ยอดโควิดวันนี้ มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 10,879 ราย เสียชีวิต 20 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3169662
ยอดโควิดวันนี้ มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 10,879 ราย เสียชีวิต 20 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 10,879 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 10,701 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 178 ราย
ผู้ป่วยสะสม 273,566 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 8,285 ราย หายป่วยสะสม 215,179 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 91,037 ราย และเสียชีวิต 20 ราย
นพ.ธีระ ชี้ ไทย มีอาการ Long COVID ร่วม 1 ล้าน หวั่นกระทบการขาดแคลนแรงงาน
https://www.nationtv.tv/news/378862947\\
นพ.ธีระ ชี้ ไทย มีอาการ Long COVID 500,000-1,000,000 เผยข้อมูล อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาขาดแคลนแรงงานของประเทศได้ แนะ ควรทำให้มีการตระหนักถึงเรื่องเรื่องดังกล่าว เพื่อรวบรวมสถิติ นำไปสู่การวางแผนช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
6 กุมภาพันธ์ 2565 รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “
Thira Woratanarat” ระบุว่า
ทะลุ 393 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,178,660 คน ตายเพิ่ม 7,821 คน รวมแล้วติดไปรวม 393,518,271 คน เสียชีวิตรวม 5,751,333 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมัน บราซิล และอินเดีย
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 87.06 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 79.97 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 53.64 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 34.61เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 11 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...สถานการณ์อัตราการติดเชื้อซ้ำในสหราชอาณาจักร
ระลอก Omicron นั้น ข้อมูลชัดเจนว่ามีการติดเชื้อซ้ำ (Reinfection) ในผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน สูงกว่าระลอกก่อนๆ เป็นอย่างมาก ดังที่เห็นในรูปที่ 1
ดังนั้นประชาชนทุกคน รวมถึงคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ควรตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองอย่างเป็นกิจวัตร ความเชื่อตามข่าวลวงที่พยายามปั่นให้รู้สึกว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นกระจอก เป็นไข้หวัดธรรมดา ไม่รุนแรง ไม่ตายนั้นไม่เป็นความจริง
ดังที่เราเห็นข้อมูลจากทั่วโลกในแต่ละวัน ยิ่งไปกว่านั้น การติดเชื้อแม้จะรักษาหายแล้ว ก็มีโอกาสเกิดภาวะอาการคงค้าง หรือ Long COVID ได้เฉลี่ยราว 20-40% ซึ่งมีข้อมูลวิชาการมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อจะกระตุ้นทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกายในระยะยาว และหลายอวัยวะก็มีการวิจัยตรวจพบไวรัส เช่น สมอง ทางเดินอาหาร เป็นต้น
การเป็น Long COVID นั้นมีตั้งแต่อาการน้อยไปจนถึงรุนแรง เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นได้ทั้งคนที่เคยติดเชื้อแบบไม่มีอาการและที่มีอาการ เพศหญิงเสี่ยงมากกว่าเพศชาย และผู้ใหญ่เสี่ยงมากกว่าเด็ก และหากเกิดขึ้น จะกระทบต่อสมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว รวมถึงสมรรถนะในการทำงาน/ทำมาหากิน และย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบต่อผลิตภาพในภาพรวมของประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดูแลรักษาระยะยาว
....อัพเดต Long COVID
American Academy of of Physical Medicine and Rehabilitation ได้ทำการติดตาม และคาดประมาณจำนวนผู้ป่วย Long COVID ในอเมริกาว่าอาจมีจำนวนมากกว่า 22 ล้านคน (รูปที่ 2)
สถาบัน Brookings Metro ได้ทำการประเมิน พบว่า Long COVID จะส่งผลกระทบต่อคนวัยแรงงาน โดยจะมีสัดส่วนถึง 1/7 หรือราว 15% และส่งผลกระทบต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศได้ด้วย (รูปที่ 3)
ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงควรติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และวางแผนรับมือ ดูแล ช่วยเหลือ ทั้งในเรื่องการลงทะเบียนผู้ป่วย Long COVID นำเข้าสู่ระบบดูแลรักษาและติดตามผลในระยะยาว รวมถึงการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อระดับบุคคล ครัวเรือน และประเทศ
ปัจจุบันไทยเรามีคนติดเชื้อไปราว 2.5 ล้านคน (หรือมากกว่านั้น หากมีจำนวนที่ไม่ได้รวมในระบบรายงานประจำวัน เช่น ATK) คาดประมาณจำนวนคนที่มีโอกาสเกิดภาวะคงค้าง Long COVID ตามค่าเฉลี่ย 20-40% ก็ย่อมมีโอกาสที่จะพบจำนวนถึง 500,000-1,000,000 คน
การทำให้คนตระหนักถึงเรื่องนี้ ทราบรายละเอียดกลุ่มอาการของ Long COVID ตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงมาก เพื่อประเมินตนเองได้และสามารถรายงานสู่ระบบ ก็จะทำให้ทราบสถิติของ Long COVID ในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การวางแผนช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
เหนืออื่นใด...ปัจจุบันการระบาดยังรุนแรงต่อเนื่อง จำเป็นต้องป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่างจากคนอื่น เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น พบปะคนเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ นะครับ
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223851803635492
เงินบาทแข็งโป๊ก ! นำโด่งภูมิภาค จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ-ราคาน้ำมันดิบพุ่ง
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/99725/
"รุ่ง"มองเงินบาทสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ-ราคาน้ำมันดิบพุ่ง เผยสถิติตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบันเงินบาทขึ้นแท่นแข็งค่านำโด่งในภูมิภาค รองลงมาคือดอง-เวียดนาม
น.ส.
รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทสัปดาห์หน้าคาดว่าเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 467,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 150,000 ตำแหน่ง
ขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.0% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.9%ส่งผลให้เงินสกุลดอลลาร์กลับมาแข็งค่า แต่ผลกระทบต่อค่าเงินอาจไม่มากเท่ากับข้อมูลเงินเฟ้อม.ค.สหรัฐฯ ประกาศ 10 ก.พ.นี้
นอกจากนี้ติดตามผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)คาดว่าจะ คงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% และมองแนวโน้มว่าดอกเบี้ยไทยอาจขึ้นอย่างเร็วเป็นกลางปี 65 รวมถึงเกาะติดราคาน้ำมันที่พุ่งสูงสุดในรอบ 7 ปี
สำหรับการเคลื่อนไหวสกุลภูมิภาค ตั้งแต่ 4 ม.ค.- 4 ก.พ.ที่ผ่านมาพบว่าบาท-ไทยแข็งค่าสุด 1.17% รองลงมาคือ ดอง-เวียดนาม 0.72%ดอลลาร์-สิงคโปร์ 0.45% ยกเว้นวอน-เกาหลีใต้อ่อนค่าสุด 0.93 % รูเปียห์-อินโดนีเซีย 0.86% รูปี-อินเดีย 0.70% ดอลลาร์-ไต้หวัน 0.52%ริงกิต-มาเลเซีย 0.27% และหยวน -จีน 0.08% เปโซ-ฟิลิปปินส์ 0.04%
สาเหตุที่เงินบาทยังคงแข็งค่าเป็นอันดับต้นของกลุ่มในปีนี้จากความหวังเรื่องการเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ขณะที่นักลงทุนปรับสถานะหลังขายเงินบาทตลอดปีที่ผ่านมา โดยผลกระทบจากการปรับคาดการณ์นโยบายของเฟดสู่การคุมเข้มอย่างแข็งกร้าวยังกระทบเงินบาทค่อนข้างจำกัด
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีจนถึง 3 ก.พ.ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.4 หมื่นล้านบาท และพันธบัตรซื้อสุทธิ 7.1 หมื่นล้านบาท
JJNY : ติดเชื้อ10,879 เสียชีวิต20│นพ.ธีระชี้ไทยมีLong COVIDร่วมล้าน│เงินบาทแข็งโป๊ก!นำโด่งภูมิภาค│ชัชชาติเร่งปรับจุดอ่อน
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3169662
ยอดโควิดวันนี้ มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 10,879 ราย เสียชีวิต 20 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 10,879 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 10,701 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 178 ราย
ผู้ป่วยสะสม 273,566 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 8,285 ราย หายป่วยสะสม 215,179 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 91,037 ราย และเสียชีวิต 20 ราย
นพ.ธีระ ชี้ ไทย มีอาการ Long COVID ร่วม 1 ล้าน หวั่นกระทบการขาดแคลนแรงงาน
https://www.nationtv.tv/news/378862947\\
นพ.ธีระ ชี้ ไทย มีอาการ Long COVID 500,000-1,000,000 เผยข้อมูล อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาขาดแคลนแรงงานของประเทศได้ แนะ ควรทำให้มีการตระหนักถึงเรื่องเรื่องดังกล่าว เพื่อรวบรวมสถิติ นำไปสู่การวางแผนช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
6 กุมภาพันธ์ 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ระบุว่า
ทะลุ 393 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,178,660 คน ตายเพิ่ม 7,821 คน รวมแล้วติดไปรวม 393,518,271 คน เสียชีวิตรวม 5,751,333 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมัน บราซิล และอินเดีย
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 87.06 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 79.97 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 53.64 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 34.61เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 11 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...สถานการณ์อัตราการติดเชื้อซ้ำในสหราชอาณาจักร
ระลอก Omicron นั้น ข้อมูลชัดเจนว่ามีการติดเชื้อซ้ำ (Reinfection) ในผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน สูงกว่าระลอกก่อนๆ เป็นอย่างมาก ดังที่เห็นในรูปที่ 1
ดังนั้นประชาชนทุกคน รวมถึงคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ควรตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองอย่างเป็นกิจวัตร ความเชื่อตามข่าวลวงที่พยายามปั่นให้รู้สึกว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นกระจอก เป็นไข้หวัดธรรมดา ไม่รุนแรง ไม่ตายนั้นไม่เป็นความจริง
ดังที่เราเห็นข้อมูลจากทั่วโลกในแต่ละวัน ยิ่งไปกว่านั้น การติดเชื้อแม้จะรักษาหายแล้ว ก็มีโอกาสเกิดภาวะอาการคงค้าง หรือ Long COVID ได้เฉลี่ยราว 20-40% ซึ่งมีข้อมูลวิชาการมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อจะกระตุ้นทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกายในระยะยาว และหลายอวัยวะก็มีการวิจัยตรวจพบไวรัส เช่น สมอง ทางเดินอาหาร เป็นต้น
การเป็น Long COVID นั้นมีตั้งแต่อาการน้อยไปจนถึงรุนแรง เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นได้ทั้งคนที่เคยติดเชื้อแบบไม่มีอาการและที่มีอาการ เพศหญิงเสี่ยงมากกว่าเพศชาย และผู้ใหญ่เสี่ยงมากกว่าเด็ก และหากเกิดขึ้น จะกระทบต่อสมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว รวมถึงสมรรถนะในการทำงาน/ทำมาหากิน และย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบต่อผลิตภาพในภาพรวมของประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดูแลรักษาระยะยาว
....อัพเดต Long COVID
American Academy of of Physical Medicine and Rehabilitation ได้ทำการติดตาม และคาดประมาณจำนวนผู้ป่วย Long COVID ในอเมริกาว่าอาจมีจำนวนมากกว่า 22 ล้านคน (รูปที่ 2)
สถาบัน Brookings Metro ได้ทำการประเมิน พบว่า Long COVID จะส่งผลกระทบต่อคนวัยแรงงาน โดยจะมีสัดส่วนถึง 1/7 หรือราว 15% และส่งผลกระทบต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศได้ด้วย (รูปที่ 3)
ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงควรติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และวางแผนรับมือ ดูแล ช่วยเหลือ ทั้งในเรื่องการลงทะเบียนผู้ป่วย Long COVID นำเข้าสู่ระบบดูแลรักษาและติดตามผลในระยะยาว รวมถึงการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อระดับบุคคล ครัวเรือน และประเทศ
ปัจจุบันไทยเรามีคนติดเชื้อไปราว 2.5 ล้านคน (หรือมากกว่านั้น หากมีจำนวนที่ไม่ได้รวมในระบบรายงานประจำวัน เช่น ATK) คาดประมาณจำนวนคนที่มีโอกาสเกิดภาวะคงค้าง Long COVID ตามค่าเฉลี่ย 20-40% ก็ย่อมมีโอกาสที่จะพบจำนวนถึง 500,000-1,000,000 คน
การทำให้คนตระหนักถึงเรื่องนี้ ทราบรายละเอียดกลุ่มอาการของ Long COVID ตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงมาก เพื่อประเมินตนเองได้และสามารถรายงานสู่ระบบ ก็จะทำให้ทราบสถิติของ Long COVID ในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การวางแผนช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
เหนืออื่นใด...ปัจจุบันการระบาดยังรุนแรงต่อเนื่อง จำเป็นต้องป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่างจากคนอื่น เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น พบปะคนเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ นะครับ
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223851803635492
เงินบาทแข็งโป๊ก ! นำโด่งภูมิภาค จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ-ราคาน้ำมันดิบพุ่ง
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/99725/
"รุ่ง"มองเงินบาทสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ-ราคาน้ำมันดิบพุ่ง เผยสถิติตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบันเงินบาทขึ้นแท่นแข็งค่านำโด่งในภูมิภาค รองลงมาคือดอง-เวียดนาม
น.ส. รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทสัปดาห์หน้าคาดว่าเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 467,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 150,000 ตำแหน่ง
ขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.0% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.9%ส่งผลให้เงินสกุลดอลลาร์กลับมาแข็งค่า แต่ผลกระทบต่อค่าเงินอาจไม่มากเท่ากับข้อมูลเงินเฟ้อม.ค.สหรัฐฯ ประกาศ 10 ก.พ.นี้
นอกจากนี้ติดตามผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)คาดว่าจะ คงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% และมองแนวโน้มว่าดอกเบี้ยไทยอาจขึ้นอย่างเร็วเป็นกลางปี 65 รวมถึงเกาะติดราคาน้ำมันที่พุ่งสูงสุดในรอบ 7 ปี
สำหรับการเคลื่อนไหวสกุลภูมิภาค ตั้งแต่ 4 ม.ค.- 4 ก.พ.ที่ผ่านมาพบว่าบาท-ไทยแข็งค่าสุด 1.17% รองลงมาคือ ดอง-เวียดนาม 0.72%ดอลลาร์-สิงคโปร์ 0.45% ยกเว้นวอน-เกาหลีใต้อ่อนค่าสุด 0.93 % รูเปียห์-อินโดนีเซีย 0.86% รูปี-อินเดีย 0.70% ดอลลาร์-ไต้หวัน 0.52%ริงกิต-มาเลเซีย 0.27% และหยวน -จีน 0.08% เปโซ-ฟิลิปปินส์ 0.04%
สาเหตุที่เงินบาทยังคงแข็งค่าเป็นอันดับต้นของกลุ่มในปีนี้จากความหวังเรื่องการเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ขณะที่นักลงทุนปรับสถานะหลังขายเงินบาทตลอดปีที่ผ่านมา โดยผลกระทบจากการปรับคาดการณ์นโยบายของเฟดสู่การคุมเข้มอย่างแข็งกร้าวยังกระทบเงินบาทค่อนข้างจำกัด
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีจนถึง 3 ก.พ.ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.4 หมื่นล้านบาท และพันธบัตรซื้อสุทธิ 7.1 หมื่นล้านบาท