ทำไมอเมริกาไม่ใช้ระบบเมตริก

.

.
Uncle Sam versus the metric system
.
.
ในขณะที่ประเทศจำนวนมาก
ใช้ระบบเมตริกในการชั่งตวงวัด
ระบบหน่วยวัดที่มีจุดทศนิยม
มีการใช้งานกันในระบบสากล

แต่ในสหรัฐอเมริกายังคงใช้ระบบชั่งตวงวัดเป็น
แกลลอน ไพน์ ออนซ์ ปอนด์ นิ้ว ฟุต หลา ไมล์ เอเคอร์
แม้ว่ามีความพยายามตั้งหลายครั้งแล้ว
ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบชั่งตวงวัดดังกล่าว
แต่ชาวอเมริกันต่างปฏิเสธเรื่องแบบนี้

ในปี 1789
Thomas Jefferson พยายามจะเปลี่ยนไปใช้ระบบเมตริก
แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดาชาวบ้าน/นักวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น จึงยุติไป

ในปี 1906
Alexander Graham Bell ผู้คิดค้น/สร้างโทรศัพท์
ได้บอกกับรัฐสภา Congress ว่า
" มีคนเพียงไม่กี่คนที่รู้ดีว่า
เป็นเรื่องสิ้นเปลืองแรงงานและเสียเวลาอย่างมาก
กับระบบการชั่งตวงวัดของชาติเรา ”

คำพูดที่หนักแน่น แต่ไร้การเปลี่ยนแปลง

ในปี 1968
Lyndon B. Johnson
รัฐสภาได้ตั้งคณะกรรมมาธิการ
เพื่อศึกษาผลดีผลเสียของระบบชั่งตวงวัด
ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกับระบบเมตริก
มีการศึกษาเป็นเวลานานถึง 3 ปี
และมีข้อสรุปเสนอแนะให้เปลี่ยนแปลง
และให้เวลาชาวบ้านปรับตัว 10 ปี
ก่อนจะใช้งานทั่วประเทศ

แต่ยังไม่ทันจะออกกฎหมาย
บรรดานักธุรกิจและชาวบ้าน
ต่างต่อต้านแนวคิดรัฐบาลและโลกาภิวัฒน์
คนส่วนใหญ่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้คือ
การยอมจำนนต่ออำนาจรัฐ
ขัดต่อหลักการเสรีภาพ/ประเพณีนิยม
ผลคือ ฝ่ายคัดค้านชนะขาดลอยในเรื่องนี้
Gallup poll ระบุว่ามีชาวอเมริกันถึง 45%
ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบเมตริก

จนถึงทุกวันนี้ระบบเมตริกมีการใช้อย่างที่ควรจะเป็น
ประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงดูเหมือนว่าเล็กน้อย
แต่ต้นทุนการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงกับมหาศาล

โรงงานต้องทำการแปลงค่าต่าง ๆ
ในการผลิต/บรรจุหีบห่อ/ขนส่ง
ยิ่งในกรณีติดต่อกับคู่ค้าต่างประเทศที่ใช้ระบบเมตริก
จนทำให้ทุกวันนี้ ชาวบ้านต้องมีตลับเทป/สายวัด
เพื่อแปลงค่ากลับไปกลับมาทั้ง 2 ระบบ
ระหว่างระบบเมตริกเป็นหลา ฟุต นิ้ว
การคิดคำนวณการชั่งน้ำหนักสินค้า
ระหว่างระบบเมตริกเป็นปอนด์ ออนซ์
แน่นอนเป็นเรื่องเสียเวลามากเช่นกัน
การบอกว่าอุณหภูมิ 20 องศาเซนเซียส
เป็นกี่องศาฟาเรนไฮต์

แม้ว่าแฟนพันธุ์แท้ระบบเมตริก
ได้ชี้ให้เห็นถึงความยุ่งยากของเรื่องแบบนี้

“ ก็เหมือนกับคนที่รู้เรื่องแบบนี้ดี
ผมคิดว่าเราควรใช้ระบบเมตริกไปเลยจะดีกว่า
ทุกวันนี้ผมมองดูเรื่องแบบนี้แล้วคิดว่า
แน่นอน ทำไมต้องเป็นผมที่ต้องวุ่นวายกับเรื่องแบบนี้
ทำให้ผมต้องเสียเวลา/รำคาญมากกับเรื่องแบบนี้มาก

ตอนนี้ ระบบเมตริกยังมีการใช้อยู่บ้าง
มีการซื้อขายน้ำโซดาเป็นลิตร
อะหลั่ยรถยนต์วัดเป็นมิลลิเมตร
และยาซื้อขายเป็นหน่วยมิลลิกรัม
เรื่องแบบนี้กำลังจะเกิดขึ้น
แต่จังหวะก้าว ที่เราจะไปถึงต้องใช้เวลา

แต่เรื่องของระบบนิ้ว (ฟุต หลา ไมล์)
ที่ชาวบ้านต่างนิยมและเคยชินกับระบบนี้อยู่แล้ว
ยังมีความเหมาะสมอยู่ "
Donald Hillger ประธาน U.S. Metric Association (ก่อตั้งมา 100 ปีแล้ว)
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนระบบชั่งตวงวัดเมตริก ให้สัมภาษณ์



เรียบเรียง/ที่มา


http://bit.ly/1YphBzY
http://1.usa.gov/1N4bMkC
.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ

ระบบวัดของไทยก็สับสนเช่นกัน
ไม้ เวลาซื้อจะวัดหน้าไม้กว้างเป็นนิ้ว
ความยาวเป็นวัดกันเป็นเมตร
แต่เวลาคำนวณคิดเป็นลูกบาศ์กฟุตลูกบาศ์กหลา

ก่อนที่จะเริ่มเปลี่ยนเป็นระบบเซนติเมตร/เมตร
ในตอนที่ติดต่อซื้อขายกับญี่ปุ่น ยุโรป
ที่รับซื้อไม้สักขาว(ยางพารา)จากไทย

ในช่วงแรกทางจีนก็งง ๆ กับระบบหน้าไม้ไทย
แต่สุดท้ายกลับชอบใจมาก
เพราะได้กำไร/Yield เนื้อไม้มากกว่า
การเลื่อยหน้าไม้ส่งขายเป็นนิ้ว
จะมีส่วนเผื่อเหลือเผื่อขาดมากกว่าระบบเมตริก
ยิ่งเวลานำไม้ไปไส/ขัดกระดาษทราย
จีนเอาไปซอยไม้ได้แบบซื้อ 1 แถม 1

ท่อเหล็ก ท่อน้ำ
ซื้อขายใช้เส้นผ่าศูนย์กลางกันเป็นหุนเป็นนิ้ว (8 หุน=1 นิ้ว)
แต่บอกความยาวท่อเป็นเมตร

โรงพิมพ์รุ่นเก่าใช้ หุน หลี พ้อ/กะพ้อ

ส่วนสูงวัดเป็นเซ็นติเมตร รอบเอวรอบพุงวัดเป็นนิ้ว
ส่วนสัดสตรี  36-23-37 นิ้ว
แต่สูง 166 ซม. ถ้าสูง 65 นิ้ว คงดูอ้วนเตี้ย
ถ้าส่วนสัด 91.44 - 58.24 - 93.98 ซม. คงอ้วนมาก

รองเท้าเป็นเบอร์ 4 6 8 ยาวกี่นิ้ว
ก่อนจะมาใช้เป็นเบอร์ 35 - 40 ซม.

สร้อย แหวน ทองคำ
ซื้อขายกันเป็นบาท สลึง
1 บาท=15.16 กรัม
แต่ร้านทองมักจะปัดเศษทิ้ง
ถ้าลูกค้าชาวบ้านไม่ค่อยสนใจรายละเอียดปลีกย่อย
สะสมนาน ๆ เข้านี่คือ กำไรแฝงของร้าน

ภาษาในวงการเช่า(ซื้อ)พระเครื่อง
เครื่องรางของขลังในห.ใ (หาดใหญ่) บางกลุ่ม
มักจะบอกราคาเป็นบาท บาทละ 100.-บาท
นัยไม่ให้คนที่บ้านรู้ว่าจับซื้อมาแพง
เช่น บอก 200.-บาทเอง ก็คือ 20,000.-บาท
เวลาได้ยินได้ฟังจะได้คิดว่าไม่แพง

ข้าวโพด หมู ขายเป็นหาบ ๆ ละ 60 กิโลกรัม
แต่บางแห่งจะคิดเป็นหาบละ 100 กิโลกรัม

ในอดีตแถวบ้าน ถั่วเขียว ข้าวสาร น้ำตาล
ตวงขายในกระป๋องสังกะสีขนาด 1 ลิตร
ตักพูน ๆ หลวม ๆ ปาดออก กำไรแฝง

เหล้าขาว เหล้าดองยา แบ่งขาย เป๊ก กั๊ก

น้ำมันมาเลย์เบนซีน 97 แถวบ้าน
ขายในขวดเหล้าไทย 700 ซีซี
แต่บอกขวด 1 ลิตร(หลอกชาวบ้าน)
ขาย 3 ขวด ก็กำไรเกือบ 1 ลิตร
แต่เหล้ามาเลย์จะขายกันขวดละ 1 ลิตร

.
.
ที่ดินเวลาซื้อขายคิดเป็น ตารางวา งาน ไร่
แต่เวลาวัดเนื้อที่ดินจะวัดกันเป็นเมตร/ตารางเมตร
เวลาก่อสร้างแบบแปลน/พิมพ์เขียวคิดระบบเมตริก
ราคาค่าก่อสร้าง หรือ ВOQ Bill of Qualities
ราคาค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ทำการคำนวณค่าประมาณการราคาค่าก่อสร้าง

100 ตร.วาเป็น 1 งาน
4 งานเป็น 1 ไร่
1 วาเท่ากับ 2 เมตร
1 ตร.วาเท่ากับ 4 ตร.เมตร
1 ไร่เท่ากับ 1,600 ตร.เมตร
625 ไร่เท่ากับ 1 ตร.กม.

ที่ปักษ์ใต้นิยมซื้อขายที่ดินกันเป็นห้อง
ต้องคิดกันเป็นห้องก่อน ไม่คิดกันเป็นวาเป็นไร่
แต่เดิมห้องหนึ่งจะกว้าง 5 เมตร ยาว/ลึก 20 เมตร
หรือ 100 ตารางเมตร หรือ 25 ตารางวา
หรือ 1 ไร่จะตัดแบ่งได้ราว 16 ห้อง
16*(5*20)=1,600 ตารางเมตร
4 ตารางเมตร= 1 ตารางวา (2 เมตร=1 วา)
1.600/4=400 ตารางวา

ถ้าที่ดินเดิม 3 ห้องหน้ากว้าง 15 เมตร
จะมีคนฉลาดล้ำลึกตัดเป็นหน้ากว้าง 3.75 เมตร
จะได้กำไรเพิ่มมาอีก 1 ห้อง 3.75*4=15 เมตร
รวมทั้งมีโครงการบ้านจัดสรรค์/อาคารพาณิชย์
จะสร้างบ้านขายในอัตราส่วนแบบนี้มาก
แต่บอกว่า 4 เมตร เพราะประหยัดต้นทุนหลายอย่าง
เช่น เหล็ก หิน ปูน ทราย ซีเมนต์ ท่อ สายไฟ ฯลฯ
กับได้บ้านขายเพิ่มอีก 1 หลัง
เวลาแบ่ง 3.75 เมตรตัดวัสดุได้ลงตัว

การปลูกสร้างบ้านหน้ากว้าง 3.75-4 เมตร
เหล็กเส้น 10 เมตร ท่อเหล็ก 6 เมตร ท่อพีวีซี 4 เมตร
วัสดุก่อสร้างมักจะตัดลงตัวเหลือเศษไม่มาก

จขกท. เคยเจอที่อำเภอตลาดย่านยาว จังหวัดพังงา
ในสมัยก่อนที่ดิน 1 ห้องยาวร่วม 100 เมตรขึ้นไปบางหลัง
นำมาวางเป็นหลักประกันกับธนาคารไทยแห่งแรก
เพราะชาวบ้านที่ตัดขายที่ดินตอนที่บูมกันมาก
ช่วงคนแห่กันไปดำน้ำหาแร่ดีบุกในท้องทะเล

เคยถามเจ้าของบ้านเล่น ๆ ว่า
ปลูกบ้าน/กงสีเต็มพื้นที่ไหม
แกบอกปลูกบ้านพออยู่พอใช้พอค้าขาย
ที่ดินที่เหลือก็ปลูกผักปลูกหญ้าเลี้ยงไก่ไปตามเรื่อง
ตอนนี้เจ้าของที่ดินเริ่มมีการร่วมมือกัน
ตัดแบ่งพัฒนาเป็นแปลงเล็กลงแล้ว
ด้วยการทำถนนเข้าออกแปลง
ด้านหลังที่เกินความจำเป็นในอดีต
.
.

ความนิยมการตัดแบ่งที่ดินขายเป็นห้องในปักษ์ใต้
สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคนจีนมาเลย์/อินโดนีเซีย
ที่ส่วนมากมักจะเป็นจีนฮกเกี้ยน
มักมีประเพณีนิยมให้ลูกหลานชายเรียนหนังสือ/
ข้าราชการในราชสำนักจีนในสมัยโบราณ
มักจะมีคนจีนฮกเกี้ยนไปสมัครสอบรับราชการมาก
จึงพัฒนาเป็นที่มาของแนวคิดกับวิธีคิดแบบนี้

จีนฮกเกี้ยนรุ่นบุกเบิกทำการค้ากับทำเหมืองแร่
หรือปลูกยางพาราหรือเจ้าเมืองกินภาษีในปักษ์ใต้
มีมากแถว ตรัง กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต
ยังมีร่องรอยเรียกผู้ชายคนมีอายุ/ให้เกียรติว่า
โก หรือ โก๊ (กอ/เฮีย = พี่ชาย)
ที่สงขลามีร่องรอยภาษาเรียกผู้หญิง
ที่มีอายุมากกว่าหรือให้เกียรติว่า ฉี (จี้ เจ้=พี่สาว)
เลยมีเรื่องตลกแอบแซวกันเล่นในหมู่เพื่อนฝูงว่า
ตัวดำเป็นลูกหมีแต่เรียกคำนำหน้าแบบจีน (จีนดำ)
 
คอซิมบี้ ต้นสกุล ณ ระนอง
เหยี่ยง แซ่เฮา ต้นสกุล ณ สงขลา
เป็นพวกจีนฮกเกี้ยน

ตามตำนานคนจีนแต๊จิ๋วบางกลุ่มจะเล่าว่า
แต่เดิมถิ่นคนแต๊จิ๋วจะทำนาทำประมงไม่ถนัด
และกินสัตว์น้ำประเภทเต่า กบ ไม่เป็น
จนมีข้าหลวงจีนฮกเกี้ยนจากเมืองหลวง
มาสอน/พัฒนาชาวบ้านคนจีนแต๊จิ๋ว
จนพ้นจากขีดความยากจน

เลยมีธรรมเนียมโบราณในบางกลุ่ม/บางสกุลว่า
ลูกชายคนจีนแต๊จิ๋วจะแต่งงานกับลูกสาวจีนฮกเกี้ยนไม่ได้
เพราะถือว่าเป็นการชกข้ามรุ่นหรือแต่งงานกับพี่สาวตนเอง
ถือว่าเป็นการไม่เคารพ/ไม่ให้เกียรติภาษาคนที่มาเป็นครู
แต่ผู้ชายจีนฮกเกี้ยนจะแต่งงานกับลูกสาวคนจีนแต๊จิ้ว/คนจีนไหหลำได้
ภาษาในสามกลุ่มนี้พอฟังกันรู้เรื่องและเข้าใจได้กว่าร้อยละ 40
เพราะเป็นตระกูลภาษาเดียวกัน
โดยมีภาษาฮกเกี้ยนเป็นภาษาหลัก

แต่ที่ปักษ์ใต้มักจะมีคำยกย่องหรือคำด่าลับหลังว่า
พวกคนจีนฮกเกี้ยนค่อนข้างฉลาดแต่เจ้าเล่ห์
ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเป็นนายทุน/พ่อค้า
มักจะเป็นนายภาษีสมัยโบราณ
ที่ต้องตระเวณเรียกเก็บส่วนสาอากรภาษีส่งเมืองหลวง
หรือที่เรียกกันสมัยก่อนว่า กินเมือง
ส่วนที่เหลือจากนำส่งเมืองหลวง
ก็เก็บเข้าพกเข้าห่อรอประมูล
หรือจ่ายเบี้ยบ้ายรายทางในการประมูลรอบต่อไป
ก่อนที่จะยกเลิกระบบนี้ในสมัยรัชกาลที่ 5

อนึ่งเคยถามรุ่นเหลนของต้นสกุล ณ ระนอง
ท่านเล่าว่า คุณหญิงมุก คุณหญิงโม
ที่ป้องกันเมืองภูเก็ตจากจลาจลคนจีนในอดีต
เป็นพวกลูกบาบ๋า ญ่าญ๋า จีนฮกเกี้ยน
(จีนผสมไทย ไทยผสมจีน)
เป็นพวกกากี่นั้ง(คนกันเอง) กับต้นสกุล ณ ระนอง

เรื่องเดิม ประตูผีที่ระนอง http://bit.ly/25XFtAy หรือที่ http://bit.ly/1UuYe78
.
.

มีโรงงานระดับ SMEs แห่งหนึ่งในไทยหลายปีก่อน
ลูกค้ารายใหญ่ญี่ปุ่นกำลังจะยกเลิก
คำสั่งซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์แล้ว
เพราะสินค้าตกการตรวจสอบคุณภาพหลายรายการ/หลายครั้ง
ปรากฏว่าพอผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเข้าไปตรวจสอบอาการ/ปัญหาจริง ๆ
โรงงานยังใช้เครื่องมือและระบบการผลิตเป็นระบบนิ้ว

หัวหน้าช่างไทย/เจ้าของโรงงานก็ยังใช้มาตรวัด
แปลงจากระบบนิ้วเป็นเซนติเมตร
แทนที่จะจัดหามาตรวัด/เครื่องมือเป็นระบบเมตริกเลย
จุดทศนิยมที่สะสมกันมาก ๆ
ทำให้สินค้าคลาดเคลื่อนไปมาก
กว่าจะพบสาเหตุที่แท้จริง
จึงแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ในที่สุด
ก่อนที่ลูกค้าญี่ปุ่นจะเลิกคำสั่งซื้อทั้งหมด
เพราะโรงงานประหยัดในเรื่องไม่ควรประหยัด
.

.

.
© http://bit.ly/1ZQlfBG
.
.

.
© http://bit.ly/1UUfApL
.
.
ข้อมูลเพิ่มเติม © http://1.usa.gov/1tvrl0o
.

.
มี 2 รัฐที่บังคับให้ระบุมาตรวัดเมตริก
ในสลากสินค่า/ป้ายกำกับด้วย
ส่วน 48 รัฐที่เหลือเป็นภาคสมัครใจ
.
.

.
.
กลุ่มสภาพยุโรปมีมติตั้งแต่ปี 2009
ว่าควรใช้มาตรวัดเมตริกเหมือนกันทุกชาติ
แต่สุดท้ายก็ยอมรับ 3 แนวทาง
1. แบบเมตริก
2. แบบที่ใช้ในประเทศ/คู่ค้าตกลงกัน
3. แบบระบุสลาก/ป้ายกำกับไว้ 2 ระบบ

ส่วนญี่ปุ่นมีปัญหามากในการติดต่อค้าขายกับ
อุสา(USA) สหรัฐอเมริกา
เพราะถ้าเข้าใจกันผิด/คาดเคลื่อนกัน
ในการใช้งานมาตรวัดในการผลิตสินค้า/ซื้อขายสินค้า
หรือถ้าใช้ระบบเทียบอัตราส่วนแทนมาตรวัดจริง ๆ
จะมีปัญหาตอนผลิต/ใช้งานในภายหลังได้

มาตรวัดที่แตกต่างถ้าไม่ระบุให้ชัดเจน
เรื่องการซื้อขายจะเป็นปัญหา
จะมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้ามาก
เพราะอาจจะผลิตน้อยเกินไปหรือมากเกินไป
อย่างตัวอย่างแกลลอนมี 2 ระบบ

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่