สวัสดีค่ะ พอดีเพิ่งขอเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากคุณพ่อเสีย แล้วเห็นว่าตอนทำเรื่องก็มีเรื่องงงๆ วุ่นวายๆนิดหน่อย ก็เลยมาเขียนแชร์ไว้เพื่อวันหนึ่งใครที่ต้องติดต่อที่ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จะได้รู้วิธีหรือขั้นตอนนะคะ
เหตุเกิดจาก คุณพ่อเราเสีย และไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ค่ะ ทรัพย์สินก็จะมีบ้าน และบัญชิธนาคาร หรือแม้แต่จะเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้าน ก็ทำไม่ได้แล้วค่ะ มีแต่ต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาจัดการให้เท่านั้น
โชคดีที่เรามีเพื่อนเป็นทนาย ก็เลยสอบถามไปคร่าวๆ เพื่อนก็แนะนำให้เช็คเขตก่อน คือทะเบียนบ้านของผู้ตายอยู่เขตไหน ก็ให้ไปติดต่อที่ศาลแพ่งของเขตนั้น ซึ่งพอเช็คไปมา ก็ไปเจอว่า ต้องไปติดต่อที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เพื่อนบอกไม่ต้องมีทนายด้วยค่ะ ทำเองได้หมดเลย ยิ่งถ้าทายาทไม่มีขัดแย้งอะไร จะง่ายมากๆ เราก็เลยลุยเองเลยค่ะ
ตอนแรกเราโทรไปก่อน ติดต่อแผนกจัดการมรดก มีเจ้าหน้าที่รับสาย ก็อธิบายเรื่องราวเขาไป เขาก็จะบอกให้เราเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ก็จดๆ แล้วก็เตรียมไป ซึ่งหลักๆ ก็จะมี สำเนาบัตรประชาชนผู้ตาย สำเนาใบมรณบัตร สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย สำเนาบัตรประชาชนผู้ร้อง สำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง บัญชีเครือญาติ (ทายาทหรือผู้มีสิทธิ์รับมรดก ประกอบไปด้วย ปู่ ย่า ภรรยา และบุตร ไม่รวมพี่น้องของพ่อ ) สำเนาใบสมรส กรณีแต่งงานถูกต้องตามกฏหมาย แบบฟอร์มรับรองการยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของทายาท รวมถึง สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทุกคน แล้วก็ทรัพย์สินเลือกเอาอย่างใดอย่างนึง (ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีทรัพย์สินด้วย) เราก็เลยเลือกแค่บัญชีธนาคารของพ่อเรา 1 บัญชี ก็จะใช้แค่ สำเนาหน้าธนาคารหน้าแรก และ statement ทุกหน้าจนถึงล่าสุด แค่นั้น (พวกโฉนดที่ดิน + บัญชีอื่นๆคือไม่ได้ยื่นเลย จนท บอก ไม่จำเป็น)
บัญชีเครือญาตินี่วาดรูปเองได้เลยนะคะ ส่วนแบบฟอร์มรับรองการยินยอมฯ มีหาโหลดได้ที่เวปไซด์ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ หรือเวปไซต์ของกระทรวงยุติธรรมได้เลย แต่เราก็ทำเองโดยลอกๆมาจากตัวอย่างน่ะแหล่ะ ใช้ได้เหมือนกัน
ส่วนใบคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งเป็นภาษากฏหมายมากๆ อันนี้ไม่ต้องเขียนค่ะ ที่ศาลจะมี จนท เขียนให้ เราก็เตรียมแค่หลักฐานที่เกี่ยวข้องของเราไปก็พอ
เนื่องจากปู่กับย่าเราเสียตั้งแต่พ่อเรายังเด็กเลย เราก็เลยไม่มีใบมรณบัตรพวกท่าน พ่อแม่เราก็ไม่ได้เก็บไว้ พอไม่มี เราก็เลยไม่ได้เตรียมไป
พอเตรียมทุกอย่างหมดแล้ว ก็ได้เวลาไปติดต่อที่ศาล ก็ไม่ยากค่ะ จนท หน้าประตูก็จะบอกไปที่แผนกจัดการมรดกอยู่ชั้น 3 แต่พอไปถึงแผนก จนท. เค้าก็ดูเอกสารแพ้บๆ แล้วก็บอกว่าเราเอามาไม่ครบ เราก็อ้าว~! ก็โทรมาถามแล้วนะว่าต้องใช้อะไรบ้าง พี่เค้าก็หยิบกระดาษ check list มาให้ แล้วก็ขีดๆๆ สิ่งที่เราต้องเตรียมมา ซึ่งปัญหาของเราก็คือ เขาต้องการสำเนาใบมรณบัตรของ ปู่ ย่า ซึ่งเราไม่มี เราก็บอกว่าเสียไปนานแล้ว ไม่รู้จะไปหาที่ไหน เขาก็บอกยังไงก็ต้องหามาให้ได้ ไม่งั้นเค้าจะไม่ยื่นฟ้องให้ (เอ้า~!) แล้วจะไปหาให้ที่ไหนละคะ เขาก็บอกคุณไปติดต่อทะเบียนดู ถ้าไม่มีก็ไม่ยื่นให้ แล้วเขาก็ไปเลย...
จร่ะ ช็อคไปพักนึง โทรหาเพื่อนทนายเลย เพื่อนก็บอก ก็ไม่ยากค่ะ ไปที่เขตค่ะ ถ้าพยายามวิ่งเต้นแล้วไม่ได้จริงๆ ก็ไปอธิบายศาลได้ว่าเราได้พยายามแล้ว ยังไงเขาก็ต้องรับเรื่อง แต่ถ้ายังไม่พยายาม มันจะอ้างไม่ขึ้น เราก็เลยอะ ไปก็ไป ก็ไปติดต่อที่เขตตามทะเบียนบ้านของคุณพ่อค่ะ
อยากจะบอกว่า เป็นความ amazing ของเขตมากเลยค่ะ เขาหามาได้จริงๆด้วย!! ที่เขตนี่สามารถสืบประวัติไล่ไปจนถึงปู่ย่า แล้วบอกได้ด้วยว่า ปู่ย่าเราซึ่งเป็นคนจีนแบกเสื่อผืนหมอนใบหนีมาไทย และพูดไทยไม่ได้ เสียที่เขตไหน อะไรยังไง ขุ่นพระ!!! ขนาดพ่อแม่เรายังไม่ทราบเลย เขตนี่สุดยอดจริงๆ ซึ่งเขตที่นี่ ก็บอกว่าให้เราไปคัดสำเนาใบมรณะของปู่ที่เขตนี้นะ แล้วก็ของย่าที่เขตนี้นะ เราก็ไปตามที่เขาแนะนำมา สุดท้ายเราก็ได้มาครบค่ะ!! พอได้หลักฐานใบมรณะบัตรของ ปู่ย่า ครบแล้ว ก็ไปยื่นที่ศาลอีกครั้ง
ที่ศาลเขาจะรวบรวมเอกสารทั้งหมด แล้วบอกเราว่า ประมาณ 1 เดือนนะ จะมี จนท ติดต่อกลับไปให้มาตรวจคำร้อง ก็โอเค ผ่านไปเดือนกว่าๆค่ะ ก็มี จนท โทรมาจริงๆ เขาก็จะเรียกให้ไปตรวจคำร้อง ซ่ึ่งตรงนี้เราจะได้เลขคดีแล้วค่ะ
"แนะนำให้ถ่ายรูปคำร้องนี่เก็บไว้ด้วย" ตรวจเสร็จก็จ่ายเงินค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท แล้วเขาก็จะนัดวันที่จะพบศาลให้เลยค่ะ ซึ่งคิวยาวเป็นหางว่าว รอไปเลย 2 เดือน (ขนาดศาลเปิดวันเสาร์เพิ่มแล้วด้วยนะคะ) อ้อ จนท เขาจะมี list รายการบอกด้วยว่า วันขึ้นศาลให้เตรียมเอกสารอะไรมาบ้าง ประมาณ 3-4 รายการ
จนท ศาล เขาจะบอกวิธีการแต่งตัวมาด้วยค่ะ หลักๆก็ชุดสุภาพทั่วๆไป เสื้อมีปก ผู้หญิงใส่กางเกงได้ แต่ห้ามเป็นยีนส์ และขากางเกงต้องยาวถึงตาตุ่ม รองเท้าต้องเป็นหุ้นส้น จะใส่ผ้าใบแบบรองเท้าวิ่งก็ได้ ไม่มีปัญหา
พอถึงวันนัด เราก็ไปค่ะ วันที่เราไป มีคดีที่จะว่าความประมาณ 9 คดี ของเราได้รอบเข้า ซึ่งเราก็เตรียมเอกสารไปตาม list ที่ จนท บอก วันนั้นเรามีเพื่อนทนายเราไปด้วย แต่นางไม่ได้ไปในฐานะทนายค่ะ นางไปเป็นเพื่อนเฉยๆ 555+ แต่ก็อุ่นใจดี โอเคร้~ เราไปถึงก่อนเวลา 1 ชั่วโมงนัด ก็มีทนายที่เขามาเก็บคดีเพื่อจะไปสอบราชการ เขาก็จะมาถามๆว่าให้เขาเป็นทนายว่าความให้ไหม ไม่คิดเงิน เขาต้องการแค่เลขคดี ซึ่งเพื่อนเราก็พยักหน้าว่า ช่วยๆกันไป เราก็โอเคไปค่ะ
ซึ่งก็เป็นการดีนะคะ เขาจะเช็คเอกสารให้เรา ช่วยเดินเอกสารให้ ช่วยเตี๊ยมคำถามที่ศาลจะถาม แล้วเราควรจะตอบอะไร ตอบแค่ไหนถึงจะพอ ซึ่งพอเขาเช็คเอกสารเรา เขาก็บอก ทำไมเตรียมมาแค่นี้... เราก็งง ก็เตรียมตามที่ จนท บอกมาอ่ะ เขาก็บอกว่า เราต้องเตรียมตัวจริงทั้งหมดที่ยื่นศาลไปอ่ะ มาด้วย มันสำคัญมากกกกก ทนายสองคน (เพื่อนเรากะทนายเก็บคดี) พูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า คุณต้องเตรียมตัวจริงมาด้วย~!!!! ว้อทท~! ม่ายยย ใครจะกลับบ้านไปเอาอีกล่ะ ก็ จนท. ศาล เขา list มาให้แค่นี้อ๊ะ~!! เราก็ยืนกรานไม่กลับบ้านไปเอาตัวจริงค่ะ แทบจะกอด check list กระดาษใบนั้นที่ จนท เขียนให้ไว้เลย เขาก็แบบอ่ะ ลองดู ทุกทีเขาจะเตรียมมา เผื่อศาลเรียกใช้ ถ้าคุณไม่มี เขาอาจจะไม่ให้คุณผ่านก็ได้ เอ้า โดนขู่ด้วย แอบกลัวเลย ตอนนั้น
พอถึงเวลา จนท ก็จะเรียกเข้าห้องค่ะ เป็นห้องว่าคดีแบบในหนังเลย แต่เป็นห้องเล็กๆ หน่อย ก็จะมี จนท ที่นั่งอยู่หน้าบัลลังค์ ซึ่งถ้าเรามีแต่งตั้งทนาย (ซึ่งก็ได้ใช้บริการเลย) เขาก็จะไปติดต่อ จนท หน้าบัลลังค์นี้ให้ แล้วก็เช็คเอกสารว่าครบมั้ย (ได้ยินเสียง จนท. หน้าบัลลังค์บ่นด้วยว่า ทำไมเตรียมเอกสารกันมาแค่นี้~!!! ไอ่เราก็คิดเลย เอิ่ม พวกพี่ไม่คุยกันเองเหรอคะเนี่ยยย!! แต่เขาก็ไม่ว่าไรค่ะ มีแค่เสียงบ่นเท่านั้น )
แล้วทนายก็จะเตี๊ยมตอบคำถามกับเราอีกครั้ง และไล่เตี๊ยมกับคนอื่นๆในห้องด้วย คือทนายคนเดียวจะรับทุกคดีในห้องนั้นเลยค่ะ ดูเหมือนว่า จนท กับทนายก็ทำงานแบบร่วมด้วยช่วยกันอยู่ ประมาณถ้าใครไม่มีทนาย พี่เขาก็จะเรียกให้ทนายคนนั้นรับเคสไปเลย แต่ถึงไม่มีทนาย ตรงพี่ จนท ที่นั่งหน้าบัลลังค์ ก็จะแนะนำอยู่ดีว่า ต่อไปนี้ ขั้นตอนจะเป็นยังไง หลักๆก็จะ
1. ห้ามนั่งไขว้ห้าง ห้ามเล่นมือถือ ปิดเสียงโทรศัพท์ด้วย
2. เมื่อผู้พิพากษามา ต้องยืนทำความเคารพ รอจนกว่า ผู้พิพากษาจะสั่งให้นั่ง เราถึงจะนั่งได้
3. ผู้พิพากษาจะหยิบแฟ้มคดีแล้วก็เรียกชื่อตามผู้ร้อง ก็ลุกไปยืนตรงช่องที่กำหนด แล้วก็อ่านคำปฏิญาณ ซึ่งจะมีแต่ละศาสนาแยกให้อ่านเลยค่ะ
4. พอถึงตรงนี้ กรณีที่เรามีทนาย ทนายจะเป็นผู้ถามคำถาม โดยเราจะเป็นตำแหน่งพยาน แต่วันที่เราไปคือ คดีเยอะค่ะ ศาลท่านเน้นเร็ว ท่านเลยว่าความทีละ 2 คดีเลย คือบัลลังค์หลัก กับมุมห้อง... คือตรงมุมห้องนี่ เรียกว่าคุยส่วนตัวๆ กันกับผู้พิพากษาเลยค่ะ ซึ่งเราก็ได้ตรงมุมห้องนี้ค่ะ เพราะทนายไปว่าความที่บัลลังค์หลักอยู่
5. ผู้พิพากษาก็จะให้เรากล่าวคำสาบานตามท่านค่ะ เราก็พูดตามไปเรื่อยๆ จากนั้นท่านจะเริ่มถามคำถาม (ตามที่ทนายเตี๊ยมให้เปี๊ยบ) ซึ่งก็จะเป็นตามเอกสารที่ยื่นไป เช่นชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่ผู้ร้อง ชื่อ นามสกุล ผู้ตาย ความสัมพันธ์กับผู้ตาย ผู้ตายเสียด้วยสาเหตุอะไร มีทายาทที่มีสิทธิ์กี่คน ชื่ออะไรบ้าง (ต้องตอบชื่อ นามสกุลให้ถูกเป๊ะๆทุกคน) ผู้ตายเสียชีวิตที่ไหน และเสียวันไหน ประมาณนี้ค่ะ ซึ่งเราก็ตอบได้ตรงหมด (คุยแบบรวดเร็วมาก เรียยง่ายสุดๆ)
6. ถ้าหมดคำถาม ผู้พิพากษาก็จะบอกว่า เชิญไปได้ ก็จบค่ะ ก็ไปเซ็นต์เอกสาร กับ จนท หน้าบัลลังค์ อีก 2-3 ที่ก็เสร็จหน้าที่ กลับบ้านได้
เรียกว่าง่ายมว้ากกกก ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมไม่ต้องตั้งทนาย เพราะคดีไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก คำถามก็ตามเอกสารที่ยื่นไปเลย ยิ่งหลักฐานครบยิ่งผ่านสบายเลยค่ะ
พอเสร็จแล้ว จนท ก็จะบอกว่า ต้องรออีก 1 เดือน ให้คดีสิ้นสุดก่อนนะ แล้วเอกสารที่ศาลจะออกให้ ก็จะมี ใบแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก และใบสิ้นสุดคดี คือต้องใช้ 2 ใบนี้ร่วมกันถึงจะไปทำธุรกรรมได้ ไม่งั้นอาจจะโดนปฏิเสธได้ค่ะ
ซึ่งตรงนี้เรามีขอคัดคำสั่งศาลไว้ด้วยเลย เพราะไหนๆศาลท่านก็ตัดสินแล้ว ก็จ่าย 50 บาทค่าคัดไปชุดนึง (คือเพื่อนทนายมันบอกให้คัดไว้ค่ะ จริงๆ จนท บอกว่ามาคัดพร้อมวันสิ้นสุดคดีก็ได้ ไม่ต่างกัน)
ซึ่งพอครบ 1 เดือน เราก็ไปติดต่อที่ ชั้น 3 อีกที เขาก็จะให้เราแจ้ง "เลขดคี" คือบอกตรงๆว่า ใครจะไปจำกันนะ เขาก็บ่นๆพอสมควรเลย แต่ก็ทำให้ค่ะ ซึ่งถ้าถ่ายรูปเก็บไว้ ก็จะได้ใช้ตอนนี้แหล่ะ เขาจะแจ้งเลขคดีดำ + แดง ให้เรา ซึ่งเราต้องเอาเลขคดี ดำ+แดงนี่ไปคัดคำสั่งศาลและใบสิ้นสุดอีกที่นึงค่ะ
ซึ่งก็ต้องเดินไปใต้อาคาร แล้วก็ให้เดินไปตามทางโรงอาหาร จะมีป้ายบอกทางไปโรงอาหาร จริงๆตรงนี้เป็นจุดที่เราคิดว่ายากสุดแล้วค่ะ หลงทาง หาไม่เจอ คือเรียกว่าไล่ถามทุกคนที่เจอเลย กว่าจะไปเจอห้องที่เป็นห้องเก็บคดีแดง เราก็เข้าไป คือเราก็อยากจะบ่นตรงนี้นะ ไม่มีบอกอะไรเลย เราก็ถามๆ พี่ตรง counter เขาก็บอกน้องไปเขียนใบคัดคำร้อง ที่ช่อง 5 นะ เป็นใบเล็กๆ ตรงนั้นแล้วก็เสียบเหล็กเอาไว้
เราก็งงๆ ก็ทำตามเขาบอก เป็นใบเล็กๆอยู่ในลิ้นชักบน ซึ่งตรงนี้จะมีป้ายบอกล่ะว่า ให้เขียนอะไรยังไง เราก็กรอกด้วยความงงๆ ซึ่งจะมีเลขคดีแดงกับคดีดำ ให้ใส่ แล้วเราก็เสียบใส่เหล็กแท่งเอาไว้ แล้วยืนรอค่ะ ซักพัก ก็มี จนท ที่นั่งอยู่ลึกๆข้างใน เดินมาหยิบใบไปค่ะ แล้วเขาก็หยิบแฟ้มเอกสารคดีออกมา พร้อมกับแบบฟอร์มขอคัดคำร้องแล้วก็อธิบายด้วยภาษาที่ชาวบ้านอย่างเรางงงวยสุดๆ แต่ก็สรุปได้มาประมาณนี้ค่ะ
ถ้าเรามาติดต่อขอใบสิ้นสุดคดี เขาก็จะให้ใบสิ้นสุดคดีตัวจริงมาเก็บไว้ (เสีย 50 บาท) แต่ถ้าเป็นคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ศาลจะเก็บตัวจริงเอาไว้ และให้เรา "คัดสำเนา" อย่างเดียวเท่านั้น
การคัดสำเนา เขาจะถ่ายเอกสารมาให้เฉยๆ โดยคิดราคา 3 บาท แต่ถ้าต้องการให้รับรองด้วย ซึ่งเขาจะ stamp ตราสีแดงๆรับรองพร้อมลงวันที่ออกใบนี้มาให้ ตรงนี้จะเสียค่ารับรองอีก 50 บาท เราต้องใช้รูปแบบหลังคือมี stamp แดงนี่ด้วย ถึงจะเอาไปใช้ติดต่อที่อื่นๆได้ ก็จะเสีย 50+3 บาท
ในกรณีนี้ ควรจะคัดสำเนาใบสิ้นสุดคดีมาเลยค่ะ และเก็บตัวจริงเอาไว้ เวลาไปติดต่อหน่วยงานอื่นๆ ก็ใช้ใบคัดสำเนาเอาแทน
** สำเนาคัดทั้งหมดมีระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ถ้าเลย 1 เดือน ทางหน่วยงานที่รับ อาจจะปฏิเสธได้ และเราต้องไปคัดกันใหม่ เสียอีก 50+3 บาท จนท แจ้งมาแบบนี้ค่ะ เป็นข้อกำหนดของหน่วยราชการที่พวกเค้ารู้กัน(เอง) เพราะงั้น คัดเสร็จแล้วต้องรีบเอาไปใช้เลยก่อนการรับรองจะหมดอายุ)
สรุปสิ่งที่เราต้องใช้ในการติตต่อที่อื่นๆ (ทั้งราชการและเอกชน) ก็จะเป็นได้ 2 กรณี
1. ยื่นคำสั่งศาล (เป็นการคัดสำเนาพร้อมรับรอง) และ ยื่นใบสิ้นสุดคดี (ตัวจริง)
2. ยื่นคำสั่งศาล (เป็นการคัดสำเนาพร้อมรับรอง) และยื่นใบสิ้นสุดคดี (เป็นการคัดสำเนาพร้อมใบรับรอง)
แล้วสถานที่ที่เราไปติดต่อก็จะมีทั้งแบบยึดของเราไปเลย หรือไม่ก็คืนของเรามาทั้งหมด แล้วแต่นโยบายแต่ละที่เลยค่ะ ซึ่งถ้ายึดไป เราก็ต้องกลับไปคัดกันใหม่ เสียอีก 50+3 บาท (T__T)
(ต่อ)
[CR] แชร์ประสบการณ์การยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เหตุเกิดจาก คุณพ่อเราเสีย และไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ค่ะ ทรัพย์สินก็จะมีบ้าน และบัญชิธนาคาร หรือแม้แต่จะเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้าน ก็ทำไม่ได้แล้วค่ะ มีแต่ต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาจัดการให้เท่านั้น
โชคดีที่เรามีเพื่อนเป็นทนาย ก็เลยสอบถามไปคร่าวๆ เพื่อนก็แนะนำให้เช็คเขตก่อน คือทะเบียนบ้านของผู้ตายอยู่เขตไหน ก็ให้ไปติดต่อที่ศาลแพ่งของเขตนั้น ซึ่งพอเช็คไปมา ก็ไปเจอว่า ต้องไปติดต่อที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เพื่อนบอกไม่ต้องมีทนายด้วยค่ะ ทำเองได้หมดเลย ยิ่งถ้าทายาทไม่มีขัดแย้งอะไร จะง่ายมากๆ เราก็เลยลุยเองเลยค่ะ
ตอนแรกเราโทรไปก่อน ติดต่อแผนกจัดการมรดก มีเจ้าหน้าที่รับสาย ก็อธิบายเรื่องราวเขาไป เขาก็จะบอกให้เราเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ก็จดๆ แล้วก็เตรียมไป ซึ่งหลักๆ ก็จะมี สำเนาบัตรประชาชนผู้ตาย สำเนาใบมรณบัตร สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย สำเนาบัตรประชาชนผู้ร้อง สำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง บัญชีเครือญาติ (ทายาทหรือผู้มีสิทธิ์รับมรดก ประกอบไปด้วย ปู่ ย่า ภรรยา และบุตร ไม่รวมพี่น้องของพ่อ ) สำเนาใบสมรส กรณีแต่งงานถูกต้องตามกฏหมาย แบบฟอร์มรับรองการยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของทายาท รวมถึง สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทุกคน แล้วก็ทรัพย์สินเลือกเอาอย่างใดอย่างนึง (ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีทรัพย์สินด้วย) เราก็เลยเลือกแค่บัญชีธนาคารของพ่อเรา 1 บัญชี ก็จะใช้แค่ สำเนาหน้าธนาคารหน้าแรก และ statement ทุกหน้าจนถึงล่าสุด แค่นั้น (พวกโฉนดที่ดิน + บัญชีอื่นๆคือไม่ได้ยื่นเลย จนท บอก ไม่จำเป็น)
บัญชีเครือญาตินี่วาดรูปเองได้เลยนะคะ ส่วนแบบฟอร์มรับรองการยินยอมฯ มีหาโหลดได้ที่เวปไซด์ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ หรือเวปไซต์ของกระทรวงยุติธรรมได้เลย แต่เราก็ทำเองโดยลอกๆมาจากตัวอย่างน่ะแหล่ะ ใช้ได้เหมือนกัน
ส่วนใบคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งเป็นภาษากฏหมายมากๆ อันนี้ไม่ต้องเขียนค่ะ ที่ศาลจะมี จนท เขียนให้ เราก็เตรียมแค่หลักฐานที่เกี่ยวข้องของเราไปก็พอ
เนื่องจากปู่กับย่าเราเสียตั้งแต่พ่อเรายังเด็กเลย เราก็เลยไม่มีใบมรณบัตรพวกท่าน พ่อแม่เราก็ไม่ได้เก็บไว้ พอไม่มี เราก็เลยไม่ได้เตรียมไป
พอเตรียมทุกอย่างหมดแล้ว ก็ได้เวลาไปติดต่อที่ศาล ก็ไม่ยากค่ะ จนท หน้าประตูก็จะบอกไปที่แผนกจัดการมรดกอยู่ชั้น 3 แต่พอไปถึงแผนก จนท. เค้าก็ดูเอกสารแพ้บๆ แล้วก็บอกว่าเราเอามาไม่ครบ เราก็อ้าว~! ก็โทรมาถามแล้วนะว่าต้องใช้อะไรบ้าง พี่เค้าก็หยิบกระดาษ check list มาให้ แล้วก็ขีดๆๆ สิ่งที่เราต้องเตรียมมา ซึ่งปัญหาของเราก็คือ เขาต้องการสำเนาใบมรณบัตรของ ปู่ ย่า ซึ่งเราไม่มี เราก็บอกว่าเสียไปนานแล้ว ไม่รู้จะไปหาที่ไหน เขาก็บอกยังไงก็ต้องหามาให้ได้ ไม่งั้นเค้าจะไม่ยื่นฟ้องให้ (เอ้า~!) แล้วจะไปหาให้ที่ไหนละคะ เขาก็บอกคุณไปติดต่อทะเบียนดู ถ้าไม่มีก็ไม่ยื่นให้ แล้วเขาก็ไปเลย...
จร่ะ ช็อคไปพักนึง โทรหาเพื่อนทนายเลย เพื่อนก็บอก ก็ไม่ยากค่ะ ไปที่เขตค่ะ ถ้าพยายามวิ่งเต้นแล้วไม่ได้จริงๆ ก็ไปอธิบายศาลได้ว่าเราได้พยายามแล้ว ยังไงเขาก็ต้องรับเรื่อง แต่ถ้ายังไม่พยายาม มันจะอ้างไม่ขึ้น เราก็เลยอะ ไปก็ไป ก็ไปติดต่อที่เขตตามทะเบียนบ้านของคุณพ่อค่ะ
อยากจะบอกว่า เป็นความ amazing ของเขตมากเลยค่ะ เขาหามาได้จริงๆด้วย!! ที่เขตนี่สามารถสืบประวัติไล่ไปจนถึงปู่ย่า แล้วบอกได้ด้วยว่า ปู่ย่าเราซึ่งเป็นคนจีนแบกเสื่อผืนหมอนใบหนีมาไทย และพูดไทยไม่ได้ เสียที่เขตไหน อะไรยังไง ขุ่นพระ!!! ขนาดพ่อแม่เรายังไม่ทราบเลย เขตนี่สุดยอดจริงๆ ซึ่งเขตที่นี่ ก็บอกว่าให้เราไปคัดสำเนาใบมรณะของปู่ที่เขตนี้นะ แล้วก็ของย่าที่เขตนี้นะ เราก็ไปตามที่เขาแนะนำมา สุดท้ายเราก็ได้มาครบค่ะ!! พอได้หลักฐานใบมรณะบัตรของ ปู่ย่า ครบแล้ว ก็ไปยื่นที่ศาลอีกครั้ง
ที่ศาลเขาจะรวบรวมเอกสารทั้งหมด แล้วบอกเราว่า ประมาณ 1 เดือนนะ จะมี จนท ติดต่อกลับไปให้มาตรวจคำร้อง ก็โอเค ผ่านไปเดือนกว่าๆค่ะ ก็มี จนท โทรมาจริงๆ เขาก็จะเรียกให้ไปตรวจคำร้อง ซ่ึ่งตรงนี้เราจะได้เลขคดีแล้วค่ะ "แนะนำให้ถ่ายรูปคำร้องนี่เก็บไว้ด้วย" ตรวจเสร็จก็จ่ายเงินค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท แล้วเขาก็จะนัดวันที่จะพบศาลให้เลยค่ะ ซึ่งคิวยาวเป็นหางว่าว รอไปเลย 2 เดือน (ขนาดศาลเปิดวันเสาร์เพิ่มแล้วด้วยนะคะ) อ้อ จนท เขาจะมี list รายการบอกด้วยว่า วันขึ้นศาลให้เตรียมเอกสารอะไรมาบ้าง ประมาณ 3-4 รายการ
จนท ศาล เขาจะบอกวิธีการแต่งตัวมาด้วยค่ะ หลักๆก็ชุดสุภาพทั่วๆไป เสื้อมีปก ผู้หญิงใส่กางเกงได้ แต่ห้ามเป็นยีนส์ และขากางเกงต้องยาวถึงตาตุ่ม รองเท้าต้องเป็นหุ้นส้น จะใส่ผ้าใบแบบรองเท้าวิ่งก็ได้ ไม่มีปัญหา
พอถึงวันนัด เราก็ไปค่ะ วันที่เราไป มีคดีที่จะว่าความประมาณ 9 คดี ของเราได้รอบเข้า ซึ่งเราก็เตรียมเอกสารไปตาม list ที่ จนท บอก วันนั้นเรามีเพื่อนทนายเราไปด้วย แต่นางไม่ได้ไปในฐานะทนายค่ะ นางไปเป็นเพื่อนเฉยๆ 555+ แต่ก็อุ่นใจดี โอเคร้~ เราไปถึงก่อนเวลา 1 ชั่วโมงนัด ก็มีทนายที่เขามาเก็บคดีเพื่อจะไปสอบราชการ เขาก็จะมาถามๆว่าให้เขาเป็นทนายว่าความให้ไหม ไม่คิดเงิน เขาต้องการแค่เลขคดี ซึ่งเพื่อนเราก็พยักหน้าว่า ช่วยๆกันไป เราก็โอเคไปค่ะ
ซึ่งก็เป็นการดีนะคะ เขาจะเช็คเอกสารให้เรา ช่วยเดินเอกสารให้ ช่วยเตี๊ยมคำถามที่ศาลจะถาม แล้วเราควรจะตอบอะไร ตอบแค่ไหนถึงจะพอ ซึ่งพอเขาเช็คเอกสารเรา เขาก็บอก ทำไมเตรียมมาแค่นี้... เราก็งง ก็เตรียมตามที่ จนท บอกมาอ่ะ เขาก็บอกว่า เราต้องเตรียมตัวจริงทั้งหมดที่ยื่นศาลไปอ่ะ มาด้วย มันสำคัญมากกกกก ทนายสองคน (เพื่อนเรากะทนายเก็บคดี) พูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า คุณต้องเตรียมตัวจริงมาด้วย~!!!! ว้อทท~! ม่ายยย ใครจะกลับบ้านไปเอาอีกล่ะ ก็ จนท. ศาล เขา list มาให้แค่นี้อ๊ะ~!! เราก็ยืนกรานไม่กลับบ้านไปเอาตัวจริงค่ะ แทบจะกอด check list กระดาษใบนั้นที่ จนท เขียนให้ไว้เลย เขาก็แบบอ่ะ ลองดู ทุกทีเขาจะเตรียมมา เผื่อศาลเรียกใช้ ถ้าคุณไม่มี เขาอาจจะไม่ให้คุณผ่านก็ได้ เอ้า โดนขู่ด้วย แอบกลัวเลย ตอนนั้น
พอถึงเวลา จนท ก็จะเรียกเข้าห้องค่ะ เป็นห้องว่าคดีแบบในหนังเลย แต่เป็นห้องเล็กๆ หน่อย ก็จะมี จนท ที่นั่งอยู่หน้าบัลลังค์ ซึ่งถ้าเรามีแต่งตั้งทนาย (ซึ่งก็ได้ใช้บริการเลย) เขาก็จะไปติดต่อ จนท หน้าบัลลังค์นี้ให้ แล้วก็เช็คเอกสารว่าครบมั้ย (ได้ยินเสียง จนท. หน้าบัลลังค์บ่นด้วยว่า ทำไมเตรียมเอกสารกันมาแค่นี้~!!! ไอ่เราก็คิดเลย เอิ่ม พวกพี่ไม่คุยกันเองเหรอคะเนี่ยยย!! แต่เขาก็ไม่ว่าไรค่ะ มีแค่เสียงบ่นเท่านั้น )
แล้วทนายก็จะเตี๊ยมตอบคำถามกับเราอีกครั้ง และไล่เตี๊ยมกับคนอื่นๆในห้องด้วย คือทนายคนเดียวจะรับทุกคดีในห้องนั้นเลยค่ะ ดูเหมือนว่า จนท กับทนายก็ทำงานแบบร่วมด้วยช่วยกันอยู่ ประมาณถ้าใครไม่มีทนาย พี่เขาก็จะเรียกให้ทนายคนนั้นรับเคสไปเลย แต่ถึงไม่มีทนาย ตรงพี่ จนท ที่นั่งหน้าบัลลังค์ ก็จะแนะนำอยู่ดีว่า ต่อไปนี้ ขั้นตอนจะเป็นยังไง หลักๆก็จะ
1. ห้ามนั่งไขว้ห้าง ห้ามเล่นมือถือ ปิดเสียงโทรศัพท์ด้วย
2. เมื่อผู้พิพากษามา ต้องยืนทำความเคารพ รอจนกว่า ผู้พิพากษาจะสั่งให้นั่ง เราถึงจะนั่งได้
3. ผู้พิพากษาจะหยิบแฟ้มคดีแล้วก็เรียกชื่อตามผู้ร้อง ก็ลุกไปยืนตรงช่องที่กำหนด แล้วก็อ่านคำปฏิญาณ ซึ่งจะมีแต่ละศาสนาแยกให้อ่านเลยค่ะ
4. พอถึงตรงนี้ กรณีที่เรามีทนาย ทนายจะเป็นผู้ถามคำถาม โดยเราจะเป็นตำแหน่งพยาน แต่วันที่เราไปคือ คดีเยอะค่ะ ศาลท่านเน้นเร็ว ท่านเลยว่าความทีละ 2 คดีเลย คือบัลลังค์หลัก กับมุมห้อง... คือตรงมุมห้องนี่ เรียกว่าคุยส่วนตัวๆ กันกับผู้พิพากษาเลยค่ะ ซึ่งเราก็ได้ตรงมุมห้องนี้ค่ะ เพราะทนายไปว่าความที่บัลลังค์หลักอยู่
5. ผู้พิพากษาก็จะให้เรากล่าวคำสาบานตามท่านค่ะ เราก็พูดตามไปเรื่อยๆ จากนั้นท่านจะเริ่มถามคำถาม (ตามที่ทนายเตี๊ยมให้เปี๊ยบ) ซึ่งก็จะเป็นตามเอกสารที่ยื่นไป เช่นชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่ผู้ร้อง ชื่อ นามสกุล ผู้ตาย ความสัมพันธ์กับผู้ตาย ผู้ตายเสียด้วยสาเหตุอะไร มีทายาทที่มีสิทธิ์กี่คน ชื่ออะไรบ้าง (ต้องตอบชื่อ นามสกุลให้ถูกเป๊ะๆทุกคน) ผู้ตายเสียชีวิตที่ไหน และเสียวันไหน ประมาณนี้ค่ะ ซึ่งเราก็ตอบได้ตรงหมด (คุยแบบรวดเร็วมาก เรียยง่ายสุดๆ)
6. ถ้าหมดคำถาม ผู้พิพากษาก็จะบอกว่า เชิญไปได้ ก็จบค่ะ ก็ไปเซ็นต์เอกสาร กับ จนท หน้าบัลลังค์ อีก 2-3 ที่ก็เสร็จหน้าที่ กลับบ้านได้
เรียกว่าง่ายมว้ากกกก ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมไม่ต้องตั้งทนาย เพราะคดีไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก คำถามก็ตามเอกสารที่ยื่นไปเลย ยิ่งหลักฐานครบยิ่งผ่านสบายเลยค่ะ
พอเสร็จแล้ว จนท ก็จะบอกว่า ต้องรออีก 1 เดือน ให้คดีสิ้นสุดก่อนนะ แล้วเอกสารที่ศาลจะออกให้ ก็จะมี ใบแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก และใบสิ้นสุดคดี คือต้องใช้ 2 ใบนี้ร่วมกันถึงจะไปทำธุรกรรมได้ ไม่งั้นอาจจะโดนปฏิเสธได้ค่ะ
ซึ่งตรงนี้เรามีขอคัดคำสั่งศาลไว้ด้วยเลย เพราะไหนๆศาลท่านก็ตัดสินแล้ว ก็จ่าย 50 บาทค่าคัดไปชุดนึง (คือเพื่อนทนายมันบอกให้คัดไว้ค่ะ จริงๆ จนท บอกว่ามาคัดพร้อมวันสิ้นสุดคดีก็ได้ ไม่ต่างกัน)
ซึ่งพอครบ 1 เดือน เราก็ไปติดต่อที่ ชั้น 3 อีกที เขาก็จะให้เราแจ้ง "เลขดคี" คือบอกตรงๆว่า ใครจะไปจำกันนะ เขาก็บ่นๆพอสมควรเลย แต่ก็ทำให้ค่ะ ซึ่งถ้าถ่ายรูปเก็บไว้ ก็จะได้ใช้ตอนนี้แหล่ะ เขาจะแจ้งเลขคดีดำ + แดง ให้เรา ซึ่งเราต้องเอาเลขคดี ดำ+แดงนี่ไปคัดคำสั่งศาลและใบสิ้นสุดอีกที่นึงค่ะ
ซึ่งก็ต้องเดินไปใต้อาคาร แล้วก็ให้เดินไปตามทางโรงอาหาร จะมีป้ายบอกทางไปโรงอาหาร จริงๆตรงนี้เป็นจุดที่เราคิดว่ายากสุดแล้วค่ะ หลงทาง หาไม่เจอ คือเรียกว่าไล่ถามทุกคนที่เจอเลย กว่าจะไปเจอห้องที่เป็นห้องเก็บคดีแดง เราก็เข้าไป คือเราก็อยากจะบ่นตรงนี้นะ ไม่มีบอกอะไรเลย เราก็ถามๆ พี่ตรง counter เขาก็บอกน้องไปเขียนใบคัดคำร้อง ที่ช่อง 5 นะ เป็นใบเล็กๆ ตรงนั้นแล้วก็เสียบเหล็กเอาไว้
เราก็งงๆ ก็ทำตามเขาบอก เป็นใบเล็กๆอยู่ในลิ้นชักบน ซึ่งตรงนี้จะมีป้ายบอกล่ะว่า ให้เขียนอะไรยังไง เราก็กรอกด้วยความงงๆ ซึ่งจะมีเลขคดีแดงกับคดีดำ ให้ใส่ แล้วเราก็เสียบใส่เหล็กแท่งเอาไว้ แล้วยืนรอค่ะ ซักพัก ก็มี จนท ที่นั่งอยู่ลึกๆข้างใน เดินมาหยิบใบไปค่ะ แล้วเขาก็หยิบแฟ้มเอกสารคดีออกมา พร้อมกับแบบฟอร์มขอคัดคำร้องแล้วก็อธิบายด้วยภาษาที่ชาวบ้านอย่างเรางงงวยสุดๆ แต่ก็สรุปได้มาประมาณนี้ค่ะ
ถ้าเรามาติดต่อขอใบสิ้นสุดคดี เขาก็จะให้ใบสิ้นสุดคดีตัวจริงมาเก็บไว้ (เสีย 50 บาท) แต่ถ้าเป็นคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ศาลจะเก็บตัวจริงเอาไว้ และให้เรา "คัดสำเนา" อย่างเดียวเท่านั้น
การคัดสำเนา เขาจะถ่ายเอกสารมาให้เฉยๆ โดยคิดราคา 3 บาท แต่ถ้าต้องการให้รับรองด้วย ซึ่งเขาจะ stamp ตราสีแดงๆรับรองพร้อมลงวันที่ออกใบนี้มาให้ ตรงนี้จะเสียค่ารับรองอีก 50 บาท เราต้องใช้รูปแบบหลังคือมี stamp แดงนี่ด้วย ถึงจะเอาไปใช้ติดต่อที่อื่นๆได้ ก็จะเสีย 50+3 บาท
ในกรณีนี้ ควรจะคัดสำเนาใบสิ้นสุดคดีมาเลยค่ะ และเก็บตัวจริงเอาไว้ เวลาไปติดต่อหน่วยงานอื่นๆ ก็ใช้ใบคัดสำเนาเอาแทน
** สำเนาคัดทั้งหมดมีระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ถ้าเลย 1 เดือน ทางหน่วยงานที่รับ อาจจะปฏิเสธได้ และเราต้องไปคัดกันใหม่ เสียอีก 50+3 บาท จนท แจ้งมาแบบนี้ค่ะ เป็นข้อกำหนดของหน่วยราชการที่พวกเค้ารู้กัน(เอง) เพราะงั้น คัดเสร็จแล้วต้องรีบเอาไปใช้เลยก่อนการรับรองจะหมดอายุ)
สรุปสิ่งที่เราต้องใช้ในการติตต่อที่อื่นๆ (ทั้งราชการและเอกชน) ก็จะเป็นได้ 2 กรณี
1. ยื่นคำสั่งศาล (เป็นการคัดสำเนาพร้อมรับรอง) และ ยื่นใบสิ้นสุดคดี (ตัวจริง)
2. ยื่นคำสั่งศาล (เป็นการคัดสำเนาพร้อมรับรอง) และยื่นใบสิ้นสุดคดี (เป็นการคัดสำเนาพร้อมใบรับรอง)
แล้วสถานที่ที่เราไปติดต่อก็จะมีทั้งแบบยึดของเราไปเลย หรือไม่ก็คืนของเรามาทั้งหมด แล้วแต่นโยบายแต่ละที่เลยค่ะ ซึ่งถ้ายึดไป เราก็ต้องกลับไปคัดกันใหม่ เสียอีก 50+3 บาท (T__T)
(ต่อ)
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น