การจัดการกลโกง Online

ในกรณีสั่งซื้อของ Online แล้ว
ไม่ยอมส่งของ หรือ ปิดหน้า
Facebook Line หนีหายไปเลย
เบอร์โทรศัพท์ก็ปิดทิ้ง ติดต่อไม่ได้

ให้พยายามยิงจอภาพ Capture 
หลักฐานการแชท-การสนทนา
การโอนเงิน ชื่อบัญชีที่โอน จำนวนเงินที่โอน
แล้วพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษแบบยุค 0.4
ก่อนนำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ
ประสงค์จะดำเนินคดีฐานฉ้อโกงให้ถึงที่สุด
ตำรวจไม่รับแจ้งจะมีความผิด ม. 157

มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติ
หรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยมากตำรวจมักจะบอกให้ลงปจว.
บันทึกประจำวันไม่เกี่ยวกับคดี
เช่น บัตรหาย  น้ำท่วม/ไฟไหม้เอกสาร
จะได้ไม่ต้องทำเรื่อง/สืบสวนสอบสวน
เพราะถ้ามีคดีคั่งค้างมากหลายคดี
มีผลต่อ KPI พิจารณาความดีความชอบ
.

.

เมื่อแจ้งความเสร็จแล้ว
ขอคัดสำเนาใบแจ้งความดำเนินคดี
ไปติดต่อธนาคารสาขาที่โอนเงิน
เพื่อให้ธนาคารอายัดบัญชีทั้งหมด
ถ้ามันมีเงินเหลือในบัญชี
จะถอนเงินไม่ได้อีก
สร้างความเดือดร้อนให้มัน
จนกว่าเราจะไปถอนแจ้งความ
เพราะคดีฉ้อโกงยอมความกันได้
ถัาได้รับเงินคืน หรือคนถูกโกงยอมความ
.

.
รีบแจ้งความก่อนขาดอายุความ

ความผิดอันยอมความได้
สำหรับความผิดอันยอมความได้นั้น
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
ได้กำหนดอายุความการฟ้องคดีอาญาไว้
โดยมีกำหนดอายุความเดียวกันกับ
อายุความฟ้องคดีอาญา ซึ่งเป็น
ความผิดอาญาแผ่นดิน ทั้งนี้
โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เสียหาย
จะต้องมีการร้องทุกข์ (แจ้งความโรงพัก)
หรือฟ้องคดีต่อศาลภายใน 3 เดือน
นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัว

(อายุความจะสะดุดหยุดลง
จนกว่าจำเลยเดินหน้ามาเจรจา/ขึ้นศาลตัดสิน
หรือหนีคดีจนกว่าจะหมดอายุความตาม ม.95)

มาตรา 96 ภายใต้บังคับมาตรา 95
ในกรณีความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด
และรู้ตัวผู้กระทำความผิด
เป็นอันขาดอายุความ

ปกติหลังจากแจ้งความแล้ว
ตำรวจจะออกหมายเรียก
ให้มาเจรจาไกล่เกลี่ยไม่เกิน 2 ครั้ง
ถ้าไม่มาจึงจะขอออกหมายจับ

ถ้าตกลงกันได้
ตำรวจชอบ ๆ ไม่ต้องทำคดีอีก

ถ้าตกลงกันไม่ได้
ตำรวจต้องรวบรวมหลักฐาน
ส่งอัยการเพิ่อให้ดำเนินคดี
เจอแบบนี้ เซ็งเป็ด งานงอก
.

.

ระบบธนาคารจะมีคำสั่งพิเศษ
ฝากได้อย่างเดียว ถอนเงินไม่ได้
ห้ามฝากห้ามถอนเงิน
(ระหว่าางฟ้องร้องดำเนืนคดี
ตัวเลขต้องนิ่ง มีผลต่อการคิดดอกเบี้ย
การต่อสู้คดี ว่าชำระเงินแล้วบางส่วน)

คำสั่งฆ่า อายัดทุกบัญชีทุกสาขาของธนาคาร
ใช้ AI จัดการจากญานข้อมูลบัตรประชาชน
ถ้าอายัดห้ามถอนเงิน แต่ฝากเงินได้
Bank ชอบ ๆ เพราะไม่มีกฎหมายห้าม
เอาไปปล่อยกู้ Call Loan ในระบบ
Interbank อัตราดอกเบี้ย 1-2% ต่อปี
ให้กับสถาบันการเงิน/ลูกค้ารายใหญ่
รวยกันพุงปลิ้น ยิ่งเงินที่อายัดมีจำนวนมาก

อย่างเงินของบริษัท กูหลาบแล้ว จำกัด
(คนกลาง Escrow คล้ายอีกา)
ที่กองทุนเทมาเสร็จ ซิงลี่ โอนมาให้ก่อน
โอนมาเตรียมจ่ายค่าหุ้น 35,000 ล้านบาท
ถูกอายัดเพราะเจ้าของหนีไปต่างประเทศ

เงินนี้ถูก Freeze แช่แข็งไว้หลายปี
ทิดพาไนเอามาหากินใน Call Loan
คิดคร่าว ๆ 1% ต่อปี ปีละแค่ 350 ล้านบาทเอง
รวยกันแบบไม่หยุด รวยกันแบบไม่สะดุด
ไม่ต้องเร่งรีบหาเงินฝากมาปล่อยกู้
แถมยังไปเปิดสาขาอีกหลายแห่ง
ก่อนที่ต้องส่งคืนทางการ ก็หลายปีเข้าไปแล้ว
.

.
ถ้ารวมสมาชิกได้ 10 คน
ที่ถูกคนเดียวกันฉ้อโกง
จะเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน
DSI  จะเข้ามาดำเนินการแทน
ทั้งการฟ้องร้อง ยึดทรัพย์

จริง ๆ ถ้าคนโกงคนเดียวกันซ้ำ ๆ
โรงพักจะมีฐานข้อมูลในระบบ
รอแต่ว่าจะจับกุมตัวได้เมื่อใด
จะได้พ่วงคดี ปิดคดีในคราวเดียวกัน

แต่ถ้าจะแกล้งกัน
ก็รอวันจำเลยใกล้ออกจากคุก
ก็อายัดดำเนินคดีที่ค้างต่อไปอีก
ถ้าคดียังไม่ขาดอายุความ
แบบฟ้องไปเรื่อย ๆ

เช่น อดีต สส. ที่ไปท้ารบ/มีเรื่องกับ
อดีต ผบ.ตร. สส. วีรบุรุษนาแก
ในอดีตก็ถูกดำเนินคดีขณะติดคุก
และขออายัดตัวในชั้นเรือนจำ
ส่งมาให้ศาลพิพากษาตัดสิน
ปล่อยจำเลยเข้าคุกไปอีกคดี

นายสุรชัย แซ่ด่าน คนหายในลาว
ก็ต่อรองขอร้องอัยการให้รวมคดี
ที่ถูกกล่าวหาในความผิด ม.112
เพราะรู้ว่ามีคนจองกฐินหลายจังหวัด
และถ้าไม่รวมคงติดคุกจนตาย
.

.
ส่วนเรื่องจะได้คืนเงิน
คงยากหน่อย/ใช้เวลาพอสมควร
แต่ส่วนมากมักจะได้คืน
เพราะคนโกงเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ
ไม่ค่อยอยากจะตอแยด้วย
เสียเหลี่ยม/เสียชื่อเสียง
วันหลังโกงคนอื่นลำบาก
รวมทั้งบัญชีที่เปิดไว้โกงถูกอายัด
ยิ่งทำงานและเบิกถอนเงินยากขึ้น
.

.
อีกทางเลือกคือ
ตามตัวเจ้าของชื่อบัญชีให้เจอ
มันจะอ้างว่า ม้าก็อย่าไปสนใจ
ไม่คืนเงิน ไม่ทำขวัญ ไม่คุยด้วย
ไม่ไปถอนแจ้งความดำเนินคดี

ถ้าคิดว่ายุติธรรมตามกฎหมายล่าช้า
ก็จัดการด้วยกฎหมายธรรมชาติ/โบราณ
แบบ Don Veto Corleone
The Godfather มาเฟียอุสา (USA)
ชอบธรรมดี แต่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แบบตาต่อตา  ฟันต่อฟัน
(ไม่แนะนำ ถ้ายังไม่ยิ่งใหญ่พอ
ไม่กลัวตาย ไม่กลัวติดคุก ทำไปเลย)

รายละเอียดลองศึกษาจากลิงค์

https://bit.ly/3rhHFRQ 
.

.
อีกวิธี/วิชามารใช้แก้แค้น

ไหน ๆ ทำให้เราไม่มีความสุข
ก็อย่าให้มันมีความสุขบ้าง
เช่น แจ้ง ปปง. ให้ตรวจสอบทรัพย์สิน
ตามหลักฐานที่มันโกงเราไป

แจ้งสรรพากรพื้นที่
พร้อมหลักฐานการโกง
ให้ทางสรรพากรช่วยตรวจสอบภาษี

คราวนี้งานเข้ามันแน่
ถ้าสรรพากรรับเรื่องดำเนินการ
เพราะอาจจะโดนภาษีย้อนหลังจำนวนมาก
ถ้าไม่ยอมชำระภาษีภายในกำหนด
เพราะถ้ารายได้ไม่ชัดเจน
สรรพากรมีอำนาจประเมินได้

สรรพากรจะยื่นเรื่องให้นายอำเภอ
ออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์ได้เลย
โดยไม่ต้องฟ้องร้องดำเนินคดี

ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12
นายอำเภอมีอำนาจยึด
และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ของผู้ต้องรับผิดภาษีอากร 
เพื่อชำระค่าภาษีอากรค้าง
ได้โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องร้อง

ช่วงก่อนและหลังปี 2540
หลายอำเภอก็ใช้มาตรานี้
ทำเอาลุกหนี้สรรพากรหนาวเย็นเป็นแถว
เพราะแบบ One Shot Dead 
นัดเดียวจอด โป้งเดียวตาย

.

.

คำสั่งห้ามชั่วคราวของศาลมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ
เกี่ยวกับตึกของจำเลยนั้น เป็นวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
เพื่อคุ้มครองป้องกันผลประโยชน์ของเจ้าหนี้
ให้ได้รับผลตามคำพิพากษาโดยบริบูรณ์ที่สุด
เท่าที่จะทำได้มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี
ตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง

คำสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าวแล้วมีผลเพียง
ห้ามจำเลยมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับตึกของจำเลย
การที่ศาลแจ้งคำสั่งให้นายอำเภอทราบ
ก็เพื่อมิให้รับจดทะเบียนนิติกรรมใด ๆ
ที่จำเลยจะลักจะลอบกระทำโดยไม่สุจริต
มิได้หมายความว่า เป็นการห้ามยึดหรืออายัด
ตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
หรือกฎหมายอื่นเสียเลย

ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12
นายอำเภอมีอำนาจยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ของผู้ต้องรับผิดภาษีอากร เพื่อชำระค่าภาษีอากรค้าง
ได้โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องร้อง แม้ศาลจะมีคำสั่ง
ห้ามชั่วคราวมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับตึก
ของจำเลยและแจ้งคำสั่งให้นายอำเภอทราบแล้ว
แต่เมื่อ  จำเลยค้างชำระค่าภาษีอากร
นายอำเภอก็มีอำนาจยึดตึกของจำเลย
มาขายทอดตลาดชำระค่าภาษีอากรค้างนั้น
ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อตึกของจำเลยได้
จากการขายทอดตลาดของนายอำเภอ
และได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วการขายทอดตลาด
บริบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

นายอำเภอจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดมิได้
แม้อำเภอจะยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึก
ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 
เมื่อการขายทอดตลาดตึกได้กระทำก่อน
โจทก์บังคับคดี โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ตึกดังกล่าว
ให้เป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้อง
ซึ่งอาจบังคับคดีโจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ตึกดังกล่าว
ให้เป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้อง
ซึ่งอาจบังคับเหนือตึกนั้นหาได้ไม่
ผู้ร้องคนเดียวยื่นคำร้องขัดทรัพย์แยกกันเป็น 2 คดี

คดีแรกร้องขัดทรัพย์เฉพาะตึก
ส่วนคดีหลังร้องขัดทรัพย์
เฉพาะเตียง โต๊ะเก้าอี้ และเครื่องที่นอน
แม้ศาลจะรวมพิจารณาพิพากษา
และผู้ร้องฎีการวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคดี
เป็นเกณฑ์พิจารณาในการใช้สิทธิฎีกา
เมื่อคดีหลังเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าพันบาท
และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกา
ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้

ที่มา

https://www.rd.go.th/18207.html
.

.
มาตรา 12 ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่ง
ตามลักษณะนี้เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว
ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง
เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง
ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัด
และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากร
หรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักร
โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้

ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ
มีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสอง
ภายในเขตท้องที่จังหวัด หรืออำเภอนั้น
แต่สำหรับนายอำเภอนั้น
จะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้
ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด

วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบ
ที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
 
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าว
ให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึด
และขายทอดตลาดและเงินภาษีอากรค้าง 
ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่ เจ้าของทรัพย์สิน

ผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรตามวรรคสอง
ให้หมายความรวมถึงผู้เป็นหุ้นส่วน
จำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย

มาตรา 12 ทวิ เมื่อได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดตามมาตรา 12 แล้ว
ห้ามผู้ใด ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่น
ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัดดังกล่าว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่