อย่างที่เคยมีคนกล่าวไปในหลายกระทู้ว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นพัฒนาไปได้มากกว่าสยามแม้เปิดประเทศพร้อมกันคือการศึกษา ในช่วงก่อนเปิดประเทศนั้นญี่ปุ่นมีจำนวนผู้รู้หนังสือจำนวนมากแล้ว (ไม่แน่ใจว่ามากเป็นส่วนใหญ่ของประชากรหรือไม่ แต่น่าจะมากกว่าสยามในช่วงเดียวกัน) การมีผู้มีการศึกษาจำนวนมากทำให้สามารถส่งนักเรียนไปศึกษาต่อต่างประเทศได้จำนวนมากกว่าสยาม การพัฒนาด้านต่างๆจึงเร็วกว่า
เช่นนี้เลยอยากทราบครับว่า แล้วประมาณช่วงใดที่อัตราผู้รู้หนังสือของสยาม/ไทยมีจำนวนมากเป็นส่วนใหญ่ของประชากรครับ อย่างที่ จขกท. เคยกล่าวไปในกระทู้เรื่องไทย-ญี่ปุ่นว่าการศึกษาเพื่อให้รู้หนังสืออ่านออกเขียนได้ของสยามเริ่มในช่วงรัชกาลที่ห้า ที่ระบบสำนักงาน Office หรือระบบราชการสมัยใหม่เข้ามาในสยาม ทำให้ต้องการผู้รู้หนังสือจำนวนมาก เคยอ่านมาว่าช่วงหนึ่งถึงขนาดต้องมีการประมูลเงินเดือนกันเลยทีเดียว ซึ่งผู้รู้หนังสือช่วงแรกก็มักจะเป็นชนชั้นขุนนางและเจ้านาย และพระภิกษุสามเณร เนื่องจากสมัยก่อนการเรียนหนังสือมักจะจำกัดในวัดและในวัง ต่อมาเริ่มมีการตั้งโรงเรียนทั้งจากการจัดการศึกษาของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) โดยให้วัดเป็นผู้ดูแล และโรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมิชชันนารี ทำให้เริ่มมีผู้รู้หนังสือมากขึ้นในช่วงนั้น จนมีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับแรกในรัชกาลที่หก ทำให้การศึกษาเริ่มขยายมากขึ้น รัฐบาลช่วงสมัยคณะราษฎรก็ได้มีการขยายจำนวนโรงเรียนเพิ่มขึ้น ทว่ากว่าการเรียนหนังสือจะเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญก็ใช้เวลานาน ในสมัยก่อนหลายๆบ้านมักอยากให้ลูกหลานอยู่กับบ้านช่วยงานมากกว่า หรืออย่างมากก็ให้พออ่านออกเขียนได้ ถ้าหากท่านใดเคยอ่านประวัติพระครูหรือเจ้าอาวาสหลายๆท่านที่มำงานด้านการศึกษา จะเห็นได้ว่าหลายๆท่านต้องไปตามบ้านเพื่อบอกให้พ่อแม่ส่งลูกหลานมาเรียนที่วัด เช่นนี้แล้ว ประมาณช่วงใดที่อัตราผู้รู้หนังสือของไทยมีจำนวนมากเป็นส่วนใหญ่ของประชากรครับ คหสต. เดาว่าน่าจะช่วงประมาณยุคทศวรรษที่ 2500 - 2520 เลยทีเดียว ถ้าจำไม่ผิดจากสถิติในปี 2005 ไทยมีผู้รู้หนังสืออยู่ราว 92% แล้วเมื่ไหร่และเป็นไปได้หรือไม่ที่ไทยจะมีอัตราผู้รู้หนังสือถึง 100% ของประชากรครับ
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
ประมาณช่วงใดที่อัตราผู้รู้หนังสือของไทยมีจำนวนมากเป็นส่วนใหญ่ของประชากร
เช่นนี้เลยอยากทราบครับว่า แล้วประมาณช่วงใดที่อัตราผู้รู้หนังสือของสยาม/ไทยมีจำนวนมากเป็นส่วนใหญ่ของประชากรครับ อย่างที่ จขกท. เคยกล่าวไปในกระทู้เรื่องไทย-ญี่ปุ่นว่าการศึกษาเพื่อให้รู้หนังสืออ่านออกเขียนได้ของสยามเริ่มในช่วงรัชกาลที่ห้า ที่ระบบสำนักงาน Office หรือระบบราชการสมัยใหม่เข้ามาในสยาม ทำให้ต้องการผู้รู้หนังสือจำนวนมาก เคยอ่านมาว่าช่วงหนึ่งถึงขนาดต้องมีการประมูลเงินเดือนกันเลยทีเดียว ซึ่งผู้รู้หนังสือช่วงแรกก็มักจะเป็นชนชั้นขุนนางและเจ้านาย และพระภิกษุสามเณร เนื่องจากสมัยก่อนการเรียนหนังสือมักจะจำกัดในวัดและในวัง ต่อมาเริ่มมีการตั้งโรงเรียนทั้งจากการจัดการศึกษาของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) โดยให้วัดเป็นผู้ดูแล และโรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมิชชันนารี ทำให้เริ่มมีผู้รู้หนังสือมากขึ้นในช่วงนั้น จนมีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับแรกในรัชกาลที่หก ทำให้การศึกษาเริ่มขยายมากขึ้น รัฐบาลช่วงสมัยคณะราษฎรก็ได้มีการขยายจำนวนโรงเรียนเพิ่มขึ้น ทว่ากว่าการเรียนหนังสือจะเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญก็ใช้เวลานาน ในสมัยก่อนหลายๆบ้านมักอยากให้ลูกหลานอยู่กับบ้านช่วยงานมากกว่า หรืออย่างมากก็ให้พออ่านออกเขียนได้ ถ้าหากท่านใดเคยอ่านประวัติพระครูหรือเจ้าอาวาสหลายๆท่านที่มำงานด้านการศึกษา จะเห็นได้ว่าหลายๆท่านต้องไปตามบ้านเพื่อบอกให้พ่อแม่ส่งลูกหลานมาเรียนที่วัด เช่นนี้แล้ว ประมาณช่วงใดที่อัตราผู้รู้หนังสือของไทยมีจำนวนมากเป็นส่วนใหญ่ของประชากรครับ คหสต. เดาว่าน่าจะช่วงประมาณยุคทศวรรษที่ 2500 - 2520 เลยทีเดียว ถ้าจำไม่ผิดจากสถิติในปี 2005 ไทยมีผู้รู้หนังสืออยู่ราว 92% แล้วเมื่ไหร่และเป็นไปได้หรือไม่ที่ไทยจะมีอัตราผู้รู้หนังสือถึง 100% ของประชากรครับ
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ