% 2 คน 41.51% 3 คน 9.54% มากกว่า 3 คน 2.11%
ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายใดบ้างในการดูแลบุตรหลานในยุคโควิด-19 อันดับ 1 ค่าเทอม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียน 78.26% อันดับ 2 ค่าอาหารการกิน 76.23% อันดับ 3 ค่าดูแลสุขภาพ เช่น ค่ายา หน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK 75.49%
เรื่องที่ผู้ปกครองหนักใจสำหรับการดูแลรับผิดชอบบุตรหลานในยุคโควิด-19 อันดับ 1 สุขภาพของบุตรหลาน การฉีดวัคซีนโควิด-19 83.79% อันดับ 2 การเรียนออนไลน์ 70.63% อันดับ 3 พฤติกรรมการแสดงออกและพัฒนาการ 69.43%
ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคโควิด-19 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 55.52% ค่อนข้างเชื่อมั่น 27.02% ไม่เชื่อมั่น 11.33% เชื่อมั่นมาก 6.13%
ผู้ปกครองอยากให้โรงเรียน/สถานศึกษา พัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์อย่างไร อันดับ 1 ออกแบบการเรียนการสอนที่สนุกและได้สาระความรู้ ไม่เครียด บรรยากาศการเรียนดี 87.42% อันดับ 2 ใช้วิธีการหลากหลาย เช่น เล่นเกม ทำกิจกรรม ใช้สื่อที่ดึงดูดผู้เรียนออนไลน์ได้ 63.92% อันดับ 3 จัดการเรียนการสอนที่เข้าใจผู้เรียนที่ไม่มีความพร้อม 55.13%
ตามที่มีการกำหนดให้มีการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก (อายุ 5 ปีขึ้นไป) ผู้ปกครองมีความกังวลหรือไม่ค่อนข้างกังวล 45.54% กังวลมาก 30.82% ไม่ค่อยกังวล 19.50% ไม่กังวล 4.14%
สิ่งที่ผู้ปกครองกังวลใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้กับบุตรหลานมีอะไรบ้าง อันดับ 1 ประสิทธิภาพของวัคซีน ฉีดแล้วอาจยังเสี่ยงติดโควิด-19 72.72% อันดับ 2 ผลข้างเคียงของวัคซีนที่มีต่อเด็กในระยะยาว 68.29% อันดับ 3อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนทันที 67.83%
สำหรับการป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มบุตรหลาน ถ้าให้เลือกระหว่าง “การฉีดวัคซีน” กับ “การป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวด”ผู้ปกครองจะเลือกอะไร อันดับ 1 ทำทั้งสองอย่างควบคู่กัน 66.75% อันดับ 2 ให้บุตรหลานป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวด 25.56%อันดับ 3 การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับบุตรหลาน 7.69%
‘นิด้าโพล’ เผยปชช.เชื่อเกมการเมืองทำสภาล่ม ชี้รัฐบาลควรรับผิดชอบ แนะลงโทษ ตัดเงินเดือน ส.ส.ขาดประชุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_3181478
‘นิด้าโพล’ เผยปชช.เชื่อเกมการเมืองทำสภาล่ม ชี้รัฐบาลควรรับผิดชอบ แนะลงโทษ ตัดเงินเดือน ส.ส.ขาดประชุม
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “สภาล่ม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเหตุการณ์ “สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคล/กลุ่ม ที่ควรรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ “สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.44 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 42.37 ระบุว่า รัฐบาล ร้อยละ 37.94 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายค้าน ร้อยละ 32.60 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 14.66 ระบุว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 12.60 ระบุว่า ประธานวิปรัฐบาล นายนิโรธ สุนทรเลขา ร้อยละ 11.83 ระบุว่า ประธานวิปฝ่ายค้าน นายสุทิน คลังแสง ร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ควรมีใครต้องรับผิดชอบ และร้อยละ 7.10 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ “สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.85 ระบุว่า เป็นเกมการเมืองของกลุ่มที่ต้องการล้มรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 31.98 ระบุว่า มี ส.ส. จำนวนหนึ่ง ไร้สามัญสำนึกในการทำหน้าที่ภายในรัฐสภา ร้อยละ 16.03 ระบุว่า วิปรัฐบาล ไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 11.91 ระบุว่า มี ส.ส. จำนวนหนึ่ง ขี้เกียจสันหลังยาว ร้อยละ 8.17 ระบุว่า รัฐบาลต้องการเตะถ่วงกฎหมาย ร้อยละ 4.89 ระบุว่า วาระการประชุมไม่ดึงดูดใจให้เข้าประชุม ร้อยละ 4.35 ระบุว่า วิปฝ่ายค้านไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 2.82 ระบุว่า สภาล่มเป็นอุบัติเหตุ ไม่มีใครอยากให้เกิด และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ส.ส. จำนวนหนึ่งมีภาระหน้าที่อื่น
ที่สำคัญกว่าต้องทำ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อวิธีแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ “สภาล่ม” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ลงโทษตัดเงินเดือน สวัสดิการ ส.ส. ที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น รองลงมา ร้อยละ 22.82 ระบุว่า ลงโทษตัดสิทธิทางการเมือง ส.ส. ที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น ร้อยละ 22.29 ระบุว่า ลงโทษไล่ออกจากตำแหน่ง ส.ส. ในกรณีที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น ร้อยละ 17.71 ระบุว่า ลงโทษปรับเงิน ส.ส. ทุกครั้งที่ไม่เข้าร่วมประชุม ร้อยละ 16.03 ระบุว่า ลงโทษประจานชื่อผู้ขาดประชุมสภาต่อสาธารณะ ร้อยละ 14.20 ระบุว่า ลงโทษยุบพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนด ร้อยละ 12.60 ระบุว่า ไม่มีวิธีใดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ