'อาเซียน' แบน รมว.ต่างประเทศ [เผละจัง] พม่าไม่ให้ร่วมประชุม
https://prachatai.com/journal/2022/02/97123
กัมพูชาในฐานะผู้นำอาเซียนวาระปัจจุบันตัดสินใจแบนไม่ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของ [เผละจัง] พม่าเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน รวมถึงระบุให้พม่าส่งตัวแทนที่ไม่เกี่ยวข้องทางการเมืองมาร่วมแทน สาเหตุที่บอยคอตทางการทูตในครั้งนี้เพราะอาเซียนมองว่ารัฐบาลพม่าไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในเรื่องการยุติความรุนแรงหลังจากการรัฐประหารเกิดขึ้นมากกว่า 1 ปีแล้ว
5 ก.พ. 2565 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน แบนไม่ให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของพม่าที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลเผด็จการทหารเข้าร่วมประชุมด้วย หลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ "
หยุดความรุนแรงทุกรูปแบบ" ในประเทศ รวมถึงปล่อยตัวนักโทษผู้นำทางการเมืองฝ่ายพลเรือนรวมถึงอองซานซูจี
ระบบผู้นำของอาเซียนนั้นมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้กับแต่ละประเทศโดยที่ในปัจจุบันผู้นำอาเซียนคือกัมพูชา เจ้าหน้าที่ทางการกัมพูชาได้เปิดเผยว่า
Wunna Maung Lwin จะไม่เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอาเซียนซึ่งจะมีขึ้นในเดือน ก.พ. นี้ เพราะพม่าขาดความก้าวหน้าในเรื่องการดำเนินแผนการสันติภาพที่กลุ่มนายพลระดับสูงของพม่าเคยตกลงเอาไว้ในปีที่แล้ว
โฆษกด้านการต่างประเทศของกัมพูชาเปิดเผยอีกว่าในการประชุมที่กรุงพนมเปญซึ่งจะมีขึ้นวันที่ 16-17 ก.พ. นี้ พวกเขาได้เชิญให้ตัวแทนที่ไม่ใช่ตัวแทนทางการเมืองในพม่าเข้าร่วมประชุมแทน
Chum Sounry โฆษกการต่างประเทศของกัมพูชาแถลงว่า "
เนื่องจากมีความก้าวหน้าน้อยมากในการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจึงมีมติร่วมกันว่าจะไม่เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศในสภาบริหารแห่งรัฐของพม่าเข้าร่วมการประชุมหารืออย่างเป็นกันเองระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศที่กำลังจะมีขึ้น"
Sounry กล่าวอีกว่าความคืบหน้าในเรื่องสัญญาสันติภาพที่พวกเขาหมายถึงนอกจากการปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อแล้ว พวกเขายังต้องการเห็นพม่ามีพันธกิจในการยุติความรุนแรงผ่านทางข้อตกลงหยุดยิง เริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมีส่วนร่วม รวมถึงควรให้มีการเข้าถึงผู้ต้องขังทางการเมืองได้ และให้ผู้ที่กำลังประสบความเดือดร้อนเข้าถึงความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมได้
การไม่เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของพม่าเข้าร่วมในครั้งนี้ถือเป็นมาตรการทางการทูตครั้งล่าสุดต่อรัฐบาล [เผละจัง] พม่าที่เริ่มถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมนานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่
มินอ่องหล่าย นายพลอาวุโสของพม่าทำการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อเดือน ก.พ. 2564
หลังจากการรัฐประหารในปีที่แล้วก็ทำให้พม่าเกิดภาวะวิกฤตทางการเมือง มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสังหารพลเรือนไปมากกว่า 1,500 ราย ในการปราบปรามการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร นอกจากนี้ยังมีการสู้รบเกิดขึ้นในพื้นที่รอบนอกและตามชายแดนระหว่างกองทัพกับกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยที่จับปืนขึ้นสู้รวมถึงกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์
ในช่วงที่มีการยกระดับความรุนแรงในพม่า อาเซียนได้สั่งห้ามไม่ให้
มินอ่องหล่ายเข้าร่วมประชุมอาเซียนซัมมิทในเดือน ต.ค. 2564 อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศต่างก็มีความคิดเห็นต่างกันในประเด็นของพม่า นายกรัฐมนตรี
ฮุนเซนสนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มนายพลของพม่า โดยที่
ฮุนเซนเคยเดินทางไปเยือนพม่าเพื่อเข้าพบกับมินอ่องหล่ายในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาซึ่งทำให้สมาชิกอาเซียนหลายประเทศกังวลว่า จะกลายเป็นการแสดงออกส่งเสริมรัฐบาลทหารหรือไม่
อย่างไรก็ตาม
Vann Bunna นักวิจัยจากสถาบันในกัมพูชาเพื่อความร่วมมือและสันติภาพกล่าวว่า หลังจากที่กัมพูชาเผชิญกับการโต้แย้งจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องความพยายามปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่าก็ทำให้กัมพูขาตัดสินใจสั่งแบนพม่าในการจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อเกรงว่าถ้าไม่สั่งแบนพม่าก็อาจจะทำให้จัดประชุมไม่ได้
Bunna กล่าวอีกว่ากัมพูชาเริ่มมองว่าการอยู่ร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นดีกว่าการพยายามสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีกับเผด็จการทหารพม่าที่ถูกมองว่าเชื่อถืออะไรไม่ได้ หลังจากที่เผด็จการทหารพม่าละเมิดข้อตกลงหยุดยิงแม้จะเคยสัญญาไว้กับฮุนเซนในช่วงที่มีการพบปะกันในเดือน ม.ค.
มติของอาเซียนที่สั่งแบนพม่าจากการประชุมนี้มีขึ้นในวันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมาหนึ่งวันหลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแถลงว่าพวกเขาความเป็นห่วงอย่างมากต่อการที่เผด็จการทหารพม่ายังคงใช้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อีกทั้งยูเอ็นยังเรียกร้องให้มีการเจรจาหารือเพื่อแก้ไขสถานการณ์โดยอยู่บนฐานของ "
เจตจำนงและผลประโยชน์ของประชาชน" ซึ่งแถลงการณ์นี้ได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงทั้งหมด 15 ประเทศ
นอกจากนี้แถลงการณ์ของยูเอ็นนังเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวบุคคลที่ถูกคุมขังโดยพลการรวมถึงอองซานซูจีและประธานาธิบดีวินมยินด้วย รวมถึงมีการแสดงความเป็นห่วงเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไม่นานนี้ การที่มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจำนวนมาก และประณามการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น สถานพยาบาลหรือสถานศึกษา
เรียบเรียงจาก
Myanmar military barred from ASEAN foreign ministers’ meeting, Aljazeera, 03-02-2022
Cambodia Says Myanmar Junta’s Foreign Minister Not Invited to Upcoming ASEAN Meeting, VOA, 02-02-2022
ค่าแรง 492 บาททั่วประเทศ นายจ้างร้องระงมต้นทุนผลิตพุ่งพรวด
https://www.prachachat.net/csr-hr/news-858290
นับเป็นระยะเวลา 3 ปีมาแล้วหลังจากที่ คณะกรรมการค่าจ้าง ได้ให้ความเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (6 ธันวาคม 2562) เป็นรายจังหวัด (10 กลุ่มจังหวัด) โดยกรุงเทพมหานคร มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 331 บาท ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับจังหวัดนครปฐม-นนทบุรี-ปทุมธานี-สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
โดยการพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจไทยขณะนั้น (ไตรมาส 3/2562) ขยายตัวร้อยละ 2.4 เฉพาะเดือนมกราคม-กันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ภาวะเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 และอัตราเงินเฟ้อ ณ เดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.11 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม 2562) อยู่ที่ร้อยละ 0.74 โดยสินค้าใน กลุ่มอาหารสดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นภาษีในกลุ่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ล่าสุดจากผลกระทบราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น “
เกินกว่า” 90 เหรียญ/บาร์เรล ราคาอาหารในหมวดอาหารสดปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมูเนื้อแดง และ น้ำมันพืช ส่งผลให้เกิดภาวะสินค้ามีราคาแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
จนผู้ใช้แรงงานไม่สามารถที่จะ
“ดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น” เป็นผลให้เกิดข้อเรียกร้องขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ด้านสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาแถลงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมกราคม 2565 ปรากฏดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับ 103.01 หรือสูงขึ้น 3.23 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการสูงขึ้นในรอบ 9 เดือน โดยเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าใน กลุ่มพลังงาน จากการปรับเพิ่มขึ้นของ ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นมา
ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารก็ปรับตัวสูง โดยเฉพาะ เนื้อหมู น้ำมันพืช อาหารทั้งที่บริโภคในบ้านและนอกบ้าน โดย สนค.มีความเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือนมกราคม “
ยังอยู่ในระดับปานกลางและค่อนข้างต่ำเกือบถึงอ่อน” พร้อมกับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2565 (ภายใต้สมมุติฐานอัตราเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 น้ำมันดิบดูไบ 63-73 เหรียญ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 31.5-33.5 บาท/เหรียญ) จะอยู่ในช่วง 0.7-2.4 % ค่ากลางอยู่ที่ 1.5%
จนกลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องขอให้มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยเร็วที่สุด
กกร.ให้รอผลหารือรายจังหวัด
ล่าสุด คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการเข้าพบ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 492 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ หลังการเข้าพบได้รับคำยืนยันจาก รมว.แรงงานว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ “จะต้องถูกปรับขึ้นแน่”
แต่ตัวเลขยังเป็นเท่าไหร่ยังไม่สามารถตอบได้ โดยค่าแรงขั้นต่ำที่ 492 บาทนั้น “
ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะสูงเกินไป เกรงจะกระทบโรงงานจนอาจจะต้องปิดตัวลง” และให้คณะกรรมการค่าจ้างไปหารือกับไตรภาคีแต่ละจังหวัดเพื่อกลับไปศึกษาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมต่อไป
ขณะที่ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า การขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นไปถึง 492 บาทนั้น “
น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้น้อย” เนื่องจากนายจ้างก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมีอัตราเติบโตลดลงและอยู่ในสถานการณ์ค่อนข้างลำบากด้วย
สอดคล้องกับ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ได้ประชุมไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นพร้อมกับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 3.0% ถึง 4.5% ขณะที่ประมาณการการส่งออกในปี 2565 จะขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะปรับตัวขึ้นในกรอบ 1.5% ถึง 2.5%
โดย นาย
สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ความเห็นถึงการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 492 บาท ว่า ขอให้คณะทำงานเรื่องค่าแรงแต่ละจังหวัดหารือกันก่อนและต้นทุนแต่ละ จว.ไม่เท่ากัน “
จึงไม่ควรอย่างมากในการปรับรายได้ขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศและการปรับขึ้นค่าแรงอาจจะส่งผลต่อการปรับราคาสินค้าด้วย”
ด้าน ดร.
พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ต้องรอข้อสรุปของคณะกรรมการจังหวัด การปรับขึ้นค่าแรงจะต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ รวมทั้งเรื่องเงินเฟ้อด้วย
“
ในภาวะอย่างนี้เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูง จะส่งผลกระทบต่อแรงงาน หากไม่ปรับขึ้นค่าแรงเลยก็ไม่ได้ แต่การจะปรับขึ้นค่าแรงควรจะปรับเท่าไหร่นั้น ก็ต้องมาพิจารณา เพียงแต่สิ่งสำคัญ การปรับขึ้นค่าแรงในแต่ละจังหวัดไม่ควรใช้อัตราเดียวกันเพราะต้นทุนของแต่ละพื้นที่ต่างกัน”
ขณะที่ นาย
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้มุมมองว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารต้นทุนค่าแรงน่าจะอยู่ในช่วง 20 ถึง 50% แล้วแต่สินค้า ถ้าเป็นสินค้าที่เน้นเรื่องของการตัดแต่งโดยที่ยังไม่มีเครื่องจักรช่วย ค่าแรงมากกว่า และค่าแรงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรงก็จะมีอัตราที่สูง และหากมีการปรับขึ้นค่าแรง จะมีผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากที่ดำเนินกิจการต่อไปไม่ไหวแน่
JJNY : 'อาเซียน'แบนรมว.พม่า│ค่าแรง492บ. นายจ้างร้องต้นทุนผลิตพุ่ง│ร.ร.เอกชนขนาดเล็กโอด│วิโรจน์เปิดนโยบายแก้น้ำท่วมกรุงฯ
https://prachatai.com/journal/2022/02/97123
กัมพูชาในฐานะผู้นำอาเซียนวาระปัจจุบันตัดสินใจแบนไม่ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของ [เผละจัง] พม่าเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน รวมถึงระบุให้พม่าส่งตัวแทนที่ไม่เกี่ยวข้องทางการเมืองมาร่วมแทน สาเหตุที่บอยคอตทางการทูตในครั้งนี้เพราะอาเซียนมองว่ารัฐบาลพม่าไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในเรื่องการยุติความรุนแรงหลังจากการรัฐประหารเกิดขึ้นมากกว่า 1 ปีแล้ว
5 ก.พ. 2565 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน แบนไม่ให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของพม่าที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลเผด็จการทหารเข้าร่วมประชุมด้วย หลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ "หยุดความรุนแรงทุกรูปแบบ" ในประเทศ รวมถึงปล่อยตัวนักโทษผู้นำทางการเมืองฝ่ายพลเรือนรวมถึงอองซานซูจี
ระบบผู้นำของอาเซียนนั้นมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้กับแต่ละประเทศโดยที่ในปัจจุบันผู้นำอาเซียนคือกัมพูชา เจ้าหน้าที่ทางการกัมพูชาได้เปิดเผยว่า Wunna Maung Lwin จะไม่เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอาเซียนซึ่งจะมีขึ้นในเดือน ก.พ. นี้ เพราะพม่าขาดความก้าวหน้าในเรื่องการดำเนินแผนการสันติภาพที่กลุ่มนายพลระดับสูงของพม่าเคยตกลงเอาไว้ในปีที่แล้ว
โฆษกด้านการต่างประเทศของกัมพูชาเปิดเผยอีกว่าในการประชุมที่กรุงพนมเปญซึ่งจะมีขึ้นวันที่ 16-17 ก.พ. นี้ พวกเขาได้เชิญให้ตัวแทนที่ไม่ใช่ตัวแทนทางการเมืองในพม่าเข้าร่วมประชุมแทน
Chum Sounry โฆษกการต่างประเทศของกัมพูชาแถลงว่า "เนื่องจากมีความก้าวหน้าน้อยมากในการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจึงมีมติร่วมกันว่าจะไม่เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศในสภาบริหารแห่งรัฐของพม่าเข้าร่วมการประชุมหารืออย่างเป็นกันเองระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศที่กำลังจะมีขึ้น"
Sounry กล่าวอีกว่าความคืบหน้าในเรื่องสัญญาสันติภาพที่พวกเขาหมายถึงนอกจากการปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อแล้ว พวกเขายังต้องการเห็นพม่ามีพันธกิจในการยุติความรุนแรงผ่านทางข้อตกลงหยุดยิง เริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมีส่วนร่วม รวมถึงควรให้มีการเข้าถึงผู้ต้องขังทางการเมืองได้ และให้ผู้ที่กำลังประสบความเดือดร้อนเข้าถึงความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมได้
การไม่เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของพม่าเข้าร่วมในครั้งนี้ถือเป็นมาตรการทางการทูตครั้งล่าสุดต่อรัฐบาล [เผละจัง] พม่าที่เริ่มถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมนานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่มินอ่องหล่าย นายพลอาวุโสของพม่าทำการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อเดือน ก.พ. 2564
หลังจากการรัฐประหารในปีที่แล้วก็ทำให้พม่าเกิดภาวะวิกฤตทางการเมือง มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสังหารพลเรือนไปมากกว่า 1,500 ราย ในการปราบปรามการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร นอกจากนี้ยังมีการสู้รบเกิดขึ้นในพื้นที่รอบนอกและตามชายแดนระหว่างกองทัพกับกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยที่จับปืนขึ้นสู้รวมถึงกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์
ในช่วงที่มีการยกระดับความรุนแรงในพม่า อาเซียนได้สั่งห้ามไม่ให้มินอ่องหล่ายเข้าร่วมประชุมอาเซียนซัมมิทในเดือน ต.ค. 2564 อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศต่างก็มีความคิดเห็นต่างกันในประเด็นของพม่า นายกรัฐมนตรีฮุนเซนสนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มนายพลของพม่า โดยที่ฮุนเซนเคยเดินทางไปเยือนพม่าเพื่อเข้าพบกับมินอ่องหล่ายในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาซึ่งทำให้สมาชิกอาเซียนหลายประเทศกังวลว่า จะกลายเป็นการแสดงออกส่งเสริมรัฐบาลทหารหรือไม่
อย่างไรก็ตาม Vann Bunna นักวิจัยจากสถาบันในกัมพูชาเพื่อความร่วมมือและสันติภาพกล่าวว่า หลังจากที่กัมพูชาเผชิญกับการโต้แย้งจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องความพยายามปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่าก็ทำให้กัมพูขาตัดสินใจสั่งแบนพม่าในการจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อเกรงว่าถ้าไม่สั่งแบนพม่าก็อาจจะทำให้จัดประชุมไม่ได้
Bunna กล่าวอีกว่ากัมพูชาเริ่มมองว่าการอยู่ร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นดีกว่าการพยายามสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีกับเผด็จการทหารพม่าที่ถูกมองว่าเชื่อถืออะไรไม่ได้ หลังจากที่เผด็จการทหารพม่าละเมิดข้อตกลงหยุดยิงแม้จะเคยสัญญาไว้กับฮุนเซนในช่วงที่มีการพบปะกันในเดือน ม.ค.
มติของอาเซียนที่สั่งแบนพม่าจากการประชุมนี้มีขึ้นในวันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมาหนึ่งวันหลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแถลงว่าพวกเขาความเป็นห่วงอย่างมากต่อการที่เผด็จการทหารพม่ายังคงใช้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อีกทั้งยูเอ็นยังเรียกร้องให้มีการเจรจาหารือเพื่อแก้ไขสถานการณ์โดยอยู่บนฐานของ "เจตจำนงและผลประโยชน์ของประชาชน" ซึ่งแถลงการณ์นี้ได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงทั้งหมด 15 ประเทศ
นอกจากนี้แถลงการณ์ของยูเอ็นนังเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวบุคคลที่ถูกคุมขังโดยพลการรวมถึงอองซานซูจีและประธานาธิบดีวินมยินด้วย รวมถึงมีการแสดงความเป็นห่วงเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไม่นานนี้ การที่มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจำนวนมาก และประณามการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น สถานพยาบาลหรือสถานศึกษา
เรียบเรียงจาก
Myanmar military barred from ASEAN foreign ministers’ meeting, Aljazeera, 03-02-2022
Cambodia Says Myanmar Junta’s Foreign Minister Not Invited to Upcoming ASEAN Meeting, VOA, 02-02-2022
ค่าแรง 492 บาททั่วประเทศ นายจ้างร้องระงมต้นทุนผลิตพุ่งพรวด
https://www.prachachat.net/csr-hr/news-858290
นับเป็นระยะเวลา 3 ปีมาแล้วหลังจากที่ คณะกรรมการค่าจ้าง ได้ให้ความเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (6 ธันวาคม 2562) เป็นรายจังหวัด (10 กลุ่มจังหวัด) โดยกรุงเทพมหานคร มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 331 บาท ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับจังหวัดนครปฐม-นนทบุรี-ปทุมธานี-สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
โดยการพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจไทยขณะนั้น (ไตรมาส 3/2562) ขยายตัวร้อยละ 2.4 เฉพาะเดือนมกราคม-กันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ภาวะเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 และอัตราเงินเฟ้อ ณ เดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.11 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม 2562) อยู่ที่ร้อยละ 0.74 โดยสินค้าใน กลุ่มอาหารสดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นภาษีในกลุ่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ล่าสุดจากผลกระทบราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น “เกินกว่า” 90 เหรียญ/บาร์เรล ราคาอาหารในหมวดอาหารสดปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมูเนื้อแดง และ น้ำมันพืช ส่งผลให้เกิดภาวะสินค้ามีราคาแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
จนผู้ใช้แรงงานไม่สามารถที่จะ “ดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น” เป็นผลให้เกิดข้อเรียกร้องขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ด้านสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาแถลงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมกราคม 2565 ปรากฏดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับ 103.01 หรือสูงขึ้น 3.23 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการสูงขึ้นในรอบ 9 เดือน โดยเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าใน กลุ่มพลังงาน จากการปรับเพิ่มขึ้นของ ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นมา
ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารก็ปรับตัวสูง โดยเฉพาะ เนื้อหมู น้ำมันพืช อาหารทั้งที่บริโภคในบ้านและนอกบ้าน โดย สนค.มีความเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือนมกราคม “ยังอยู่ในระดับปานกลางและค่อนข้างต่ำเกือบถึงอ่อน” พร้อมกับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2565 (ภายใต้สมมุติฐานอัตราเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 น้ำมันดิบดูไบ 63-73 เหรียญ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 31.5-33.5 บาท/เหรียญ) จะอยู่ในช่วง 0.7-2.4 % ค่ากลางอยู่ที่ 1.5%
จนกลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องขอให้มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยเร็วที่สุด
กกร.ให้รอผลหารือรายจังหวัด
ล่าสุด คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการเข้าพบ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 492 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ หลังการเข้าพบได้รับคำยืนยันจาก รมว.แรงงานว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ “จะต้องถูกปรับขึ้นแน่”
แต่ตัวเลขยังเป็นเท่าไหร่ยังไม่สามารถตอบได้ โดยค่าแรงขั้นต่ำที่ 492 บาทนั้น “ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะสูงเกินไป เกรงจะกระทบโรงงานจนอาจจะต้องปิดตัวลง” และให้คณะกรรมการค่าจ้างไปหารือกับไตรภาคีแต่ละจังหวัดเพื่อกลับไปศึกษาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมต่อไป
ขณะที่ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า การขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นไปถึง 492 บาทนั้น “น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้น้อย” เนื่องจากนายจ้างก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมีอัตราเติบโตลดลงและอยู่ในสถานการณ์ค่อนข้างลำบากด้วย
สอดคล้องกับ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ได้ประชุมไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นพร้อมกับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 3.0% ถึง 4.5% ขณะที่ประมาณการการส่งออกในปี 2565 จะขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะปรับตัวขึ้นในกรอบ 1.5% ถึง 2.5%
โดย นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ความเห็นถึงการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 492 บาท ว่า ขอให้คณะทำงานเรื่องค่าแรงแต่ละจังหวัดหารือกันก่อนและต้นทุนแต่ละ จว.ไม่เท่ากัน “จึงไม่ควรอย่างมากในการปรับรายได้ขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศและการปรับขึ้นค่าแรงอาจจะส่งผลต่อการปรับราคาสินค้าด้วย”
ด้าน ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ต้องรอข้อสรุปของคณะกรรมการจังหวัด การปรับขึ้นค่าแรงจะต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ รวมทั้งเรื่องเงินเฟ้อด้วย
“ในภาวะอย่างนี้เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูง จะส่งผลกระทบต่อแรงงาน หากไม่ปรับขึ้นค่าแรงเลยก็ไม่ได้ แต่การจะปรับขึ้นค่าแรงควรจะปรับเท่าไหร่นั้น ก็ต้องมาพิจารณา เพียงแต่สิ่งสำคัญ การปรับขึ้นค่าแรงในแต่ละจังหวัดไม่ควรใช้อัตราเดียวกันเพราะต้นทุนของแต่ละพื้นที่ต่างกัน”
ขณะที่ นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้มุมมองว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารต้นทุนค่าแรงน่าจะอยู่ในช่วง 20 ถึง 50% แล้วแต่สินค้า ถ้าเป็นสินค้าที่เน้นเรื่องของการตัดแต่งโดยที่ยังไม่มีเครื่องจักรช่วย ค่าแรงมากกว่า และค่าแรงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรงก็จะมีอัตราที่สูง และหากมีการปรับขึ้นค่าแรง จะมีผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากที่ดำเนินกิจการต่อไปไม่ไหวแน่