หมูแพงเพราะรัฐไม่เร่งแก้โรคระบาดตั้งแต่เริ่ม ทำเกษตรกรไปไม่รอด 80-90%
https://brandinside.asia/pork-price-surge-cause-of-failure-management-of-government/
หลังจากที่เกษตรกรเลี้ยงหมูได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุโรคอหิวาต์แอฟริการะบาด (African Swine Fever: ASF) ทำให้เกษตรกรเลี้ยงหมูล้มหายตายจากไปกว่า 80-90% ทางสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) จึงเสนอทางเลือกให้ชุมชนหันมาสร้างทักษะเลี้ยงหมูหลุม คือการเลี้ยงหมูแบบเดิมที่ผู้เลี้ยงไม่อยากให้หมูวิ่งเพ่นพ่าน พื้นที่เลี้ยงน้อยจึงขุดหลุมลึกประมาณ 1.5-2 เมตรเพื่อเป็นคอกสำหรับเลี้ยงหมู โดยมีวัสดุรองพื้นหลุมและอาหารหมูเป็นสิ่งที่หาได้ตามท้องที่นั้นๆ
จากกรณีโรคระบาดหมูจนเกิดวิกฤตราคาหมูสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้เจ๊จง จงใจ กิจแสวง เจ้าของร้านหมูทอดเจ๊จงแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ระบุว่า อยากให้ภาครัฐตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชน และอยากให้ลงพื้นที่เพื่อสัมผัสปัญหาด้วยตนเอง อย่าเพียงแค่ฟังจากรายงาน ภาครัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาล่าช้า อยากให้ภาครัฐยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
จะนำเข้าหมูต้องรอบคอบ ไทยเจอปัญหาหนักเพราะจัดการปัญหาโรคระบาดไม่ชัดเจน
ด้าน
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ระบุว่า ราคาหมูในไทยแพงอันดับต้นๆ ของโลก ราคาหมูมีชีวิตที่จำหน่ายหน้าฟาร์มจากประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติอยู่ที่ 110 บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคาที่สูงกว่าทวีปอเมริกาใต้ที่ราคาหมูน้อยกว่าไทยถึง 3 เท่าตัว หรือในยุโรปที่มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 40-50 บาทต่อกิโลกรัม ในแถบเอเชีย ไทยก็มีราคาแพงที่สุด มากกว่าจีนและเวียดนามที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 80 บาทและ 60 บาทตามลำดับ รัฐบาลประเมินมูลค่าความเสียหายต่อภาคการผลิตจากวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้อยู่ที่ประมาณกว่า 100,000 ล้านบาท
วิฑูรย์ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูลของจีนพบว่า การเกิดโรคระบาดตั้งแต่ปลายปี 2560 หมูได้หายไปจากตลาดชัดขึ้นจนส่งผลให้เกิดการปรับราคาหมูสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 18 เดือน จีนแก้ปัญหาการขาดแคลนหมูด้วยการสั่งนำเข้าเนื้อหมูจากออสเตรเลีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ จนสามารถทำให้ตลาดกลับสู่ภาวะสมดุลได้
ผลกระทบของไทยรุนแรงกว่าในจีนเพราะความไม่ชัดเจนในการประกาศเรื่องการระบาดของโรค และการเร่งระดมส่งออกหมูไปจำหน่ายต่างประเทศมากถึง 2.7 ล้านตัวแบบไม่เคยปรากฎมาก่อน จากปกติส่งออกเพียง 500,000-700,000 ตัวเท่านั้น หากไทยต้องการแก้ปัญหาด้วยการส่งนำเข้าหมูจากต่างประเทศก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบอาจส่งผลเสียต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั้งรายใหญ่และรายย่อยได้ การห้ามนำเข้าเนื้อหมูที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องพึงระวัง เพราะหากยกเลิกมาตรฐานดังกล่าว กำแพงด้านสุขภาพของผู้บริโภคชาวไทยก็จะถูกทำลายลงด้วย
ต้องแก้ปัญหาโรคระบาดพร้อมปัญหาทางการเงิน ปริมาณหมูจะได้ไม่ไหลไปสู่ผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่เท่านั้น
ด้าน ดร.
เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต ระบุว่า หากดูสัญญาณจากประเทศเพื่อนบ้าน จะพบว่าการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกามาตั้งแต่ปี 2562 ในหลายประเทศแถบเอเชีย แต่สำหรับไทยกลายเป็นช่วงเวลาที่สามารถส่งออกหมูไปจำหน่ายในต่างประเทศได้มากขึ้นเนื่องจากปัญหาขาดแคลนหมูจากโรคระบาด มูลค่าส่งออกหมูสูงถึง 10,000 ล้านบาทจากปกติจะอยู่ประมาณ 100 ล้านบาท ไทยเริ่มพบยอดส่งออกลดลงในช่วงเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา จนกระทั่งธันวาคม ปี 2564 ก็เกิดภาวะเอาไม่อยู่ ราคาหมูเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอย่างที่เราเห็น เพราะปริมาณหมูในตลาดหายไปประมาณ 20-30% หรือประมาณ 5-6 ล้านตัว
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้หายไปเฉพาะหมู แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายกลางและรายย่อยก็หายไปด้วย เนื่องจากต้องแบกรับหนี้สินจากปัญหาดังกล่าว ที่จะกลับมาได้ก็ต้องพึ่งพาระบบการเงินซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ การแก้ปัญหาต้องแก้ทั้งโรคและการเงินด้วย ถ้าผู้เลี้ยงหมูรายย่อยและรายกลางไม่กลับมา ปริมาณหมูจะไหลไปสู่กลุ่มผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่ของประเทศเท่านั้น ราคาหมูที่พุ่งสูงในช่วงกลางธันวาคมเกิดจากการเก็บสต็อกเนื้อหมูไว้จำนวนหน่งและปล่อยออกมาเมื่อสินค้าขาดตลาด จึงเป็นสาเหตุหมูราคาแพงขึ้นมาก รัฐต้องเร่งชี้แจง สร้างความเข้าใจ
ด้าน
วิเชียร เจษฎากานต์ ประธานเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม SVN ระบุว่า การระบาดส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู 80-90% ไปไม่รอด การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมูมีตั้งแต่ปี 2562 ในจังหวัดราชบุรี ต้องสูญเสียมากกว่า 2 ล้านตัว แต่ภาครัฐไม่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ใดๆ ในการแก้ไขปัญหาออกมาอย่างชัดเจน ไม่ได้ให้คำแนะนำในการกำจัดหมูติดเชื้อแก่เกษตรกร ไม่มีการชดเชยค่าเสียหายแก่เกษตรกรส่งผลให้เกษตรกรต้องเร่งขายหมูที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อออกไปให้เร็วที่สุดเพื่อลดการสูญเสีย ทำให้การกระจายของโรครุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการส่งไปชำแหละในโรงฆ่าเถื่อนที่ไม่ได้รับอนุญาต รัฐควรเร่งเข้ามาจัดการโดยเร็วที่สุด
ด้าน
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ระบุว่า สอบ. พยายามจะทำให้ราคาหมูเป็นธรรมที่สุดสำหรับผู้บริโภค ปัญหาการขาดแคลนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาหมูแพง ดูเหมือนรัฐบาลจะจัดการปัญหาดังกล่าวไม่ได้ นอกจากการแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการนำเข้าหมู ก็ต้องไม่สนับสนุนเงื่อนไขที่ไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง การลดปริมาณลงของเกษตรกรเลี้ยงหมู อาจเกิดความไม่มั่นคงทางอาหารในอนาคต ทาง สอบ. เสนอให้ส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงหมูหลุมในพื้นที่ที่ไม่เกิดการระบาด อาจเป็นอีกทางหนึ่งที่เป็นทางออกช่วยบรรเทาปัญหา
ด้าน
วิเชียร เจษฎากานต์แนะนำว่า การเลี้ยงหมูในคอกดินหรือหมูหลุม ช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้มากเพราะเลี้ยงในสภาพแวดล้อมไม่แออัดและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเกษตรกร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากการผลิตหลักตกไปอยู่กับบริษัทใหญ่ๆ ไม่กี่บริษัท การปล่อยให้มีการเลี้ยงหมูในฟาร์มขนาดใหญ่จำนวนมาก ทำให้รายย่อยไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้ความหลากหลายในการผลิตอาหารของไทยอ่อนแอลง ต้องทำให้เกษตรกรรายย่อยมีโอกาสในการผลิตอาหารป้อนสู่ตลาดได้ ทำอย่างไรให้เกิดกลไกการผลิตที่เอื้อตั้งแต่รายใหญ่ถึงรายย่อยในลักษณะส่งเสริมกันทั้งความรู้และเงินทุนให้กลไกแข็งแกร่ง
ที่มา –
สภาองค์กรของผู้บริโภค
น้ำมันโลกดีดตัวแรง สูงสุดในรอบ 7 ปี อาจแตะ 100 ดอลลาร์เร็วๆ นี้ - ดีเซลไทยเอาไม่อยู่ จ่อทะลุ 30 บาท
https://ch3plus.com/news/category/275310
ตั้งแต่ 05.00 น.ของวันนี้ (20 ม.ค. 65) ได้มีการปรับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เป็นครั้งที่ 5 ภายใน 20 วัน นับตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา โดยมีการปรับคาดังนี้
ราคาน้ำมันในกลุ่มเบนซิน เพิ่มขึ้น 0.50 บาท ส่วน E85 เพิ่มขึ้น 0.30 บาท
ราคาน้ำมันในกลุ่มดีเซล เพิ่มขึ้น 0.10 บาท
ทำให้ราคาน้ำมันล่าสุดเป็นดังนี้
ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละ 40.56 บาท
แก๊สโซฮอล์ 95 ลิตรละ 33.15 บาท
แก๊สโซฮอล์ 91 ลิตรละ 32.88 บาท
E20 ลิตรละ 31.64 บาท
E85 ลิตรละ 24.94 บาท
ดีเซล B7 ลิตรละ 29.94 บาท
ดีเซล B20 ลิตรละ 29.94 บาท
ดีเซล พรีเมียม B7 ลิตรละ 35.96 บาท
ด้านราคาน้ำมันโลกก็ได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจาก การเกิดเหตุไฟไหม้ท่อส่งน้ำมันทางตอนใต้ของตุรกี ซึ่งเป็นท่อที่รับน้ำมันมาจากตุรกี
ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 1.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 86.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
นับว่าเป็นราคาที่สูงที่สุด นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014
ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 0.93 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 808.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
นับว่าเป็นราคาที่สูงที่สุด นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014
ราคาน้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ ที่ไทยใช้เป็นราคาอ้างอิง เพิ่มขึ้น 0.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 98.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
เหตุที่น้ำมันโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี หลังเกิดเหตุการณ์กลุ่มกบฏฮูตีได้ก่อเหตุโจมตีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลว่า สถานการณ์ในตะวันออกกลาง จะทวีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมัน
ด้าน รอยเตอร์ ได้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ OPEC คน มีถึง 4 คน ที่บอกว่า ราคาน้ำมันโลกจะขึ้นไปแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ในเร็ววันนี้ เพราะปริมาณน้ำมันในตลาดโลกตตึงตัวมากขึ้น
ด้าน นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเตรียมหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอพิจารณาลดภาษีน้ำมันดีเซล
โดน คอนนี้ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเข้าอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลเพื่อไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร และยังต้องดูแลราคาก๊าซหุงต้ม เพื่ออุดหนุนราคาที่ 318 บาท/ถัง ขนาดน้ำหนัก 15 กิโลกรัมไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2565 ส่งผลให้กองทุนฯ ล่าสุด ติดลบ 8,782 ล้านบาท แล้ว
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ :
https://youtu.be/Q3desKQpKsw
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัย "ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3" ยับยั้ง "โอมิครอน" ได้สูง
https://www.bangkokbiznews.com/news/983595
"ดร.อนันต์" เปิดผลวิจัยหลัง "ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3" ในสัปดาห์ 3 พบภูมิคุ้มกันสูงขึ้นช่วยยับยั้ง "โอมิครอน" ได้สูงเทียบเท่ากับภูมิคุ้มกันยับยั้งเดลตา
เมื่อวันที่ 20 ม.ค.65 ดร.
อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก
Anan Jongkaewwattana ถึงแนวทางการทดสอบภูมิกันหลังจากการฉีดวัคซีน "
ไฟเซอร์" เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ "
ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3" โดยระบุว่า
ทีมวิจัยจากสถาบัน Francis Crick ในอังกฤษตีพิมพ์ผลงานใน Lancet วันนี้เกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันยับยั้ง "โอมิครอน" หลังกระตุ้นเข็มสาม
ด้วย Pfizer mRNA vaccine พบว่า ที่ 3 สัปดาห์ ระดับแอนติบอดียับยั้งโอมิครอนได้สูงเทียบเท่ากับ ระดับแอนติบอดียับยั้งเดลต้าหลังฉีด PZ 2 เข็ม ... ทีมวิจัยจึงนำตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีน PZx2 ต่อเดลตา
มาเทียบกับข้อมูลของโอมิครอน พบว่า PZx2 สามารถป้องกันเดลต้าได้สูงถึงเกือบ 90% ขณะที่ Pzx3 ป้องกันโอมิครอนได้เพียง 65-70% และ ตัวเลขจะลดลงเหลือต่ำกว่า 60% ในอีก 1-2 สัปดาห์
ดร.อนันต์ ระบุเพิ่มเติมว่า ผลการวิจัยหลังฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" ของประเทศอังกฤษ ระบุไว้ว่า เนื่องจากคนที่ได้รับ Pzx3 ในอังกฤษส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทำให้อาจเป็นสาเหตุของความแตกต่างของประสิทธิภาพของวัคซีน นอกจากนี้มีความเป็นไปได้สูงว่า โอมิครอนที่ติดเซลล์ทางเดินหายใจส่วนบนที่ดีกว่าเดลต้ามาก ทำให้ต้องการแอนติบอดีที่สูงขึ้นในการป้องกันการติดเชื้อ
ค่าแอนติบอดียับยั้งไวรัสถือเป็นค่ามาตรฐานที่นักวิจัยนิยมใช้อ้างอิงประสิทธิภาพของวัคซีน แต่ค่านั้นไม่ใช่ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนโดยตรงครับ ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ สภาวะภูมิคุ้มกัน หรือ คุณสมบัติของไวรัสในการดื้อต่อยารักษา มีส่วนให้ตัวเลข...การอ้างอิงตัวเลขดังกล่าวจากห้องปฏิบัติการจึงต้องระวังตรงจุดนี้ให้มากครับ
https://www.facebook.com/anan.jongkaewwattana/posts/5228713393835207
JJNY : หมูแพงเพราะรัฐไม่เร่งแก้โรค│น้ำมันโลกดีดตัวแรง│ไฟเซอร์เข็ม3 ยับยั้งโอมิครอนได้สูง│WHOเตือนไม่มีที่ไหน โควิดใกล้จบ
https://brandinside.asia/pork-price-surge-cause-of-failure-management-of-government/
หลังจากที่เกษตรกรเลี้ยงหมูได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุโรคอหิวาต์แอฟริการะบาด (African Swine Fever: ASF) ทำให้เกษตรกรเลี้ยงหมูล้มหายตายจากไปกว่า 80-90% ทางสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) จึงเสนอทางเลือกให้ชุมชนหันมาสร้างทักษะเลี้ยงหมูหลุม คือการเลี้ยงหมูแบบเดิมที่ผู้เลี้ยงไม่อยากให้หมูวิ่งเพ่นพ่าน พื้นที่เลี้ยงน้อยจึงขุดหลุมลึกประมาณ 1.5-2 เมตรเพื่อเป็นคอกสำหรับเลี้ยงหมู โดยมีวัสดุรองพื้นหลุมและอาหารหมูเป็นสิ่งที่หาได้ตามท้องที่นั้นๆ
จากกรณีโรคระบาดหมูจนเกิดวิกฤตราคาหมูสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้เจ๊จง จงใจ กิจแสวง เจ้าของร้านหมูทอดเจ๊จงแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ระบุว่า อยากให้ภาครัฐตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชน และอยากให้ลงพื้นที่เพื่อสัมผัสปัญหาด้วยตนเอง อย่าเพียงแค่ฟังจากรายงาน ภาครัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาล่าช้า อยากให้ภาครัฐยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
จะนำเข้าหมูต้องรอบคอบ ไทยเจอปัญหาหนักเพราะจัดการปัญหาโรคระบาดไม่ชัดเจน
ด้านวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ระบุว่า ราคาหมูในไทยแพงอันดับต้นๆ ของโลก ราคาหมูมีชีวิตที่จำหน่ายหน้าฟาร์มจากประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติอยู่ที่ 110 บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคาที่สูงกว่าทวีปอเมริกาใต้ที่ราคาหมูน้อยกว่าไทยถึง 3 เท่าตัว หรือในยุโรปที่มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 40-50 บาทต่อกิโลกรัม ในแถบเอเชีย ไทยก็มีราคาแพงที่สุด มากกว่าจีนและเวียดนามที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 80 บาทและ 60 บาทตามลำดับ รัฐบาลประเมินมูลค่าความเสียหายต่อภาคการผลิตจากวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้อยู่ที่ประมาณกว่า 100,000 ล้านบาท
วิฑูรย์ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูลของจีนพบว่า การเกิดโรคระบาดตั้งแต่ปลายปี 2560 หมูได้หายไปจากตลาดชัดขึ้นจนส่งผลให้เกิดการปรับราคาหมูสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 18 เดือน จีนแก้ปัญหาการขาดแคลนหมูด้วยการสั่งนำเข้าเนื้อหมูจากออสเตรเลีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ จนสามารถทำให้ตลาดกลับสู่ภาวะสมดุลได้
ผลกระทบของไทยรุนแรงกว่าในจีนเพราะความไม่ชัดเจนในการประกาศเรื่องการระบาดของโรค และการเร่งระดมส่งออกหมูไปจำหน่ายต่างประเทศมากถึง 2.7 ล้านตัวแบบไม่เคยปรากฎมาก่อน จากปกติส่งออกเพียง 500,000-700,000 ตัวเท่านั้น หากไทยต้องการแก้ปัญหาด้วยการส่งนำเข้าหมูจากต่างประเทศก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบอาจส่งผลเสียต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั้งรายใหญ่และรายย่อยได้ การห้ามนำเข้าเนื้อหมูที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องพึงระวัง เพราะหากยกเลิกมาตรฐานดังกล่าว กำแพงด้านสุขภาพของผู้บริโภคชาวไทยก็จะถูกทำลายลงด้วย
ต้องแก้ปัญหาโรคระบาดพร้อมปัญหาทางการเงิน ปริมาณหมูจะได้ไม่ไหลไปสู่ผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่เท่านั้น
ด้าน ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต ระบุว่า หากดูสัญญาณจากประเทศเพื่อนบ้าน จะพบว่าการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกามาตั้งแต่ปี 2562 ในหลายประเทศแถบเอเชีย แต่สำหรับไทยกลายเป็นช่วงเวลาที่สามารถส่งออกหมูไปจำหน่ายในต่างประเทศได้มากขึ้นเนื่องจากปัญหาขาดแคลนหมูจากโรคระบาด มูลค่าส่งออกหมูสูงถึง 10,000 ล้านบาทจากปกติจะอยู่ประมาณ 100 ล้านบาท ไทยเริ่มพบยอดส่งออกลดลงในช่วงเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา จนกระทั่งธันวาคม ปี 2564 ก็เกิดภาวะเอาไม่อยู่ ราคาหมูเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอย่างที่เราเห็น เพราะปริมาณหมูในตลาดหายไปประมาณ 20-30% หรือประมาณ 5-6 ล้านตัว
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้หายไปเฉพาะหมู แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายกลางและรายย่อยก็หายไปด้วย เนื่องจากต้องแบกรับหนี้สินจากปัญหาดังกล่าว ที่จะกลับมาได้ก็ต้องพึ่งพาระบบการเงินซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ การแก้ปัญหาต้องแก้ทั้งโรคและการเงินด้วย ถ้าผู้เลี้ยงหมูรายย่อยและรายกลางไม่กลับมา ปริมาณหมูจะไหลไปสู่กลุ่มผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่ของประเทศเท่านั้น ราคาหมูที่พุ่งสูงในช่วงกลางธันวาคมเกิดจากการเก็บสต็อกเนื้อหมูไว้จำนวนหน่งและปล่อยออกมาเมื่อสินค้าขาดตลาด จึงเป็นสาเหตุหมูราคาแพงขึ้นมาก รัฐต้องเร่งชี้แจง สร้างความเข้าใจ
ด้านวิเชียร เจษฎากานต์ ประธานเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม SVN ระบุว่า การระบาดส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู 80-90% ไปไม่รอด การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมูมีตั้งแต่ปี 2562 ในจังหวัดราชบุรี ต้องสูญเสียมากกว่า 2 ล้านตัว แต่ภาครัฐไม่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ใดๆ ในการแก้ไขปัญหาออกมาอย่างชัดเจน ไม่ได้ให้คำแนะนำในการกำจัดหมูติดเชื้อแก่เกษตรกร ไม่มีการชดเชยค่าเสียหายแก่เกษตรกรส่งผลให้เกษตรกรต้องเร่งขายหมูที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อออกไปให้เร็วที่สุดเพื่อลดการสูญเสีย ทำให้การกระจายของโรครุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการส่งไปชำแหละในโรงฆ่าเถื่อนที่ไม่ได้รับอนุญาต รัฐควรเร่งเข้ามาจัดการโดยเร็วที่สุด
ด้านสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ระบุว่า สอบ. พยายามจะทำให้ราคาหมูเป็นธรรมที่สุดสำหรับผู้บริโภค ปัญหาการขาดแคลนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาหมูแพง ดูเหมือนรัฐบาลจะจัดการปัญหาดังกล่าวไม่ได้ นอกจากการแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการนำเข้าหมู ก็ต้องไม่สนับสนุนเงื่อนไขที่ไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง การลดปริมาณลงของเกษตรกรเลี้ยงหมู อาจเกิดความไม่มั่นคงทางอาหารในอนาคต ทาง สอบ. เสนอให้ส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงหมูหลุมในพื้นที่ที่ไม่เกิดการระบาด อาจเป็นอีกทางหนึ่งที่เป็นทางออกช่วยบรรเทาปัญหา
ด้านวิเชียร เจษฎากานต์แนะนำว่า การเลี้ยงหมูในคอกดินหรือหมูหลุม ช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้มากเพราะเลี้ยงในสภาพแวดล้อมไม่แออัดและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเกษตรกร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากการผลิตหลักตกไปอยู่กับบริษัทใหญ่ๆ ไม่กี่บริษัท การปล่อยให้มีการเลี้ยงหมูในฟาร์มขนาดใหญ่จำนวนมาก ทำให้รายย่อยไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้ความหลากหลายในการผลิตอาหารของไทยอ่อนแอลง ต้องทำให้เกษตรกรรายย่อยมีโอกาสในการผลิตอาหารป้อนสู่ตลาดได้ ทำอย่างไรให้เกิดกลไกการผลิตที่เอื้อตั้งแต่รายใหญ่ถึงรายย่อยในลักษณะส่งเสริมกันทั้งความรู้และเงินทุนให้กลไกแข็งแกร่ง
ที่มา – สภาองค์กรของผู้บริโภค
น้ำมันโลกดีดตัวแรง สูงสุดในรอบ 7 ปี อาจแตะ 100 ดอลลาร์เร็วๆ นี้ - ดีเซลไทยเอาไม่อยู่ จ่อทะลุ 30 บาท
https://ch3plus.com/news/category/275310
ตั้งแต่ 05.00 น.ของวันนี้ (20 ม.ค. 65) ได้มีการปรับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เป็นครั้งที่ 5 ภายใน 20 วัน นับตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา โดยมีการปรับคาดังนี้
ราคาน้ำมันในกลุ่มเบนซิน เพิ่มขึ้น 0.50 บาท ส่วน E85 เพิ่มขึ้น 0.30 บาท
ราคาน้ำมันในกลุ่มดีเซล เพิ่มขึ้น 0.10 บาท
ทำให้ราคาน้ำมันล่าสุดเป็นดังนี้
ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละ 40.56 บาท
แก๊สโซฮอล์ 95 ลิตรละ 33.15 บาท
แก๊สโซฮอล์ 91 ลิตรละ 32.88 บาท
E20 ลิตรละ 31.64 บาท
E85 ลิตรละ 24.94 บาท
ดีเซล B7 ลิตรละ 29.94 บาท
ดีเซล B20 ลิตรละ 29.94 บาท
ดีเซล พรีเมียม B7 ลิตรละ 35.96 บาท
ด้านราคาน้ำมันโลกก็ได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจาก การเกิดเหตุไฟไหม้ท่อส่งน้ำมันทางตอนใต้ของตุรกี ซึ่งเป็นท่อที่รับน้ำมันมาจากตุรกี
ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 1.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 86.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
นับว่าเป็นราคาที่สูงที่สุด นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014
ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 0.93 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 808.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
นับว่าเป็นราคาที่สูงที่สุด นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014
ราคาน้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ ที่ไทยใช้เป็นราคาอ้างอิง เพิ่มขึ้น 0.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 98.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
เหตุที่น้ำมันโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี หลังเกิดเหตุการณ์กลุ่มกบฏฮูตีได้ก่อเหตุโจมตีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลว่า สถานการณ์ในตะวันออกกลาง จะทวีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมัน
ด้าน รอยเตอร์ ได้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ OPEC คน มีถึง 4 คน ที่บอกว่า ราคาน้ำมันโลกจะขึ้นไปแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ในเร็ววันนี้ เพราะปริมาณน้ำมันในตลาดโลกตตึงตัวมากขึ้น
ด้าน นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเตรียมหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอพิจารณาลดภาษีน้ำมันดีเซล
โดน คอนนี้ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเข้าอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลเพื่อไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร และยังต้องดูแลราคาก๊าซหุงต้ม เพื่ออุดหนุนราคาที่ 318 บาท/ถัง ขนาดน้ำหนัก 15 กิโลกรัมไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2565 ส่งผลให้กองทุนฯ ล่าสุด ติดลบ 8,782 ล้านบาท แล้ว
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/Q3desKQpKsw
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัย "ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3" ยับยั้ง "โอมิครอน" ได้สูง
https://www.bangkokbiznews.com/news/983595
"ดร.อนันต์" เปิดผลวิจัยหลัง "ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3" ในสัปดาห์ 3 พบภูมิคุ้มกันสูงขึ้นช่วยยับยั้ง "โอมิครอน" ได้สูงเทียบเท่ากับภูมิคุ้มกันยับยั้งเดลตา
เมื่อวันที่ 20 ม.ค.65 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ถึงแนวทางการทดสอบภูมิกันหลังจากการฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ "ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3" โดยระบุว่า
ทีมวิจัยจากสถาบัน Francis Crick ในอังกฤษตีพิมพ์ผลงานใน Lancet วันนี้เกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันยับยั้ง "โอมิครอน" หลังกระตุ้นเข็มสาม
ด้วย Pfizer mRNA vaccine พบว่า ที่ 3 สัปดาห์ ระดับแอนติบอดียับยั้งโอมิครอนได้สูงเทียบเท่ากับ ระดับแอนติบอดียับยั้งเดลต้าหลังฉีด PZ 2 เข็ม ... ทีมวิจัยจึงนำตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีน PZx2 ต่อเดลตา
มาเทียบกับข้อมูลของโอมิครอน พบว่า PZx2 สามารถป้องกันเดลต้าได้สูงถึงเกือบ 90% ขณะที่ Pzx3 ป้องกันโอมิครอนได้เพียง 65-70% และ ตัวเลขจะลดลงเหลือต่ำกว่า 60% ในอีก 1-2 สัปดาห์
ดร.อนันต์ ระบุเพิ่มเติมว่า ผลการวิจัยหลังฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" ของประเทศอังกฤษ ระบุไว้ว่า เนื่องจากคนที่ได้รับ Pzx3 ในอังกฤษส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทำให้อาจเป็นสาเหตุของความแตกต่างของประสิทธิภาพของวัคซีน นอกจากนี้มีความเป็นไปได้สูงว่า โอมิครอนที่ติดเซลล์ทางเดินหายใจส่วนบนที่ดีกว่าเดลต้ามาก ทำให้ต้องการแอนติบอดีที่สูงขึ้นในการป้องกันการติดเชื้อ
ค่าแอนติบอดียับยั้งไวรัสถือเป็นค่ามาตรฐานที่นักวิจัยนิยมใช้อ้างอิงประสิทธิภาพของวัคซีน แต่ค่านั้นไม่ใช่ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนโดยตรงครับ ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ สภาวะภูมิคุ้มกัน หรือ คุณสมบัติของไวรัสในการดื้อต่อยารักษา มีส่วนให้ตัวเลข...การอ้างอิงตัวเลขดังกล่าวจากห้องปฏิบัติการจึงต้องระวังตรงจุดนี้ให้มากครับ
https://www.facebook.com/anan.jongkaewwattana/posts/5228713393835207