สุภาษิตจีนในภาษาอังกฤษกล่าวว่า “A journey of a thousand miles begins with a single step” (หนทางพันลี้เริ่มต้นที่ก้าวแรก) ชวนให้ผมคิดถึงช่วงเวลาของการเริ่มต้นในการบรรลุสิ่งต่างๆ หากเราเอาแต่นั่งคิดฝันโดยปราศจากความกล้าในการเริ่ม “ก้าวแรก” แล้ว เราจะเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางของเราได้อย่างไร? นี่เป็นหนึ่งในคำถามที่ผมย้อนถามตัวเองในวันปิดภาคการศึกษาแรกของผมที่อเมริกาครับ มองย้อนกลับไปแล้วผมล้มลุกคลุกคลานก่อนที่จะเดินทางมาถึงจุดนี้อย่างแสนสาหัส แต่เป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าและหาไม่ได้ด้วยวิธีอื่น นอกจากการลงมือทำทุกขั้นทุกตอนด้วยตัวเอง ในงานเขียนชิ้นนี้ผมจึงตั้งใจจะแบ่งปันประสบการณ์การสมัครเรียนต่อปริญญาโทที่อเมริกาด้วยตัวเองของผมทีละขั้นทีละตอนด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังสนใจจะสมัครเรียนต่อต่างประเทศแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร และจะไปต่อทางไหนนะครับ อะไรคือจุดเริ่มต้นของผมในการเดินทางครั้งนี้? และผมต้องก้าวผ่านบททดสอบอะไรบ้าง? โปรดเลื่อนอ่านต่อไปเลยครับ
ตอนที่ 1 เตรียมตัวให้พร้อมก่อนสมัคร
- เรียนอะไร? ประเทศไหนดี?
คำถามแรกสำหรับทุกคนที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศคือ เรียนอะไร? ประเทศไหนดี? เพราะถ้าเรายังตอบตัวเองไม่ชัดแล้วเราก็ก้าวสู่ขั้นต่อๆไปไม่ได้ จริงหรือไม่ครับ ดังนั้น ช่วงที่เรียนปริญญาตรีอยู่หรือก่อนจบต้องรีบหาตัวเองให้เจอเลยว่าแท้จริงแล้วเราอยากประกอบอาชีพอะไร? และเราถนัดในสิ่งนั้นจริงๆหรือไม่? สองสิ่งนี้ต่างกันอย่างไรครับ ความต่างก็คือบางทีเราคิดว่าเราอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่เพราะเพราะความคาดหวังของคนรอบข้างหรือจากสังคม แต่เอาจริงๆแล้วเราไม่ได้รักไม่ได้ถนัดในสาขานั้นจริงๆ เราก็จะหมดแรงที่จะต่อสู้ฝ่าฟันเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา ดังนั้น การรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้นั้นจึงเป็นปราการด่านแรกที่เราจะต้องหาให้เจอครับ
เมื่อรู้ว่าเราอยากเป็นอะไร และจะต้อง “เรียนอะไร” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ไปสู่สิ่งที่เราอยากเป็นแล้ว สิ่งต่อมาคือ “การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน” ครับ เปรียบไปแล้วก็เหมือนกับการเดินทาง เราจะออกเดินทางได้อย่างไรถ้าเราไม่รู้ว่าเราจุดหมายปลายทางของเราอยู่ที่ไหน จริงหรือมไม่ครับ เช่นนี้คำว่าอยากเรียนต่อต่างประเทศเฉยๆจึงไม่พอ ต้องถามตัวเองต่อไปว่า “ประเทศไหนดี?” แต่ละคนอาจมีวิธีเลือกประเทศต่างกันนะครับ สำหรับผมแล้วผมเริ่มต้นด้วยภาษา เพราะทั้งชีวิตนอกจากภาษาไทยแล้ว ภาษาที่สองที่พอจะสื่อสารได้ก็คือ ภาษาอังกฤษ ตัวเลือกประเทศจึงแคบลงมาที่ อเมริกา กับ อังกฤษ ทีนี้ก็ยังกว้างอยู่ เราจึงต้องทำให้แคบลงมาด้วยการหาข้อมูลเกี่ยวกับสาขาที่เราต้องการจะไปเรียนครับ เริ่มต้นง่ายๆก็ถามอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนเราเลยครับ หรือคนที่เคยไปเรียนต่างประเทศก็ได้ (ในกรณีที่ท่านเหล่านั้นจบในศาสตร์ที่เราต้องการไปเรียนนะครับ) ข้อมูลที่ได้นี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นว่าแต่ละประเทศมีแนวทางการสอน วิธีการเรียนเหมือนหรือต่าง จุดเด่นจุดด้อยเป็นอย่างไร นอกจากนั้นก็มาค้นคว้าข้อมูลต่อด้วยตัวเองโดยการอ่านหนังสือที่แนะนำการเรียนต่อต่างประเทศบ้าง ค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์บ้าง หรือไปเดินตามงาน Fair แนะแนวการศึกษาต่อ (ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่เพราะมักจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีตัวแทน Agency ในเมืองไทยซึ่งจะแนะนำให้เราไปเรียนในสถาบันนั้นๆ) นอกจากนี้ยังสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมที่มีความโดดเด่นผ่านการจัดอันดับจากสำนักต่างๆเช่น US News Rankings หรือดูตามวารสารทางวิชาการในสาขาวิชานั้นๆก็ได้ครับ เมื่อมีข้อมูลเพียงพอจนเราเริ่มมั่นใจแล้วว่าประเทศไหนน่าจะเหมาะกับเราที่สุดก็เลือกให้ชัดๆไปเลยครับว่าอยากไปต่อที่ไหน เพราะนี่จะส่งผลอย่างยิ่งต่อการเตรียมตัวขั้นต่อไปนั่นก็คือ การเตรียมสอบวัดความสามารถทางภาษา ครับ
- TOEFL/IELTS/GRE/GMAT คืออะไร?
การวัดทักษะทางภาษานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนไทยที่จะไปเรียนต่อทั้งในอังกฤษและอเมริกานะครับ ปัญหาที่ผู้เริ่มต้นมักจะสับสนกันก็คือแล้วจะต้องสอบอะไรดี เพราะมีชื่อย่อเยอะเหลือกเกินทั้ง IELTS, TOEFL, GRE, และ GMAT เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจผมขอเก็บ GRE กับ GMAT ไว้พูดทีหลังนะครับ ในช่วงแรกนี้ขอพูดเฉพาะ IELTS และ TOEFL ก่อน
IELTS (International English Language Testing System) และ TOEFL (Test of English as a Foreign Language) คือการทบสอบทักษะทางภาษาขั้นพื้นฐาน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษนี่แหละครับ จำง่ายๆว่า
ถ้าต้องการไปต่ออังกฤษต้องสอบ IELTS ให้ได้ 6.5 ขี้นไป ในมหาวิทยาลัยทั่วไป และ 7.5 ขึ้นไป ในมหาวิทยาลัย Top
ถ้าต้องการไปต่ออเมริกาต้องสอบ TOEFL ให้ได้ 80 ขึ้นไปในมหาวิทยาลัยทั่วไป และ 100 ขึ้นไป ในมหาวิทยาลัย Top
จำตัวเลขนี้เป็นเป้าหมายคร่าวๆให้ขึ้นใจไว้เลยครับ ในที่นี้เนื่องจากผมมีประสบการณ์ตรงจากสมัครเรียนต่อที่อเมริกา จึงไม่ขอไม่พูดถึงวิธีการสอบ IELTS แต่จะกล่าวถึงการสอบ TOEFL เป็นหลักนะครับ
การสอบ TOEFL มีการปรับปรุงรูปแบบการสอบมาหลายครั้ง คือ Paper, CBT, และ IBT ซึ่งก็สร้างความสับสนสำหรับคนเริ่มต้นต่อไปอีก พูดให้ง่ายเข้าเลยนะครับสิ่งที่เราจะต้องสอบคือรูปแบบล่าสุด คือ TOEFL IBT หรือย่อมาจาก Internet-Based Test นั่นเองครับ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสอบทาง Internet ดังนั้นวิธีการทำข้อสอบต่างๆจะทำบนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ศูนย์สอบนะครับ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการสอบคือ สอบอะไรบ้าง? สอบที่ไหน? สมัครอย่างไร? ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ใครรู้ข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วอ่านข้ามไปได้เลยครับ
ตอบคำถามข้อแรกก่อนคือสอบอะไร? TOEFL สอบการอ่าน, การฟัง, การพูด, และการเขียนตามลำดับครับ โดยมีคะแนนเต็มอยู่ที่ 120 แบ่งเป็น Part ละ 30 คะแนนครับ ทั้งนี้ ขอเล่าโดยสังเขปเกี่ยวกับการสอบ Part ต่างๆ
- Reading คือสอบอ่านครับ โดยเราจะต้องอ่าน Passage ประมาณ 3-5 บทความ แล้วตอบคำถามเป็น Multiple Choices บทความละประมาณ 12-14 ข้อ ภายในเวลา 60-100 นาที อันนี้บริหารเวลาเองนะครับ เมื่อตอบบทความหนึ่งๆแล้วจะย้อนกลับมาแก้ไขคำตอบไม่ได้
- Listening คือการสอบการฟัง แบ่งเป็น Section ย่อยๆได้เป็น Conversation 2-3 บทสนทนา กับ Lecture 4-6 การบรรยาย ครับ หลังจากนั้นตอบคำถามเป็น Multiple Choice ภายในเวลาจำกัด ตรงนี้บริหารเวลาเอง และเมื่อขึ้นหัวเรื่องใหม่ก็จะย้อนกลับมาแก้ไขคำตอบไม่ได้อีกเช่นกันครับ พอจบ Reading และ Listening แล้ว จึงสามารถออกไปพักได้ 10 นาทีครับ
- พอกลับมาจากพักก็จะเป็นการสอบ Speaking แบ่งเป็น สอง สอง สอง นะครับ สองแรกเป็น Independent Speaking เขาจะให้โจทย์มาให้เราแสดงความคิดเห็น สองต่อมาเป็น Conversation จำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเช่นนักศึกษามีปัญหาเกี่ยวกับการยืมหนังสือที่ห้องสมุด หรือนักศึกษาขอคำปรึกษาจากอาจารย์ เราต้องจับใจความให้ได้ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น และนักศึกษาได้รับข้อเสนอแนะให้แก้ปัญหาอย่างไร ถ้าเป็นเราเราให้คำแนะนำอย่างไร สองสุดท้ายคือ Lecture ครับ จะเป็นอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ประมาณ 5 นาที ซึ่งตรงนี้จะค่อนข้างยาก และเราต้องจดบันทึกโน้ตเพื่อเตรียมสรุปใจความและตอบคำถามของการบรรยายนั้นๆครับ ตลอดการทำข้อสอบพูดนี้จะพูดใส่ไมค์แล้วเขาจะอัดเสียงไปตรวจเพื่อให้คะแนนนะครับ ทั้งหมดนี้ภายใต้เวลาจำกัดครับ
- Section สุดท้ายเป็นการสอบ Writing ครับ แบ่งเป็น Integrated Writing และ Independent Writing ครับ สำหรับส่วนแรกเป็นการบูรณาการกันระหว่างการอ่าน การฟัง และการเขียน โดยที่ข้อสอบจะให้ Passage สั้นๆมาเพื่อให้เราอ่านจับประเด็น หลังจากนั้นจะมีเสียงอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับประเด็นที่เราเพิ่งอ่านไป เมื่ออาจารย์บรรยายจบเราต้องเขียนตอบคำถามว่าสิ่งที่อาจารย์บรรยายนั้นมีประเด็นใดที่สนับสนุนหรือโต้แย้งบทความที่เราอ่านบ้าง อย่างไร ตรงนี้มีเวลาเขียน 20 นาทีครับ ส่วนต่อมาเป็นการเขียนเรียงความอิสระ โดยเขาจะให้โจทย์มาเพื่อให้เราแสดงเขียนเรียงความแสดงคิดเห็นครับ ตรงนี้มีเวลา 30 นาที เป็นอันเสร็จสิ้นการสอบครับ
การจัดสอบมักจะจัดในวันเสาร์อาทิตย์เดือนละประมาณ 2 ครั้ง หรือมากกว่านี้ โดยสามารถเช็คตารางสอบและสมัครสอบได้ที่ www.ets.org ซึ่งเป็นสถาบันที่จัดสอบครับ แนะนำให้สมัครเองไม่ต้องผ่านนายหน้านะครับ ค่าสอบต่อครั้งอยู่ที่ 170 USD หรือประมาณ 5,800 บาทครับ (ค่อนข้างแพง ดังนั้นเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบครับ เสียดายเงิน) ศูนย์สอบก็กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ๆ อย่างในกรุงเทพฯก็มีที่อาคารรมณียาตรงชิดลม อาคารชาญอิสระ2 และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตครับ ร่มเกล้าครับ
ทีนี้มาพูดถึงการสอบ GRE (Graduate Record Examination) กับ GMAT (Graduate Management Administration) กันบ้างครับ ข้อสอบสองอย่างนี้เป็นข้อสอบที่เพิ่มเติมจากการสอบ TOEFL นะครับ บางโปรแกรมอาจขอให้ส่งคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางครั้งก็ใช้แทนกันได้ครับ ทั้งนี้ศึกษาข้อกำหนดของโปรแกรมที่เราจะไปต่อให้ละเอียดก่อนวางแผนสอบนะครับ การสอบดังกล่าวนี้เป็นการสอบพื้นฐานสำหรับคนที่ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก โดยคณะทั่วไปจะใช้ GRE ส่วนคณะทางด้านการบริหารธุรกิจ MBA จะใช้ GMAT ครับ ข้อสอบเหล่านี้ฝรั่งก็ต้องสอบเช่นเดียวกันครับ ดังนั้น ความระดับความยากจึงมากกว่า TOEFL มาก
จากประสบการณ์ของผม ผมใช้ GRE ครับ การสอบจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักคือ Analytical, Verbal และ Math ครับ Analytical เป็นการสอบทักษะการเขียนโดยเราจะต้องเขียน Arguement โต้แย้งหลักการหรือทฤษฎีที่เขาให้มาเป็นโจทย์ Verbal เป็นการวัดทักษะคลังคำศัพท์ครับ เราจะต้องเจอกับศัพท์หรูหราที่แม้เจ้าของภาษามาเจอเองบางครั้งก็ยังงงครับ เป็นศัพท์เฉพาะทาง ศัพท์ทางวรรณคดี ซึ่งต้องอาศัยรากศัพท์มาช่วยในการทำข้อสอบครับ ท้ายสุดคือ Math ซึ่งเป็นการสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ครับ เนื้อหาจะเป็นคณิตสาสตร์ ม.ต้น พวก การพีชคณิต เรขาคณิต และสถิติครับ ใครที่เก่งเลขหรือเรียนทางคำนวณอยู่แล้วก็ต้องบอกว่าไม่ยากแล้วมีสิทธิทำคะแนนเต็มได้ครับ ส่วนใครที่เอาความรู้คืนครูไปแล้วก็ต้องนับว่ายากทีเดียวครับ
ผมขอจบช่วงแรกเกี่ยวกับเรื่องของการเตรียมตัวสมัครสอบไว้เท่านี้ก่อนนะครับ อันที่จริงแล้วหากจะให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการสมัครสอบนั้นก็ยังสามารถเล่าได้อีกมากครับแต่เห็นว่าจะยืดยาวจนเกินไป เอาเป็นว่าท่านผู้อ่านที่อยากจะไปเรียนต่อต่างประเทศควรรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อน และจึงจะวางเป้าหมายได้ถูกว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร สอบอะไรบ้างนะครับ พรุ่งนี้จะเล่าถึง สถาบันสอนภาษา วิธีการฝึกภาษา และแนวทางการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่อยากเรียนครับ
สมัครเรียนต่อโทที่อเมริกาด้วยตัวเอง แชร์ข้อมูลอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
สุภาษิตจีนในภาษาอังกฤษกล่าวว่า “A journey of a thousand miles begins with a single step” (หนทางพันลี้เริ่มต้นที่ก้าวแรก) ชวนให้ผมคิดถึงช่วงเวลาของการเริ่มต้นในการบรรลุสิ่งต่างๆ หากเราเอาแต่นั่งคิดฝันโดยปราศจากความกล้าในการเริ่ม “ก้าวแรก” แล้ว เราจะเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางของเราได้อย่างไร? นี่เป็นหนึ่งในคำถามที่ผมย้อนถามตัวเองในวันปิดภาคการศึกษาแรกของผมที่อเมริกาครับ มองย้อนกลับไปแล้วผมล้มลุกคลุกคลานก่อนที่จะเดินทางมาถึงจุดนี้อย่างแสนสาหัส แต่เป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าและหาไม่ได้ด้วยวิธีอื่น นอกจากการลงมือทำทุกขั้นทุกตอนด้วยตัวเอง ในงานเขียนชิ้นนี้ผมจึงตั้งใจจะแบ่งปันประสบการณ์การสมัครเรียนต่อปริญญาโทที่อเมริกาด้วยตัวเองของผมทีละขั้นทีละตอนด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังสนใจจะสมัครเรียนต่อต่างประเทศแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร และจะไปต่อทางไหนนะครับ อะไรคือจุดเริ่มต้นของผมในการเดินทางครั้งนี้? และผมต้องก้าวผ่านบททดสอบอะไรบ้าง? โปรดเลื่อนอ่านต่อไปเลยครับ
ตอนที่ 1 เตรียมตัวให้พร้อมก่อนสมัคร
- เรียนอะไร? ประเทศไหนดี?
คำถามแรกสำหรับทุกคนที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศคือ เรียนอะไร? ประเทศไหนดี? เพราะถ้าเรายังตอบตัวเองไม่ชัดแล้วเราก็ก้าวสู่ขั้นต่อๆไปไม่ได้ จริงหรือไม่ครับ ดังนั้น ช่วงที่เรียนปริญญาตรีอยู่หรือก่อนจบต้องรีบหาตัวเองให้เจอเลยว่าแท้จริงแล้วเราอยากประกอบอาชีพอะไร? และเราถนัดในสิ่งนั้นจริงๆหรือไม่? สองสิ่งนี้ต่างกันอย่างไรครับ ความต่างก็คือบางทีเราคิดว่าเราอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่เพราะเพราะความคาดหวังของคนรอบข้างหรือจากสังคม แต่เอาจริงๆแล้วเราไม่ได้รักไม่ได้ถนัดในสาขานั้นจริงๆ เราก็จะหมดแรงที่จะต่อสู้ฝ่าฟันเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา ดังนั้น การรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้นั้นจึงเป็นปราการด่านแรกที่เราจะต้องหาให้เจอครับ
เมื่อรู้ว่าเราอยากเป็นอะไร และจะต้อง “เรียนอะไร” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ไปสู่สิ่งที่เราอยากเป็นแล้ว สิ่งต่อมาคือ “การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน” ครับ เปรียบไปแล้วก็เหมือนกับการเดินทาง เราจะออกเดินทางได้อย่างไรถ้าเราไม่รู้ว่าเราจุดหมายปลายทางของเราอยู่ที่ไหน จริงหรือมไม่ครับ เช่นนี้คำว่าอยากเรียนต่อต่างประเทศเฉยๆจึงไม่พอ ต้องถามตัวเองต่อไปว่า “ประเทศไหนดี?” แต่ละคนอาจมีวิธีเลือกประเทศต่างกันนะครับ สำหรับผมแล้วผมเริ่มต้นด้วยภาษา เพราะทั้งชีวิตนอกจากภาษาไทยแล้ว ภาษาที่สองที่พอจะสื่อสารได้ก็คือ ภาษาอังกฤษ ตัวเลือกประเทศจึงแคบลงมาที่ อเมริกา กับ อังกฤษ ทีนี้ก็ยังกว้างอยู่ เราจึงต้องทำให้แคบลงมาด้วยการหาข้อมูลเกี่ยวกับสาขาที่เราต้องการจะไปเรียนครับ เริ่มต้นง่ายๆก็ถามอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนเราเลยครับ หรือคนที่เคยไปเรียนต่างประเทศก็ได้ (ในกรณีที่ท่านเหล่านั้นจบในศาสตร์ที่เราต้องการไปเรียนนะครับ) ข้อมูลที่ได้นี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นว่าแต่ละประเทศมีแนวทางการสอน วิธีการเรียนเหมือนหรือต่าง จุดเด่นจุดด้อยเป็นอย่างไร นอกจากนั้นก็มาค้นคว้าข้อมูลต่อด้วยตัวเองโดยการอ่านหนังสือที่แนะนำการเรียนต่อต่างประเทศบ้าง ค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์บ้าง หรือไปเดินตามงาน Fair แนะแนวการศึกษาต่อ (ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่เพราะมักจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีตัวแทน Agency ในเมืองไทยซึ่งจะแนะนำให้เราไปเรียนในสถาบันนั้นๆ) นอกจากนี้ยังสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมที่มีความโดดเด่นผ่านการจัดอันดับจากสำนักต่างๆเช่น US News Rankings หรือดูตามวารสารทางวิชาการในสาขาวิชานั้นๆก็ได้ครับ เมื่อมีข้อมูลเพียงพอจนเราเริ่มมั่นใจแล้วว่าประเทศไหนน่าจะเหมาะกับเราที่สุดก็เลือกให้ชัดๆไปเลยครับว่าอยากไปต่อที่ไหน เพราะนี่จะส่งผลอย่างยิ่งต่อการเตรียมตัวขั้นต่อไปนั่นก็คือ การเตรียมสอบวัดความสามารถทางภาษา ครับ
- TOEFL/IELTS/GRE/GMAT คืออะไร?
การวัดทักษะทางภาษานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนไทยที่จะไปเรียนต่อทั้งในอังกฤษและอเมริกานะครับ ปัญหาที่ผู้เริ่มต้นมักจะสับสนกันก็คือแล้วจะต้องสอบอะไรดี เพราะมีชื่อย่อเยอะเหลือกเกินทั้ง IELTS, TOEFL, GRE, และ GMAT เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจผมขอเก็บ GRE กับ GMAT ไว้พูดทีหลังนะครับ ในช่วงแรกนี้ขอพูดเฉพาะ IELTS และ TOEFL ก่อน
IELTS (International English Language Testing System) และ TOEFL (Test of English as a Foreign Language) คือการทบสอบทักษะทางภาษาขั้นพื้นฐาน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษนี่แหละครับ จำง่ายๆว่า
ถ้าต้องการไปต่ออเมริกาต้องสอบ TOEFL ให้ได้ 80 ขึ้นไปในมหาวิทยาลัยทั่วไป และ 100 ขึ้นไป ในมหาวิทยาลัย Top
จำตัวเลขนี้เป็นเป้าหมายคร่าวๆให้ขึ้นใจไว้เลยครับ ในที่นี้เนื่องจากผมมีประสบการณ์ตรงจากสมัครเรียนต่อที่อเมริกา จึงไม่ขอไม่พูดถึงวิธีการสอบ IELTS แต่จะกล่าวถึงการสอบ TOEFL เป็นหลักนะครับ
การสอบ TOEFL มีการปรับปรุงรูปแบบการสอบมาหลายครั้ง คือ Paper, CBT, และ IBT ซึ่งก็สร้างความสับสนสำหรับคนเริ่มต้นต่อไปอีก พูดให้ง่ายเข้าเลยนะครับสิ่งที่เราจะต้องสอบคือรูปแบบล่าสุด คือ TOEFL IBT หรือย่อมาจาก Internet-Based Test นั่นเองครับ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสอบทาง Internet ดังนั้นวิธีการทำข้อสอบต่างๆจะทำบนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ศูนย์สอบนะครับ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการสอบคือ สอบอะไรบ้าง? สอบที่ไหน? สมัครอย่างไร? ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ใครรู้ข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วอ่านข้ามไปได้เลยครับ
ตอบคำถามข้อแรกก่อนคือสอบอะไร? TOEFL สอบการอ่าน, การฟัง, การพูด, และการเขียนตามลำดับครับ โดยมีคะแนนเต็มอยู่ที่ 120 แบ่งเป็น Part ละ 30 คะแนนครับ ทั้งนี้ ขอเล่าโดยสังเขปเกี่ยวกับการสอบ Part ต่างๆ
- Reading คือสอบอ่านครับ โดยเราจะต้องอ่าน Passage ประมาณ 3-5 บทความ แล้วตอบคำถามเป็น Multiple Choices บทความละประมาณ 12-14 ข้อ ภายในเวลา 60-100 นาที อันนี้บริหารเวลาเองนะครับ เมื่อตอบบทความหนึ่งๆแล้วจะย้อนกลับมาแก้ไขคำตอบไม่ได้
- Listening คือการสอบการฟัง แบ่งเป็น Section ย่อยๆได้เป็น Conversation 2-3 บทสนทนา กับ Lecture 4-6 การบรรยาย ครับ หลังจากนั้นตอบคำถามเป็น Multiple Choice ภายในเวลาจำกัด ตรงนี้บริหารเวลาเอง และเมื่อขึ้นหัวเรื่องใหม่ก็จะย้อนกลับมาแก้ไขคำตอบไม่ได้อีกเช่นกันครับ พอจบ Reading และ Listening แล้ว จึงสามารถออกไปพักได้ 10 นาทีครับ
- พอกลับมาจากพักก็จะเป็นการสอบ Speaking แบ่งเป็น สอง สอง สอง นะครับ สองแรกเป็น Independent Speaking เขาจะให้โจทย์มาให้เราแสดงความคิดเห็น สองต่อมาเป็น Conversation จำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเช่นนักศึกษามีปัญหาเกี่ยวกับการยืมหนังสือที่ห้องสมุด หรือนักศึกษาขอคำปรึกษาจากอาจารย์ เราต้องจับใจความให้ได้ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น และนักศึกษาได้รับข้อเสนอแนะให้แก้ปัญหาอย่างไร ถ้าเป็นเราเราให้คำแนะนำอย่างไร สองสุดท้ายคือ Lecture ครับ จะเป็นอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ประมาณ 5 นาที ซึ่งตรงนี้จะค่อนข้างยาก และเราต้องจดบันทึกโน้ตเพื่อเตรียมสรุปใจความและตอบคำถามของการบรรยายนั้นๆครับ ตลอดการทำข้อสอบพูดนี้จะพูดใส่ไมค์แล้วเขาจะอัดเสียงไปตรวจเพื่อให้คะแนนนะครับ ทั้งหมดนี้ภายใต้เวลาจำกัดครับ
- Section สุดท้ายเป็นการสอบ Writing ครับ แบ่งเป็น Integrated Writing และ Independent Writing ครับ สำหรับส่วนแรกเป็นการบูรณาการกันระหว่างการอ่าน การฟัง และการเขียน โดยที่ข้อสอบจะให้ Passage สั้นๆมาเพื่อให้เราอ่านจับประเด็น หลังจากนั้นจะมีเสียงอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับประเด็นที่เราเพิ่งอ่านไป เมื่ออาจารย์บรรยายจบเราต้องเขียนตอบคำถามว่าสิ่งที่อาจารย์บรรยายนั้นมีประเด็นใดที่สนับสนุนหรือโต้แย้งบทความที่เราอ่านบ้าง อย่างไร ตรงนี้มีเวลาเขียน 20 นาทีครับ ส่วนต่อมาเป็นการเขียนเรียงความอิสระ โดยเขาจะให้โจทย์มาเพื่อให้เราแสดงเขียนเรียงความแสดงคิดเห็นครับ ตรงนี้มีเวลา 30 นาที เป็นอันเสร็จสิ้นการสอบครับ
การจัดสอบมักจะจัดในวันเสาร์อาทิตย์เดือนละประมาณ 2 ครั้ง หรือมากกว่านี้ โดยสามารถเช็คตารางสอบและสมัครสอบได้ที่ www.ets.org ซึ่งเป็นสถาบันที่จัดสอบครับ แนะนำให้สมัครเองไม่ต้องผ่านนายหน้านะครับ ค่าสอบต่อครั้งอยู่ที่ 170 USD หรือประมาณ 5,800 บาทครับ (ค่อนข้างแพง ดังนั้นเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบครับ เสียดายเงิน) ศูนย์สอบก็กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ๆ อย่างในกรุงเทพฯก็มีที่อาคารรมณียาตรงชิดลม อาคารชาญอิสระ2 และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตครับ ร่มเกล้าครับ
ทีนี้มาพูดถึงการสอบ GRE (Graduate Record Examination) กับ GMAT (Graduate Management Administration) กันบ้างครับ ข้อสอบสองอย่างนี้เป็นข้อสอบที่เพิ่มเติมจากการสอบ TOEFL นะครับ บางโปรแกรมอาจขอให้ส่งคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางครั้งก็ใช้แทนกันได้ครับ ทั้งนี้ศึกษาข้อกำหนดของโปรแกรมที่เราจะไปต่อให้ละเอียดก่อนวางแผนสอบนะครับ การสอบดังกล่าวนี้เป็นการสอบพื้นฐานสำหรับคนที่ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก โดยคณะทั่วไปจะใช้ GRE ส่วนคณะทางด้านการบริหารธุรกิจ MBA จะใช้ GMAT ครับ ข้อสอบเหล่านี้ฝรั่งก็ต้องสอบเช่นเดียวกันครับ ดังนั้น ความระดับความยากจึงมากกว่า TOEFL มาก
จากประสบการณ์ของผม ผมใช้ GRE ครับ การสอบจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักคือ Analytical, Verbal และ Math ครับ Analytical เป็นการสอบทักษะการเขียนโดยเราจะต้องเขียน Arguement โต้แย้งหลักการหรือทฤษฎีที่เขาให้มาเป็นโจทย์ Verbal เป็นการวัดทักษะคลังคำศัพท์ครับ เราจะต้องเจอกับศัพท์หรูหราที่แม้เจ้าของภาษามาเจอเองบางครั้งก็ยังงงครับ เป็นศัพท์เฉพาะทาง ศัพท์ทางวรรณคดี ซึ่งต้องอาศัยรากศัพท์มาช่วยในการทำข้อสอบครับ ท้ายสุดคือ Math ซึ่งเป็นการสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ครับ เนื้อหาจะเป็นคณิตสาสตร์ ม.ต้น พวก การพีชคณิต เรขาคณิต และสถิติครับ ใครที่เก่งเลขหรือเรียนทางคำนวณอยู่แล้วก็ต้องบอกว่าไม่ยากแล้วมีสิทธิทำคะแนนเต็มได้ครับ ส่วนใครที่เอาความรู้คืนครูไปแล้วก็ต้องนับว่ายากทีเดียวครับ
ผมขอจบช่วงแรกเกี่ยวกับเรื่องของการเตรียมตัวสมัครสอบไว้เท่านี้ก่อนนะครับ อันที่จริงแล้วหากจะให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการสมัครสอบนั้นก็ยังสามารถเล่าได้อีกมากครับแต่เห็นว่าจะยืดยาวจนเกินไป เอาเป็นว่าท่านผู้อ่านที่อยากจะไปเรียนต่อต่างประเทศควรรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อน และจึงจะวางเป้าหมายได้ถูกว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร สอบอะไรบ้างนะครับ พรุ่งนี้จะเล่าถึง สถาบันสอนภาษา วิธีการฝึกภาษา และแนวทางการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่อยากเรียนครับ