สวัสดีเพื่อนๆชาวพันทิปทุกคนที่ทั้งสนใจเรียนต่ออเมริกาและประเทศอื่นๆ ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยทยอยประกาศผลการสมัครเรียนในภาคการศึกษาใบไม้ร่วง (fall semester) ออกมาแล้ว ผมเองก็สมัครหลายมหาลัยและได้รับการตอบกลับมาบ้างแล้ว เลยจะมาขอแชร์การสมัครมหาลัยอเมริกาไว้เป็นแนวทางให้ทุกคน โดยจะแบ่งเป็นส่วนๆตามนี้นะครับ
1. ขั้นตอนการสมัคร
2. เอกสารประกอบการสมัคร
3. การติดตามผลการสมัคร
1. การเตรียมตัวและขั้นตอนการสมัคร
1. เลือกสาขาวิชาที่เราอยากเรียน เช่น MBA, finance, public policy, education ตั่งต่าง จากนั้นก็เลือกประเทศที่เราอยากไปเรียน จะอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ก็ว่าไป
2. เลือกมหาวิทยาลัยที่เราอยากไปเรียน อย่างผมจะเลือกจากการดูหลายๆอย่าง เช่น มีสาขาที่เราจะไปเรียนไหม มหาลัยตั้งอยู่ในเมืองไหม(ถ้าอยู่ในเมืองจะดีมาก จะได้ไปแรดในเมืองได้สะดวกๆ) ส่วน ranking นี่เอาไว้หลังสุด ไม่เน้น เพราะไปเล่น ไม่ได้ไปเรียน (หยอกๆ 555)
3. เลือกว่าเราจะเข้าเรียนในเทอมไหน ส่วนใหญ่มหาลัยมักจะเปิดให้เราสมัครเรียนเทอมใบไม้ร่วง (fall semester) แต่หลายที่รับสมัครหลายรอบ spring, summer ซึ่งกำหนดการรับสมัครของแต่ละเทอมก็จะต่างกัน
4. ดูว่ามหาลัยที่เราอยากไปเปิดรับสมัครถึงวันไหน มีเกณฑ์อะไรบ้าง จะได้เตรียมแต่เนิ่นๆ อย่างคะแนนสอบภาษาอังกฤษ หรือทาบทามอาจารย์เพื่อขอจดหมายแนะนำตั่งต่าง
5. ระบบการสมัครจะเป็นแบบออนไลน์ สมัครผ่านเว็บไซต์ พวกเอกสารตั่งต่างอัพโหลดในระบบได้เลย ง่ายและสะดวกมาก
2. เอกสารประกอบการสมัคร
ส่วนใหญ่มหาลัยทุกที่จะขอเหมือน ๆ กัน ไม่ต่างกันมาก ก็จะมี
1. ทรานสคริปส์และใบปริญญา(Transcript and Degree Certificate) ก็ขอมหาลัยที่เราจบมาทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากนั้นสแกนทั้งทรานสคริปส์และใบปริญญารวมกันเป็นไฟล์เดียวเลย บางมหาลัยจะให้เราเอาทรานสคริปส์ไปเทียบเกรดแบบ course-by-course กับหน่วยงานเอกชน เพื่อแปลงเกรดและหน่วยกิตไปเป็นแบบอเมริกาก่อน แต่บางมหาลัยก็ไม่ สามารถเช็คได้ที่หน้าเว็บไซต์เลย
(ทรานสคริปส์ก็คือหน้าตาอย่างงี้ ส่วนใบปริญญาก็อย่างที่ทุกคนรู้จัก)
2. เรียงความ (Statement of Purpose/Statement of Professional Goal/Personal Statement : SoP)
จะเป็นเรียงความที่ให้เราเขียนถึงว่าทำไมถึงอยากเรียนต่อ ทำไมถึงคิดว่าตัวเองเหมาะกับสาขาวิชานี้ มหาลัยนี้ ตอนเรียนตรีทำไรมาบ้าง พอเรียนจบจะทำไรบ้าง สามารถดูหน้าเว็บไซต์ของสาขาวิชาที่เราจะสมัครได้ว่ามหาลัยเน้นอะไร ต้องการคนแบบไหน เพื่อเราจะได้เขียนได้ตรงกับความต้องการของมหาลัย ถ้ามหาลัยไม่ถามอะไรเพิ่มเราก็เขียนแค่นี้พอ รับรองติดแน่นอน รูปแบบก็ทั่วไปเลย ส่วนนำ เนื้อเรื่อง สรุป ส่วนฟอนต์ก็ใช้แบบสากล Times New Roman 12
การเว้นบรรทัดจะเป็นเว้น 2 บรรทัด (double space) หรือเว้น 1 บรรทัด (single space) ความยาวกี่หน้ากระดาษดูได้ที่เว็บของมหาลัยเลย
(ตัวอย่างส่วนนำเรียงความผมเอง อิอิ เขินจัง ขอปิดชื่อมหาลัยพอเป็นพิธีนะคร้าบ 5555)
3. จดหมายแนะนำ (Letter of Recommendation : LoR) ส่วนใหญ่มหาลัยจะชอบขอ 3 ฉบับ แต่ก็มีบางที่ที่ขอ 2 ฉบับ แน่นอนว่าผมเลือกสมัครมหาลัยที่ขอ 2 เพราะมันง่ายดี เราไม่ต้องขออาจารย์หลายท่าน 55555 มหาลัยจะให้เรากรอกอีเมล์ของอาจารย์ในระบบสมัครเลย จากนั้นลิ้งค์กรอกจดหมายแนะนำจะถูกส่งไปหาอาจารย์โดยอัตนโนมัติ อาจารย์ก็ส่งให้มหาลัยโดยตรงเลย ตอนเราส่งจะให้เราเลือกได้ด้วยว่าจะขอรับสิทธิในการดูเนื้อความที่อาจารย์เขียนหรือไม่ ผมไม่ดู เพราะเขิน 5555 ให้อาจารย์เขียนได้ตามที่เห็นสมควรเลย แต่อาจารย์ก็ต้องเขียนอวยเราอยู่แล้วแหละ จริงไหม? ข้อนี้ขอแนะนำว่าควรเลือกอาจารย์ที่เคยสอนเราและเราสนิทด้วย ถ้าอาจารย์จบนอกด้วยก็จะดีเพราะจะได้เขียนได้อย่างไม่ลำบากนัก
4. ผลสอบภาษาอังกฤษ จะสอบ TOEFL หรือ IELTS ก็เลือกตามความถนัดเลย แต่ตอนนี้ขอบอกว่าโทเฟลค่าสอบเจ็ดพันกว่าบาท แต่ไอเอลหกพันเก้าเอง ถ้าสอบโทเฟลควรทำให้ได้ 80/120 ขึ้นไป ส่วนไอเอลควรได้ 6.5/9 ขึ้นไป แค่นี้ก็สมัครมหาลัยได้เกือบทุกที่ในอเมริกาแล้ว
(คะแนนผมก็คือเข้าเกณฑ์เป๊ะ อ่อนพูดมาก ก้คนไทยอ่ะเนาะ จะเอาเวลาไหนไปฝึกพูดขนาดนั้น)
5. CV/Resume ก็ไม่ต้องทำสวยอลังการ เพราะเรามาแนววิชาการ ก็ใช้รูปแบบทางการ เรียบ ๆ พอ รูปแบบดูได้ทั่วไปตามเว็บไซต์ แนะนำว่าควรใส่เนื้อความให้มันไปในทางเดียวกับ SoP และสาขาที่เราจะเรียน แบบว่าอ่านแล้วรู้เลยว่าเราจะเรียนสาขาอะไร
(สวยมาก จิตใจดีอะไรขนาดนี้ 5555)
6. ค่าสมัคร แล้วแต่มหาลัย ส่วนใหญ่ก็ 65 70 80 90 เหรียญ แต่บางที่ก็ 180 เหรียญ! OMG มาก
บางมหาลัยอาจจะมีเอกสารมากกว่านี้ เช่น เรียงความเกี่ยวกับความเสมอภาค ความหลากหลาย และความยุติธรรมในสังคม เนื่องจากอเมริกาจะซีเรียสพวก diversity and inclusion มาก
3. การติดตามผลการสมัคร
พอเราส่งเอกสารทุกสิ่งอย่าง ระบบจะตรวจให้ว่าเราส่งครบรึยัง ขาดอะไรไหม เราก็หามาใส่ให้ครบ ไม่จำเป็นต้องสมัครรวดเดียวเสร็จ สามารถอัพเดตได้เรื่อย ๆ จากนั้นเราก็จ่ายเงินค่าสมัคร มหาลัยจะเริ่มทำการตรวจสอบเอกสารและรีวิวตามขั้นตอน ระยะเวลาที่เราจะรู้ผลก็หลากหลายตามแต่ละมหาลัย ตั้งแต่สองอาทิตย์ไปถึงสามเดือน อย่างผมเป็นคนใจร้อน ก็เมล์ถามมหาลัยอย่างบ่อย 5555
ในที่สุดก็มาถึงงง! วันที่เราใฝ่ฝัน นั่นคือวันที่ได้รับการตอบกลับจากมหาลัย โดยผมสมัครไป 3 ที่ ตอนนี้ได้ตอบรับมาแล้ว 1 ที่ โล่งใจมาก จากนี้คงนอนหลับสบายขึ้นเยอะ 5555
(ที่นี่คือตอบรับเร็วมาก สมัครไปสองอาทิตย์คือตอบรับแล้ว ตั้งตัวไม่ทัน)
จบการแบ่งปันแล้วคร้าบบ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ ถ้าเพื่อนๆสงสัยตรงไหนสามารถถามได้เลยครับ ยินดีให้คำแนะนำ หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์นะ ผมรู้ว่านี่เป็นก้าวแรกในการเรียนต่อ แต่มันก้เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ สองปีต่อจากนี้ก็หวังว่าตัวเองจะเอาชีวิตรอดกลับมาเมืองไทยได้ 5555 สาธุ
(เล่าเรื่อง+แบ่งปัน) สมัครเรียนปริญญาโทที่อเมริกายังไงให้ได้รับการตอบรับ ฉบับมนุษย์เป็ด
1. ขั้นตอนการสมัคร
2. เอกสารประกอบการสมัคร
3. การติดตามผลการสมัคร
1. การเตรียมตัวและขั้นตอนการสมัคร
1. เลือกสาขาวิชาที่เราอยากเรียน เช่น MBA, finance, public policy, education ตั่งต่าง จากนั้นก็เลือกประเทศที่เราอยากไปเรียน จะอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ก็ว่าไป
2. เลือกมหาวิทยาลัยที่เราอยากไปเรียน อย่างผมจะเลือกจากการดูหลายๆอย่าง เช่น มีสาขาที่เราจะไปเรียนไหม มหาลัยตั้งอยู่ในเมืองไหม(ถ้าอยู่ในเมืองจะดีมาก จะได้ไปแรดในเมืองได้สะดวกๆ) ส่วน ranking นี่เอาไว้หลังสุด ไม่เน้น เพราะไปเล่น ไม่ได้ไปเรียน (หยอกๆ 555)
3. เลือกว่าเราจะเข้าเรียนในเทอมไหน ส่วนใหญ่มหาลัยมักจะเปิดให้เราสมัครเรียนเทอมใบไม้ร่วง (fall semester) แต่หลายที่รับสมัครหลายรอบ spring, summer ซึ่งกำหนดการรับสมัครของแต่ละเทอมก็จะต่างกัน
4. ดูว่ามหาลัยที่เราอยากไปเปิดรับสมัครถึงวันไหน มีเกณฑ์อะไรบ้าง จะได้เตรียมแต่เนิ่นๆ อย่างคะแนนสอบภาษาอังกฤษ หรือทาบทามอาจารย์เพื่อขอจดหมายแนะนำตั่งต่าง
5. ระบบการสมัครจะเป็นแบบออนไลน์ สมัครผ่านเว็บไซต์ พวกเอกสารตั่งต่างอัพโหลดในระบบได้เลย ง่ายและสะดวกมาก
2. เอกสารประกอบการสมัคร
ส่วนใหญ่มหาลัยทุกที่จะขอเหมือน ๆ กัน ไม่ต่างกันมาก ก็จะมี
1. ทรานสคริปส์และใบปริญญา(Transcript and Degree Certificate) ก็ขอมหาลัยที่เราจบมาทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากนั้นสแกนทั้งทรานสคริปส์และใบปริญญารวมกันเป็นไฟล์เดียวเลย บางมหาลัยจะให้เราเอาทรานสคริปส์ไปเทียบเกรดแบบ course-by-course กับหน่วยงานเอกชน เพื่อแปลงเกรดและหน่วยกิตไปเป็นแบบอเมริกาก่อน แต่บางมหาลัยก็ไม่ สามารถเช็คได้ที่หน้าเว็บไซต์เลย
จะเป็นเรียงความที่ให้เราเขียนถึงว่าทำไมถึงอยากเรียนต่อ ทำไมถึงคิดว่าตัวเองเหมาะกับสาขาวิชานี้ มหาลัยนี้ ตอนเรียนตรีทำไรมาบ้าง พอเรียนจบจะทำไรบ้าง สามารถดูหน้าเว็บไซต์ของสาขาวิชาที่เราจะสมัครได้ว่ามหาลัยเน้นอะไร ต้องการคนแบบไหน เพื่อเราจะได้เขียนได้ตรงกับความต้องการของมหาลัย ถ้ามหาลัยไม่ถามอะไรเพิ่มเราก็เขียนแค่นี้พอ รับรองติดแน่นอน รูปแบบก็ทั่วไปเลย ส่วนนำ เนื้อเรื่อง สรุป ส่วนฟอนต์ก็ใช้แบบสากล Times New Roman 12
การเว้นบรรทัดจะเป็นเว้น 2 บรรทัด (double space) หรือเว้น 1 บรรทัด (single space) ความยาวกี่หน้ากระดาษดูได้ที่เว็บของมหาลัยเลย
3. การติดตามผลการสมัคร
พอเราส่งเอกสารทุกสิ่งอย่าง ระบบจะตรวจให้ว่าเราส่งครบรึยัง ขาดอะไรไหม เราก็หามาใส่ให้ครบ ไม่จำเป็นต้องสมัครรวดเดียวเสร็จ สามารถอัพเดตได้เรื่อย ๆ จากนั้นเราก็จ่ายเงินค่าสมัคร มหาลัยจะเริ่มทำการตรวจสอบเอกสารและรีวิวตามขั้นตอน ระยะเวลาที่เราจะรู้ผลก็หลากหลายตามแต่ละมหาลัย ตั้งแต่สองอาทิตย์ไปถึงสามเดือน อย่างผมเป็นคนใจร้อน ก็เมล์ถามมหาลัยอย่างบ่อย 5555