เพื่อนๆ คิดอย่างไรกับ การตรวจ PCR test 2 ครั้ง
ที่ยุโรป เวลาตรวจหาผลโควิทถ้าผลเป็นบวก เค้าจะให้ไปตรวจอีกครั้งในวันที่ 5 เข้าใจว่าเนื่องจากเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่จะอยู่ในร่างกายในระยะประมาณ 4-7 วัน แล้วแต่ภูมิของร่างกาย ป่วยโควิทมาเค้าก็ไม่ให้ไปโรงพยาบาล ไม่มีโรงพยาบาลสนาม ให้ดูแลตัวเอง การที่ ศบค. กำหนดให้ตรวจ 2 ครั้งก็เข้าใจได้อยู่ แม่ว่าคนไทยไม่ได้บังคับให้มีผลตรวจก่อนขึ้นเครื่อง แต่หลายสายการบินมีข้อบังคับ ศบค. ควรพิจารณาว่า ถ้าผู้โดยสารที่ได้มีการตรวจ 72 ชม. ก่อนขึ้นเครื่องแล้ว ก็ควรจะมีการตรวจซ้ำเพียงครั้งเดียว ไม่ใช่ 2 ครั้ง
ตอนนี้นอกจากต้องตรวจก่อนขึ้นเครื่อง พอลงจากเครื่องก็ตรวจอีกครั้ง และยังต้องตรวจอีกครั้งในวันที่ 5 แค่นั้นก็ค่าใช้จ่ายมากพอแล้ว แต่การออกกฎระเบียบว่าจะต้องให้จองห้องพักในคืนวันที่ 5 นั้นดูจะเป็นการทำเพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น
คำถาม คือ ศบค. ต้องชัดเจนกว่านี้ค่ะว่า
1) สาเหตุที่บังคับให้ต้องจองโรงแรม คืนที่ 5 เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส หรือ เป็นการเอื้อต่อธุรกิจที่สามารถตักตวงโอกาสทำเงินกับผู้ที่เดินทาง ซึ่งไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีเงินเป็นกอบเป็นกำมาโปรยกับเรื่องที่ไม่ make sense
2) ถ้าบังคับให้พักคืนที่ 5 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ก็ไม่ใช่อีก เพราะ ระหว่างวันที่ 2-5 ของการเดินทาง ก็สามารถ0แพร่เชื้อได้ในทุกที่ๆ ไป ก็ควรที่จะมีความซื่อตรงกับนักท่องเที่ยวไปเลยว่า สาเหตุที่ต้องบังคับให้เข้าพักอีก เพราะเราต้องการสร้างรายได้เล็กๆ น้อยๆ เท่าที่จะตักตวงผลประโยชน์ได้ (จะได้เข้าใจตรงกันกับนโยบายที่ออกมา) ซึ่งไม่คุ้มกันกับภาพลักษณ์ของประเทศไทย ที่ตอนนี้นานาประเทศมีมุมมองที่เป็นลบ ยิ่งคนไทยแล้วยิ่งช้ำใจ จะแค่กลับบ้านเกิดเมืองนอนเยี่ยมครอบครัว ยังจะต้องเสียเงินทองมากหลาย หลายคนกว่าจะทำงานเก็บเงินได้เพียงพอในการเดินทาง ต้องเสียเงินเพื่อสิ่งที่ไม่จำเป็น คนที่ต้องเดินทางต่างจังหวัด ค่าเดินทางไปกลับ ลากกระเป๋าอีก รื้อเข้า รื้อออก ก็ไม่ต่างกับอยู่โรงแรมตั้งแต่วันที่ 0-6
3) ถ้าจะบอกว่ากลัวนักท่องเที่ยวหนี ก็ไม่น่าใช่อีก ระบบหมอชนะ มีไว้เพื่อติดตามแต่ละคนอยู่แล้ว ถ้าระบบขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถติดตามได้ ก็ต้องถามคนออกแบบแอปให้แก้ไข แก้ปัญหาที่ต้นทางจะดีกว่าให้คนอื่นต้องมาเดือดร้อนขนาดนี้ เลข Passport ก็มี คนไทยก็มีเลขบัตรประจำตัวประชาชนให้ติดตาม ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาที่จะตามตัวไม่ได้ ใครไม่ไปตรวจตรงตามวัน ระบบก็แจ้งเตือนไป สธ. ตามตัวมาตรวจ จับ ปรับ อะไรก็ว่ากันไปตามบทลงโทษ แต่ไม่ใช่เหมารวมว่าทุกคนจะไม่ซื่อสัตย์กับสุขภาพของตัวเองและคนที่รัก
ยังไงก็ไม่เห็นด้วยค่ะ กับ Test & Go – Test Again & Go Again เพราะดูแง่มุมไหนก็บังคับให้คนจ่ายเงินโดยใช่เหตุ ศบค. ควรมีเหตุและผลอธิบายนักท่องเที่ยวได้สมเหตุสมผลกว่าที่จะออกมาแต่กฎระเบียบ ขาดคำอธิบาย ประเทศอื่นจะบวกจะลบ เค้าไม่มานั่งตามตัวเป็นนักโทษเช่นนี้ เค้าแค่แนะนำว่าควรกักตัวและปฏิบัติอย่างไรต่อไป
Test And Go 1 กุมภาพันธ์ 2565
ที่ยุโรป เวลาตรวจหาผลโควิทถ้าผลเป็นบวก เค้าจะให้ไปตรวจอีกครั้งในวันที่ 5 เข้าใจว่าเนื่องจากเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่จะอยู่ในร่างกายในระยะประมาณ 4-7 วัน แล้วแต่ภูมิของร่างกาย ป่วยโควิทมาเค้าก็ไม่ให้ไปโรงพยาบาล ไม่มีโรงพยาบาลสนาม ให้ดูแลตัวเอง การที่ ศบค. กำหนดให้ตรวจ 2 ครั้งก็เข้าใจได้อยู่ แม่ว่าคนไทยไม่ได้บังคับให้มีผลตรวจก่อนขึ้นเครื่อง แต่หลายสายการบินมีข้อบังคับ ศบค. ควรพิจารณาว่า ถ้าผู้โดยสารที่ได้มีการตรวจ 72 ชม. ก่อนขึ้นเครื่องแล้ว ก็ควรจะมีการตรวจซ้ำเพียงครั้งเดียว ไม่ใช่ 2 ครั้ง
ตอนนี้นอกจากต้องตรวจก่อนขึ้นเครื่อง พอลงจากเครื่องก็ตรวจอีกครั้ง และยังต้องตรวจอีกครั้งในวันที่ 5 แค่นั้นก็ค่าใช้จ่ายมากพอแล้ว แต่การออกกฎระเบียบว่าจะต้องให้จองห้องพักในคืนวันที่ 5 นั้นดูจะเป็นการทำเพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น
คำถาม คือ ศบค. ต้องชัดเจนกว่านี้ค่ะว่า
1) สาเหตุที่บังคับให้ต้องจองโรงแรม คืนที่ 5 เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส หรือ เป็นการเอื้อต่อธุรกิจที่สามารถตักตวงโอกาสทำเงินกับผู้ที่เดินทาง ซึ่งไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีเงินเป็นกอบเป็นกำมาโปรยกับเรื่องที่ไม่ make sense
2) ถ้าบังคับให้พักคืนที่ 5 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ก็ไม่ใช่อีก เพราะ ระหว่างวันที่ 2-5 ของการเดินทาง ก็สามารถ0แพร่เชื้อได้ในทุกที่ๆ ไป ก็ควรที่จะมีความซื่อตรงกับนักท่องเที่ยวไปเลยว่า สาเหตุที่ต้องบังคับให้เข้าพักอีก เพราะเราต้องการสร้างรายได้เล็กๆ น้อยๆ เท่าที่จะตักตวงผลประโยชน์ได้ (จะได้เข้าใจตรงกันกับนโยบายที่ออกมา) ซึ่งไม่คุ้มกันกับภาพลักษณ์ของประเทศไทย ที่ตอนนี้นานาประเทศมีมุมมองที่เป็นลบ ยิ่งคนไทยแล้วยิ่งช้ำใจ จะแค่กลับบ้านเกิดเมืองนอนเยี่ยมครอบครัว ยังจะต้องเสียเงินทองมากหลาย หลายคนกว่าจะทำงานเก็บเงินได้เพียงพอในการเดินทาง ต้องเสียเงินเพื่อสิ่งที่ไม่จำเป็น คนที่ต้องเดินทางต่างจังหวัด ค่าเดินทางไปกลับ ลากกระเป๋าอีก รื้อเข้า รื้อออก ก็ไม่ต่างกับอยู่โรงแรมตั้งแต่วันที่ 0-6
3) ถ้าจะบอกว่ากลัวนักท่องเที่ยวหนี ก็ไม่น่าใช่อีก ระบบหมอชนะ มีไว้เพื่อติดตามแต่ละคนอยู่แล้ว ถ้าระบบขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถติดตามได้ ก็ต้องถามคนออกแบบแอปให้แก้ไข แก้ปัญหาที่ต้นทางจะดีกว่าให้คนอื่นต้องมาเดือดร้อนขนาดนี้ เลข Passport ก็มี คนไทยก็มีเลขบัตรประจำตัวประชาชนให้ติดตาม ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาที่จะตามตัวไม่ได้ ใครไม่ไปตรวจตรงตามวัน ระบบก็แจ้งเตือนไป สธ. ตามตัวมาตรวจ จับ ปรับ อะไรก็ว่ากันไปตามบทลงโทษ แต่ไม่ใช่เหมารวมว่าทุกคนจะไม่ซื่อสัตย์กับสุขภาพของตัวเองและคนที่รัก
ยังไงก็ไม่เห็นด้วยค่ะ กับ Test & Go – Test Again & Go Again เพราะดูแง่มุมไหนก็บังคับให้คนจ่ายเงินโดยใช่เหตุ ศบค. ควรมีเหตุและผลอธิบายนักท่องเที่ยวได้สมเหตุสมผลกว่าที่จะออกมาแต่กฎระเบียบ ขาดคำอธิบาย ประเทศอื่นจะบวกจะลบ เค้าไม่มานั่งตามตัวเป็นนักโทษเช่นนี้ เค้าแค่แนะนำว่าควรกักตัวและปฏิบัติอย่างไรต่อไป