ต้นองุ่นที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก

.

.
Vine Keeper Gill Strudwick ตั้งอกตั้งใจกับ The Great Vine
©  Historic Royal Palaces
.
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
The Great Vine at Hampton Court Palace
.
.

ต้นองุ่นขนาดยักษ์ สายพันธุ์
Vitis vinifera Schiava Grossa (syn: Black Hamburg)
มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโลก
อายุนับถึงปรัตยุตบัน 253 ปี (1769-2022)

อยู่ที่ปราสาท Hampton Court Palace
The Great Vine of Hampton Court Palace
บนฝั่งแม่น้ำ River Thames มหานคร London
มีการนำมาปลูกที่เรือนกระจกของพระราชวัง
ในปี 1769 -2022 (253 ปี)
ในรัชสมัยของ พระเจ้า George III
กษัตริย์ Great Britain และอาณานิคม America
ในยุคที่ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน
.
.

.
.
George III  
25 ตุลาคม 1760 – 29 มกราคม 1820
มีการเก็บภาษีอาณานิคมอเมริกาแพงมาก
จนชาวบ้านประกาศแยกตัวออกมาด้วยวาทกรรม
ไม่มีผู้แทน ไม่มีการจ่ายภาษี ให้อังกฤษ
อุสา(USA) ได้ท่อน้ำเลี้ยงจาก Louis XVI
จนมีชัยชนะการรบ/แยกตัวออกมาในปี 1783
และฝรั่งเศสเย้ยอังกฤษ(คู่กัด)ในปี 1886
ในวาระเฉลิมฉลอง 100 ปีเอกราชอุสา
ด้วยอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพไปติดตั้งที่ New York

แต่ผลของท่อน้ำเลี้ยง/อุสาเบี้ยวหนี้/จ่ายหนี้ช้า
ทำให้การคลังฝรั่งเศสมีปัญหามาก
มีการขึ้นภาษีเก็บจากชาวบ้านมากกว่าเดิม
แต่ไม่กระทบพวกชนชั้นสูงแต่อย่างใด
(ขุนนาง อำมาตย์ เสนาบดี บาทหลวง เจ้าที่ดิน)
จนเกิดการจลาจลและปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789
และตัดคอรายา/รานีด้วยกิโยตินในปี 1793
ตามมาด้วยปฏิวัติรัฐประหารขบถอีกหลายครั้ง
และการตามล้างตามเช็ดยึดทรัพย์ฝ่ายตรงข้าม
.
.

.
Louis XVI  
10 พฤษภาคม 1774 – 21 กันยายน 1792
ถูกบั่นเศียร  21 มกราคม 1793 (พรรษา 38)
ที่ Place de la Révolution, Paris, France
.
.

.
Marie Antoinette  
2 พฤศจิกายน 1755
ถูกบั่นเศียร 16 ตุลาคม 1793 (พรรษา 37)
ที Place de la Révolution Paris, France
.
.

.
21 มกราคม 1793  วันประหารชีวิต Louis XVI
Louis Capet on the Place de la Révolution
.
.

.
อาณานิคมอังกฤษ ยุคพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน
.

.

ต้นองุ่น/เถาองุ่นต้นนี้ตัดแบ่งออกมาจากต้นแม่
ที่คฤหาสถ์  Valentine’s Mansion ใน Ilford, Essex
โดย  Lancelot 'Capability' Brown
หัวหน้า รุกขกร นำไปปลูกในพื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์มาก
ใกล้กับส้วม  The old Tudor latrines
จนเติบใหญ่ในปี 1887 มีขนาดทรงพุ่มถึง 1.2 เมตร
.
.

.
รุกขกร นักออกแบบสวนระดับเทพอังกฤษ 
มีผลงานหลายแห่งมากในประเทศอังกฤษ
ชาตะ 30 สิงหาคม 1716
มตะ  6 กุมภาพันธ์ 1783
.
.


โดยทั่วไปการปลูกต้นองุ่นเชิงพาณิชย์
จะใช้ต้น/เถาองุ่นอายุไม่เกินกว่า 25 ปี
แม้ว่าเถาองุ่นบางต้นจะมีอายุมากกว่ามาก
บางต้นอายุมากกว่า 100 ปีก็ยังมี

ขาวสวนองุ่นในอดีตเชื่อกันว่า
องุ่นยิ่งแก่ยิ่งให้ผลผลิตที่ดีกว่า
แม้ว่าจะได้ผลผลิตน้อยกว่าต้นองุ่นวัยหนุ่มสาว
แต่โชคร้ายก็คือ ต้นองุ่นส่วนใหญ่มักจะตายก่อน
จากโรค phylloxera และเชิ้อรา fungal 
ที่ระบาดมากในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20
นับว่าโชคดีที่ต้นองุ่น The Great Vine เหลือรอดจนทุกวันนี้

ในยุควิกตอเรีย Victorian Era
ชาวสวนจะเชื่อว่าองุ่นต้นเดี่ยวจะให้ผลผลิตที่ดีกว่า/มากกว่า
ดังนั้น จึงมีการสร้างเรือนกระจกล้อมรอบต้นองุ่น
เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ต้นไม้ในช่วงฤดูหนาว
ที่อากาศหนาวเหน็บของประเทศอังกฤษ
เมื่อต้นองุ่นเติบโตขยาย/เลิ้อยกิ่งก้านสาขา
ก็ต้องขยับขยายเรือนกระจกให้กว้างตามออกไป

เรือนกระจกแห่งนี้ สร้างตั้งแต่ปี 1900
และเปิดให้ชาวบ้านเข้าเยี่ยมชมได้ในปี 1969
แม้ว่าจะต้องมีการปรับปรุงสร้างขยายเพิ่มเติม
แต่เถาองุ่นได้เลื้อยพันกับโครงสร้างเหล็กเดิมอย่างมาก
จนต้องสร้างโครงสร้างอลูมีเนียมผสมกับโครงสร้างเดิม
.
.

.
©  Historic Royal Palaces
.
.

ยังไม่พบว่ามีรายงานการทำไวน์จากองุ่นต้นนี้
แต่ราชินี  Queen Victoria
ได้ทรงพระราชทานองุ่นให้กับบรรดาเชื้อพระวงศ์
Royal Household ที่ Windsor Castle
กับ Osbourne House ที่ Isle of Wight
ต่อมา กษัตริย์  Edward VII ได้ทรงริเริ่ม
ให้ขายให้กับชาวบ้านที่ประสงค์อยากจะชิม
เพราะเชื้อพระวงศ์ไม่มีใครสนใจอยากชิมอีกแล้ว
 
ทุกวันนี้ ต้นองุ่น Great Vine 
มีทรงพุ่มขนาด 4 เมตรจากฐาน
และเลื้อยไปได้ไกลถึง 36.5 เมตร
ผลิตองุ่นสีดำราว 272 กิโลกรัม (600 ปอนด์)
ในปี  2001 ผลิตองุ่นได้ถึง  383  กิโลกรัม (845 ปอนด์)
 

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3GcFd4x
https://bit.ly/3HkFW4Y
https://bit.ly/3rkOS4C

ต้น องุ่น บางแห่งเรียก เถาองุ่น
.

.
.

.
.
Queen Victoria
20 มิถุนายน 1837 – 22 มกราคม 1901
ยุคทองของจักรวรรดิ์อังกฤษ  
ทรงเป็นราชินีที่ปกครองอังกฤษยาวนานมาก
แต่การบริหารงานรัฐเป็นของนายกรัฐมนตรี
กับบรรดาเสนาบดีระดับ เสือ สิงห์ กระทิง แรด
ส่วนในสภาก็มีสมาชิกรัฐสภาระดับเขี้ยวลากดิน
ที่เดินผ่านพรมใต้เท้าที่ไหน ที่นั่นจะขาดวิ่นหมด


แม้ว่าอังกฤษจะเสียอาณานิคมอุสาไปก่อนหน้านี้
แต่ก็มีการปฎิวัติอุตสาหกรรมภายในประเทศ
แล้วออกล่าอาณานิคม ด้วยการไปกดขี่/กอบโกย
ทรัพยากรต่าง ๆ จากชาติอาณานิคมมาทดแทน
จนทำให้อังกฤษกลายเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่ง
ทั้งการคลังและการทำสงครามที่ชนะหลายชาติ

อังกฤษเป็นท่อน้ำเลี้ยงหลักในสงครามครั้งสำคัญ
Battle of Waterloo ชี้ขาดชะตากรรมชาติใน Europe
ว่าจะเป็นเมืองขึ้น/ลูกไล่ของฝรั่งเศสฤาไม่
เป็นสงครามครั้งสุดท้ายของจักรพรรดิ์นโปลีออง
ที่พอแพ้ถูกยิก(ไล่)ไปอยู่เกาะเซนต์เฮเลนา
อาณานิคมอังกฤษ มหาสมุทรแอตแลนติก(ใต้)
มีข่าววงในว่าราชันถูกวางยาพิษตายบนเกาะ
ข้อพิสูจน์จากเส้นผมคนตายมีสารหนูสูงผิดปกติ
บางคนอ้างว่าสารหนูมีมากในแหล่งน้ำบนเกาะ
เรื่องการตายนโปลีออง ยังรอการพิสูจน์
.
.

.
Edward VII  
22 มกราคม 1901 – 6 พฤษภาคม 1910
.
.

.
Vinekeeper Mary Parker  ใน Vine House ในปี 1970
©  Historic Royal Palaces
.
.

.
คนงานเตรียมองุ่นเพื่อรอขาย ©  Historic Royal Palaces
.
.

.
© Tel O'Brie/Flickr
.
.


เรื่องเล่าไร้สาระ

นิทานฝรั่งเศสตอนหนึ่งของชุด
Le Roman de Renart
สุนัขจิ้งจอกฉลาดแกมโกงชื่อว่า Renart
วันหนึ่งเดินผ่านรั้วบ้านหลังหนึ่ง
เห็นพวงองุ่นห้อยเป็นระย้าอยู่
ก็พยายามจะกระโดดงับกินผลองุ่น 
แต่ก็กระโดดไม่ถึงสักที 
แม้ว่าจะพยายามหลายครั้งแล้วก็ตาม
สักพักใหญ่ Renard ก็เดินสะบัดวานหนี
พร้อมกับบ่น กับพูดกับสัตว์ตัวอื่นว่า
องุ่นบ้านนี้เปรี้ยว มะนาวบ้านกูหวานกว่า

.

.

ภาคใต้ มีตำนานต้นมะนาวหวาน
ใน วัดมะนาวหวาน บ้านจันดี ตำบลช้างกลาง
อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
แต่ดูทางใบน่าจะเป็นพวกตระกูลส้ม
ผมไม่กล้ายืนยันเพราะยังไม่เห็นลูก
และไปเยี่ยมชมต้นนี้ เมื่อหลายปีก่อน

.

.

องุ่นที่จะทำไวน์จะต้องกระทบแล้งหนัก ๆ
จะให้ผลผลิตที่มีรสชาติ และกลิ่นผลไม้ที่นุ่มลึก
ตามความเชื่อและกรรมวิธี การผลิตไวน์
ที่มักจะถ่ายทอดวิชา/บอกต่อ ๆ กัน
แต่ก็มีความเสี่ยงถ้าฝนตก ลูกองุ่นจะร่วง
เปลือกแตก เสียราคา เสียรสชาติ 
© คลื่นความร้อนส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมไวน์ยุโรป

.

.

ธรรมชาติผลไม้โดยทั่วไปแล้ว เช่น ส้ม ลองกอง
ถ้ากระทบแล้งจัด ๆ จะมีรสเข้มข้ม หวานจัด
แต่มักจะแลกด้วยน้ำหนักที่ลดลง
ผิวไม่สวยไม่แต่งตึงเหมือนอาภัสรา

พริกกระเหรี่ยง คนเก็บบอกเองว่า 
ถ้าทิ้งให้กระทบแล้งจัดสัก 1 สัปดาห์
จะมีรสชาติเผ็ดจัดกว่าปกติมาก
แต่มักจะไม่ทำเพราะน้ำหนักลดและผิวไม่สวย
ขายไม่ได้ราคาดีกว่าการเก็บแบบทั่วไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่