สวนดุสิตโพล ปชช.จี้กระทรวงพาณิชย์เร่งแก้ปัญหาของแพง
https://www.innnews.co.th/news/local/news_282804/
สวนดุสิตโพลปชช.ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลแก้ปัญหาของแพง ขอพูดความจริงไม่ปิดบังข้อมูล จี้ กระทรวงพาณิชย์เร่งแก้ปัญหา
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 1,383 คน ต่อกรณีการใช้ชีวิตของคนไทยในยุคข้าวของแพง สำรวจระหว่างวันที่ 24-27 มกราคม 2565 พบว่า สินค้าที่พบเห็นหรือซื้อแพงกว่าปกติ ร้อยละ 92.75 ระบุว่า เนื้อหมู รองลงมา ร้อยละ 72.44 ระบุว่า ข้าวแกง กับข้าวถุง อาหารตามสั่ง ร้อยละ71.79 ระบุว่า ไข่ไก่ ไข่เป็ด
สาเหตุที่ทำให้สินค้าแพง ร้อยละ 65.02 ระบุว่า เกิดโรคระบาดในสัตว์ รองลงมา ร้อยละ64.22 ระบุว่า มีการกักตุนและปั่นราคาสินค้า ร้อยละ 63.13 ระบุว่า พ่อค้า นายทุน ฉวยโอกาสขึ้นราคา
เมื่อถามถึงการแก้ปัญหาสินค้าแพง ร้อยละ 77.20 ระบุว่าควบคุมการใช้จ่าย ประหยัด รองลงมา ร้อยละ 66.67 ระบุว่า ใช้สินค้าชนิดนั้นลดลง ร้อยละ 57.37 ระบุว่า เปลี่ยนไปกินอย่างอื่นแทนที่ยังไม่ขึ้นราคา
ทั้งนี้ ร้อยละ 58.99 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลพูดความจริง ไม่ปิดบังข้อมูล ร้อยละ 58.27 ระบุว่า ตรึงราคา ควบคุมสินค้า ร้อยละ 52.15 ระบุ ลดภาษีน้ำมัน
หน่วยงานที่ควรเข้ามาแก้ปัญหาสินค้าแพง ร้อยละ 79.60 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ รองลงมาร้อยละ 57.88 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 47.27 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาสินค้าแพงของรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 35.42 ไม่เชื่อมั่น
ภาพรวมประชาชน ร้อยละ 34.93 ระบุว่า จะแบกรับภาระราคาสินค้าแพงไปได้อีกประมาณไม่เกิน 3 เดือน รองลงมา ร้อยละ 28.53 ระบุว่า ไม่เกิน 6 เดือน ร้อยละ 18.56 ระบุว่า ไม่เกิน 1 เดือน
วันจ่ายตรุษจีน 65 ของแพงทำหลายพื้นที่เงียบเหงา แต่บางจังหวัดพอคึกคักบ้าง
https://www.thairath.co.th/news/local/2300997
บรรยากาศวันจ่าย เทศกาลตรุษจีนปี 2565 ภาพรวมยังเงียบเหงา จากปัญหาของแพง โดยเฉพาะเนื้อหมู ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ออกมาซื้อของไหว้มากนัก แต่บางพื้นที่ก็คึกคักบ้างแม่ค้าขายดีกว่าปีที่ผ่านมา
เมื่อเวลา 05.30 น. วันที่ 30 ม.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวลงสำรวจบรรยากาศวันจ่ายในเทศกาลตรุษจีน 2565 ที่ ตลาดสดซอยไร่รั้ง เทศบาลเมืองตราด พบประชาชนออกมาซื้อของไหว้เทศกาลตรุษจีนไม่คึกคักเท่าที่ควร แม้ว่าวันนี้จะเป็นวันจ่ายก็ตาม ปีนี้สินค้าหลายชนิดมีการปรับราคาสูงขึ้น อาทิ ขนมถ้วยฟู ลูกละ 7 บาท (เดิม 5บาท) ขนมเทียน จำหน่าย 3 ลูก 10 บาท (เดิม 4 ลูก 10 บาท) ขนมมัดไต้ ชิ้นละ 13 บาท (เดิม 10บาท) ขนมเข่งราคาลูกละ12 บาท (เดิม 10 บาท) ถึงแม้ราคาสินค้าหลายชนิดจะปรับราคาสูงขึ้นแต่ก็ยังมีประชาชนออกมาจับจ่ายสิ่งของ เพื่อเตรียมเอาไว้ไหว้เจ้า เทพยดา และบรรพบุรุษ เพื่อขอพรในการประกอบธุระกิจ กิจการงานต่างๆ ในปี 2565 ให้มีความราบรื่นตลอดทั้งปี
ในส่วนร้านเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษกระดาษไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษทั้งกระดาษโคมไฟตกแต่งและอุปกรณ์เซ่นไหว้ของไปประกอบพิธีตรุษจีน เช่น ใบเบิกทางหรือฮ่วงแหจี๊ กระดาษสีเหลืองอักษรจีนสีแดงที่ใช้เป็นใบผ่านทาง ระหว่างโลกมนุษย์กับภพภูมิ เสื้อผ้าเงินทอง ตลอดจนกระเป๋ารองเท้าเสื้อผ้านาฬิกา ผู้ประกอบการร้านค้าก็มีการจัดเป็นชุดให้ได้ครบครัน โดยมีราคาตั้งแต่ชุดล่ะ 15 บาท เป็นต้นไป
ส่วนใหญ่ประชาชนจะเลือกซื้อขนมเทียน ขนมใต้ และผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เพื่อเตรียมไหว้เจ้าในวันไหว้ตรุษจีนในวันพรุ่งนี้ และหันมาซื้อไก่สดกันมากกว่าราคาตัวละ 70 บาท ไก่ต้มราคาตัวละ 200 บาท (เดิม180บาท) เป็ดต้มราคาตัวละ 400 บาท (เดิม 350 บาท) ขณะที่ราคาเนื้อหมูยังพุ่งไม่หยุด โดยเฉพาะหัวหมูขนาดเล็กราคาหัวละ 450-600 บาท (เดิม 350 บาท) หมูสามชั้น กก.ละ 200 บาท เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนที่นิยมไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนออกมาจับจ่ายซื้อหมูกันค่อนข้างบางตา ขณะที่ผลไม้และสินค้าอื่นๆ ราคาขึ้นไม่มากนัก โดยในภาพรวมปี 2565 นี้ ประชาชนได้รับผลกระทบหลายอย่าง ทั้งโควิด-19 เศรษฐกิจแย่ และของกินของใช้แพง ทำให้ประชาชนเลือกที่ไม่ออกมาซื้อของไหว้กันเหมือนกับปีที่ผ่านๆ มา
เช่นเดียวกับบรรยากาศที่ตลาดสดเทศบาลเมืองอุทัยธานี โดยวันนี้เป็นวันจ่ายของเทศกาลตรุษจีน บรรยากาศชาวไทยเชื้อสายจีนนั้นค่อนข้างบางตา ร้านขายขนมเข่ง ขนมเทียน และขนมต่างๆ ที่ใช้ประกอบวิธีไหว้นั้นต่างก็บอกว่าในปีนี้คนออกมาจับจ่ายซื้อของน้อยลงไปไม่เหมือนกับปีก่อนๆ ซึ่งคักคักกว่านี้มาก โดยในปีนี้บรรดาพ่อค้าแม่ค้านั้นจะไม่นำขนมหรือของไหว้มาเผื่อขายมากนักจะใช้วิธีให้คนมาสั่งหรือจองมากกว่าเพราะเกรงว่าของจะเหลือและขาดทุนนั่นเอง
ขณะเดียวกันร้านเจ้ไก่ ซึ่งต้มหมู ไก่ และเป็ดพะโล้ และเครื่องใน ขายในช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยเฉพาะ ซึ่งในวันนี้ผู้คนก็ค่อนข้างบางตาเช่นกัน โดยปกติแล้วจะมีประชาชนออกมาจอง ไก่และหมู ต้มกันในช่วงเช้าและสายๆ หน่อยก็จะมารับของไป แต่ช่วงนี้ราคาหมูนั้นกิโลกรัมละ 250 คนที่มาซื้อไปไหว้ก็ลดปริมาณลงไปเยอะเพราะต้องประหยัด โดยในปีนี้ก็เหมือนกับร้านขายของไหว้ร้านอื่นๆ จะใช้วิธีจองของจากคนที่มาซื้อประจำมากกว่าที่จะนำ หมู ไก่ มาเผื่อลูกค้าขาจรมาซื้อเพราะเกรงว่าจะขายไม่ได้นั่นเอง
ด้าน บรรยากาศก่อนวันจ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามร้านจำหน่ายของไหว้ตรุษจีนยังคงเงียบเหงา เจ้าของร้านต่างนำเครื่องเซ่นไหว้มาวางขายให้กับประชาชนได้เลือกซื้อ นายธีรพันธ์ พิมพะสาลี เจ้าของร้านศรีอร่าม ในตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ยังคงเงียบเหงาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ราคาสินค้าแพงขึ้นตามราคาน้ำมัน ทำให้มีผู้มาซื้อสินค้าไปไหว้ในช่วงเทศกาลตรุษจีนน้อยลง ซึ่งปีนี้มีการปรับราคาสินค้าบางตัวขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากต้นทุนที่รับมาได้มีการปรับราคาขึ้น ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีประชาชนมาเลือกซื้อเครื่องเซ่นไหว้ไม่ต่างจากทุกปี หรืออาจจะขายได้น้อยลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลงทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ทำให้ปีนี้ไม่คึกคักเหมือนหลายปีก่อนที่
เจ้าของร้านศรีอร่าม กล่าวต่อว่า ส่วนเครื่องเซ่นไหว้ก็มีการนำมาวางขายเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการเหมือนเช่นเคย ซึ่งปีนี้เห็นว่าราคาเนื้อหมูปรับราคาพุ่งสูงมากทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ตนจึงได้ปรินต์รูปหัวหมูมาแจกให้กับลูกค้าที่มาซื้อของไหว้ที่ร้านตนเพื่อนำไปเผาส่งให้บรรพบุรุษตามความเชื่อที่ว่า หากเผาสิ่งใดไปให้บรรพบุรุษก็จะได้สิ่งนั้น ปีนี้ราคาหมูแพงก็เลยจัดของแพงส่งไปให้ จึงอยากเชิญชวนประชาชนมาเลือกซื้อเครื่องเซ่นไหว้ในวันตรุษจีนเพื่อนำไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ และไหว้บรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้
ขณะที่ ที่ตลาดภาษีซุง อ.เมืองชัยนาท ยังคงมีชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยนาทเป็นจำนวนมากมาจับจ่ายซื้ออาหารสดและผลไม้อย่างต่อเนื่อง และคึกคัก ทั้งร้านขายไก่ ขายหมู ขายผลไม้ ต่างก็มีคนสลับสับเปลี่ยนกันมาต่อคิว เป็นระยะๆ แต่ประชาชนก็เลือกร้านที่ซื้อประจำบ้าง ร้านที่สนิทชิดเชื้อกันบ้าง ทำให้บางร้านที่ตั้งอยู่ขายไม่ค่อยได้ก็มีปนกันไป ส่วนราคาของไหว้ต่างๆ ไม่ขยับไปจากเดิมเท่าไร ปรับขึ้น 5-10 บาท แล้วแต่ราคากลางที่รับมา ราคาไก่ต้มเริ่มตั้งแต่ 130-150 บาท ไก่สดกิโลกรัมละ 75 บาท ส่วนราคาหมูอยู่ที่กิโลกรัมละ 130-200 บาท หัวหมูพะโล้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 180 บาท ส่วนเป็ด อยู่ที่ 270-300 บาท ผลไม้อย่างส้มสายน้ำผึ้งกิโลกรัมละ 50 บาท แก้วมังกร กิโลกรัมละ 50 บาทเช่นกัน สำหรับขนมเทียน ขนมเข่ง ยังคงขายราคาเดิม อยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท หรือจะซื้อตามที่ลูกค้าสั่งก็ได้ ขนมเปี๊ยะนั้นราคาเริ่มต้นที่ 40 บาท
สำหรับยอดขายนั้น แม่ค้าหลายๆ ร้าน ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ตรุษจีนปีนี้ดีขึ้นกว่าปีก่อน แม้ว่าจะไม่ดีเท่าช่วงที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ทุกๆ คนก็ต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ เพราะแต่ละบ้านนั้นเริ่มรัดเข็มขัด ซื้อน้อยลง ไหว้แบบประหยัด ส่วนแม่ค้าก็ลงของน้อยลง ไม่ตุนของเยอะ เน้นขายหมด เอากำไรแบบซึ่งหน้าดีกว่าตุนแล้วขายไม่ออก
ส่วนที่จังหวัดนครสวรรค์ คนไทยเชื้อสายจีน ต่างทยอยออกมาจับจ่ายซื้อของเตรียมไหว้เจ้า ในเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้บรรยากาศตามตลาดสดเทศบาลนครนครสวรรค์ เริ่มคึกคักขึ้นจากเดิมปกติที่ผ่านมา แม้ว่าจะเงียบมากกว่าทุกปีหากเทียบกันในวันจ่ายตรุษจีนปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ประชาชนบางส่วนมีการระวังตัวและป้องกันตัวเองมากขึ้น โดยจะเลือกออกไปซื้อของเตรียมไหว้เจ้า ตามความจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัด คนไทยเชื้อสายจีนบางรายก็โทรสั่งให้ร้านค้านำไปส่งให้ถึงบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการแออัด ร้านค้าหลายร้านที่ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการไหว้ และเนื้อหมู เป็ด ไก่ สั่งให้ร้านขายนำไปส่งให้ถึงที่บ้าน หรือห้างร้านค้าของตนเอง
สำหรับราคาสินค้า ปีนี้ผลไม้มงคลที่คนไทยเชื้อสายจีนนิยมในการไหว้เจ้า ส้มสายน้ำผึ้งเริ่มต้นกิโลกรัมละ 45-60 บาท โดยเฉพาะ กล้วยหอม(หวี)ราคาเพิ่มจากเดิม 10-20 บาทต่อหวี อย่างอื่นก็ขายในราคาปกติ ส่วนราคาขนมเทียน กิโลกรัมละ 120 บาท ขนมเข่ง กิโลกรัมละ 120 บาท ไก่ต้มสุกแล้วตัวละ 180 บาท เป็ดพะโล้ตัวละ 350 บาท ส่วนหมูช่วงที่ต้มสุกชิ้นละ 160 บาท
อย่างไรก็ตามบรรยากาศในการซื้อขายวันนี้เป็นไปแบบเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะทยอยออกมาเลือกซื้อ ทั้งในตลาดสด และตามห้างสรรพสินค้าก็จะมีโปรโมชันจัดลดราคาเพื่อเรียกลูกค้า ทำให้ประชาชนมีทางเลือกที่หลากหลาย และสินค้าส่วนมากราคาไม่สูงมากหากเทียบกับช่วงปกติที่ผ่านมา.
ตรุษจีนหัวหมูโลละ 600 พ่อค้าโอดเงียบมาเป็นสัปดาห์ เพิ่งจะคึกคักวันจ่าย (คลิป)
https://www.thairath.co.th/news/local/east/2301013
พ่อค้าหัวหมูต้มที่ตลาดบ่อบัว จ.ฉะเชิงเทรา เผย ราคาหัวหมูปีนี้พุ่งสูงเหยียบหัวละ 600 จากเดิม 350-400 บาท ทำเงียบเหงามาหลายสัปดาห์ เพิ่งจะคึกคักช่วงตรุษจีน แต่ข้าวของที่แพงคนก็จับจ่ายลดน้อยลง
เมื่อเวลา 05.00 น. ของวันที่ 30 ม.ค. 65 บรรยากาศการจับจ่ายซื้อหาของไหว้ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ของคนไทยเชื้อสายจีนบริเวณตลาดบ่อบัว ต.หน้าเมือง อ.เมืองฉะเชิงเทรา มีความคึกคักอย่างเห็นได้ชัด หลังบรรยากาศซบเซาและเงียบเหงาติดต่อกันมาหลายสัปดาห์ เพราะเกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่มีปรับค่าครองชีพหลายรายการสูงขึ้น ประกอบกับในพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ยังคงมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอย่างต่อเนื่อง
นาย
ชัยวิทย์ เทพพิพัฒน์ เจ้าของร้าน “
หัวหมูต้ม ยิ่งไหว้ยิ่งรวย” ภายในตลาดบ่อบัวพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ช่วงนี้หัวหมูสดมีราคาแพงขึ้น ทำให้ต้องปรับราคาจากเดิมที่เคยขายหัวหมูต้มขาว และหัวหมูต้มพะโล้ หัวละ 350-400 บาท มาเป็น 600 บาท ส่งผลกระทบเหมือนกัน เพราะชาวบ้านหันมาซื้อไก่ต้มแทนหัวหมูที่มีการปรับราคาสูงขึ้น ในขณะที่ไก่ต้มก็ยังถือว่ามีการปรับราคาขึ้น จากเดิมที่เคยขายไก่ต้มพร้อมเครื่องใน ราคาตัวละ 130-160 บาท ก็ปรับมาเป็นตัวละ 150-180 บาท ในขณะที่บางร้านจำหน่ายอยู่ที่ 190-200 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนัก และชนิดของไก่
ด้าน นาย
ชัยวิทย์ เทพพิพัฒน์ หนุ่มเจ้าของร้าน “
หัวหมูต้ม ยิ่งไหว้ยิ่งรวย” เผยว่า ตนเองมีอาชีพขายหัวหมูต้มทุกวัน แต่วันนี้ต้องมีไก่ต้มมาเสริม เพราะตนเองขายไก่ต้มตัวใหญ่ๆ แค่ 180 บาทเท่านั้น ส่วนตรุษจีนปีนี้ ถึงแม้จะมีชาวบ้านเดินทางมาจับจ่ายซื้อหาของไหว้เป็นจำนวนมาก จนดูคึกคัก แต่ส่วนใหญ่ก็จะเลือกซื้อเป็นผลไม้มากกว่า เพราะของไหว้ที่เป็น หมู ไก่ ปลา กุ้ง หรืออื่นๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ชาวบ้านก็จะเลือกซื้อน้อยลง ในขณะที่ชาวบ้านบางส่วนก็ยังให้ความสนใจของไหว้อื่นๆ แบบบางตา แม้แต่ร้านเสื้อผ้าที่ทุกปีมียอดขายดี แต่ปีนี้เสื้อแดง กลับไม่คึกคักเท่าที่ควร.
(คลิปอยู่ในข่าวต้นทางครับ)
JJNY : ดุสิตโพล ปชช.จี้เร่งแก้ของแพง│วันจ่าย หลายที่เงียบเหงา│ตรุษจีนหัวหมูโลละ 600 พ่อค้าโอด│สภาฯ ผวาคลัสเตอร์ ส.ส.ภท.
https://www.innnews.co.th/news/local/news_282804/
สวนดุสิตโพลปชช.ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลแก้ปัญหาของแพง ขอพูดความจริงไม่ปิดบังข้อมูล จี้ กระทรวงพาณิชย์เร่งแก้ปัญหา
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 1,383 คน ต่อกรณีการใช้ชีวิตของคนไทยในยุคข้าวของแพง สำรวจระหว่างวันที่ 24-27 มกราคม 2565 พบว่า สินค้าที่พบเห็นหรือซื้อแพงกว่าปกติ ร้อยละ 92.75 ระบุว่า เนื้อหมู รองลงมา ร้อยละ 72.44 ระบุว่า ข้าวแกง กับข้าวถุง อาหารตามสั่ง ร้อยละ71.79 ระบุว่า ไข่ไก่ ไข่เป็ด
สาเหตุที่ทำให้สินค้าแพง ร้อยละ 65.02 ระบุว่า เกิดโรคระบาดในสัตว์ รองลงมา ร้อยละ64.22 ระบุว่า มีการกักตุนและปั่นราคาสินค้า ร้อยละ 63.13 ระบุว่า พ่อค้า นายทุน ฉวยโอกาสขึ้นราคา
เมื่อถามถึงการแก้ปัญหาสินค้าแพง ร้อยละ 77.20 ระบุว่าควบคุมการใช้จ่าย ประหยัด รองลงมา ร้อยละ 66.67 ระบุว่า ใช้สินค้าชนิดนั้นลดลง ร้อยละ 57.37 ระบุว่า เปลี่ยนไปกินอย่างอื่นแทนที่ยังไม่ขึ้นราคา
ทั้งนี้ ร้อยละ 58.99 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลพูดความจริง ไม่ปิดบังข้อมูล ร้อยละ 58.27 ระบุว่า ตรึงราคา ควบคุมสินค้า ร้อยละ 52.15 ระบุ ลดภาษีน้ำมัน
หน่วยงานที่ควรเข้ามาแก้ปัญหาสินค้าแพง ร้อยละ 79.60 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ รองลงมาร้อยละ 57.88 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 47.27 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาสินค้าแพงของรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 35.42 ไม่เชื่อมั่น
ภาพรวมประชาชน ร้อยละ 34.93 ระบุว่า จะแบกรับภาระราคาสินค้าแพงไปได้อีกประมาณไม่เกิน 3 เดือน รองลงมา ร้อยละ 28.53 ระบุว่า ไม่เกิน 6 เดือน ร้อยละ 18.56 ระบุว่า ไม่เกิน 1 เดือน
วันจ่ายตรุษจีน 65 ของแพงทำหลายพื้นที่เงียบเหงา แต่บางจังหวัดพอคึกคักบ้าง
https://www.thairath.co.th/news/local/2300997
บรรยากาศวันจ่าย เทศกาลตรุษจีนปี 2565 ภาพรวมยังเงียบเหงา จากปัญหาของแพง โดยเฉพาะเนื้อหมู ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ออกมาซื้อของไหว้มากนัก แต่บางพื้นที่ก็คึกคักบ้างแม่ค้าขายดีกว่าปีที่ผ่านมา
เมื่อเวลา 05.30 น. วันที่ 30 ม.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวลงสำรวจบรรยากาศวันจ่ายในเทศกาลตรุษจีน 2565 ที่ ตลาดสดซอยไร่รั้ง เทศบาลเมืองตราด พบประชาชนออกมาซื้อของไหว้เทศกาลตรุษจีนไม่คึกคักเท่าที่ควร แม้ว่าวันนี้จะเป็นวันจ่ายก็ตาม ปีนี้สินค้าหลายชนิดมีการปรับราคาสูงขึ้น อาทิ ขนมถ้วยฟู ลูกละ 7 บาท (เดิม 5บาท) ขนมเทียน จำหน่าย 3 ลูก 10 บาท (เดิม 4 ลูก 10 บาท) ขนมมัดไต้ ชิ้นละ 13 บาท (เดิม 10บาท) ขนมเข่งราคาลูกละ12 บาท (เดิม 10 บาท) ถึงแม้ราคาสินค้าหลายชนิดจะปรับราคาสูงขึ้นแต่ก็ยังมีประชาชนออกมาจับจ่ายสิ่งของ เพื่อเตรียมเอาไว้ไหว้เจ้า เทพยดา และบรรพบุรุษ เพื่อขอพรในการประกอบธุระกิจ กิจการงานต่างๆ ในปี 2565 ให้มีความราบรื่นตลอดทั้งปี
ในส่วนร้านเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษกระดาษไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษทั้งกระดาษโคมไฟตกแต่งและอุปกรณ์เซ่นไหว้ของไปประกอบพิธีตรุษจีน เช่น ใบเบิกทางหรือฮ่วงแหจี๊ กระดาษสีเหลืองอักษรจีนสีแดงที่ใช้เป็นใบผ่านทาง ระหว่างโลกมนุษย์กับภพภูมิ เสื้อผ้าเงินทอง ตลอดจนกระเป๋ารองเท้าเสื้อผ้านาฬิกา ผู้ประกอบการร้านค้าก็มีการจัดเป็นชุดให้ได้ครบครัน โดยมีราคาตั้งแต่ชุดล่ะ 15 บาท เป็นต้นไป
ส่วนใหญ่ประชาชนจะเลือกซื้อขนมเทียน ขนมใต้ และผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เพื่อเตรียมไหว้เจ้าในวันไหว้ตรุษจีนในวันพรุ่งนี้ และหันมาซื้อไก่สดกันมากกว่าราคาตัวละ 70 บาท ไก่ต้มราคาตัวละ 200 บาท (เดิม180บาท) เป็ดต้มราคาตัวละ 400 บาท (เดิม 350 บาท) ขณะที่ราคาเนื้อหมูยังพุ่งไม่หยุด โดยเฉพาะหัวหมูขนาดเล็กราคาหัวละ 450-600 บาท (เดิม 350 บาท) หมูสามชั้น กก.ละ 200 บาท เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนที่นิยมไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนออกมาจับจ่ายซื้อหมูกันค่อนข้างบางตา ขณะที่ผลไม้และสินค้าอื่นๆ ราคาขึ้นไม่มากนัก โดยในภาพรวมปี 2565 นี้ ประชาชนได้รับผลกระทบหลายอย่าง ทั้งโควิด-19 เศรษฐกิจแย่ และของกินของใช้แพง ทำให้ประชาชนเลือกที่ไม่ออกมาซื้อของไหว้กันเหมือนกับปีที่ผ่านๆ มา
เช่นเดียวกับบรรยากาศที่ตลาดสดเทศบาลเมืองอุทัยธานี โดยวันนี้เป็นวันจ่ายของเทศกาลตรุษจีน บรรยากาศชาวไทยเชื้อสายจีนนั้นค่อนข้างบางตา ร้านขายขนมเข่ง ขนมเทียน และขนมต่างๆ ที่ใช้ประกอบวิธีไหว้นั้นต่างก็บอกว่าในปีนี้คนออกมาจับจ่ายซื้อของน้อยลงไปไม่เหมือนกับปีก่อนๆ ซึ่งคักคักกว่านี้มาก โดยในปีนี้บรรดาพ่อค้าแม่ค้านั้นจะไม่นำขนมหรือของไหว้มาเผื่อขายมากนักจะใช้วิธีให้คนมาสั่งหรือจองมากกว่าเพราะเกรงว่าของจะเหลือและขาดทุนนั่นเอง
ขณะเดียวกันร้านเจ้ไก่ ซึ่งต้มหมู ไก่ และเป็ดพะโล้ และเครื่องใน ขายในช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยเฉพาะ ซึ่งในวันนี้ผู้คนก็ค่อนข้างบางตาเช่นกัน โดยปกติแล้วจะมีประชาชนออกมาจอง ไก่และหมู ต้มกันในช่วงเช้าและสายๆ หน่อยก็จะมารับของไป แต่ช่วงนี้ราคาหมูนั้นกิโลกรัมละ 250 คนที่มาซื้อไปไหว้ก็ลดปริมาณลงไปเยอะเพราะต้องประหยัด โดยในปีนี้ก็เหมือนกับร้านขายของไหว้ร้านอื่นๆ จะใช้วิธีจองของจากคนที่มาซื้อประจำมากกว่าที่จะนำ หมู ไก่ มาเผื่อลูกค้าขาจรมาซื้อเพราะเกรงว่าจะขายไม่ได้นั่นเอง
ด้าน บรรยากาศก่อนวันจ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามร้านจำหน่ายของไหว้ตรุษจีนยังคงเงียบเหงา เจ้าของร้านต่างนำเครื่องเซ่นไหว้มาวางขายให้กับประชาชนได้เลือกซื้อ นายธีรพันธ์ พิมพะสาลี เจ้าของร้านศรีอร่าม ในตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ยังคงเงียบเหงาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ราคาสินค้าแพงขึ้นตามราคาน้ำมัน ทำให้มีผู้มาซื้อสินค้าไปไหว้ในช่วงเทศกาลตรุษจีนน้อยลง ซึ่งปีนี้มีการปรับราคาสินค้าบางตัวขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากต้นทุนที่รับมาได้มีการปรับราคาขึ้น ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีประชาชนมาเลือกซื้อเครื่องเซ่นไหว้ไม่ต่างจากทุกปี หรืออาจจะขายได้น้อยลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลงทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ทำให้ปีนี้ไม่คึกคักเหมือนหลายปีก่อนที่
เจ้าของร้านศรีอร่าม กล่าวต่อว่า ส่วนเครื่องเซ่นไหว้ก็มีการนำมาวางขายเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการเหมือนเช่นเคย ซึ่งปีนี้เห็นว่าราคาเนื้อหมูปรับราคาพุ่งสูงมากทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ตนจึงได้ปรินต์รูปหัวหมูมาแจกให้กับลูกค้าที่มาซื้อของไหว้ที่ร้านตนเพื่อนำไปเผาส่งให้บรรพบุรุษตามความเชื่อที่ว่า หากเผาสิ่งใดไปให้บรรพบุรุษก็จะได้สิ่งนั้น ปีนี้ราคาหมูแพงก็เลยจัดของแพงส่งไปให้ จึงอยากเชิญชวนประชาชนมาเลือกซื้อเครื่องเซ่นไหว้ในวันตรุษจีนเพื่อนำไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ และไหว้บรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้
ขณะที่ ที่ตลาดภาษีซุง อ.เมืองชัยนาท ยังคงมีชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยนาทเป็นจำนวนมากมาจับจ่ายซื้ออาหารสดและผลไม้อย่างต่อเนื่อง และคึกคัก ทั้งร้านขายไก่ ขายหมู ขายผลไม้ ต่างก็มีคนสลับสับเปลี่ยนกันมาต่อคิว เป็นระยะๆ แต่ประชาชนก็เลือกร้านที่ซื้อประจำบ้าง ร้านที่สนิทชิดเชื้อกันบ้าง ทำให้บางร้านที่ตั้งอยู่ขายไม่ค่อยได้ก็มีปนกันไป ส่วนราคาของไหว้ต่างๆ ไม่ขยับไปจากเดิมเท่าไร ปรับขึ้น 5-10 บาท แล้วแต่ราคากลางที่รับมา ราคาไก่ต้มเริ่มตั้งแต่ 130-150 บาท ไก่สดกิโลกรัมละ 75 บาท ส่วนราคาหมูอยู่ที่กิโลกรัมละ 130-200 บาท หัวหมูพะโล้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 180 บาท ส่วนเป็ด อยู่ที่ 270-300 บาท ผลไม้อย่างส้มสายน้ำผึ้งกิโลกรัมละ 50 บาท แก้วมังกร กิโลกรัมละ 50 บาทเช่นกัน สำหรับขนมเทียน ขนมเข่ง ยังคงขายราคาเดิม อยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท หรือจะซื้อตามที่ลูกค้าสั่งก็ได้ ขนมเปี๊ยะนั้นราคาเริ่มต้นที่ 40 บาท
สำหรับยอดขายนั้น แม่ค้าหลายๆ ร้าน ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ตรุษจีนปีนี้ดีขึ้นกว่าปีก่อน แม้ว่าจะไม่ดีเท่าช่วงที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ทุกๆ คนก็ต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ เพราะแต่ละบ้านนั้นเริ่มรัดเข็มขัด ซื้อน้อยลง ไหว้แบบประหยัด ส่วนแม่ค้าก็ลงของน้อยลง ไม่ตุนของเยอะ เน้นขายหมด เอากำไรแบบซึ่งหน้าดีกว่าตุนแล้วขายไม่ออก
ส่วนที่จังหวัดนครสวรรค์ คนไทยเชื้อสายจีน ต่างทยอยออกมาจับจ่ายซื้อของเตรียมไหว้เจ้า ในเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้บรรยากาศตามตลาดสดเทศบาลนครนครสวรรค์ เริ่มคึกคักขึ้นจากเดิมปกติที่ผ่านมา แม้ว่าจะเงียบมากกว่าทุกปีหากเทียบกันในวันจ่ายตรุษจีนปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ประชาชนบางส่วนมีการระวังตัวและป้องกันตัวเองมากขึ้น โดยจะเลือกออกไปซื้อของเตรียมไหว้เจ้า ตามความจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัด คนไทยเชื้อสายจีนบางรายก็โทรสั่งให้ร้านค้านำไปส่งให้ถึงบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการแออัด ร้านค้าหลายร้านที่ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการไหว้ และเนื้อหมู เป็ด ไก่ สั่งให้ร้านขายนำไปส่งให้ถึงที่บ้าน หรือห้างร้านค้าของตนเอง
สำหรับราคาสินค้า ปีนี้ผลไม้มงคลที่คนไทยเชื้อสายจีนนิยมในการไหว้เจ้า ส้มสายน้ำผึ้งเริ่มต้นกิโลกรัมละ 45-60 บาท โดยเฉพาะ กล้วยหอม(หวี)ราคาเพิ่มจากเดิม 10-20 บาทต่อหวี อย่างอื่นก็ขายในราคาปกติ ส่วนราคาขนมเทียน กิโลกรัมละ 120 บาท ขนมเข่ง กิโลกรัมละ 120 บาท ไก่ต้มสุกแล้วตัวละ 180 บาท เป็ดพะโล้ตัวละ 350 บาท ส่วนหมูช่วงที่ต้มสุกชิ้นละ 160 บาท
อย่างไรก็ตามบรรยากาศในการซื้อขายวันนี้เป็นไปแบบเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะทยอยออกมาเลือกซื้อ ทั้งในตลาดสด และตามห้างสรรพสินค้าก็จะมีโปรโมชันจัดลดราคาเพื่อเรียกลูกค้า ทำให้ประชาชนมีทางเลือกที่หลากหลาย และสินค้าส่วนมากราคาไม่สูงมากหากเทียบกับช่วงปกติที่ผ่านมา.
ตรุษจีนหัวหมูโลละ 600 พ่อค้าโอดเงียบมาเป็นสัปดาห์ เพิ่งจะคึกคักวันจ่าย (คลิป)
https://www.thairath.co.th/news/local/east/2301013
พ่อค้าหัวหมูต้มที่ตลาดบ่อบัว จ.ฉะเชิงเทรา เผย ราคาหัวหมูปีนี้พุ่งสูงเหยียบหัวละ 600 จากเดิม 350-400 บาท ทำเงียบเหงามาหลายสัปดาห์ เพิ่งจะคึกคักช่วงตรุษจีน แต่ข้าวของที่แพงคนก็จับจ่ายลดน้อยลง
เมื่อเวลา 05.00 น. ของวันที่ 30 ม.ค. 65 บรรยากาศการจับจ่ายซื้อหาของไหว้ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ของคนไทยเชื้อสายจีนบริเวณตลาดบ่อบัว ต.หน้าเมือง อ.เมืองฉะเชิงเทรา มีความคึกคักอย่างเห็นได้ชัด หลังบรรยากาศซบเซาและเงียบเหงาติดต่อกันมาหลายสัปดาห์ เพราะเกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่มีปรับค่าครองชีพหลายรายการสูงขึ้น ประกอบกับในพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ยังคงมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอย่างต่อเนื่อง
นายชัยวิทย์ เทพพิพัฒน์ เจ้าของร้าน “หัวหมูต้ม ยิ่งไหว้ยิ่งรวย” ภายในตลาดบ่อบัวพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ช่วงนี้หัวหมูสดมีราคาแพงขึ้น ทำให้ต้องปรับราคาจากเดิมที่เคยขายหัวหมูต้มขาว และหัวหมูต้มพะโล้ หัวละ 350-400 บาท มาเป็น 600 บาท ส่งผลกระทบเหมือนกัน เพราะชาวบ้านหันมาซื้อไก่ต้มแทนหัวหมูที่มีการปรับราคาสูงขึ้น ในขณะที่ไก่ต้มก็ยังถือว่ามีการปรับราคาขึ้น จากเดิมที่เคยขายไก่ต้มพร้อมเครื่องใน ราคาตัวละ 130-160 บาท ก็ปรับมาเป็นตัวละ 150-180 บาท ในขณะที่บางร้านจำหน่ายอยู่ที่ 190-200 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนัก และชนิดของไก่
ด้าน นายชัยวิทย์ เทพพิพัฒน์ หนุ่มเจ้าของร้าน “หัวหมูต้ม ยิ่งไหว้ยิ่งรวย” เผยว่า ตนเองมีอาชีพขายหัวหมูต้มทุกวัน แต่วันนี้ต้องมีไก่ต้มมาเสริม เพราะตนเองขายไก่ต้มตัวใหญ่ๆ แค่ 180 บาทเท่านั้น ส่วนตรุษจีนปีนี้ ถึงแม้จะมีชาวบ้านเดินทางมาจับจ่ายซื้อหาของไหว้เป็นจำนวนมาก จนดูคึกคัก แต่ส่วนใหญ่ก็จะเลือกซื้อเป็นผลไม้มากกว่า เพราะของไหว้ที่เป็น หมู ไก่ ปลา กุ้ง หรืออื่นๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ชาวบ้านก็จะเลือกซื้อน้อยลง ในขณะที่ชาวบ้านบางส่วนก็ยังให้ความสนใจของไหว้อื่นๆ แบบบางตา แม้แต่ร้านเสื้อผ้าที่ทุกปีมียอดขายดี แต่ปีนี้เสื้อแดง กลับไม่คึกคักเท่าที่ควร.
(คลิปอยู่ในข่าวต้นทางครับ)