รัฐบาลเร่งหาทางแก้ปัญหาความยากจนต่อเนื่อง ไปดูกันว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 7 ปีในยุคของ “บิ๊กตู่” สถานการณ์คนจนในประเทศไทยเป็นอย่างไร ล่าสุดมีแนวทางในการแก้ปัญหาได้หรือไม่
หลังจากการประชุมคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน ประชุมนัดครั้งแรกในปี 2565 โดยได้มีการหารือเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยของประเทศ
ที่ประชุมมอบหมายทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันขับเคลื่อนแนวทางการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของข้อมูล มีการบูรณาการการใช้ประโยชน์ของข้อมูลร่วมกัน รวมถึงให้หน่วยงานในพื้นที่การนำข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยขอให้หน่วยงานที่มีข้อมูลจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ที่เป็นปัจจุบัน
เพื่อเติมเต็มข้อมูลในระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ในการดำเนินงานต่าง ๆ ในระยะต่อไปจำเป็นต้องใช้งบประมาณที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยในพื้นที่ จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการ โดยกำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการให้สำเร็จทุกมิติให้มากที่สุดภายในปี 2565
อย่างไรก็ตามในการขับเคลื่อนแผนครั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจและน่าติดตามว่า จะสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทยที่เป็นปัญหาใหญ่มานานได้หรือไม่
ทั้งนี้จากข้อมูลของ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ความยากจนของไทย ว่า จำนวนคนยากจนในปี 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 4.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนคนจนที่ 6.84% เพิ่มขึ้นจาก 6.24% ในปี 2562 หรือมีจำนวนคนจนเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านคนจากปีก่อน
เมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไป 7 ปี ตั้งแต่ปี 2557 สมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนถึงปัจจุบัน พบว่า ในปี 2557 ประเทศไทยมีจำนวนคนจนทั้งสิ้น 7.1 ล้านคน ก่อนลดลงมาอยู่ที่ 4.8 ล้านคนในปี 2558 ส่วนในปี 2559 อยู่ที่ 5.8 ล้านคน ปี 2560 อยู่ที่ 5.3 ล้านคน ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นมาในปี 2561 อยู่ที่ 6.7 ล้านคน
ส่วนในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประเทศไทยมีจำนวนคนยากจนลดลงจากปีก่อน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 4.3 ล้านคน และเมื่อเกิดการระบาดของไวรัสโควิดในปี 2563 ทำให้มีจำนวนคนจนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.8 ล้านคน
ขณะที่ตัวเลขในปี 2564 ยังไม่มีจำนวนคนจนออกมาชัดเจน แต่ในช่วงของการแถลงรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เมื่อเดือนพ.ย.2564 น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการ สศช. ระบุข้อมูลไว้ว่า เป็นห่วงสถานการณ์ความยากจนของไทย หากความช่วยเหลือของรัฐบาลหมดลงในช่วงที่เศรษฐกิจและการจ้างงานยังไม่ฟื้นตัว อาจทำให้สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำจะรุนแรงกว่าเดิม
อย่างไรก็ตามจากมติของคณะกรรมการขจัดความยากจนฯ เมื่อวันที่ 9 ก.พ.2565 ได้มีมติสำคัญเพื่อเร่งแก้ปัญหานี้ 3 เรื่องด้วยกัน ดังนี้
1.รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย หรือ “เมนูแก้จน” โดย สศช. ร่วมกับภาคีการพัฒนาในพื้นที่จะดำเนินการจัดมหกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยใน “บางกอกน้อยโมเดล” และดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำโครงการเพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติเพื่อนำไปสู่การขอรับการจัดสรรงบประมาณแบบพุ่งเป้า รวมทั้ง ศจพ. ทุกระดับ โดยเฉพาะ ศจพ. ระดับจังหวัด ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย
2.รับทราบแนวทางการดำเนินงานการขจัดความยากจนฯ สำหรับการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ โดยมอบหมายทีมพี่เลี้ยง ข้อมูลบุคคล/ครัวเรือนเป้าหมาย จากระบบ TPMAP กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับครัวเรือน และเป็นผู้ติดตาม/ดูแลครัวเรือน เป้าหมายอย่างใกล้ชิด พร้อมนำ “เมนูแก้จน” ไปแก้ไขปัญหา หากสภาพปัญหาแตกต่างจากเมนูแก้จน ให้ ดำเนินการแก้ไขตามอำนาจหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขรายครัวเรือน โดยดำเนินการให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2565 โดยที่ประชุม ได้เน้นขอให้ทุกหน่วยงานลด ละ เลิกการทำงานแบบต่างคนต่างทํา และให้ความสำคัญกับการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
3.รับทราบแนวทางการจัดทำข้อเสนอโครงการการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยหน่วยงานจะต้องยึดตามแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2563 และวันที่ 18 พ.ค. 2564 ใน 4 แนวทาง ประกอบด้วย แนวทางที่ 1 การมองเป้าหมายร่วมกัน แนวทางที่ 2 การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย และการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แนวทางที่ 3 การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการฯ และแนวทางที่ 4 การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
https://www.thansettakij.com/insights/513327
ในสมัยรัฐบาลลุงตู่ ทำจำนวนคนจนลดลงอย่างชัดเจนนะคะ
แต่มาสะดุดตรงที่มีการระบาดของโควิด คนจนทั่วโลกเพิ่มขึ้นประเทศไทยก็เช่นกัน
ตอนนี้ลุงตู่เริ่มสตาร์ทการแก้จนอย่างเป็นระบบตรงจุดในปีนี้ เพื่อช่วยเหลือคนยากจนแต่ละคนที่มีบริบทแตกต่างกัน
ให้กำลังใจนายกฯลุงตู่ที่ทำงานเพื่อประชาชนค่ะ....💕💕
ขอบคุณนะคะ...
💜มาลาริน/ยุค “ลุงตู่” ผ่านมา 7 ปี สถานการณ์คนจนในประเทศไทยเป็นอย่างไร
รัฐบาลเร่งหาทางแก้ปัญหาความยากจนต่อเนื่อง ไปดูกันว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 7 ปีในยุคของ “บิ๊กตู่” สถานการณ์คนจนในประเทศไทยเป็นอย่างไร ล่าสุดมีแนวทางในการแก้ปัญหาได้หรือไม่
หลังจากการประชุมคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน ประชุมนัดครั้งแรกในปี 2565 โดยได้มีการหารือเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยของประเทศ
ที่ประชุมมอบหมายทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันขับเคลื่อนแนวทางการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของข้อมูล มีการบูรณาการการใช้ประโยชน์ของข้อมูลร่วมกัน รวมถึงให้หน่วยงานในพื้นที่การนำข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยขอให้หน่วยงานที่มีข้อมูลจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ที่เป็นปัจจุบัน
เพื่อเติมเต็มข้อมูลในระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ในการดำเนินงานต่าง ๆ ในระยะต่อไปจำเป็นต้องใช้งบประมาณที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยในพื้นที่ จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการ โดยกำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการให้สำเร็จทุกมิติให้มากที่สุดภายในปี 2565
อย่างไรก็ตามในการขับเคลื่อนแผนครั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจและน่าติดตามว่า จะสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทยที่เป็นปัญหาใหญ่มานานได้หรือไม่
ทั้งนี้จากข้อมูลของ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ความยากจนของไทย ว่า จำนวนคนยากจนในปี 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 4.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนคนจนที่ 6.84% เพิ่มขึ้นจาก 6.24% ในปี 2562 หรือมีจำนวนคนจนเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านคนจากปีก่อน
เมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไป 7 ปี ตั้งแต่ปี 2557 สมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนถึงปัจจุบัน พบว่า ในปี 2557 ประเทศไทยมีจำนวนคนจนทั้งสิ้น 7.1 ล้านคน ก่อนลดลงมาอยู่ที่ 4.8 ล้านคนในปี 2558 ส่วนในปี 2559 อยู่ที่ 5.8 ล้านคน ปี 2560 อยู่ที่ 5.3 ล้านคน ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นมาในปี 2561 อยู่ที่ 6.7 ล้านคน
ส่วนในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประเทศไทยมีจำนวนคนยากจนลดลงจากปีก่อน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 4.3 ล้านคน และเมื่อเกิดการระบาดของไวรัสโควิดในปี 2563 ทำให้มีจำนวนคนจนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.8 ล้านคน
ขณะที่ตัวเลขในปี 2564 ยังไม่มีจำนวนคนจนออกมาชัดเจน แต่ในช่วงของการแถลงรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เมื่อเดือนพ.ย.2564 น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการ สศช. ระบุข้อมูลไว้ว่า เป็นห่วงสถานการณ์ความยากจนของไทย หากความช่วยเหลือของรัฐบาลหมดลงในช่วงที่เศรษฐกิจและการจ้างงานยังไม่ฟื้นตัว อาจทำให้สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำจะรุนแรงกว่าเดิม
อย่างไรก็ตามจากมติของคณะกรรมการขจัดความยากจนฯ เมื่อวันที่ 9 ก.พ.2565 ได้มีมติสำคัญเพื่อเร่งแก้ปัญหานี้ 3 เรื่องด้วยกัน ดังนี้
1.รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย หรือ “เมนูแก้จน” โดย สศช. ร่วมกับภาคีการพัฒนาในพื้นที่จะดำเนินการจัดมหกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยใน “บางกอกน้อยโมเดล” และดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำโครงการเพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติเพื่อนำไปสู่การขอรับการจัดสรรงบประมาณแบบพุ่งเป้า รวมทั้ง ศจพ. ทุกระดับ โดยเฉพาะ ศจพ. ระดับจังหวัด ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย
2.รับทราบแนวทางการดำเนินงานการขจัดความยากจนฯ สำหรับการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ โดยมอบหมายทีมพี่เลี้ยง ข้อมูลบุคคล/ครัวเรือนเป้าหมาย จากระบบ TPMAP กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับครัวเรือน และเป็นผู้ติดตาม/ดูแลครัวเรือน เป้าหมายอย่างใกล้ชิด พร้อมนำ “เมนูแก้จน” ไปแก้ไขปัญหา หากสภาพปัญหาแตกต่างจากเมนูแก้จน ให้ ดำเนินการแก้ไขตามอำนาจหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขรายครัวเรือน โดยดำเนินการให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2565 โดยที่ประชุม ได้เน้นขอให้ทุกหน่วยงานลด ละ เลิกการทำงานแบบต่างคนต่างทํา และให้ความสำคัญกับการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
3.รับทราบแนวทางการจัดทำข้อเสนอโครงการการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยหน่วยงานจะต้องยึดตามแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2563 และวันที่ 18 พ.ค. 2564 ใน 4 แนวทาง ประกอบด้วย แนวทางที่ 1 การมองเป้าหมายร่วมกัน แนวทางที่ 2 การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย และการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แนวทางที่ 3 การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการฯ และแนวทางที่ 4 การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
https://www.thansettakij.com/insights/513327
ในสมัยรัฐบาลลุงตู่ ทำจำนวนคนจนลดลงอย่างชัดเจนนะคะ
แต่มาสะดุดตรงที่มีการระบาดของโควิด คนจนทั่วโลกเพิ่มขึ้นประเทศไทยก็เช่นกัน
ตอนนี้ลุงตู่เริ่มสตาร์ทการแก้จนอย่างเป็นระบบตรงจุดในปีนี้ เพื่อช่วยเหลือคนยากจนแต่ละคนที่มีบริบทแตกต่างกัน
ให้กำลังใจนายกฯลุงตู่ที่ทำงานเพื่อประชาชนค่ะ....💕💕
ขอบคุณนะคะ...