เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2565 ที่ศาลคดีภาษีอากรกลาง ศูนย์ราชการฯ องค์คณะผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา โดยวิธีถ่ายทอดภาพและเสียงอิเล็กทรอนิกส์ไปยังศาลภาษีอากรกลาง คดีระหว่างบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โจทก์ และกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 กรมสรรพากร จำเลยที่ 2 รวม 10 คดี คิดเป็นทุนทรัพย์ 1 หมื่นล้านบาท
คดีนี้ทั้ง 10 สำนวน โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2553-2555 โจทก์นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อนำมาผลิตรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส โดยอาศัยสิทธิตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากร และยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 และมาตรา 14 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และตามความตกลงระหว่างไทยและญี่ปุ่น สำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (JTEPA) โจทก์จึงขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยทั้ง 2 ให้การว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร เห็นว่า ชิ้นส่วนรถยนต์ที่โจทก์นำเข้า เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส และสามารถนำไปประกอบเป็นรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุสได้ทันที จึงต้องจำแนกเข้าประเภทพิกัดของชิ้นส่วนที่สมบูรณ์หรือสำเร็จแล้วที่นำเข้ามา โดยถอดแยกออกจากกันหรือยังไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันในฐานะที่เป็นชิ้นส่วนครบชุดสมบูรณ์ ประเภทพิกัด 8703.23.41 หรือ 8703.23.51 (ตามช่วงเวลานำเข้า) ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ข้อ 1 ข้อ 2 (ก) และข้อ 6 ในภาค 1 ท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ จึงไม่ได้รับยกเว้นอากร และลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ออกมาเพื่อให้เป็นไปตามตกลง JTEPA และไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรตามประกาศกาศกระทรวงการคลังฯ มาตรา 12 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 13 ต.ค. 2553 ทั้งยังไม่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรในอัตราอากรขาเข้าร้อยละ 30 ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ มาตรา 12 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ
การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้คิดอัตราอากรขาเข้าร้อยละ 80 ชอบแล้ว ส่วนประเด็นอื่นศาลไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน
credit : www.bangkokbiznews.com
ศาลฎีกาพิพากษายืน “โตโยต้า” แพ้คดีภาษีพรีอุสหมื่นล้าน นำเข้าชิ้นส่วนใกล้ประกอบเสร็จ....
คดีนี้ทั้ง 10 สำนวน โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2553-2555 โจทก์นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อนำมาผลิตรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส โดยอาศัยสิทธิตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากร และยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 และมาตรา 14 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และตามความตกลงระหว่างไทยและญี่ปุ่น สำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (JTEPA) โจทก์จึงขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยทั้ง 2 ให้การว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร เห็นว่า ชิ้นส่วนรถยนต์ที่โจทก์นำเข้า เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส และสามารถนำไปประกอบเป็นรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุสได้ทันที จึงต้องจำแนกเข้าประเภทพิกัดของชิ้นส่วนที่สมบูรณ์หรือสำเร็จแล้วที่นำเข้ามา โดยถอดแยกออกจากกันหรือยังไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันในฐานะที่เป็นชิ้นส่วนครบชุดสมบูรณ์ ประเภทพิกัด 8703.23.41 หรือ 8703.23.51 (ตามช่วงเวลานำเข้า) ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ข้อ 1 ข้อ 2 (ก) และข้อ 6 ในภาค 1 ท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ จึงไม่ได้รับยกเว้นอากร และลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ออกมาเพื่อให้เป็นไปตามตกลง JTEPA และไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรตามประกาศกาศกระทรวงการคลังฯ มาตรา 12 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 13 ต.ค. 2553 ทั้งยังไม่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรในอัตราอากรขาเข้าร้อยละ 30 ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ มาตรา 12 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ
การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้คิดอัตราอากรขาเข้าร้อยละ 80 ชอบแล้ว ส่วนประเด็นอื่นศาลไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน
credit : www.bangkokbiznews.com