เพื่อนๆ เคยทราบกันไหม บ้านซึ่งเป็นสินค้าราคาแพงที่เราผ่อนกันจนเกษียณ โดยส่วนใหญ่จะรับประกันจากโครงการแค่ 1 ปี เรียกได้ว่า เป็นอีกอย่างที่แปลกแต่จริงครับ มีระยะประกันน้อยกว่ารถยนต์ซะอีก
โดยส่วนใหญ่แล้วทางโครงการจัดสรร จะ "รับประกันโครงสร้างบ้านที่ 5 - 10 ปี" แล้วแต่โครงการ โดยจะนิยามคำว่า "โครงสร้างบ้าน" คือ เสาเข็ม, คานบ้าน, เสาบ้าน และโครงหลังคา ซึ่งก็คือโครงสร้างงานโยธาทั้งหมดของบ้านนั่นเองครับ
ทั้งนี้ระยะเวลาการรับประกันส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานโครงสร้าง จะ " รับประกัน 1 ปี " โดยในปัจจุบันทางกฎหมายแล้ว ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การรับประกันที่แน่นอนกำหนด ดังนั้นจึงขึ้นกับแต่ละโครงการจะกำหนดกันเอง
วันนี้ผม วิศวกรตรวจรับบ้าน จาก Home Check Up ขอรวบรวมสิ่งที่ควรต้องตรวจ ก่อนหมดประกัน "10 จุดต้องตรวจ ก่อนหมดประกันบ้าน 1 ปี" มาฝากเพื่อนๆ เพื่อใช้ในการตรวจกันเองครับ
1. ปัญหาการรั่วซึมจากหลังคา
ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากครับ ทั้งนี้บ้านที่อยู่มาครบ 1 ปี โดยปกติจะผ่านหน้าฝนมาแล้วหลายเดือนด้วยกัน ดังนั้นการสังเกตดูคราบน้ำที่เกิดจากการรั่วซึม ก็จะเป็นขึ้นตอนที่ง่ายที่สุดที่จะทำได้ (ถ้าจะให้ดี ควรดูตอนนี้มีฝนตก จะสังเกตได้ง่าย)
2. ปัญหาการรั่วซึมจากพื้นห้องน้ำชั้นบน
เป็นอีกปัญหาที่พบได้ครับ สามารถทำได้ด้วยการขังน้ำที่พื้นห้องน้ำให้ท่วมพื้นห้องน้ำ สูง 1-2 ซม. ประมาณ 30 นาที โดยหาวัสดุมาอุดที่ Floor Drain ที่พื้นห้องน้ำ เช่น ดินน้ำมัน ถุงพลาสติกใส่น้ำ ขวดน้ำ หรือผ้า ให้สังเกตคราบน้ำที่ฝ้าชั้นล่างว่ามีคราบน้ำ ความชื้นลงมาไหม
3. ปัญหาการรั่วซึมจากท่อน้ำดีต่างๆ ภายในบ้าน
สามารถสังเกตได้ด้วยการปิดก๊อกน้ำทั้งหมดภายในบ้าน แล้วไปดูที่มิเตอร์น้ำของ การประปาฯ ที่อยู่หน้าบ้าน ว่าหมุนไหม (บางครั้งยังหมุนได้นะครับ แต่อาจเป็นเพราะว่าน้ำประปาไหลเข้าถังเก็บน้ำภายในบ้านอยู่ครับ ต้องรอให้ถังเก็บน้ำเต็มก่อน ค่อยมาสังเกตอีกทีครับ)
และให้สังเกตุว่าปั๊มน้ำต้องไม่ทำงาน เพราะเราไม่ได้ใช้งานน้ำภายในบ้านแล้วครับ
4. ตรวจสอบถังบำบัดน้ำเสีย และบ่อดักไขมัน
โดยให้สังเกตระบบน้ำในถังจะต้องอยู่บริเวณ ท้องท่อขาออกของถัง ถ้าระดับต่ำกว่านั้น ให้ลองเติมน้ำ และรอสักพัก ระดับน้ำจะต้องไม่ลดต่ำลงไปจากท้องท่อขาออกของถังบำบัดน้ำเสีย หรือบ่อดักไขมัน
5. พื้นโรงจอดรถ
เนื่องจากพื้นโรงจอดรถมีหลายรูปแบบในการก่อสร้าง
แบบ On beam คือวางบนคานบ้าน ซึ่งพื้นจอดรถในลักษณะนี้จะไม่ทรุด
แบบ On ground ซึ่งพื้นแบบนี้จะวางบนพื้น ก็จะทรุดได้ตามลักษณะพื้นดินบริเวณนั้นๆ
ทั้งนี้ถ้าทรุดมากจะปัญหาการขับรถขึ้นจอดให้ทำการแจ้งให้โครงการปรับระดับพื้นให้ใหม่
6. งานสี งานผนัง
ส่วนใหญ่จะเป็นสีหลุดร่อน สีด่าง หรือรอยแตกร้าวผิวปูนฉาบตามผนัง ที่ไม่มีอันตรายทางโครงสร้างบ้าน แก้ไขด้วยการเก็บสีใหม่เท่านั้น
ทั้งนี้สีผนังบ้านรอบนอก บริเวณที่ติดกับพื้นดิน จะพบบ่อยว่ามีการพองเนื่องจากความชื้นที่ขึ้นมาจากดินรอบบ้านครับ ซึ่งแม้จะแก้ไขไปแล้วในครั้งนี้ ก็อาจเกิดขึ้นอีกได้ครับ
7. งานโครงสร้างบ้าน
ให้สังเกตรอยร้าวที่เสา คาน และผนัง โดยต้องเป็นรอยร้าวที่มีขนาดกว้าง ซึ่งอาจเป็นรอยร้าวที่มีผลทางโครงสร้างหลักของบ้านได้ครับ ถ้ามีรอยร้าวที่มีความกว้างขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปด้วยแล้ว จะยิ่งมีโอกาสเป็นอันตรายได้
*ทั้งนี้ควรรีบให้วิศวกรโยธาที่ใบประกอบวิชาชีพ เป็นผู้ตรวจสอบให้เพื่อความปลอดภัยครับ
8. ปัญหาไฟฟ้ารั่ว
ให้ปิดการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด ทั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่าง โดยปิดดวงไฟทั้งหมด, ระบบปลั๊กไฟฟ้า โดยดึงปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าออกให้หมด แล้วไปสังเกตที่มิเตอร์ไฟฟ้าของ การไฟฟ้าฯ หน้าบ้านว่ามิเตอร์ไฟฟ้าทำงานไหม จานในมิเตอร์หมุนไหม ทั้งนี้เมื่อไม่มีการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน มิเตอร์จะต้องไม่หมุน แต่ถ้ากรณีมิเตอร์ดังกล่าวหมุนอาจมีปัญหาไฟฟ้ารั่วได้ (ทั้งนี้อาจมีอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ลืมถอดก็ได้นะครับ อาจต้องตรวจสอบว่าครบจริงทุกอุปกรณ์แล้ว)
9. ตรวจสอบการทำงานของ Breaker กันไฟฟ้าดูด
ทั้งนี้ Breaker กันดูดจะมีปุ่มให้กดทดสอบการทำงานของระบบกันไฟฟ้ารั่ว โดยเมื่อกดที่ปุ่มทดสอบแล้ว breaker จะตัดไฟทันที ซึ่งหมายความว่าใช้งานได้ดี
10. ตรวจสอบการต่อสายที่ Ground Rod
กรณีโครงการมีการทำช่อง service ของ ground rod ไว้ ให้เปิดดูว่าสายไฟที่ต่อกับ ground rod ยังติดอยู่ ทั้งนี้แนะนำว่าอย่าจับสายไฟ และ ground rod เนื่องจากหากมีกระแสไฟฟ้ารั่วมาที่สายเมน Ground ของบ้าน อาจทำอันตรายได้ครับ
*หมายเหตุ งานระบบไฟฟ้าในข้อ 8 -10 ควรให้ผู้เชี่ยวชาญในงานไฟฟ้า เช่น วิศวกรไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบให้ครับ เพื่อความปลอดภัย
ถ้าสนใจเนื้อหาตัวเต็ม ก็สามารถไปอ่าน
10 จุดต้องตรวจ ก่อนหมดประกันบ้าน 1 ปี
มีข้อสงสัย ถามได้นะครับ จะมาตอบให้ครับ
10 จุดต้องตรวจ ก่อนหมดประกันบ้าน 1 ปี
โดยส่วนใหญ่แล้วทางโครงการจัดสรร จะ "รับประกันโครงสร้างบ้านที่ 5 - 10 ปี" แล้วแต่โครงการ โดยจะนิยามคำว่า "โครงสร้างบ้าน" คือ เสาเข็ม, คานบ้าน, เสาบ้าน และโครงหลังคา ซึ่งก็คือโครงสร้างงานโยธาทั้งหมดของบ้านนั่นเองครับ
ทั้งนี้ระยะเวลาการรับประกันส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานโครงสร้าง จะ " รับประกัน 1 ปี " โดยในปัจจุบันทางกฎหมายแล้ว ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การรับประกันที่แน่นอนกำหนด ดังนั้นจึงขึ้นกับแต่ละโครงการจะกำหนดกันเอง
วันนี้ผม วิศวกรตรวจรับบ้าน จาก Home Check Up ขอรวบรวมสิ่งที่ควรต้องตรวจ ก่อนหมดประกัน "10 จุดต้องตรวจ ก่อนหมดประกันบ้าน 1 ปี" มาฝากเพื่อนๆ เพื่อใช้ในการตรวจกันเองครับ
1. ปัญหาการรั่วซึมจากหลังคา
ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากครับ ทั้งนี้บ้านที่อยู่มาครบ 1 ปี โดยปกติจะผ่านหน้าฝนมาแล้วหลายเดือนด้วยกัน ดังนั้นการสังเกตดูคราบน้ำที่เกิดจากการรั่วซึม ก็จะเป็นขึ้นตอนที่ง่ายที่สุดที่จะทำได้ (ถ้าจะให้ดี ควรดูตอนนี้มีฝนตก จะสังเกตได้ง่าย)
2. ปัญหาการรั่วซึมจากพื้นห้องน้ำชั้นบน
เป็นอีกปัญหาที่พบได้ครับ สามารถทำได้ด้วยการขังน้ำที่พื้นห้องน้ำให้ท่วมพื้นห้องน้ำ สูง 1-2 ซม. ประมาณ 30 นาที โดยหาวัสดุมาอุดที่ Floor Drain ที่พื้นห้องน้ำ เช่น ดินน้ำมัน ถุงพลาสติกใส่น้ำ ขวดน้ำ หรือผ้า ให้สังเกตคราบน้ำที่ฝ้าชั้นล่างว่ามีคราบน้ำ ความชื้นลงมาไหม
3. ปัญหาการรั่วซึมจากท่อน้ำดีต่างๆ ภายในบ้าน
สามารถสังเกตได้ด้วยการปิดก๊อกน้ำทั้งหมดภายในบ้าน แล้วไปดูที่มิเตอร์น้ำของ การประปาฯ ที่อยู่หน้าบ้าน ว่าหมุนไหม (บางครั้งยังหมุนได้นะครับ แต่อาจเป็นเพราะว่าน้ำประปาไหลเข้าถังเก็บน้ำภายในบ้านอยู่ครับ ต้องรอให้ถังเก็บน้ำเต็มก่อน ค่อยมาสังเกตอีกทีครับ)
และให้สังเกตุว่าปั๊มน้ำต้องไม่ทำงาน เพราะเราไม่ได้ใช้งานน้ำภายในบ้านแล้วครับ
4. ตรวจสอบถังบำบัดน้ำเสีย และบ่อดักไขมัน
โดยให้สังเกตระบบน้ำในถังจะต้องอยู่บริเวณ ท้องท่อขาออกของถัง ถ้าระดับต่ำกว่านั้น ให้ลองเติมน้ำ และรอสักพัก ระดับน้ำจะต้องไม่ลดต่ำลงไปจากท้องท่อขาออกของถังบำบัดน้ำเสีย หรือบ่อดักไขมัน
5. พื้นโรงจอดรถ
เนื่องจากพื้นโรงจอดรถมีหลายรูปแบบในการก่อสร้าง
แบบ On beam คือวางบนคานบ้าน ซึ่งพื้นจอดรถในลักษณะนี้จะไม่ทรุด
แบบ On ground ซึ่งพื้นแบบนี้จะวางบนพื้น ก็จะทรุดได้ตามลักษณะพื้นดินบริเวณนั้นๆ
ทั้งนี้ถ้าทรุดมากจะปัญหาการขับรถขึ้นจอดให้ทำการแจ้งให้โครงการปรับระดับพื้นให้ใหม่
6. งานสี งานผนัง
ส่วนใหญ่จะเป็นสีหลุดร่อน สีด่าง หรือรอยแตกร้าวผิวปูนฉาบตามผนัง ที่ไม่มีอันตรายทางโครงสร้างบ้าน แก้ไขด้วยการเก็บสีใหม่เท่านั้น
ทั้งนี้สีผนังบ้านรอบนอก บริเวณที่ติดกับพื้นดิน จะพบบ่อยว่ามีการพองเนื่องจากความชื้นที่ขึ้นมาจากดินรอบบ้านครับ ซึ่งแม้จะแก้ไขไปแล้วในครั้งนี้ ก็อาจเกิดขึ้นอีกได้ครับ
7. งานโครงสร้างบ้าน
ให้สังเกตรอยร้าวที่เสา คาน และผนัง โดยต้องเป็นรอยร้าวที่มีขนาดกว้าง ซึ่งอาจเป็นรอยร้าวที่มีผลทางโครงสร้างหลักของบ้านได้ครับ ถ้ามีรอยร้าวที่มีความกว้างขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปด้วยแล้ว จะยิ่งมีโอกาสเป็นอันตรายได้
*ทั้งนี้ควรรีบให้วิศวกรโยธาที่ใบประกอบวิชาชีพ เป็นผู้ตรวจสอบให้เพื่อความปลอดภัยครับ
8. ปัญหาไฟฟ้ารั่ว
ให้ปิดการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด ทั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่าง โดยปิดดวงไฟทั้งหมด, ระบบปลั๊กไฟฟ้า โดยดึงปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าออกให้หมด แล้วไปสังเกตที่มิเตอร์ไฟฟ้าของ การไฟฟ้าฯ หน้าบ้านว่ามิเตอร์ไฟฟ้าทำงานไหม จานในมิเตอร์หมุนไหม ทั้งนี้เมื่อไม่มีการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน มิเตอร์จะต้องไม่หมุน แต่ถ้ากรณีมิเตอร์ดังกล่าวหมุนอาจมีปัญหาไฟฟ้ารั่วได้ (ทั้งนี้อาจมีอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ลืมถอดก็ได้นะครับ อาจต้องตรวจสอบว่าครบจริงทุกอุปกรณ์แล้ว)
9. ตรวจสอบการทำงานของ Breaker กันไฟฟ้าดูด
ทั้งนี้ Breaker กันดูดจะมีปุ่มให้กดทดสอบการทำงานของระบบกันไฟฟ้ารั่ว โดยเมื่อกดที่ปุ่มทดสอบแล้ว breaker จะตัดไฟทันที ซึ่งหมายความว่าใช้งานได้ดี
10. ตรวจสอบการต่อสายที่ Ground Rod
กรณีโครงการมีการทำช่อง service ของ ground rod ไว้ ให้เปิดดูว่าสายไฟที่ต่อกับ ground rod ยังติดอยู่ ทั้งนี้แนะนำว่าอย่าจับสายไฟ และ ground rod เนื่องจากหากมีกระแสไฟฟ้ารั่วมาที่สายเมน Ground ของบ้าน อาจทำอันตรายได้ครับ
*หมายเหตุ งานระบบไฟฟ้าในข้อ 8 -10 ควรให้ผู้เชี่ยวชาญในงานไฟฟ้า เช่น วิศวกรไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบให้ครับ เพื่อความปลอดภัย
ถ้าสนใจเนื้อหาตัวเต็ม ก็สามารถไปอ่าน 10 จุดต้องตรวจ ก่อนหมดประกันบ้าน 1 ปี
มีข้อสงสัย ถามได้นะครับ จะมาตอบให้ครับ