.
.
ขนาด 1,341 แรงม้า (1 เมกกะวัตต์)
เครื่องยนต์ Koenigsegg One1 supercar
.
.
รถยนต์ที่วางขายตามท้องตลาดมักจะบอกว่า
เครื่องยนต์รถยนต์รุ่นนี้มี กี่แรงม้า
หรือสันนิษฐานว่า รถยนต์รุ่นนี้จะผลิตกำลัง
ได้ประมาณกี่แรงม้า ตามคำโฆษณา
ในทางภาษาศาสตร์ก็สมเหตุสมผลดี
อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงแล้ว ยังไม่ถูกต้อง
ม้าตัวหนึ่งสามารถผลิตแรงม้าได้เท่าไร
และคำนี้มีที่มาอย่างไร
ค่าผลผลิตสูงสุดของม้านั้นจริง ๆ แล้ว
ใกล้เคียงกับ 15 แรงม้า (ในการทำงานจริง)
จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ระบุว่า
ชื่อที่เหมาะสมกว่าสำหรับหน่วยนี้คือ
แรงคน
เพราะคนที่มีสุขภาพดีโดยเฉลี่ยแล้ว
สามารถผลิตแรงม้าได้มากกว่า 1 แรงม้า
Energy Education University of Calgary
(คนทั่วไปจะยกของหนักได้ไม่เกิน 1/2 นน. ตนเอง
มากกว่านั้นต้องฝึกฝน แต่ก็ทำได้ไม่นาน
ถัาเท่ากับ/เกินกว่า นน.ตนเอง ก็แค่ชั่วครู่
คนจึงคิดเครื่องทุ่นแรง ล้อ รอก คาน เกียร์
มาช่วยในการทำงานยก ลาก แบก ขน ของหนัก)
.
.
.
การทำงานขนาด 1 แรงม้าของม้า
.
.
ในช่วงปลายทศวรรษ 1700
คำนี้ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในการโฆษณา
โดย
James Watt วิศวกรชาวสก็อต
ที่ผลิตเครื่องยนต์ไอน้ำที่โด่งดัง
และมีประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ
ในการโฆษณาเครื่องยนต์ใช้ไอน้ำที่ผลิตขาย
จะแสดงความเหนือชั้นกว่าของเครื่องยนต์
เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพกำลังของ ม้า
ที่ชาวบ้านยุคนั้นต่างคุ้นเคยกันดี
James Watt กำหนดค่าแรงม้านี้
ขึ้นมาจากการสังเกตส่วนตัว
แทนวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างรัดกุม
ม้า จะสามารถหมุนล้อโรงสีได้ 144 ครั้ง/ชั่วโมง
โดยการใช้ตัวเลขประมาณการนี้
ในการประเมินเบื้องต้นว่า ม้าสามารถ
ผลักน้ำหนัก 32,572 ปอนด์ 1 ฟุต/นาที
หรือประมาณ 14,774.41 กิโลกรัม 1 เมตร/นาที
เพื่อความสะดวกจึงปัดเศษทิ้งให้ได้
33,000 ปอนด์/นาที (14,968.55 กิโลกรัม)
และแล้วหน่วยวัด แรงม้า
จึงถือกำเนิดขึ้นมาตาม
Britannica
James Watt ไม่ได้สนใจความถูกต้องของการวัดครั้งนี้มากนัก
เพียงแต่เน้นย้ำถึง การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
และประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นตามมา
ถ้าผู้ซื้อเครื่องจักรไอน้ำของ James Watt ไปแล้ว
จะใช้งานได้คุ้มค่า เพราะเครื่องจักรทรงพลัง
และน่าเชื่อถือมากกว่า ม้า (ทนถึก ไม่อู้ ไม่เหนื่อย)
แต่มีคนเพียงไม่กี่คนที่ตั้งคำถาม/สนใจเกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริง หลักการคำนวณ และ
ที่มาของคำว่า
แรงม้า กับ James Watt
จากผลงานในอดีตของ James Watt
ท่านคือ อัจฉริยะด้านวิศวกรรมขั้นเทพ
และเป็นที่เคารพนับถือของเพื่อนร่วมงาน
หน่วยวัด วัตต์ Watt จึงตั้งชื่อให้เกียรติท่าน
ในปี พ.ศ. 2425 (1882) ยุคสมัยรัชกาลที่ 5
.
.
.
James Watt
.
.
จริงอยู่ แม้ว่าทุกวันนี้จะทราบว่า
ม้าสามารถออกแรงได้มากกว่า 1 แรงม้า
แต่ทำไมยังใช้คำว่า แรงม้า
เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด/การโฆษณา
Dr.Eric Lacey อาจารย์อาวุโสด้านภาษาอังกฤษ
University of Winchester ในสหราชอาณาจักร
ตอบทางอีเมล ให้กับ Live Science ว่า
" เพราะภาษามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
มีคำหลายคำที่เหินห่างจากต้นกำเนิดของคำ
มากเกินกว่า ที่ผู้คนจะคิดได้
บางครั้ง คำที่ดูแล้วไม่น่าจะถูกต้อง
แต่เพราะเดิมมีความหมายที่เก่าแก่กว่า เช่น
บางอย่างก็ไม่ได้ยาว/สูงแต่อย่างใด
เช่น คำว่า highway ทางหลวง
เพราะคำว่า high มาจากภาษาเก่าคือ main
ดังนั้นคำว่า highway = main road ทางหลัก
เช่นเดียวกับอีกคำว่า high seas ทะเลหลวง
แต่ในอีกความหมายคือ main seas ทะเลหลัก
ความสับสนของคำประเภทนี้
ก่อให้มีปัญหากับคำหลาย ๆ คำในการวัดผล
เพราะยังมีคำอีกหลายคำมากมาย
ที่ฟังแล้วไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป
เช่นเดียวกับคำว่า
แรงม้า
แม้ว่าคำนี้อยู่บนพื้นฐานของการประมาณค่า
ที่อาจแปรผันหรือเข้าใจผิดได้
(ถ้าเวลา สถานะการณ์ อุปกรณ์ เปลี่ยนไป)
เช่น หน่วยวัด
เอเคอร์
เป็นหน่วยวัดขนาดของพื้นที่ดิน
ที่คนคนหนึ่งสามารถไถนา
ด้วยวัวเทียมแอกตัวเดียวภายในหนึ่งวัน
ประมาณ 4,426 ตร.เมตร(47,641 ตร.ฟุต)
ทั้งนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า
คนอาจจะไถนาได้มากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้
ขึ้นอยู่กับชนิดของคันไถ รูปทรงของที่ดิน
สภาพพื้นดิน และการทำงานของเจ้านาย
ความหมายของคำ อาจเสียหายไป/ถูกลืมไป
เมื่อกาลเวลาผ่านไป แต่มีสาเหตุอะไรบ้าง
ที่ทำให้คำคำนั้นยืนหยัดอยู่ได้ตลอดกาล
เหตุใดคำบางคำ
จึงกลายเป็นคำในอดีตไปแล้วไม่ค่อยมีคนใช้
ในขณะที่คำอื่น ๆ เช่น แรงม้า เอเคอร์
กลายคำเป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป
นี่คือ ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ของภาษาศาสตร์
หากคนเราสามารถทำนายได้อย่างแม่นยำว่า
คำใดจะฝังแน่นในจิตใจของผู้คน
คนเราจะได้รับโชคลาภจากอุตสาหกรรมโฆษณา
เรื่องจริงสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ในที่นี้คือ
คำที่ผู้คนใช้นั้น ถูกชี้นำโดยสองสิ่ง
ชาวบ้าน(ปัจเจกชน) กับวิธีการที่โต้ตอบ
(มีปฏิกริยา Action=Reaction)
ชาวบ้านอาจหลีกเลี่ยงคำหยาบคาย/คำสองแง่สามง่าม
เพราะคำแบบนี้อาจจะสร้างปัญหาตามมา
หรือมีความหมายแฝงในเชิงลบ/ถูกด่าได้
โดยอาจจะเลือกคำคำนี้ไปเลย
เพราะชอบความหมายใหม่/ลักษณะที่ออกเสียง
ประการที่สอง ชาวบ้านอาจเลือกคำบางคำ
เพราะมาจากภาพรวมของการโต้ตอบที่หลากหลาย เช่น
อาจจะมีส่วนร่วมในกระแสสังคม (เช่น ต๊าซ ชะนี)
หรือ ตอบสนองต่อเหตุการณ์ทางวัฒนธรรม (เช่น ลิซ่า มังงะ โคเรีย)
หรือ พยายามเลียนแบบคำศัพท์ของใครบางคน
ที่พวกเขาปรารถนาจะเป็น/ทำตามผู้นำจิตวิญญาณ (เช่น ชิตังเม)
ในระดับกลุ่ม ผู้คนอาจใช้คำคำนั้น
เพื่อบ่งบอกถึงอัตลักษณ์และค่านิยม
เพื่อแสดงว่าในปัจจุบันเป็นพวกเดียวกัน (เช่น อำมาตย์/ไพร่)
หรือเพื่อเยาะเย้ยบางสิ่งบางอย่าง (เช่น สลิ่ม/สามกลีบ)
จากเบื้องหลังที่มาของคำเหล่านี้
จะเห็นได้ว่าคำ [ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม]
เช่น แรงม้า รอดชีวิตมาได้อย่างไร/ใช้งานจนทุกวันนี้ได้อย่างไร
ถ้าม้าไม่ได้เป็นแหล่งพลังงานอุตสาหกรรม
ที่ชัดเจนที่สุดในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
ก็จะกลายเป็นคำที่น่าสงสัยว่า
คำนี้เป็นที่นิยมได้อย่างไร
แต่ความจริงแล้ว มีคำบางคำสามารถสื่อถึง
ความซ้ำซ้อนที่ต้องการของเก่าและใหม่พร้อม ๆ กัน
หมายความว่า คำนี้มันจบสมบูรณ์ในตัว
อยู่ที่แนวหน้าของจิตใจของทุกคน
(ไม่ต้องคิด/มโนทิพย์ให้มาก)
ทาง Livescience จึงถาม Eric Lacey ต่อว่า
จะสนับสนุนการเปลี่ยนคำว่า
แรงม้า เป็น แรงคน หรือไม่
Eric Lacey ตอบเลยว่า
" ในฐานะนักภาษาศาสตร์
ผมจะพอใจกับคำนี้มาก
มันจะเป็นตัวอย่างที่ดีของคำ
ที่บอกผู้คนจริง ๆ เลยว่า
คำนั้นทำหน้าที่อะไร
และมีความหมายมากกว่าในฐานะหน่วยวัด "
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3G5Uvc0
https://bit.ly/3F3Zd8H
.
.
รถยนต์รุ่นใหม่จะมีค่าหน่วยวัดเครื่องยนต์สองแบบ
แรงม้า กับ แรงบิด (horsepower and torque)
ในอุสา(USA) จะแสดงหน่วยวัดเป็นแรงม้า
ที่ผ่านการรับรอง SAE และหน่วยปอนด์-ฟุต
แต่ในยุโรป เครื่องยนต์จะแสดงเป็นหน่วยวัตต์และนิวตัน
ความแตกต่างหลักระหว่างหน่วยทั้งสองชุดนี้ก็คือ
ในขณะที่แรงม้า คือ การวัดกำลัง
หมายถึง ปริมาณการถ่ายเทพลังงานในช่วงเวลาหนึ่ง
นิวตัน-เมตร คือ การวัดแรงบิด
การวัดแรงหมุนซึ่งไม่มีหน่วยของเวลา
ในหน่วย SI 1 วัตต์ คือ 1 จูลต่อ 1 วินาที
ความแตกต่างอีกประการระหว่างแรงม้าและแรงบิด
แรงม้า คือ พลังงานที่ส่งออกไปตามเวลา
แต่แรงบิดจะเกิดขึ้นทันที ในบริบทของรถยนต์
ถ้าอธิบายแบบคร่าว ๆ รถที่มีแรงม้ามากจะมีความเร็วสูงสุด
ที่สูงกว่ารถคันเดียวกันที่มีแรงม้าน้อยกว่า
ในทำนองเดียวกัน รถที่มีแรงบิดมาก
จะสามารถเร่งความเร็วได้เร็วกว่า
รถคันเดียวกันที่มีแรงบิดน้อยกว่า
เพราะแรงบิดที่ส่งออกไปในทันทีจะสูงขึ้น
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
คำเกี่ยวกับพลังงานของสยาม ไม่มีความชัดเจน
เช่น พลังช้าง ชั่วควายลาก ชั่ววัวไถ
สยามไม่มีการวัดแบบ James Watt
เลยไม่อาจระบุได้ชัดว่า หนึ่งแรงช้าง หนึ่งแรงวัว หนึ่งแรงควาย
มีความสามารถในระดับใดที่เป็นค่ามาตรฐาน
ที่วัดประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล ออกมา
สยามจะมีตำนานโคบ้าพลัง หนึ่งแรงโค
โคนันทวิศาน ที่ลากเกวียนได้นับพันเล่ม
โคบ้ายอ/บ้าพลัง ต้องพูดดีดี พูดยกยอ จึงจะลากเกวียนให้
การใช้งานสัตว์ของสยาม จึงมีลักษณะเด่น คือ
Put the right animal to the right job.
เช่น วัว ลากเกวียนขนของได้ดี ทนร้อน ทนถึก
แต่แพ้ฝน กลัวเสือ ถูกลักขโมยได้ง่าย
ใช้ไถนาได้ แต่ยังแพ้ควาย
ควายทนถึก ไถนาเก่ง ชอบที่เป็นตมเป็นเทือก
ชอบเกลือกกลิ้งในน้ำโคลนมากกว่าวัว
ตัวใหญ่ ไม่ค่อยดุ ไม่ค่อยสู้กันเอง
ม้าบรรทุกของไม่ได้มาก แต่วิ่งเร็ว
ใช้ในการรบกับส่งข่าวสารเร็วในอดีต
เช่น โรมัน จึน อาหรับ มีระบบม้าเร็วประจำถิ่น
สาส์นจากราชันย์ ไปถึงที่ไหน คนรับช่วงต้องส่งต่อ
ไม่มีใครกล้าขัดขวาง หรือทำให้เสียเวลา
ส่วนช้างใช้ลาก ดัน ขอนไม้ ซุง ของหนัก
หนักเป็นร้อย ๆ กิโลกรัมก็สบายมาก
แต่บรรทุกของหนักบนหลังช้างไม่ได้มาก
เกินกว่า 200 กิโลกรัมก็ซวนเซเดินไม่ไหว
.
.
ส่วนคำไทยโบราณ แม้ว่า เปลี่ยนเครื่องจักรแล้ว
แต่ยังเรียกจนทุกวันนี้ น่าจะคำว่า
รถไฟ
แต่เดิมต้องใช้ไม้ฟืนต้มน้ำร้อนในหม้อน้ำ
ผลิตไอน้ำไปดันลูกสูบเครื่องยนต์ให้วิ่งได้
แม้ว่าทุกวันนี้จะใช้เครื่องยนต์ดีเซล ไฟฟ้า
แต่ก็ยังเรียกกันว่า รถไฟ
ต่อมาก็มี เรือไฟ หลักการทำงานแบบรถไฟ
เรือกลไฟ ขนาดเครื่องจักรใหญ่กว่ามาก
ทำงานได้ทนถึกกว่า เล่นได้ไกลกว่าเรือไฟ
แม้ว่าทุกวันนี้ใช้เครื่องยนต์เรือหมดแล้ว
ถ้าคำพูด/แต่บอกยี่ห้ออื่น
แฟ็บ คือ ผงซักฟอก
มาม่า คือ บะหมี่สำเร็จรูป
ซีร็อก ให้ไปถ่ายเอกสาร
หัวหมู ลูกหมู คือ เครื่องเจียร์สุดยอดอันตราย
ไม่เหมาะกับมืออาภัพ มือแหก นิ้วขาดมามากแล้ว
.
.
.
ล้อม เพ็งแก้ว
.
.
ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว
คนอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
จบคณิตศาสตร์ แต่ต้องสอนภาษาไทย
โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีจนถึงมหาวิทยาลัย
เลยทั้งศึกษาทั้งสอน สอนจนเป็นปราชญ์ชาวบ้าน
ปราชญ์เมืองเพชรบุรี มีความชำนาญด้านภาษา
วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาไทย
ท่านฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และท่านชนะคดี
จนเป็นที่ฮือฮา ซูฮก ในความเก่งของท่าน
เลยพูดกันว่า อย่าไปยุ่งกับแก ขนาดผู้ว่ายังแพ้แก
ท่านระบุว่า ภาษามีชีวิต คำไหนคนนิยมใช้มาก
คำพังเพย ภาษิตต่าง ๆ ก็เช่นกัน
แม้ว่าจะผิดจากเดิม ก็ถือว่าไม่ผิดก็แล้วกัน
ภาษามีเกิด มีแก่ มีตาย ตั้งขึ้น หายไป
จึงไม่ต้องกังวลภาษาวัยรุ่น ภาษาแสลง
เพราะจริง ๆ มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
และคำหลายคำก็หายไปจากความทรงจำแล้ว
คำศัพท์วัยรุ่นไทย เริ่มมีบันทึกแล้วใน
พจนานุกรมคำใหม่ราชบัณฑิตยสถาน 3 เล่ม
.
.
ภาษาไทยมี 4 บรรทัด
สระอุ อู อฺ
สระ พยัญชนะ
สระ อั อิ อี อึ อื อำ อํ
วรรณยุกต์
Computer ประมวลผลภาษาไทย
จึงช้ากว่าภาษาอังกฤษ
ภาษาพูด/เขียนมี 4 ชนชั้น
1 กษัตริย์/ราชวงศ์ พระสังฆราช
2 ราชการ/สำนักงาน คนมีอำนาจ/เหนือกว่า
3 ชาวบ้าน/คนในวงการ/คนร่วมงาน/เพื่อนสนิท
4 คนที่ด้อยกว่า/เด็กกว่า
ชนชั้นจะเป็นผู้ชี้นำ/บังคับ
ให้ใช้สรรพนาม/ถ้อยคำในเอกสาร
สรรพนาม/โทนเสียงเวลาพูดก็ใช้ต่างกัน
ปัญหา คือ คนต่างชนชั้นที่บ้าอำนาจ
มักออกอาการเจ้ากี้เจ้าการ
ไม่พอใจคนพูดคนเขียนผิดแผกชนชั้นของตน
มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กมลสันดาน
แรงม้า คำในอดีตที่ใช้จนถึงทุกวันนี้
.
.
ขนาด 1,341 แรงม้า (1 เมกกะวัตต์)
เครื่องยนต์ Koenigsegg One1 supercar
.
รถยนต์ที่วางขายตามท้องตลาดมักจะบอกว่า
เครื่องยนต์รถยนต์รุ่นนี้มี กี่แรงม้า
หรือสันนิษฐานว่า รถยนต์รุ่นนี้จะผลิตกำลัง
ได้ประมาณกี่แรงม้า ตามคำโฆษณา
ในทางภาษาศาสตร์ก็สมเหตุสมผลดี
อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงแล้ว ยังไม่ถูกต้อง
ม้าตัวหนึ่งสามารถผลิตแรงม้าได้เท่าไร
และคำนี้มีที่มาอย่างไร
ค่าผลผลิตสูงสุดของม้านั้นจริง ๆ แล้ว
ใกล้เคียงกับ 15 แรงม้า (ในการทำงานจริง)
จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ระบุว่า
ชื่อที่เหมาะสมกว่าสำหรับหน่วยนี้คือ แรงคน
เพราะคนที่มีสุขภาพดีโดยเฉลี่ยแล้ว
สามารถผลิตแรงม้าได้มากกว่า 1 แรงม้า
Energy Education University of Calgary
(คนทั่วไปจะยกของหนักได้ไม่เกิน 1/2 นน. ตนเอง
มากกว่านั้นต้องฝึกฝน แต่ก็ทำได้ไม่นาน
ถัาเท่ากับ/เกินกว่า นน.ตนเอง ก็แค่ชั่วครู่
คนจึงคิดเครื่องทุ่นแรง ล้อ รอก คาน เกียร์
มาช่วยในการทำงานยก ลาก แบก ขน ของหนัก)
.
.
การทำงานขนาด 1 แรงม้าของม้า
.
ในช่วงปลายทศวรรษ 1700
คำนี้ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในการโฆษณา
โดย James Watt วิศวกรชาวสก็อต
ที่ผลิตเครื่องยนต์ไอน้ำที่โด่งดัง
และมีประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ
ในการโฆษณาเครื่องยนต์ใช้ไอน้ำที่ผลิตขาย
จะแสดงความเหนือชั้นกว่าของเครื่องยนต์
เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพกำลังของ ม้า
ที่ชาวบ้านยุคนั้นต่างคุ้นเคยกันดี
James Watt กำหนดค่าแรงม้านี้
ขึ้นมาจากการสังเกตส่วนตัว
แทนวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างรัดกุม
ม้า จะสามารถหมุนล้อโรงสีได้ 144 ครั้ง/ชั่วโมง
โดยการใช้ตัวเลขประมาณการนี้
ในการประเมินเบื้องต้นว่า ม้าสามารถ
ผลักน้ำหนัก 32,572 ปอนด์ 1 ฟุต/นาที
หรือประมาณ 14,774.41 กิโลกรัม 1 เมตร/นาที
เพื่อความสะดวกจึงปัดเศษทิ้งให้ได้
33,000 ปอนด์/นาที (14,968.55 กิโลกรัม)
และแล้วหน่วยวัด แรงม้า
จึงถือกำเนิดขึ้นมาตาม Britannica
James Watt ไม่ได้สนใจความถูกต้องของการวัดครั้งนี้มากนัก
เพียงแต่เน้นย้ำถึง การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
และประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นตามมา
ถ้าผู้ซื้อเครื่องจักรไอน้ำของ James Watt ไปแล้ว
จะใช้งานได้คุ้มค่า เพราะเครื่องจักรทรงพลัง
และน่าเชื่อถือมากกว่า ม้า (ทนถึก ไม่อู้ ไม่เหนื่อย)
แต่มีคนเพียงไม่กี่คนที่ตั้งคำถาม/สนใจเกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริง หลักการคำนวณ และ
ที่มาของคำว่า แรงม้า กับ James Watt
จากผลงานในอดีตของ James Watt
ท่านคือ อัจฉริยะด้านวิศวกรรมขั้นเทพ
และเป็นที่เคารพนับถือของเพื่อนร่วมงาน
หน่วยวัด วัตต์ Watt จึงตั้งชื่อให้เกียรติท่าน
ในปี พ.ศ. 2425 (1882) ยุคสมัยรัชกาลที่ 5
.
.
James Watt
.
จริงอยู่ แม้ว่าทุกวันนี้จะทราบว่า
ม้าสามารถออกแรงได้มากกว่า 1 แรงม้า
แต่ทำไมยังใช้คำว่า แรงม้า
เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด/การโฆษณา
Dr.Eric Lacey อาจารย์อาวุโสด้านภาษาอังกฤษ
University of Winchester ในสหราชอาณาจักร
ตอบทางอีเมล ให้กับ Live Science ว่า
" เพราะภาษามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
มีคำหลายคำที่เหินห่างจากต้นกำเนิดของคำ
มากเกินกว่า ที่ผู้คนจะคิดได้
บางครั้ง คำที่ดูแล้วไม่น่าจะถูกต้อง
แต่เพราะเดิมมีความหมายที่เก่าแก่กว่า เช่น
บางอย่างก็ไม่ได้ยาว/สูงแต่อย่างใด
เช่น คำว่า highway ทางหลวง
เพราะคำว่า high มาจากภาษาเก่าคือ main
ดังนั้นคำว่า highway = main road ทางหลัก
เช่นเดียวกับอีกคำว่า high seas ทะเลหลวง
แต่ในอีกความหมายคือ main seas ทะเลหลัก
ความสับสนของคำประเภทนี้
ก่อให้มีปัญหากับคำหลาย ๆ คำในการวัดผล
เพราะยังมีคำอีกหลายคำมากมาย
ที่ฟังแล้วไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป
เช่นเดียวกับคำว่า แรงม้า
แม้ว่าคำนี้อยู่บนพื้นฐานของการประมาณค่า
ที่อาจแปรผันหรือเข้าใจผิดได้
(ถ้าเวลา สถานะการณ์ อุปกรณ์ เปลี่ยนไป)
เช่น หน่วยวัด เอเคอร์
เป็นหน่วยวัดขนาดของพื้นที่ดิน
ที่คนคนหนึ่งสามารถไถนา
ด้วยวัวเทียมแอกตัวเดียวภายในหนึ่งวัน
ประมาณ 4,426 ตร.เมตร(47,641 ตร.ฟุต)
ทั้งนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า
คนอาจจะไถนาได้มากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้
ขึ้นอยู่กับชนิดของคันไถ รูปทรงของที่ดิน
สภาพพื้นดิน และการทำงานของเจ้านาย
ความหมายของคำ อาจเสียหายไป/ถูกลืมไป
เมื่อกาลเวลาผ่านไป แต่มีสาเหตุอะไรบ้าง
ที่ทำให้คำคำนั้นยืนหยัดอยู่ได้ตลอดกาล
เหตุใดคำบางคำ
จึงกลายเป็นคำในอดีตไปแล้วไม่ค่อยมีคนใช้
ในขณะที่คำอื่น ๆ เช่น แรงม้า เอเคอร์
กลายคำเป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป
นี่คือ ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ของภาษาศาสตร์
หากคนเราสามารถทำนายได้อย่างแม่นยำว่า
คำใดจะฝังแน่นในจิตใจของผู้คน
คนเราจะได้รับโชคลาภจากอุตสาหกรรมโฆษณา
เรื่องจริงสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ในที่นี้คือ
คำที่ผู้คนใช้นั้น ถูกชี้นำโดยสองสิ่ง
ชาวบ้าน(ปัจเจกชน) กับวิธีการที่โต้ตอบ
(มีปฏิกริยา Action=Reaction)
ชาวบ้านอาจหลีกเลี่ยงคำหยาบคาย/คำสองแง่สามง่าม
เพราะคำแบบนี้อาจจะสร้างปัญหาตามมา
หรือมีความหมายแฝงในเชิงลบ/ถูกด่าได้
โดยอาจจะเลือกคำคำนี้ไปเลย
เพราะชอบความหมายใหม่/ลักษณะที่ออกเสียง
ประการที่สอง ชาวบ้านอาจเลือกคำบางคำ
เพราะมาจากภาพรวมของการโต้ตอบที่หลากหลาย เช่น
อาจจะมีส่วนร่วมในกระแสสังคม (เช่น ต๊าซ ชะนี)
หรือ ตอบสนองต่อเหตุการณ์ทางวัฒนธรรม (เช่น ลิซ่า มังงะ โคเรีย)
หรือ พยายามเลียนแบบคำศัพท์ของใครบางคน
ที่พวกเขาปรารถนาจะเป็น/ทำตามผู้นำจิตวิญญาณ (เช่น ชิตังเม)
ในระดับกลุ่ม ผู้คนอาจใช้คำคำนั้น
เพื่อบ่งบอกถึงอัตลักษณ์และค่านิยม
เพื่อแสดงว่าในปัจจุบันเป็นพวกเดียวกัน (เช่น อำมาตย์/ไพร่)
หรือเพื่อเยาะเย้ยบางสิ่งบางอย่าง (เช่น สลิ่ม/สามกลีบ)
จากเบื้องหลังที่มาของคำเหล่านี้
จะเห็นได้ว่าคำ [ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม]
เช่น แรงม้า รอดชีวิตมาได้อย่างไร/ใช้งานจนทุกวันนี้ได้อย่างไร
ถ้าม้าไม่ได้เป็นแหล่งพลังงานอุตสาหกรรม
ที่ชัดเจนที่สุดในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
ก็จะกลายเป็นคำที่น่าสงสัยว่า
คำนี้เป็นที่นิยมได้อย่างไร
แต่ความจริงแล้ว มีคำบางคำสามารถสื่อถึง
ความซ้ำซ้อนที่ต้องการของเก่าและใหม่พร้อม ๆ กัน
หมายความว่า คำนี้มันจบสมบูรณ์ในตัว
อยู่ที่แนวหน้าของจิตใจของทุกคน
(ไม่ต้องคิด/มโนทิพย์ให้มาก)
ทาง Livescience จึงถาม Eric Lacey ต่อว่า
จะสนับสนุนการเปลี่ยนคำว่า
แรงม้า เป็น แรงคน หรือไม่
Eric Lacey ตอบเลยว่า
" ในฐานะนักภาษาศาสตร์
ผมจะพอใจกับคำนี้มาก
มันจะเป็นตัวอย่างที่ดีของคำ
ที่บอกผู้คนจริง ๆ เลยว่า
คำนั้นทำหน้าที่อะไร
และมีความหมายมากกว่าในฐานะหน่วยวัด "
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3G5Uvc0
https://bit.ly/3F3Zd8H
.
.
รถยนต์รุ่นใหม่จะมีค่าหน่วยวัดเครื่องยนต์สองแบบ
แรงม้า กับ แรงบิด (horsepower and torque)
ในอุสา(USA) จะแสดงหน่วยวัดเป็นแรงม้า
ที่ผ่านการรับรอง SAE และหน่วยปอนด์-ฟุต
แต่ในยุโรป เครื่องยนต์จะแสดงเป็นหน่วยวัตต์และนิวตัน
ความแตกต่างหลักระหว่างหน่วยทั้งสองชุดนี้ก็คือ
ในขณะที่แรงม้า คือ การวัดกำลัง
หมายถึง ปริมาณการถ่ายเทพลังงานในช่วงเวลาหนึ่ง
นิวตัน-เมตร คือ การวัดแรงบิด
การวัดแรงหมุนซึ่งไม่มีหน่วยของเวลา
ในหน่วย SI 1 วัตต์ คือ 1 จูลต่อ 1 วินาที
ความแตกต่างอีกประการระหว่างแรงม้าและแรงบิด
แรงม้า คือ พลังงานที่ส่งออกไปตามเวลา
แต่แรงบิดจะเกิดขึ้นทันที ในบริบทของรถยนต์
ถ้าอธิบายแบบคร่าว ๆ รถที่มีแรงม้ามากจะมีความเร็วสูงสุด
ที่สูงกว่ารถคันเดียวกันที่มีแรงม้าน้อยกว่า
ในทำนองเดียวกัน รถที่มีแรงบิดมาก
จะสามารถเร่งความเร็วได้เร็วกว่า
รถคันเดียวกันที่มีแรงบิดน้อยกว่า
เพราะแรงบิดที่ส่งออกไปในทันทีจะสูงขึ้น
.
.
เรื่องเดิม
.
.
ทำไมอเมริกาไม่ใช้ระบบเมตริก
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
คำเกี่ยวกับพลังงานของสยาม ไม่มีความชัดเจน
เช่น พลังช้าง ชั่วควายลาก ชั่ววัวไถ
สยามไม่มีการวัดแบบ James Watt
เลยไม่อาจระบุได้ชัดว่า หนึ่งแรงช้าง หนึ่งแรงวัว หนึ่งแรงควาย
มีความสามารถในระดับใดที่เป็นค่ามาตรฐาน
ที่วัดประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล ออกมา
สยามจะมีตำนานโคบ้าพลัง หนึ่งแรงโค
โคนันทวิศาน ที่ลากเกวียนได้นับพันเล่ม
โคบ้ายอ/บ้าพลัง ต้องพูดดีดี พูดยกยอ จึงจะลากเกวียนให้
การใช้งานสัตว์ของสยาม จึงมีลักษณะเด่น คือ
Put the right animal to the right job.
เช่น วัว ลากเกวียนขนของได้ดี ทนร้อน ทนถึก
แต่แพ้ฝน กลัวเสือ ถูกลักขโมยได้ง่าย
ใช้ไถนาได้ แต่ยังแพ้ควาย
ควายทนถึก ไถนาเก่ง ชอบที่เป็นตมเป็นเทือก
ชอบเกลือกกลิ้งในน้ำโคลนมากกว่าวัว
ตัวใหญ่ ไม่ค่อยดุ ไม่ค่อยสู้กันเอง
ม้าบรรทุกของไม่ได้มาก แต่วิ่งเร็ว
ใช้ในการรบกับส่งข่าวสารเร็วในอดีต
เช่น โรมัน จึน อาหรับ มีระบบม้าเร็วประจำถิ่น
สาส์นจากราชันย์ ไปถึงที่ไหน คนรับช่วงต้องส่งต่อ
ไม่มีใครกล้าขัดขวาง หรือทำให้เสียเวลา
ส่วนช้างใช้ลาก ดัน ขอนไม้ ซุง ของหนัก
หนักเป็นร้อย ๆ กิโลกรัมก็สบายมาก
แต่บรรทุกของหนักบนหลังช้างไม่ได้มาก
เกินกว่า 200 กิโลกรัมก็ซวนเซเดินไม่ไหว
.
.
ส่วนคำไทยโบราณ แม้ว่า เปลี่ยนเครื่องจักรแล้ว
แต่ยังเรียกจนทุกวันนี้ น่าจะคำว่า รถไฟ
แต่เดิมต้องใช้ไม้ฟืนต้มน้ำร้อนในหม้อน้ำ
ผลิตไอน้ำไปดันลูกสูบเครื่องยนต์ให้วิ่งได้
แม้ว่าทุกวันนี้จะใช้เครื่องยนต์ดีเซล ไฟฟ้า
แต่ก็ยังเรียกกันว่า รถไฟ
ต่อมาก็มี เรือไฟ หลักการทำงานแบบรถไฟ
เรือกลไฟ ขนาดเครื่องจักรใหญ่กว่ามาก
ทำงานได้ทนถึกกว่า เล่นได้ไกลกว่าเรือไฟ
แม้ว่าทุกวันนี้ใช้เครื่องยนต์เรือหมดแล้ว
ถ้าคำพูด/แต่บอกยี่ห้ออื่น
แฟ็บ คือ ผงซักฟอก
มาม่า คือ บะหมี่สำเร็จรูป
ซีร็อก ให้ไปถ่ายเอกสาร
หัวหมู ลูกหมู คือ เครื่องเจียร์สุดยอดอันตราย
ไม่เหมาะกับมืออาภัพ มือแหก นิ้วขาดมามากแล้ว
.
.
ล้อม เพ็งแก้ว
.
ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว
คนอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
จบคณิตศาสตร์ แต่ต้องสอนภาษาไทย
โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีจนถึงมหาวิทยาลัย
เลยทั้งศึกษาทั้งสอน สอนจนเป็นปราชญ์ชาวบ้าน
ปราชญ์เมืองเพชรบุรี มีความชำนาญด้านภาษา
วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาไทย
ท่านฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และท่านชนะคดี
จนเป็นที่ฮือฮา ซูฮก ในความเก่งของท่าน
เลยพูดกันว่า อย่าไปยุ่งกับแก ขนาดผู้ว่ายังแพ้แก
ท่านระบุว่า ภาษามีชีวิต คำไหนคนนิยมใช้มาก
คำพังเพย ภาษิตต่าง ๆ ก็เช่นกัน
แม้ว่าจะผิดจากเดิม ก็ถือว่าไม่ผิดก็แล้วกัน
ภาษามีเกิด มีแก่ มีตาย ตั้งขึ้น หายไป
จึงไม่ต้องกังวลภาษาวัยรุ่น ภาษาแสลง
เพราะจริง ๆ มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
และคำหลายคำก็หายไปจากความทรงจำแล้ว
คำศัพท์วัยรุ่นไทย เริ่มมีบันทึกแล้วใน
พจนานุกรมคำใหม่ราชบัณฑิตยสถาน 3 เล่ม
.
.
ภาษาไทยมี 4 บรรทัด
สระอุ อู อฺ
สระ พยัญชนะ
สระ อั อิ อี อึ อื อำ อํ
วรรณยุกต์
Computer ประมวลผลภาษาไทย
จึงช้ากว่าภาษาอังกฤษ
ภาษาพูด/เขียนมี 4 ชนชั้น
1 กษัตริย์/ราชวงศ์ พระสังฆราช
2 ราชการ/สำนักงาน คนมีอำนาจ/เหนือกว่า
3 ชาวบ้าน/คนในวงการ/คนร่วมงาน/เพื่อนสนิท
4 คนที่ด้อยกว่า/เด็กกว่า
ชนชั้นจะเป็นผู้ชี้นำ/บังคับ
ให้ใช้สรรพนาม/ถ้อยคำในเอกสาร
สรรพนาม/โทนเสียงเวลาพูดก็ใช้ต่างกัน
ปัญหา คือ คนต่างชนชั้นที่บ้าอำนาจ
มักออกอาการเจ้ากี้เจ้าการ
ไม่พอใจคนพูดคนเขียนผิดแผกชนชั้นของตน
มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กมลสันดาน