สวัสดีค่ะ กระทู้ที่แล้วเรารีวิวเรื่องหนี้ไปแล้ว คราวนี้อยากรีวิวเรื่องการขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องจ้างทนาย รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่เกิน 2 พันบาทค่ะ และใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงได้เอกสารการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ของเราไปทำที่ศาลจังหวัดตลิ่งชัน และที่นั่นมีเจ้าหน้าที่ศาลแผนกมรดกให้คำปรึกษาอยู่ว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างค่ะ
- เราต้องดูก่อนว่า ทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิตอยู่ที่จังหวัดไหน เขตไหน ก็ต้องไปทำที่ศาลจังหวัดนั้นๆ นะคะ เช่น ถ้าทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิตอยู่ชลบุรี ก็ต้องไปทำที่จังหวัดชลบุรีค่ะ
- เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จะสอบถาม และขอดูเอกสารต่างๆ ของเราก่อน โดยเฉพาะสอบถามบัญชีเครือญาติ ซึ่งของเราไม่ยุ่งยาก เพราะมีแค่เรา และแม่สามี
- จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนัดให้มาส่งเอกสารอีกครั้ง โดยครั้งที่ 2 ที่เราไปเรามีเอกสารดังนี้ แนะนำให้ถ่ายเอกสารไว้สัก 3-4 ชุดนะคะ
ผู้อ้างตนพยาน << อันนี้เจ้าหน้าที่จะเป็นคนพิมพ์ให้ค่ะ
ทะเบียนบ้าน
บัตรประชาชน
ใบสำคัญการสมรส
ใบมรณบัตรของผู้ตาย
ทะเบียนบ้านผู้ตาย
หนังสือแสดงทรัพย์สินของผู้ตาย
บัญชีเครือญาติ
หนังสือยินยอมของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก พร้อมสำเนาบัตรประชาชน
ใบมรณบัตรของพ่อสามี
- พอทำเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนศาลแล้วค่ะ เจ้าหน้าที่จะออกหมายเลขคดีดำให้ (คดีดำคือยังไม่ได้ตัดสิน) จากนั้นก็จะนัดวัดเวลาที่จะมาขึ้นศาล และให้จำเลขคดีดำให้ดี เพราะวันที่จะต้องมาศาล จะได้รู้ว่าต้องไปบัลลังก์ หรือ ห้องพิจารณคดีห้องไหน ซึ่งของเรานัดพิจารณาคดีอีก 3 เดือนนับตั้งแต่วันจ่ายค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท และค่าประกาศ 500 บาท
- วันมาขึ้นศาล ระหว่างที่รอผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์ มีทนายที่กำลังตามเก็บคดีเพื่อไปสอบเป็นผู้พิพากษามาขอเป็นทนายให้กับเรา ซึ่งเราก็ตอบตกลงไปเพราะไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอะไร คิดว่าช่วยส่งเสริมให้เขามีประสบการณ์ โดยใช้เวลาพิจารณาคดีไม่ถึง 20 นาที เพราะของเราก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก
- จากนั้นประมาณ 1 เดือนจึงค่อยไปคัดสำเนาคำพิพากษา ฉบับละ 100 บาท เราเลยขอไว้ประมาณ 10 ฉบับ และใบสำคัญแสดงว่าคดีถึงที่สุดอีก 10 ฉบับ ซึ่งเราจำไม่ได้ว่า 50 หรือ 100 บาทนี่แหละค่ะ
ตอนเราไปครั้งแรกก็งงๆ หน่อยค่ะ เพราะทำเอกสาร และขึ้นศาลคนเดียว ตอนแรกก็กังวลหน่อยๆ ว่าจะพูดกับผู้พิพากษารู้เรื่องหรือเปล่า แต่ก็โอเคค่ะ น้องทนายที่มาช่วยก็โอเคดี
แชร์ประสบการณ์ ขอเป็น "ผู้จัดการมรดก" แบบไม่ต้องจ้าง "ทนาย"
- เราต้องดูก่อนว่า ทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิตอยู่ที่จังหวัดไหน เขตไหน ก็ต้องไปทำที่ศาลจังหวัดนั้นๆ นะคะ เช่น ถ้าทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิตอยู่ชลบุรี ก็ต้องไปทำที่จังหวัดชลบุรีค่ะ
- เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จะสอบถาม และขอดูเอกสารต่างๆ ของเราก่อน โดยเฉพาะสอบถามบัญชีเครือญาติ ซึ่งของเราไม่ยุ่งยาก เพราะมีแค่เรา และแม่สามี
- จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนัดให้มาส่งเอกสารอีกครั้ง โดยครั้งที่ 2 ที่เราไปเรามีเอกสารดังนี้ แนะนำให้ถ่ายเอกสารไว้สัก 3-4 ชุดนะคะ
ผู้อ้างตนพยาน << อันนี้เจ้าหน้าที่จะเป็นคนพิมพ์ให้ค่ะ
ทะเบียนบ้าน
บัตรประชาชน
ใบสำคัญการสมรส
ใบมรณบัตรของผู้ตาย
ทะเบียนบ้านผู้ตาย
หนังสือแสดงทรัพย์สินของผู้ตาย
บัญชีเครือญาติ
หนังสือยินยอมของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก พร้อมสำเนาบัตรประชาชน
ใบมรณบัตรของพ่อสามี
- พอทำเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนศาลแล้วค่ะ เจ้าหน้าที่จะออกหมายเลขคดีดำให้ (คดีดำคือยังไม่ได้ตัดสิน) จากนั้นก็จะนัดวัดเวลาที่จะมาขึ้นศาล และให้จำเลขคดีดำให้ดี เพราะวันที่จะต้องมาศาล จะได้รู้ว่าต้องไปบัลลังก์ หรือ ห้องพิจารณคดีห้องไหน ซึ่งของเรานัดพิจารณาคดีอีก 3 เดือนนับตั้งแต่วันจ่ายค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท และค่าประกาศ 500 บาท
- วันมาขึ้นศาล ระหว่างที่รอผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์ มีทนายที่กำลังตามเก็บคดีเพื่อไปสอบเป็นผู้พิพากษามาขอเป็นทนายให้กับเรา ซึ่งเราก็ตอบตกลงไปเพราะไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอะไร คิดว่าช่วยส่งเสริมให้เขามีประสบการณ์ โดยใช้เวลาพิจารณาคดีไม่ถึง 20 นาที เพราะของเราก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก
- จากนั้นประมาณ 1 เดือนจึงค่อยไปคัดสำเนาคำพิพากษา ฉบับละ 100 บาท เราเลยขอไว้ประมาณ 10 ฉบับ และใบสำคัญแสดงว่าคดีถึงที่สุดอีก 10 ฉบับ ซึ่งเราจำไม่ได้ว่า 50 หรือ 100 บาทนี่แหละค่ะ
ตอนเราไปครั้งแรกก็งงๆ หน่อยค่ะ เพราะทำเอกสาร และขึ้นศาลคนเดียว ตอนแรกก็กังวลหน่อยๆ ว่าจะพูดกับผู้พิพากษารู้เรื่องหรือเปล่า แต่ก็โอเคค่ะ น้องทนายที่มาช่วยก็โอเคดี