กรณี กลุ่มคน บุกกุฏิพระ ยามวิกาล นี่เข้าข่ายผิดกฎหมายข้อใดหรือไม่

ตามข่าว เจ้าอาวาส วัดที่เป็นข่าว มีสีกา ในกุฏิ ผิดข้อวินัยชัดเจน 
อาจจะไม่ถึงปาราชิก(เพราะหลักฐานไม่พอ)
แต่ก็ไม่พ้น สังฆาทิเสส แน่นอน

แต่ตามกฎหมายบ้านเมือง
กลุ่มคนที่บุกเข้าไปในกุฏิ ซึ่งไม่ใช่ที่สาธารณะ ในยามวิกาล 
มีความผิดหมิ่นเหม่ กฎหมาย หรือไม่  ถึงจะมี จนท ตร. ร่วมเข้าไปด้วยก็ตาม
เพราะไม่มีหมายค้น หมายจับใดใด และกรณีนี้ ก็ไม่ใช่อาชญากรรม อะไร

ถามเพื่อเป็นกรณีศึกษา ไว้ในคราวต่อไป ให้กลุ่มพิทักษ์ศาสนา ทำงานรัดกุมขึ้น
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
เอาจริงๆ ผิดกฎหมาย จะเข้าไปตรวจค้นอะไรไม่ได้ ยิ่งในยามวิกาล
และไม่ได้ผิดกฎหมายอาญา
กุฎืพระเป็น เคหะสถาน จะค้นต้องขอหมายค้น เท่านั้น   ตามฎีกาที่ 2014/2536
ไม่มีหมายไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า(ทางอาญา) จะค้นหรือจะบุกรุกแข้าไปไม่ได้  ไม่มีเหตุตาม (1)(5) ตาม วิอาญามาตรา92
และการที่ทิดแก่ๆ ให้เข้าไปก็คือ ความผิดฐายข่มขืนใจให้ย่อมกระทำตามทั้งที่ไม่อยากให้เข้า

แต่กระแสและวิถึจารีค ชาวชาวพุทธ  
ถ้าตำรวจไม่มา ปลัดไม่มา รับรองเจอสังคมจัดการกันเอง
เละแน่ งอม ทั้งทั้งทิดและสีกา
จึงต้องใช้หลักรัฐศาตร์และพระธรรมวินัย เข้ามาจัดการ  พาไปสึก

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฎีกา 2014/2536  คำว่า "กุฏิ"  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2525  หมายความว่า "เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่" กุฏิพระจึง
เป็นเพียงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น
  หาใช่สถานที่บูชาสาธารณะ
จึงเป็น "เคหสถาน" ตามนัยมาตรา 1(4) แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ปวอ. มาตรา 92  ห้ามมิให้ ค้นในที่รโหฐาน โดยไม่มี หมายค้น หรือ คำสั่งของศาล เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจเป็นผู้ค้น และ ในกรณีดังต่อไปนี้
                        (1) เมื่อ มีเสียงร้องให้ช่วย มาจากข้างในที่รโหฐาน หรือ มีเสียง หรือ พฤติการณ์อื่นใด อันแสดงได้ว่า มีเหตุร้ายเกิดขึ้น ในที่รโหฐานนั้น
                        (2) เมื่อ ปรากฏความผิดซึ่งหน้า กำลังกระทำลง ในที่รโหฐาน
                        (3) เมื่อ บุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับ หนีเข้าไป หรือ มีเหตุ อันแน่นแฟ้น ควรสงสัยว่า ได้เข้าไปซุกซ่อนตัว อยู่ในที่รโหฐานนั้น
                        (4) เมื่อ มีพยานหลักฐานตามสมควรว่า สิ่งของ ที่มีไว้ เป็นความผิด หรือ ได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือ มีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือ อาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ การกระทำความผิด ได้ซ่อน หรือ อยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้า กว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้น จะถูกโยกย้าย หรือ ทำลายเสียก่อน
                        (5) เมื่อ ที่รโหฐานนั้น ผู้จะต้องถูกจับ เป็นเจ้าบ้าน และ การจับนั้น มีหมายจับ หรือ จับตาม มาตรา78
            การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ ผู้ค้น ส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้น และ บัญชีทรัพย์ ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึก แสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้ เป็นหนังสือ ให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้า ไม่มีผู้ครอบครอง อยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบ หนังสือดังกล่าว แก่บุคคลเช่นว่านั้น ในทันที ที่กระทำได้ และ รีบรายงานเหตุผล และ ผลการตรวจค้น เป็นหนังสือ ต่อผู้บังคับบัญชา เหนือขึ้นไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่