'ชัชชาติ' ยังแรง นำโด่ง โพลผู้ว่าฯกทม. 'วิโรจน์' มาครั้งแรกติดที่ 5 'พี่เอ้' ความนิยมลด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6873620
‘ชัชชาติ’ ยังแรง นำโด่ง โพลผู้ว่าฯกทม. คะแนนนนำทุกเขต ‘วิโรจน์’ มาครั้งแรกติดที่ 5 ‘พี่เอ้’ ความนิยมลดตกมาที่ 3 รองจาก ‘อัศวิน’
วันที่ 6 ก.พ.65 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 10” สำรวจระหว่างวันที่ 31 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,324 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 10
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 37.24 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.09 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 11.03 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 4 ร้อยละ 8.31 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 5 ร้อยละ 8.08 ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 6 ร้อยละ 6.72 ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 7 ร้อยละ 5.59 ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 8 ร้อยละ 3.55 น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 9 ร้อยละ 1.96 จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับ 10 ร้อยละ 1.81 นายสกลธี ภัททิยกุล อันดับ 11 ร้อยละ 1.51 ผู้สมัครจากพรรคกล้า อันดับ 12 ร้อยละ 1.28 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 0.83 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคไทยภักดี ดร.ประยูร ครองยศ (พรรคไทยศรีวิไลย์) ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย และเฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 9 เดือน มกราคม 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ยังไม่ตัดสินใจ จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายสกลธี ภัททิยกุล และผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) น.ส.รสนา โตสิตระกูล และผู้สมัครจากพรรคกล้า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สำหรับบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า
1.กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 50 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.93 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 9.52 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 4 ร้อยละ 6.81 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
2.กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 34 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.00 ผู้สมัครจากพรรค เพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 11.33 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 10.00 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
3.กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 35 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 10.68 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 9.61 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอับดับ 4 ร้อยละ 8.19 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
4.กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 19 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.37 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 10.62 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และอันดับ 4 ร้อยละ 9.69 ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
5.กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 63 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.37 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 11.34 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 8.76 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
6.กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 21 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.66 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 10.34 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และอันดับ 4 ร้อยละ 9.48 ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
ด้านบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) อันดับ 1 ร้อย 26.96 ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 10.65 ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 10.05 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 4 ร้อยละ 9.97 ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 5 ร้อยละ 9.67ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
อันดับ 6 ร้อยละ 8.46 ผู้สมัครในทีม ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) อันดับ 7 ร้อยละ 7.33 ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ อันดับ 8 ร้อยละ 6.27 ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 9 ร้อยละ 2.79 ผู้สมัคร ในทีม น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 10 ร้อยละ 1.74 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และจะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในสัดส่วนที่เท่ากัน
อันดับ 11 ร้อยละ 1.43 ผู้สมัครในทีม นายสกลธี ภัททิยกุล และผู้สมัครจากพรรคกล้า ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 1.51 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคไทยภักดี ผู้สมัครในทีม ดร.ประยูร ครองยศ (พรรคไทยศรีวิไลย์) ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย และเฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 9 เดือนมกราคม 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังไม่ตัดสินใจ ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ ผู้สมัครในทีม น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และผู้สมัครในทีม นายสกลธี ภัททิยกุล มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.
อัศวิน ขวัญเมือง ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) และผู้สมัครจากพรรคกล้า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สวนดุสิตโพล เชื่อผลเลือกตั้งซ่อม ส่งถึงสนามใหญ่-ผู้ว่าฯกทม. แนะกู้ภาพสภาฯ
https://www.nationtv.tv/news/378862951
สวนดุสิตโพล ชี้ ประชาชน 60% เชื่อผลเลือกตั้งซ่อม ส่งผลต่อการเลือกตั้งสนามใหญ่-ผู้ว่าฯกทม. แนะ เร่งกู้ภาพสภาฯล่ม เผย พปชร.อาจสลาย ถ้าพ่ายสนามผู้ว่าฯกทม.
6 กุมภาพันธ์ 2565 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผย ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,067 คน ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการเลือกตั้งซ่อม เขต 9 กทม. ครั้งนี้เป็นเรื่องธรรมดาของการเมือง มีแพ้มีชนะ ร้อยละ 41.30 รองลงมาคือ มองว่าคนไปใช้สิทธิ์น้อยกว่าที่คาดไว้ ร้อยละ 40.45 จากผลการเลือกตั้งซ่อมรู้สึกสมหวัง ร้อยละ 39.64 รู้สึกผิดหวัง ร้อยละ 12.09 และรู้สึกเฉย ๆ ร้อยละ 48.27 โดยมองว่าผลการเลือกตั้งซ่อมส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในด้านผู้สมัครที่จะต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน ขยันลงพื้นที่ ร้อยละ 67.04 และคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการเมืองไทยในภาพรวม ร้อยละ 60.83 ไม่มีผลกระทบ ร้อยละ 39.17
ทั้งนี้การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ ประชาชนจับตาดูผลงานของนักการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 77.13 รองลงมาคือ การหาเสียงดุเดือด บรรยากาศทางการเมืองร้อนแรงมากขึ้น ร้อยละ 60.44
ผลการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มเสียงให้พรรคฝ่ายค้านในสภาอีก 1 เสียงแล้ว ก็ยังช่วยฉายภาพให้เห็นทิศทางของการเมืองไทยชัดเจนมากขึ้น โดยประชาชนก็จะจับตาดูผลงานของนักการเมืองอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจึงต้องเร่งทำงานช่วยเหลือประชาชน กอบกู้ภาพ ส.ส.สภาฯล่ม เพราะสิ่งนี้อาจนำไปสู่การตัดสินใจของประชาชนในวันเลือกตั้งใหญ่ได้
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งซ่อมเพียงหนึ่งเขต ประกอบกับอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลายจึงอาจทำให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ลดลง จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ เป็นเพียงการประลองกำลังความนิยมของพรรคการเมือง แต่ถ้าหากว่าพรรคพลังประชารัฐยังไม่มีการปรับกลยุทธ์ทั้งตัวผู้สมัครที่จะต้องลงพื้นที่เพื่อเข้าถึงประชาชน ความสั่นคลอนภายในพรรคที่ดูเหมือนยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ประกอบกับความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีลดลง
และหากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคพลังประชารัฐไม่สามารถสรรหาคนที่มีราคาพอที่คนกรุงเทพฯ จะซื้อได้ เกิดพ่ายแพ้ในสนามผู้ว่าฯ กทม.อีก เป็นไปได้ว่าการเลือกตั้งใหญ่ในปีหน้าพรรคพลังประชารัฐอาจไปไม่ถึงการได้เป็นรัฐบาล และอาจล่มสลายแปรเปลี่ยนไปรวมกับพรรคอื่น หรือตั้งพรรคใหม่ นับจากนี้คงต้องห้ามกระพริบตาเพราะการเมืองไทยผันแปรได้เสมอ
ตลาดราคาของเริ่มลง-ร้านกลัวภาษีคนละครึ่ง
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_287175/
สำรวจตลาดสด พบ ราคาของเริ่มลงแล้ว ขณะร้านค้ายกเลิกคนละครึ่งไปหลายราย กลัวภาษี ส่วนแม่ค้าไข่ยังร่วมโครงการ เอาไว้ดึงลูกค้า แต่ก็ช่วยไม่มาก
บรรยากาศการจำหน่ายสินค้า หลังหมดช่วงเทศกาลตรุษจีน ที่ตลาดสดบางเขน พบว่า ราคาเนื้อหมูหลังตรุษจีนเริ่มทยอยปรับตัวลดลงแล้ว แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงจากระดับปกติที่ประชาชนเคยซื้อกิโลกรัมละ 120 บาท หรือสูงสูดไม่เกินกิโลกรัมละ 150 บาท
โดยหมูเนื้อแดงสะโพก วันนี้กิโลกรัมละ 190 บาท สันนอก กิโลกรัมละ 220 สามชั้นกิโลกรัมละ 230 บาท ซึ่งจากการสอบถามไปยังแม่ค้าเขียงหมู บอกว่า ตัดสินใจออกจากโครงการคนละครึ่ง ในเฟสที่ 4 นี้
เนื่องจากกลัวในเรื่องของการจัดเก็บภาษีย้อนหลัง โดยมีข้อมูลจากลูกค้าซึ่งเป็นร้านอาหารตามสั่ง ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังหลักหมื่น ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการเนื่องจากเพิ่งจะขายสินค้าได้ดีขึ้นไม่นาน แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษีในจำนวนที่สูงทำให้ตัดสินใจยกเลิกโครงการในที่สุด
ด้านแม่ค้าขายไข่ไก่ในตลาด บอกว่า ทางร้านยังคงเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งเนื่องจากยังคงมีลูกค้าถามหาและใช้โครงการอย่างต่อเนื่อง กลัวว่าหากตัดสินใจยกเลิกการเข้าร่วมโครงการจะทำให้ขายสินค้าไม่ได้เพราะทุกวันนี้การขายสินค้าในแต่ละวันทำได้ยากอยู่แล้วโดยมีลูกค้ามาถามหาใช้โครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะร้านค้าในตลาดหลายร้านยกเลิกการเข้าร่วมโครงการไปเกือบทั้งหมด
ในขณะที่ราคาผักสด ช่วงนี้มีการปรับราคาลดลงแล้วเกือบทุกรายการ ซึ่งแม่ค้ามีการแบ่งขายผักในปริมาณที่น้อย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกซื้อได้มากขึ้น โดยต้นหอม-ผักชี ผักใบชนิดต่างๆ แบ่งขาย กำละ 10 บาท ผักหัวต่างๆ เช่น มะเขือเปราะ แตงกวา จัดจานขาย จานละ 10 บาท
JJNY : 'ชัชชาติ'นำโด่ง โพลผู้ว่าฯ│ดุสิตโพลแนะกู้ภาพสภาฯ│ราคาของเริ่มลง-ร้านกลัวภาษีคนละครึ่ง│แม่ค้าริมหาดโอด กินโชว์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6873620
‘ชัชชาติ’ ยังแรง นำโด่ง โพลผู้ว่าฯกทม. คะแนนนนำทุกเขต ‘วิโรจน์’ มาครั้งแรกติดที่ 5 ‘พี่เอ้’ ความนิยมลดตกมาที่ 3 รองจาก ‘อัศวิน’
วันที่ 6 ก.พ.65 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 10” สำรวจระหว่างวันที่ 31 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,324 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 10
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 37.24 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.09 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 11.03 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 4 ร้อยละ 8.31 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 5 ร้อยละ 8.08 ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 6 ร้อยละ 6.72 ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 7 ร้อยละ 5.59 ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 8 ร้อยละ 3.55 น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 9 ร้อยละ 1.96 จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับ 10 ร้อยละ 1.81 นายสกลธี ภัททิยกุล อันดับ 11 ร้อยละ 1.51 ผู้สมัครจากพรรคกล้า อันดับ 12 ร้อยละ 1.28 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 0.83 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคไทยภักดี ดร.ประยูร ครองยศ (พรรคไทยศรีวิไลย์) ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย และเฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 9 เดือน มกราคม 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ยังไม่ตัดสินใจ จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายสกลธี ภัททิยกุล และผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) น.ส.รสนา โตสิตระกูล และผู้สมัครจากพรรคกล้า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สำหรับบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า
1.กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 50 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.93 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 9.52 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 4 ร้อยละ 6.81 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
2.กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 34 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.00 ผู้สมัครจากพรรค เพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 11.33 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 10.00 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
3.กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 35 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 10.68 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 9.61 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอับดับ 4 ร้อยละ 8.19 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
4.กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 19 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.37 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 10.62 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และอันดับ 4 ร้อยละ 9.69 ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
5.กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 63 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 12.37 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 3 ร้อยละ 11.34 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 8.76 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
6.กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 21 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.66 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 10.34 ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และอันดับ 4 ร้อยละ 9.48 ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
ด้านบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) อันดับ 1 ร้อย 26.96 ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 10.65 ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 10.05 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 4 ร้อยละ 9.97 ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 5 ร้อยละ 9.67ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
อันดับ 6 ร้อยละ 8.46 ผู้สมัครในทีม ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) อันดับ 7 ร้อยละ 7.33 ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ อันดับ 8 ร้อยละ 6.27 ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 9 ร้อยละ 2.79 ผู้สมัคร ในทีม น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 10 ร้อยละ 1.74 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และจะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในสัดส่วนที่เท่ากัน
อันดับ 11 ร้อยละ 1.43 ผู้สมัครในทีม นายสกลธี ภัททิยกุล และผู้สมัครจากพรรคกล้า ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 1.51 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคไทยภักดี ผู้สมัครในทีม ดร.ประยูร ครองยศ (พรรคไทยศรีวิไลย์) ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย และเฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 9 เดือนมกราคม 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังไม่ตัดสินใจ ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ ผู้สมัครในทีม น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และผู้สมัครในทีม นายสกลธี ภัททิยกุล มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) และผู้สมัครจากพรรคกล้า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สวนดุสิตโพล เชื่อผลเลือกตั้งซ่อม ส่งถึงสนามใหญ่-ผู้ว่าฯกทม. แนะกู้ภาพสภาฯ
https://www.nationtv.tv/news/378862951
สวนดุสิตโพล ชี้ ประชาชน 60% เชื่อผลเลือกตั้งซ่อม ส่งผลต่อการเลือกตั้งสนามใหญ่-ผู้ว่าฯกทม. แนะ เร่งกู้ภาพสภาฯล่ม เผย พปชร.อาจสลาย ถ้าพ่ายสนามผู้ว่าฯกทม.
6 กุมภาพันธ์ 2565 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผย ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,067 คน ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการเลือกตั้งซ่อม เขต 9 กทม. ครั้งนี้เป็นเรื่องธรรมดาของการเมือง มีแพ้มีชนะ ร้อยละ 41.30 รองลงมาคือ มองว่าคนไปใช้สิทธิ์น้อยกว่าที่คาดไว้ ร้อยละ 40.45 จากผลการเลือกตั้งซ่อมรู้สึกสมหวัง ร้อยละ 39.64 รู้สึกผิดหวัง ร้อยละ 12.09 และรู้สึกเฉย ๆ ร้อยละ 48.27 โดยมองว่าผลการเลือกตั้งซ่อมส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในด้านผู้สมัครที่จะต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน ขยันลงพื้นที่ ร้อยละ 67.04 และคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการเมืองไทยในภาพรวม ร้อยละ 60.83 ไม่มีผลกระทบ ร้อยละ 39.17
ทั้งนี้การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ ประชาชนจับตาดูผลงานของนักการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 77.13 รองลงมาคือ การหาเสียงดุเดือด บรรยากาศทางการเมืองร้อนแรงมากขึ้น ร้อยละ 60.44
ผลการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มเสียงให้พรรคฝ่ายค้านในสภาอีก 1 เสียงแล้ว ก็ยังช่วยฉายภาพให้เห็นทิศทางของการเมืองไทยชัดเจนมากขึ้น โดยประชาชนก็จะจับตาดูผลงานของนักการเมืองอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจึงต้องเร่งทำงานช่วยเหลือประชาชน กอบกู้ภาพ ส.ส.สภาฯล่ม เพราะสิ่งนี้อาจนำไปสู่การตัดสินใจของประชาชนในวันเลือกตั้งใหญ่ได้
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งซ่อมเพียงหนึ่งเขต ประกอบกับอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลายจึงอาจทำให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ลดลง จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ เป็นเพียงการประลองกำลังความนิยมของพรรคการเมือง แต่ถ้าหากว่าพรรคพลังประชารัฐยังไม่มีการปรับกลยุทธ์ทั้งตัวผู้สมัครที่จะต้องลงพื้นที่เพื่อเข้าถึงประชาชน ความสั่นคลอนภายในพรรคที่ดูเหมือนยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ประกอบกับความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีลดลง
และหากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคพลังประชารัฐไม่สามารถสรรหาคนที่มีราคาพอที่คนกรุงเทพฯ จะซื้อได้ เกิดพ่ายแพ้ในสนามผู้ว่าฯ กทม.อีก เป็นไปได้ว่าการเลือกตั้งใหญ่ในปีหน้าพรรคพลังประชารัฐอาจไปไม่ถึงการได้เป็นรัฐบาล และอาจล่มสลายแปรเปลี่ยนไปรวมกับพรรคอื่น หรือตั้งพรรคใหม่ นับจากนี้คงต้องห้ามกระพริบตาเพราะการเมืองไทยผันแปรได้เสมอ
ตลาดราคาของเริ่มลง-ร้านกลัวภาษีคนละครึ่ง
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_287175/
สำรวจตลาดสด พบ ราคาของเริ่มลงแล้ว ขณะร้านค้ายกเลิกคนละครึ่งไปหลายราย กลัวภาษี ส่วนแม่ค้าไข่ยังร่วมโครงการ เอาไว้ดึงลูกค้า แต่ก็ช่วยไม่มาก
บรรยากาศการจำหน่ายสินค้า หลังหมดช่วงเทศกาลตรุษจีน ที่ตลาดสดบางเขน พบว่า ราคาเนื้อหมูหลังตรุษจีนเริ่มทยอยปรับตัวลดลงแล้ว แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงจากระดับปกติที่ประชาชนเคยซื้อกิโลกรัมละ 120 บาท หรือสูงสูดไม่เกินกิโลกรัมละ 150 บาท
โดยหมูเนื้อแดงสะโพก วันนี้กิโลกรัมละ 190 บาท สันนอก กิโลกรัมละ 220 สามชั้นกิโลกรัมละ 230 บาท ซึ่งจากการสอบถามไปยังแม่ค้าเขียงหมู บอกว่า ตัดสินใจออกจากโครงการคนละครึ่ง ในเฟสที่ 4 นี้
เนื่องจากกลัวในเรื่องของการจัดเก็บภาษีย้อนหลัง โดยมีข้อมูลจากลูกค้าซึ่งเป็นร้านอาหารตามสั่ง ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังหลักหมื่น ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการเนื่องจากเพิ่งจะขายสินค้าได้ดีขึ้นไม่นาน แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษีในจำนวนที่สูงทำให้ตัดสินใจยกเลิกโครงการในที่สุด
ด้านแม่ค้าขายไข่ไก่ในตลาด บอกว่า ทางร้านยังคงเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งเนื่องจากยังคงมีลูกค้าถามหาและใช้โครงการอย่างต่อเนื่อง กลัวว่าหากตัดสินใจยกเลิกการเข้าร่วมโครงการจะทำให้ขายสินค้าไม่ได้เพราะทุกวันนี้การขายสินค้าในแต่ละวันทำได้ยากอยู่แล้วโดยมีลูกค้ามาถามหาใช้โครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะร้านค้าในตลาดหลายร้านยกเลิกการเข้าร่วมโครงการไปเกือบทั้งหมด
ในขณะที่ราคาผักสด ช่วงนี้มีการปรับราคาลดลงแล้วเกือบทุกรายการ ซึ่งแม่ค้ามีการแบ่งขายผักในปริมาณที่น้อย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกซื้อได้มากขึ้น โดยต้นหอม-ผักชี ผักใบชนิดต่างๆ แบ่งขาย กำละ 10 บาท ผักหัวต่างๆ เช่น มะเขือเปราะ แตงกวา จัดจานขาย จานละ 10 บาท