ธุรกิจประกันภัยอลหม่าน พิษ “เจอจ่ายจบ” สะเทือนยักษ์ใหญ่ อาคเนย์ประกันฯเครือ “เจ้าสัวเจริญ” ออกโรงฟ้อง คปภ. ยื่นศาลปกครองยกเลิกคำสั่งนายทะเบียน เปิดทางยกเลิก “เจอจ่ายจบ” พร้อมขอศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว นายกสมาคมเผยโอมิครอนชี้ชะตาธุรกิจประกันภัยผวาเคลมพุ่งแสนล้าน เสียหายใหญ่กว่าน้ำท่วมปี’54 ด้านเลขาธิการ คปภ.แจงสู้ทุกประเด็น หวั่นผู้ประกัน 10 ล้านคนถูกลอยแพ บริษัทประกันลุ้นฟังคำสั่งศาลยึดเป็นแนวปฏิบัติ
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของแวดวงธุรกิจประกันภัยไทย เมื่อบริษัทอาคเนย์ประกันภัยและไทยประกันภัย บริษัทย่อยในกลุ่มเครือไทยโฮลดิ้งส์ (TGH) ธุรกิจประกันและการเงินเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ดำเนินการยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง คดีพิพาทหน่วยงานกำกับดูแลอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กรณีหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากประกาศคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย
จากคำสั่งดังกล่าวของ คปภ.คือห้ามบริษัทประกันยกเลิกกรมธรรม์ “เจอจ่ายจบ” ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดอย่างรุนแรงของสายพันธุ์เดลต้า เป็นเหตุให้บริษัทเอเชียประกันภัยและบริษัทเดอะวันประกันภัย ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนต้องถูกปิดกิจการเมื่อปี 2564
เจ้าสัวฟ้องยกเลิก “เจอจ่ายจบ”
แหล่งข่าวในวงการประกันภัยกล่าวว่า ตอนนี้มีบริษัทประกันอีกอย่างน้อยอีก 2-3 ราย ที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรง หากการแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมียอดผู้ติดเชื้อรุนแรงมากขึ้น ซึ่งรวมถึงบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งล่าสุดได้ทำการยื่นฟ้องศาลปกครอง
โดยเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องคดีปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 44/2565 โดยบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กับพวก 2 คน เป็นผู้ฟ้องคดีที่ 1 และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีที่ 2 โดยได้ยื่นฟ้องนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เรื่องกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยคำฟ้อง ได้ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ใน 2 ประเด็นดังนี้
1.พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่ง
2.ขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
คปภ.แจงทุกประเด็นศาลฯ
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ให้สัมภาษณ์หลังให้การกับศาลปกครองเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 65 ว่า ประเด็นหลักที่ศาลฯได้สอบถามคือ การฟ้องคดีอยู่ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ โดยตามกฎหมายจะต้องฟ้องภายใน 90 วัน หลังจากที่ คปภ.มีคำสั่งนายทะเบียนออกมา
เพราะถ้าการฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลจะไม่รับคำฟ้อง ยกเว้นแต่เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
“ข้ออ้างของผู้ฟ้องว่า คปภ.ไม่มีการส่งคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ให้บริษัทรับทราบ โดย คปภ.ได้ชี้แจงว่า คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เป็นคำสั่งทั่วไป ซึ่งปกติไม่มีกฎข้อบังคับให้ต้องส่งไปที่บริษัทประกัน ในทางปฏิบัติ คปภ.จะลงบนเว็บไซต์สำนักงาน คปภ.และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ประชาชนให้ความสำคัญ สื่อหลายสำนักทั้งหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, ออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข่าวในวงกว้าง”
ชี้ กม.ต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน
เลขาธิการ คปภ.ระบุว่า ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งไม่ได้ โดยได้มีการประกาศคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. 64 ขณะเดียวกันผู้ฟ้องคดีทั้ง 2 บริษัทก็ออกมายืนยันหลังจากออกคำสั่งนายทะเบียนว่า เขายืนยันที่จะคุ้มครองผู้เอาประกันภัยโควิดทุกประเภทจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครอง ซึ่งการยืนยันตรงนี้ถือเป็นผลของคำสั่งนายทะเบียน
นอกจากนี้ในคำฟ้องก็ระบุชัดว่า จากข่าวที่ลงไปในหนังสือพิมพ์วันที่ 17 ก.ค. 64 ทำให้บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เพราะกลัวจะถูกดำเนินการฐานประวิงคดีหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ดังนั้นข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่ปรากฏว่าไม่ทราบคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ไม่เป็นความจริง เพราะจริง ๆ ต้องทราบตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. 64 ซึ่งนับถึงวันที่ยื่นฟ้องเกินระยะเวลากำหนด เพราะต้องยื่นฟ้องภายในเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่รู้หรือควรจะรู้
ต่อสู้คำสั่งลงราชกิจจาฯ 12 ต.ค.
อย่างไรก็ตามทางผู้ฟ้องได้อ้างต่อว่า คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 คปภ.ต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน จึงจะมีผลตามกฎหมาย ซึ่งคำสั่งดังกล่าวมีการลงประกาศในราชกิจจาฯเมื่อ 12 ตุลาคม 2564 ดังนั้นเมื่อนับถึงปัจจุบันจึงยังไม่ครบ 90 วัน โดย คปภ.ได้ชี้แจงศาลฯว่า ในกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องส่งตัวคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ที่เป็นคำสั่งทางปกครองไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่การที่ส่งไปลงราชกิจจาฯเนื่องจากต้องให้ประชาชนได้รับรู้
หวั่นผู้เอาประกันถูกลอยแพ
เลขาธิการ คปภ.กล่าวอีกว่า ช่วงบ่ายวานนี้ (14 ม.ค. 65) ศาลฯได้สั่งให้พนักงานศาลพิมพ์เอกสารและรวบรวมเอกสารที่ คปภ.ส่งไปให้ โดยเฉพาะประเด็นที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อทุกสำนักที่ได้รับทราบไปในวงกว้าง โดยศาลยังไม่ได้สรุปตัดสินคดี ต้องพิสูจน์หลักฐานก่อน และจะนัดให้ คปภ.รับทราบคำสั่งว่าจะรับคดีไว้พิจารณาหรือไม่อีกครั้ง
หากศาลฯรับคดีไว้พิจารณา 2 ประเด็นที่ศาลจะต้องไต่สวนของผู้ฟ้องคือ 1.ขอให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 และ 2. ขอคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 มีผลบังคับใช้เป็นการชั่วคราว เพราะฉะนั้นถ้าศาลฯรับฟ้องและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จะทำให้ผู้เอาประกันภัยโควิดทั้งหมดกว่า 10 ล้านคนถูกลอยแพแน่นอน เพราะระหว่างนี้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถที่จะบอกเลิกกรมธรรม์ฯได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก ๆ ต่อพี่น้องประชาชน โดยศาลฯระบุว่า เนื่องจากเกี่ยวกับประชาชนจำนวนมากจะพิจารณาโดยเร็ว
ไม่มีใครใหญ่เหนือกฎหมาย
นายสุทธิพลกล่าวอีกว่า ไม่มีใครจะใหญ่เหนือกฎหมาย แม้กฎหมายจะระบุไว้ในกรมธรรม์ว่าสามารถบอกเลิกกรมธรรม์ลูกค้าได้ แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อมีความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงในระดับสูงแล้วจะบอกเลิกกรมธรรม์แบบเหมาเข่ง ต้องพิจารณาแต่ละรายไป มีหลักฐานยืนยันและสอดคล้องกับกฎหมายสากล เพราะความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นจะวุ่นวายมาก ถ้าให้ยกเลิกเหมาเข่ง ต่อไปคนจะไม่ทำประกัน
เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า ในข้อเท็จจริง บริษัทประกันไม่ต้องรอนสิทธิผู้บริโภค โดยมีมาตรการทางเลือกอีก 11 มาตรการซึ่งสามารถทำได้ แต่บริษัทประกันไม่ดำเนินการ
“การทำประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบ คือการที่ประชาชนผู้เอาประกันภัยมอบความไว้วางใจให้บริษัทประกันที่อาสามาช่วยบริหารความเสี่ยง ฉะนั้นการไปบอกเลิกกรมธรรม์ในช่วงวิกฤต ทั้ง ๆ ที่เคยสัญญาว่าจะคุ้มครองจนสิ้นสุดอายุการคุ้มครอง โดยโยนความเสี่ยงที่มากขึ้นกลับคืนไปให้ประชาชน ถือเป็นการทำลายความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่ประชาชนมอบให้บริษัทประกัน จึงเป็นการเอาเปรียบประชาชนอย่างยิ่ง” นายสุทธิพลกล่าว
สมาคมฯชี้หนักกว่าน้ำท่วมปี’54
ขณะที่นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวกับ
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของบริษัทประกันวินาศภัยอยู่ในสถานการณ์ลำบาก บริษัทที่ขายประกันโควิดเจอจ่ายจบ ก็ประสบปัญหาขาดทุนจากการขายประกันเจอจ่ายจบทั้งสิ้น โดยจนถึงต้นปี 2565 ยอดเคลมประกันภัยโควิดน่าจะทะลุเกิน 40,000 ล้านบาทไปแล้ว เนื่องจากสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนผงกหัวขึ้น มีผู้ติดเชื้อรายวันแตะระดับ 8,000 รายต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 2.5 เท่า จากยอดเดือน ธ.ค. 64
จากยอดผู้ติดเชื้อเดลต้าสิ้นปี’64 เกือบ 2.2 ล้านราย หรือติดเชื้อรุนแรงประมาณ 20,000 รายต่อวัน ในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ย. 64 ใช้เวลากว่า 100 วัน ธุรกิจประกันต้องจ่ายเคลมไปรวม ๆ กว่า 40,000 ล้านบาท กรณีโอมิครอนยังไม่รู้ว่ายอดผู้ติดเชื้อจะเท่าเดลต้าหรือไม่ ต้องรอประเมินจนถึงเดือน มิ.ย. 65 ซึ่งเป็นช่วงที่กรมธรรม์โควิดเจอจ่ายจบส่วนใหญ่อีกกว่า 8-9 ล้านจะหมดอายุความคุ้มครอง
£££ ไม่เลิก “เจอจ่ายจบ” ประกันเจ๊ง คปภ.ชนเจ้าสัวเจริญฟ้องศาล
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของแวดวงธุรกิจประกันภัยไทย เมื่อบริษัทอาคเนย์ประกันภัยและไทยประกันภัย บริษัทย่อยในกลุ่มเครือไทยโฮลดิ้งส์ (TGH) ธุรกิจประกันและการเงินเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ดำเนินการยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง คดีพิพาทหน่วยงานกำกับดูแลอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กรณีหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากประกาศคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย
จากคำสั่งดังกล่าวของ คปภ.คือห้ามบริษัทประกันยกเลิกกรมธรรม์ “เจอจ่ายจบ” ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดอย่างรุนแรงของสายพันธุ์เดลต้า เป็นเหตุให้บริษัทเอเชียประกันภัยและบริษัทเดอะวันประกันภัย ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนต้องถูกปิดกิจการเมื่อปี 2564
เจ้าสัวฟ้องยกเลิก “เจอจ่ายจบ”
แหล่งข่าวในวงการประกันภัยกล่าวว่า ตอนนี้มีบริษัทประกันอีกอย่างน้อยอีก 2-3 ราย ที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรง หากการแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมียอดผู้ติดเชื้อรุนแรงมากขึ้น ซึ่งรวมถึงบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งล่าสุดได้ทำการยื่นฟ้องศาลปกครอง
โดยเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องคดีปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 44/2565 โดยบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กับพวก 2 คน เป็นผู้ฟ้องคดีที่ 1 และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีที่ 2 โดยได้ยื่นฟ้องนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เรื่องกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยคำฟ้อง ได้ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ใน 2 ประเด็นดังนี้
1.พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่ง
2.ขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
คปภ.แจงทุกประเด็นศาลฯ
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ให้สัมภาษณ์หลังให้การกับศาลปกครองเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 65 ว่า ประเด็นหลักที่ศาลฯได้สอบถามคือ การฟ้องคดีอยู่ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ โดยตามกฎหมายจะต้องฟ้องภายใน 90 วัน หลังจากที่ คปภ.มีคำสั่งนายทะเบียนออกมา
เพราะถ้าการฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลจะไม่รับคำฟ้อง ยกเว้นแต่เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
“ข้ออ้างของผู้ฟ้องว่า คปภ.ไม่มีการส่งคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ให้บริษัทรับทราบ โดย คปภ.ได้ชี้แจงว่า คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เป็นคำสั่งทั่วไป ซึ่งปกติไม่มีกฎข้อบังคับให้ต้องส่งไปที่บริษัทประกัน ในทางปฏิบัติ คปภ.จะลงบนเว็บไซต์สำนักงาน คปภ.และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ประชาชนให้ความสำคัญ สื่อหลายสำนักทั้งหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, ออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข่าวในวงกว้าง”
ชี้ กม.ต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน
เลขาธิการ คปภ.ระบุว่า ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งไม่ได้ โดยได้มีการประกาศคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. 64 ขณะเดียวกันผู้ฟ้องคดีทั้ง 2 บริษัทก็ออกมายืนยันหลังจากออกคำสั่งนายทะเบียนว่า เขายืนยันที่จะคุ้มครองผู้เอาประกันภัยโควิดทุกประเภทจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครอง ซึ่งการยืนยันตรงนี้ถือเป็นผลของคำสั่งนายทะเบียน
นอกจากนี้ในคำฟ้องก็ระบุชัดว่า จากข่าวที่ลงไปในหนังสือพิมพ์วันที่ 17 ก.ค. 64 ทำให้บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เพราะกลัวจะถูกดำเนินการฐานประวิงคดีหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ดังนั้นข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่ปรากฏว่าไม่ทราบคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ไม่เป็นความจริง เพราะจริง ๆ ต้องทราบตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. 64 ซึ่งนับถึงวันที่ยื่นฟ้องเกินระยะเวลากำหนด เพราะต้องยื่นฟ้องภายในเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่รู้หรือควรจะรู้
ต่อสู้คำสั่งลงราชกิจจาฯ 12 ต.ค.
อย่างไรก็ตามทางผู้ฟ้องได้อ้างต่อว่า คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 คปภ.ต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน จึงจะมีผลตามกฎหมาย ซึ่งคำสั่งดังกล่าวมีการลงประกาศในราชกิจจาฯเมื่อ 12 ตุลาคม 2564 ดังนั้นเมื่อนับถึงปัจจุบันจึงยังไม่ครบ 90 วัน โดย คปภ.ได้ชี้แจงศาลฯว่า ในกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องส่งตัวคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ที่เป็นคำสั่งทางปกครองไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่การที่ส่งไปลงราชกิจจาฯเนื่องจากต้องให้ประชาชนได้รับรู้
หวั่นผู้เอาประกันถูกลอยแพ
เลขาธิการ คปภ.กล่าวอีกว่า ช่วงบ่ายวานนี้ (14 ม.ค. 65) ศาลฯได้สั่งให้พนักงานศาลพิมพ์เอกสารและรวบรวมเอกสารที่ คปภ.ส่งไปให้ โดยเฉพาะประเด็นที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อทุกสำนักที่ได้รับทราบไปในวงกว้าง โดยศาลยังไม่ได้สรุปตัดสินคดี ต้องพิสูจน์หลักฐานก่อน และจะนัดให้ คปภ.รับทราบคำสั่งว่าจะรับคดีไว้พิจารณาหรือไม่อีกครั้ง
หากศาลฯรับคดีไว้พิจารณา 2 ประเด็นที่ศาลจะต้องไต่สวนของผู้ฟ้องคือ 1.ขอให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 และ 2. ขอคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 มีผลบังคับใช้เป็นการชั่วคราว เพราะฉะนั้นถ้าศาลฯรับฟ้องและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จะทำให้ผู้เอาประกันภัยโควิดทั้งหมดกว่า 10 ล้านคนถูกลอยแพแน่นอน เพราะระหว่างนี้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถที่จะบอกเลิกกรมธรรม์ฯได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก ๆ ต่อพี่น้องประชาชน โดยศาลฯระบุว่า เนื่องจากเกี่ยวกับประชาชนจำนวนมากจะพิจารณาโดยเร็ว
ไม่มีใครใหญ่เหนือกฎหมาย
นายสุทธิพลกล่าวอีกว่า ไม่มีใครจะใหญ่เหนือกฎหมาย แม้กฎหมายจะระบุไว้ในกรมธรรม์ว่าสามารถบอกเลิกกรมธรรม์ลูกค้าได้ แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อมีความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงในระดับสูงแล้วจะบอกเลิกกรมธรรม์แบบเหมาเข่ง ต้องพิจารณาแต่ละรายไป มีหลักฐานยืนยันและสอดคล้องกับกฎหมายสากล เพราะความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นจะวุ่นวายมาก ถ้าให้ยกเลิกเหมาเข่ง ต่อไปคนจะไม่ทำประกัน
เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า ในข้อเท็จจริง บริษัทประกันไม่ต้องรอนสิทธิผู้บริโภค โดยมีมาตรการทางเลือกอีก 11 มาตรการซึ่งสามารถทำได้ แต่บริษัทประกันไม่ดำเนินการ
“การทำประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบ คือการที่ประชาชนผู้เอาประกันภัยมอบความไว้วางใจให้บริษัทประกันที่อาสามาช่วยบริหารความเสี่ยง ฉะนั้นการไปบอกเลิกกรมธรรม์ในช่วงวิกฤต ทั้ง ๆ ที่เคยสัญญาว่าจะคุ้มครองจนสิ้นสุดอายุการคุ้มครอง โดยโยนความเสี่ยงที่มากขึ้นกลับคืนไปให้ประชาชน ถือเป็นการทำลายความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่ประชาชนมอบให้บริษัทประกัน จึงเป็นการเอาเปรียบประชาชนอย่างยิ่ง” นายสุทธิพลกล่าว
สมาคมฯชี้หนักกว่าน้ำท่วมปี’54
ขณะที่นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของบริษัทประกันวินาศภัยอยู่ในสถานการณ์ลำบาก บริษัทที่ขายประกันโควิดเจอจ่ายจบ ก็ประสบปัญหาขาดทุนจากการขายประกันเจอจ่ายจบทั้งสิ้น โดยจนถึงต้นปี 2565 ยอดเคลมประกันภัยโควิดน่าจะทะลุเกิน 40,000 ล้านบาทไปแล้ว เนื่องจากสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนผงกหัวขึ้น มีผู้ติดเชื้อรายวันแตะระดับ 8,000 รายต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 2.5 เท่า จากยอดเดือน ธ.ค. 64
จากยอดผู้ติดเชื้อเดลต้าสิ้นปี’64 เกือบ 2.2 ล้านราย หรือติดเชื้อรุนแรงประมาณ 20,000 รายต่อวัน ในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ย. 64 ใช้เวลากว่า 100 วัน ธุรกิจประกันต้องจ่ายเคลมไปรวม ๆ กว่า 40,000 ล้านบาท กรณีโอมิครอนยังไม่รู้ว่ายอดผู้ติดเชื้อจะเท่าเดลต้าหรือไม่ ต้องรอประเมินจนถึงเดือน มิ.ย. 65 ซึ่งเป็นช่วงที่กรมธรรม์โควิดเจอจ่ายจบส่วนใหญ่อีกกว่า 8-9 ล้านจะหมดอายุความคุ้มครอง