❤มาลาริน🇹🇭6ก.พ.ป่วย10,879คน หายป่วย8,285คน ตาย20คน โควิด77จว./ทำความเข้าใจโควิดพุ่งยังไม่น่ากังวล ป่วยหนัก-ตายไม่เพิ่ม


https://www.bangkokbiznews.com/news/986814


เมื่อวันที่ 6 ก.พ. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทย ว่า...👇

ขณะนี้แม้จะมีสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว แต่ข้อมูลวิชาการทั่วโลกยืนยันตรงกันว่า ความรุนแรงไม่ได้มากกว่าสายพันธุ์เดลตา ดังนั้น การที่เห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อดูจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยหนักไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ก็อยู่ในสถานการณ์ที่เราคาดการณ์ไว้ ระบบสาธารณสุขยังสามารถรองรับผู้ป่วยอาการหนักเพื่อป้องกันการเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อยก็ใช้ระบบการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) ซึ่งที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่า ช่วยให้เตียงใน รพ.เพียงพอต่อการรักษา ทั้งผู้ป่วยโควิดและโรคอื่น ซึ่งตอนนี้ต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนว่า อย่ากังวลเรื่องตัวเลขการติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นมากจนเกินไปนัก เราอยู่กับโรคมา 2 ปีแล้ว ตอนนี้เราต้องมูฟออน เพื่อให้ประเทศไทยได้เดินต่อ

นพ.โอภาส กล่าวว่า สิ่งสำคัญตอนนี้ที่เห็นได้ชัดคือ การลดอัตราผู้เสียชีวิต เนื่องจากข้อมูลตอนนี้พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์โดส จึงต้องเน้นย้ำในเรื่องนี้ หากใครถึงเวลารับเข็มกระตุ้นขอให้มารับตามกำหนด เพื่อลดอัตราความรุนแรงของโรค ส่วนวัคซีนเด็กก็มีความสำคัญ เพราะตอนนี้เปิดเทอมแล้ว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนสำหรับเด็กแล้ว 2 ชนิด ซึ่งมีความปลอดภัย เป็นที่ยอมรับกัน ทั่วโลกก็ฉีดเด็กไปเยอะ สำหรับไทยฉีดเด็กโตแล้วกว่า 90% ยังไม่พบผลข้างเคียงที่อันตรายรุนแรง อยากขอประชาสัมพันธ์ผู้ปกครองพิจารณาวัคซีนบุตรหลาน ซึ่งยังเป็นไปตามความสมัครใจ

ส่วนการรับวัคซีนในกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี ที่ผ่านมา 1 สัปดาห์ฉีดไป 20,000 คน เป็นกลุ่มเด็กป่วย 7 โรคเรื้อรัง ซึ่งกรมควบคุมโรคไม่ได้เร่งรัด ขอเพียงผู้ปกครองและเด็กทำความเข้าใจตรงกัน เพราะการรับวัคซีนเป็นเรื่องของความสมัครใจ และสัปดาห์นี้ ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. จะเริ่มฉีดวัคซีนในเด็กทั่วไป เชื่อว่าขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำลังเตรียมความพร้อมดำเนินการ ส่วนที่ อย.อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนแวค ซิโนฟาร์มให้ฉีดกับเด็ก 6 ปีขึ้นไปนั้น จะเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้ปกครองและเด็ก สามารถเลือกวัคซีนฉีดเองได้ เพราะการรับวัคซีนเป็นเรื่องของความสมัครใจ อีกทั้งวัคซีนในเด็กก็มีมากจึงเปิดให้เลือก โดยย้ำว่าวัคซีนทุกตัวที่ผ่านการขึ้นทะเบียนของ อย.มีความปลอดภัย

เมื่อถามว่าในการประชุม ศบค.นัดถัดไป สธ.จะเสนอมาตรการใด นพ.โอภาส กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ติดตามข้อมูลสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สธ.ก็เตรียมข้อมูลเพื่อไปนำเสนอ คาดว่าจะมีการประชุมสัปดาห์นี้ ส่วนมาตรการที่จะเสนอ ต้องรอดูวาระการประชุม ศบค.อีกครั้ง ว่าจะต้องพิจารณาเรื่องใดบ้าง สธ.ก็จะทำมาตรการเข้าไปเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ จะเห็นว่าสถานการณ์โควิดในไทยและทั่วโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลายประเทศก็เริ่มผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น แม้จำนวนติดเชื้อจะสูง ถึงหลัก 5-6 หมื่นรายต่อวัน สธ.เองก็มีความเห็นว่า เราไม่ควรจะล็อกดาวน์ตัวเองไว้ คาดว่ามาตรการต่างๆ ก็ควรจะมีการผ่อนคลายลง เพื่อให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคและเตรียมตัวเข้าสู่โรคประจำถิ่นต่อไป

https://mgronline.com/qol/detail/9650000012257

ปูเสื่อติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

.....พาพันไฟท์ติ้ง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ฉีดวัคซีนแล้ว 116,628,065 โดส และทั่วโลกแล้ว 10,208 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 910.5 ล้านโดส โดยกรุงเทพฯ ยังเป็นพื้นที่ฉีดวัคซีนเข็ม 1 มากสุด (111.9%)

(5 กุมภาพันธ์ 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 10,208 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 25.5 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 542 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 212 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 910.5 ล้านโดส โดยบรูไนฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (94.8% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 322.6 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า  116,628,065 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 64.74%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 10,208 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565  
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 116,628,065 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 52,464,271 โดส (79.3% ของประชากร)
-เข็มสอง 48,869,535 โดส (73.8% ของประชากร)
-เข็มสาม 15,294,259 โดส (23.1% ของประชากร)

2) อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 64-5 ก.พ. 65 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว  116,628,065 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 517,182 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 292,982 โดส/วัน

3) อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 22,880,131 โดส
- เข็มที่ 2 3,589,841 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 13,760,697 โดส
- เข็มที่ 2 28,284,726 โดส
- เข็มที่ 3 4,273,326 โดส

วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 7,518,019 โดส
- เข็มที่ 2 7,198,146 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 7,599,044 โดส
- เข็มที่ 2 9,031,405 โดส
- เข็มที่ 3 8,784,000 โดส

วัคซีน Moderna
- เข็มที่ 1 706,380 โดส
- เข็มที่ 2 765,417 โดส
- เข็มที่ 3 2,236,933 โดส

4) การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 114.2% เข็มที่2 112% เข็มที่3 115.6%
- อสม เข็มที่1 80% เข็มที่2 78.2% เข็มที่3 39.7%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 105.8% เข็มที่2 100.8% เข็มที่3 33.7%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 88.8% เข็มที่2 81.9% เข็มที่3 26.3%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 66% เข็มที่2 61.9% เข็มที่3 18.6%
- นักเรียน/นักศึกษา อายุ 12-17 ปี เข็มที่1 72.1% เข็มที่2 69.6% เข็มที่3 0%
- เด็กอายุ 5-11 ปี เข็มที่1 0.6% เข็มที่2 0.1% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 75.4% เข็มที่2 70.9% เข็มที่3 22%

5) 10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครอบคลุมประชากรสูงที่สุด
1. กรุงเทพมหานคร เข็มที่1 111.9% เข็มที่2 103.6%
2. ภูเก็ต เข็มที่1 89.7% เข็มที่2 87%
3. ปทุมธานี เข็มที่1 87% เข็มที่2 81.9%
4. สมุทรปราการ เข็มที่1 90.9% เข็มที่2 79.6%
5. ระนอง เข็มที่1 83.2% เข็มที่2 79.6%
6. ระยอง เข็มที่1 83% เข็มที่2 79.3%
7. ชลบุรี เข็มที่1 82% เข็มที่2 78.1%
8. นนทบุรี เข็มที่1 81.5% เข็มที่2 78%
9. พังงา เข็มที่1 78.3% เข็มที่2 75.9%
10. นครปฐม เข็มที่1 75.9% เข็มที่2 75.3%

10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครอบคลุมประชากรต่ำที่สุด
1. นราธิวาส เข็มที่1 55.3% เข็มที่2 44.6%
2. แม่ฮ่องสอน เข็มที่1 56.9% เข็มที่2 45.1%
3. ปัตตานี เข็มที่1 56.1% เข็มที่2 45.1%
4. ตาก เข็มที่1 57.4% เข็มที่2 48.5%
5. ยะลา เข็มที่1 62.4% เข็มที่2 52.1%
6. กาญจนบุรี เข็มที่1 56.3% เข็มที่2 53.6%
7. ลพบุรี เข็มที่1 57.8% เข็มที่2 53.9%
8. บึงกาฬ เข็มที่1 62.8% เข็มที่2 55.2%
9. หนองบัวลำภู  เข็มที่1 62.2% เข็มที่2 56.5%
10. สมุทรสงคราม เข็มที่1 62.9% เข็มที่2 57.7%

6) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 910,589,033 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 322,607,001 โดส (67.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. เวียดนาม จำนวน 181,581,833 โดส (81%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm  
3. ฟิลิปปินส์ 127,570,820 โดส (54.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca  
4. ไทย จำนวน  116,628,065 โดส (79.3%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. มาเลเซีย จำนวน 63,838,774 โดส (79.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac  
6. พม่า จำนวน 41,196,433 โดส (40.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
7. กัมพูชา จำนวน 34,377,882 โดส (84.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
8. สิงคโปร์ จำนวน 12,870,890 โดส (91%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9.  ลาว จำนวน 8,827,050 โดส (64.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 979,285 โดส (94.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม

7) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.5%
2. ยุโรป 10.44%
3. อเมริกาเหนือ 8.79%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.13%
5. แอฟริกา 3.52%
6. โอเชียเนีย 0.62%

8) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 3,009.90 ล้านโดส (212.8% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
2. อินเดีย จำนวน 1,689.74 ล้านโดส (122.6%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 542.04 ล้านโดส (161.7%)
4. บราซิล จำนวน 366.49 ล้านโดส (173.1%)
5. อินโดนีเซีย  จำนวน 322.61 ล้านโดส (116.9%)

9) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (302.6%) (ฉีดวัคซีนของ  Abdala และ Soberana02)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (255%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. ชิลี (241%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
4. บาห์เรน (228.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)  
5. เดนมาร์ก (225.1%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ J&J)
6. เกาหลีใต้  (224.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech J&J AstraZeneca/Oxford และ  Moderna)
7. มัลดีฟส์ (223.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
8. บรูไน (222.1%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)  
9. กาตาร์ (221.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderma)
10. สิงคโปร์ (218.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/251973677124072
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่