JJNY : ป่วยเพิ่ม6,929 เสียชีวิต13│คลังยันปี65 กลับมาเก็บภาษีที่ดิน100%│ภัตตาคารโอดต้นทุนขึ้น│สมชัยปลุกคนแพ้ อาจเห็นใบส้ม

ปีใหม่ ไทยป่วยโควิดแล้ว 107,979 ราย ป่วยเพิ่มวันนี้ 6,929 ราย เสียชีวิต 13 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3135254
 
 
ปีใหม่ ไทยป่วยโควิดแล้ว 107,979 ราย ป่วยเพิ่มวันนี้ 6,929 ราย เสียชีวิต 13 ราย
 
เมื่อวันที่ 17 มกราคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 6,929 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 6,720 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 209 ราย ผู้ป่วยสะสม 107,979 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 5,255 ราย หายป่วยสะสม 58,772 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 82,210 ราย เสียชีวิต 13 ราย


  
คลังยันปี 65 กลับมาเก็บภาษีที่ดิน 100% หลังลดไปแล้ว 2 ปี กระทบรายได้ท้องถิ่น 6 หมื่นล้าน
https://ch3plus.com/news/category/274849

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.กระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีข้อเสนอให้กระทรวงการคลัง  พิจารณาขยายเวลาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ออกไปอีก 2 ปี เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโควิดว่า
 
"กระทรวงการคลังจะไม่ขยายเวลาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปอีกแล้ว หลังจากที่ลดให้ไปแล้ว 2 ปีก่อนหน้านี้ เนื่องจากการลดภาษีที่ดินแต่ละครั้งทำให้รายได้ของท้องถิ่นในแต่ละปีหายไปถึง 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้นในปีนี้จึงเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินเต็มอัตราที่ 100% คงเดิม"
 
และยังกล่าวว่า "ทั้งนี้ ปกติในการออกมาตรการช่วยเหลือทางภาษี จะต้องดูเรื่องผลกระทบทั้งด้านรายได้ของรัฐด้วย เพราะหากมีการลดไปอีก รายได้ของท้องถิ่นจะหายไปจำนวนมาก และยังส่งผลกระทบต่อเงินลงทุน ค่าใช้จ่ายของท้องถิ่นตามมา อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอ การลดภาษีที่ดิน 90% ของ กกร.จะต้องเสนอ และรอถามจากกระทรวงมหาดไทยอีกทางหนึ่งด้วย"
 
“การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะถือเป็นรายได้หลักที่นำเข้าสู่ท้องถิ่น ซึ่งจากที่มีการลดภาษีที่ดินไป 2 ปีก่อนหน้านี้ ทำให้รายได้หายปีละมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามหลักเมื่อมีการลดภาษีไป 2 ปี รัฐบาลก็ต้องหาเงินไปอุดหนุนชดเชยให้ท้องถิ่น แต่ที่ผ่านมารัฐบาลได้เข้าไปอุดหนุนรายได้ให้แค่ปีเดียว ช่วงปี 2562/2563 เท่านั้น ส่วนปีภาษี 2563/2564 ไม่ได้ช่วยอุดหนุน เพราะงบประมาณมีจำกัด ดังนั้นจึงเสนอให้มีจัดเก็บภาษีที่ 100% ในปีนี้”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาการปรับลดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินเหลือ 90% ถูกมองว่าเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูงเป็นหลัก และประชาชนชั้นกลาง หรือผู้มีรายได้น้อยมากกว่า 90% ที่ไม่ได้ประโยชน์ เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มเศรษฐีที่ดินที่มีที่ดินว่างเปล่าจำนวนมาก หรือที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลังขึ้นไป ขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีที่อยู่อาศัยเพียง 1 หลัง หรือบางส่วนต้องเช่าอาศัยอยู่เท่านั้น จึงไม่ได้ประโยชน์จากการลดภาษีที่ดิน
 
ขณะที่ในการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จัดเก็บในปีภาษี 2565-2566 โดยให้จัดเก็บในอัตราเดิมที่จัดเก็บในปีภาษี 2563-2564 ต่อไปอีก 2 ปี เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด ให้กับผู้เสียภาษีได้มีเวลาในการปรับตัวสำหรับการชำระภาษีในอัตราที่แท้จริง และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 2 ปีไปแล้ว ในปีภาษี 2567 ให้พิจารณาความเหมาะสมให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
 
สำหรับการคงอัตราภาษีแบบเดิมเช่นเดียวกับปีภาษี 2563 และ 2564 มีสาระสำคัญ ดังนี้ การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 0.01–0.1% การใช้ประโยชน์เพื่อที่อยู่อาศัย อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 0.02–0.1% แยกเป็น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
 
อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.03–0.1% สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.02–0.1% และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน อยู่ที่ 0.02–0.1%
ส่วนการใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการประกอบเกษตรกรรม และอยู่อาศัย อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน อยู่ที่ 0.3–0.7% ขณะที่ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน อยู่ที่ 0.3–0.7%
 
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/MRuBZgcWitc0

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 

 
ภัตตาคารโอดต้นทุนขึ้นวัตถุดิบแพงคนซื้อน้อยลง
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_274166/

นายกสมาคมภัตตาคาร เผย ร้านอาหารต้นทุนขึ้น วัตถุดิบแพง คนซื้อน้อยลง ขณะคนละครึ่งใช้เร็วขึ้นดี ช่วยแบ่งเบาภาระปชช.
 
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า จากสถานการณ์ราคาสินค้าวัตถุดิบต่างๆมีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบกับต้นทุนการประกอบอาหารของร้านอาหารต่างๆเป็น อย่างมาก ซึ่งได้มีการสอบถามและพูดคุยกับสมาชิกของสมาคมโดยมีแนวคิดที่จะให้ปรับเมนูอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่ราคาไม่สูงมากเป็นเมนูหลักทดแทนเมนูเนื้อหมูที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เวลานี้อยากให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าชนิดอื่นๆช่วงที่เนื้อหมูราคาแพงเพราะปริมาณเนื้อหมูไม่เพียงพอ
 
โดยร้านอาหารเวลานี้นอกจากต้นทุนวัตถุดิบจะสูงขึ้นแล้วยังมีต้นทุนจากมาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มข้น เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรวมอยู่ด้วย ในขณะที่ลูกค้าลดลงจากความกังวลในการออกนอกบ้าน
 
อย่างไรก็ตาม มองว่า การเลื่อนโครงการ “คนละครึ่ง เฟส4” เร็วขึ้น 2 สัปดาห์ จากเดิมที่จะเริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2565 มาเป็นช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเป็นการช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าของประชาชนและทำให้กล้าตัดสินใจใช้จ่ายได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีกับผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็ก ทำให้ยังมีลูกค้าต่อเนื่อง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่