คุณแม่ๆ รู้ไหมคะ? ว่าการเป่า หรือกัดอาหารก่อนป้อน ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงติดเชื้อ “ฟันผุ” ได้
ฟันผุ เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม อาหารของลูกที่ปรุงสุกใหม่ๆ ยังร้อนอยู่ เวลาที่คุณแม่ป้อนก็มักจะเป่าให้เย็นก่อนจึงจะป้อนลูก ถ้าอาหารหรือขนมชิ้นใหญ่เกินไปก็มักจะกัดแบ่งให้ลูก คุณแม่บางคนเคี้ยวอาหารก่อนป้อนลูกก็มีนะคะ
แต่รู้ไหมคะว่า การทำเช่นนี้ลูกเสี่ยง ฟันผุ ได้นะแม้โรค ฟันผุ จะไม่ใช่โรคทางกรรมพันธุ์ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มี ฟันผุ ทำให้ในช่องปาก มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อ ฟันผุ มีโอกาสถ่ายทอดไปยังเด็กได้ เพราะฉะนั้นอย่าส่งต่อเชื้อโรคให้ลูกโดยไม่ตั้งใจเลยนะคะ ถ้าอาหารร้อนก็ควรวางให้เย็นก่อน หรือถ้าชิ้นใหญ่ก็บดหรือสับให้ชิ้นเล็กๆก่อนป้อนเจ้าตัวน้อยนะคะ
จากงานวิจัยพบว่า กว่า 58% ของตำแหน่งที่ ฟันผุ คือ ที่บริเวณซอกฟัน
โดยเฉพาะลูกเล็กๆ ก็ใช้ไหมขัดฟันให้เค้าด้วยนะคะ ฟันน้ำนมนี่ผุแล้วลามไปง่ายมากๆ เลยค่ะ และเผลอแป๊บเดียวก็ถึงเส้นประสาทฟันแล้ว เพราะเนื้อฟันน้ำนมไม่แข็งแรงเท่าฟันแท้ และบางกว่า
คนส่วนใหญ่มักเชื่อว่า ฟันผุเป็นกรรมพันธุ์ นะคะ
แต่ความจริงแล้ว มาจากนิสัยการกินของคุณพ่อคุณแม่นั่นล่ะ และจากพฤติกรรมการดูแลช่องปากที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ค่ะเด็กไม่กินผักก็เช่นกัน พ่อหรือแม่ใครคนใดคนหนึ่งก็ไม่กิน 🥒🥦🥑🌽🥕🍅🍆 มักจะเป็นพ่อ 👨🏻💼 เด็กชอบกินขนม ก็มาจากตามพ่อหรือแม่นี่ล่ะค่ะชอบ 🍡🍦🍰🍧🍬🍫🍪อย่างลูกของหมอ เวลาเห็นเรากินอะไร ก็จะต้องขอชิมอยู่เรื่อยเลย ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของลูก (และของเรา) ด้วยนะคะ ขนมบางอย่างนี่ก็ติดฟันดีจริงๆเลยค่ะ 😅💚
เคลือบฟลูออไรด์ เด็กเล็ก จำเป็นไหม ?
- ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุต่ำ : ไม่จำเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์ แนะนำตรวจฟันทุก 6-12 เดือน
- ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุปานกลาง : ควรตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ทุก 6 เดือน
- ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุสูง : ควรตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ทุก 3 เดือน
เป่าอาหารให้ลูกน้อยเสี่ยงติดเชื้อ “ฟันผุ” ได้ 🦷
ฟันผุ เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม อาหารของลูกที่ปรุงสุกใหม่ๆ ยังร้อนอยู่ เวลาที่คุณแม่ป้อนก็มักจะเป่าให้เย็นก่อนจึงจะป้อนลูก ถ้าอาหารหรือขนมชิ้นใหญ่เกินไปก็มักจะกัดแบ่งให้ลูก คุณแม่บางคนเคี้ยวอาหารก่อนป้อนลูกก็มีนะคะ
แต่รู้ไหมคะว่า การทำเช่นนี้ลูกเสี่ยง ฟันผุ ได้นะแม้โรค ฟันผุ จะไม่ใช่โรคทางกรรมพันธุ์ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มี ฟันผุ ทำให้ในช่องปาก มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อ ฟันผุ มีโอกาสถ่ายทอดไปยังเด็กได้ เพราะฉะนั้นอย่าส่งต่อเชื้อโรคให้ลูกโดยไม่ตั้งใจเลยนะคะ ถ้าอาหารร้อนก็ควรวางให้เย็นก่อน หรือถ้าชิ้นใหญ่ก็บดหรือสับให้ชิ้นเล็กๆก่อนป้อนเจ้าตัวน้อยนะคะ
จากงานวิจัยพบว่า กว่า 58% ของตำแหน่งที่ ฟันผุ คือ ที่บริเวณซอกฟัน
โดยเฉพาะลูกเล็กๆ ก็ใช้ไหมขัดฟันให้เค้าด้วยนะคะ ฟันน้ำนมนี่ผุแล้วลามไปง่ายมากๆ เลยค่ะ และเผลอแป๊บเดียวก็ถึงเส้นประสาทฟันแล้ว เพราะเนื้อฟันน้ำนมไม่แข็งแรงเท่าฟันแท้ และบางกว่า
คนส่วนใหญ่มักเชื่อว่า ฟันผุเป็นกรรมพันธุ์ นะคะ
แต่ความจริงแล้ว มาจากนิสัยการกินของคุณพ่อคุณแม่นั่นล่ะ และจากพฤติกรรมการดูแลช่องปากที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ค่ะเด็กไม่กินผักก็เช่นกัน พ่อหรือแม่ใครคนใดคนหนึ่งก็ไม่กิน 🥒🥦🥑🌽🥕🍅🍆 มักจะเป็นพ่อ 👨🏻💼 เด็กชอบกินขนม ก็มาจากตามพ่อหรือแม่นี่ล่ะค่ะชอบ 🍡🍦🍰🍧🍬🍫🍪อย่างลูกของหมอ เวลาเห็นเรากินอะไร ก็จะต้องขอชิมอยู่เรื่อยเลย ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของลูก (และของเรา) ด้วยนะคะ ขนมบางอย่างนี่ก็ติดฟันดีจริงๆเลยค่ะ 😅💚
เคลือบฟลูออไรด์ เด็กเล็ก จำเป็นไหม ?
- ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุต่ำ : ไม่จำเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์ แนะนำตรวจฟันทุก 6-12 เดือน
- ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุปานกลาง : ควรตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ทุก 6 เดือน
- ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุสูง : ควรตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ทุก 3 เดือน