การตลาดของ AKB48 Group หรือ 48TH ควรเป็นอย่างไร

จขกท. ไปดูวิดีโอหลายๆวิดีโอของ 48TH แล้วไปเจอดีเบตอันหนึ่งค่อนข้างน่าสนใจเลยนำมาสรุปให้อ่านและแสดงความเห็นกันครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่าพอมีข่าวว่าทางวงพี่จะมา Produce ซิงเกิ้ลเลือกตั้งให้กับวงของไทย แล้วมีคนแสดงความเห็นทำนองว่า ให้คนทำในไทยทำแล้วมีโอกาส "แมส" น่าจะดีกว่า ก็มีคนมาแย้งว่า วงนี้เป็น 48 ควรจะมีสไตล์เป็นแบบที่เป็น ไม่ควรหวังแมสจนลืมข้อนี้ไป (ส่วนนี้ จขกท. เคยตั้งกระทู้เรื่องแมสไปแล้วลองไปหาอ่านดูได้ครับ) แล้วก็มีดีเบตที่น่าสนใจ สรุปแนวคิด (บวกกับความคิดเห็นหรือคำจำกัดความของ จขกท. ด้วย) ได้ 2 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มคนที่อยากให้เป็นแบบไทยเพื่อที่จะได้แมส เท่าที่สังเกต กลุ่มนี้มักจะอิงตามแนวเกาหลีและไทยเป็นหลัก ที่จะต้องการให้วงอยู่ใน Spotlight ตลอดเวลา ซึ่งก็โดยต้องทำเพลงให้แมสได้ตลอด อย่างน้อยคือยอดวิวต้องสูง ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ถ้าเป็นปรากฏการณ์ได้ยิ่งดี เพราะจะได้อาศัยแรงของ "คนนอก" (หมายถึง กลุ่มผู้ชมทั่วๆไปที่ไม่ได้เป็นแฟนคลับของวงมาก่อน) ในการผลักดันให้อยู่ใน Spotlight ตลอดเวลา อันนี้สมัยก่อน 48TH อาจมีโอกาสน้อยที่จะได้ทำ ต่อมามีโอกาสมากขึ้นหลังจากมี Original Song กลุ่มนี้มักมองว่าการได้อยู่ใน Spotlight ตลอดเวลาจะทำให้งอยู่ได้นาน เพราะถ้าอิงตามลักษณะของเกาหลี หลังจากวงกระแสลดลงไม่นานก็มักจะยุบเลิกไป 

2. กลุ่มคนที่ต้องการอิงตามรูปแบบของญี่ปุ่น เท่าที่สังเกต กลุ่มนี้จะต้องการเน้นรูปแบบดนตรีของทางญี่ปุ่น ตลอดจนรูปแบบของวงทางญี่ปุ่นด้วย คือเน้นการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากแฟนคลับ ซึ่งระบบนี้อาจยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับสังคมไทย โดยกลุ่มนี้อาจไม่ได้เน้นว่าต้องทำให้ถูกใจ "คนนอก" เพื่อให้ "แมส" ตลอดเวลา เพราะมองว่าแม้อาจทำให้ได้มีผู้ชมมาช่วยเพิ่มยอดวิวได้ แต่ก็ใช่ว่าผู้ชมเหล่านั้นจะสนับสนุนวงเพิ่มโดยการซื้อแผ่นซีดี ซื้อสินค้า ซื้อตั๋วมาชมเธียเตอร์ โหวตในการเลือกตั้ง หลายคนชื่นชม มาแล้วก็ไป แล้ว What's next? ยังไงต่อ คนกลุ่มนี้จะมองแบบนี้ และมองว่าที่จำเป็นมากกว่าคือการมีแฟนคลับที่พร้อมสนับสนุนวงในระยะยาวมากกว่าคนนอกที่อาจมาเพิ่มยอดวิวแล้วก็ไม่ได้สนับสนุนวงต่อ

ทั้งสองแนวคิดไม่มีอะไรถูกผิด เราทุกคนมีสิทธิ์แสดงความเห็นกันได้ครับ

ประเด็นคือ เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วการตลาดของ AKB48 Group หรือ 48TH ควรเป็นอย่างไร ในกรณีของวงพี่ในญี่ปุ่นนั้น เนื่องจากตลาดเพลงมีขนาดใหญ่มาก และวัฒนธรรมแฟนคลับมีการสนับสนุนต่อเนื่อง ทำให้หลายวงยังอยู่แม้ว่าจะไม่มีเพลงแมสหรือเป็นปรากฏการณ์มานานแล้ว ก็อาจเน้นแฟนคลับมากกว่าคนนอกได้ ส่วนในกรณีของไทยนั้น ไม่แน่ชัดว่ากลุ่มแฟนคลับไทยมีขนาดใหญ่และพร้อมสนับสนุนต่อเนื่องหรือไม่ หรือรายได้วงมาจากสินค้ากลุ่ม Physical Sales มากกว่ากลุ่ม Digital Sales หรือไม่ ถ้าหากว่ากลุ่มแฟนคลับใหญ่ และรายได้ของวงยังมาจาก Physical Sales อยู่ ก็อาจเน้นแฟนคลับได้ แต่ถ้าไม่ คหสต. มองว่าวงก็อาจจำเป็นต้องอิงคนนอกไว้บ้าง อย่างที่ 48TH พยายามมีหลายๆยูนิต ทำเพลงหลายๆเพลงให้เข้าถึงแฟนคลับหลายๆกลุ่ม (ไม่แน่ใจว่าส่วนนี้จะเกี่ยวกับ Generation ด้วยหรือเปล่า เพราะเคยอ่านมาว่า Gen. Z กับ Gen. Alpha จะเริ่มอิงโลกดิจิตอลมากขึ้นเรื่อยๆ) ก็ถือว่าถูกต้องแล้ว และต้องพัฒนาปรับปรุงกันต่อไป และที่อย่าลืมคือ การจะแมสหรือเป็นปรากฏการณ์นั้นไม่ได้จะเกิดขึ้นง่ายๆ ดังนั้นไม่ควรไปซีเรียสมากเกินไปจนความสุขในการฟังเพลงลดลงครับ

ลองแสดงความเห็นกันดูครับ ของคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ
หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ผมคิดว่ามันถึงเวลาแล้วที่48 GROUP ควรที่จะอนุญาตให้วงน้องนอกประเทศมีเพลงออริตลอดไป แบบในเกาะไม่ต้องแปลแล้วหรืออาจจะปล่อยฟรีมากขึ้นโดยไม่บังคับว่าทำออริได้เฉพาะช่วงasia fest ให้เหลือเพียงระบบวง เช่น เซมบัตซึ อีเวนต์ต่างๆ ระบบความเป็นgroup เพราะความเป็น48มันแข็งแรงมากอยู่แล้วในระบบวงพี่วงน้อง การทำแบบนี้ทำให้แต่ละวงมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง BNK48 ก็ทำแนวT-pop,AKB48 team SH ก็ทำแนว C-pop การทำแบบนี้ไม่แน่เราอาจจะได้เห็น Seoul48 แนวK-pop , Newyork48 แนวสากล หรือ London 48 เวลาจัดคอนรวมก็จะมีความวาไรตี้ ความแตกต่างกัน เพราะถ้าใช้ระบบเพลงแปลตลอด 48ก็ไม่สามารถขยายฐานแฟนไปนอกเอเชียได้มากกว่านี้ขนาด SGO48 อยู่ในเอเชียยังไม่โอเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่