ราคาสินค้าเกษตรเดือน ม.ค. ข้าวหอม ข้าวเหนียว เนื้อหมู กุ้ง วัว แพงต่อเนื่องรับเทศกาลปีใหม่
https://www.matichon.co.th/economy/news_3120193
ราคาสินค้าเกษตรเดือน ม.ค. ข้าวหอม ข้าวเหนียว เนื้อหมู กุ้ง วัว แพงต่อเนื่องรับเทศกาลปีใหม่
นาย
สมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนมกราคม 2565 โดยพบว่าความต้องการสินค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่และมาตรการของภาครัฐ ทำให้ในเดือนมกราคม 2565 ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำตาลทรายดิบ ยางพาราแผ่นดิบ สุกร กุ้งขาวแวนนาไม และโคเนื้อ มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเจ้า มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน มีแนวโน้มราคาปรับลดลง
นาย
สมเกียรติกล่าวว่า สำหรับสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ สุกร ราคาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 77.56-81.29 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.45-6.31% เนื่องจากความต้องการเนื้อสุกรของร้านอาหารและผู้บริโภคเพื่อใช้ในการบริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่เพิ่ม ขณะที่มีผลผลิตสุกรมีแนวโน้มลดลงจากการที่ผู้เลี้ยงสุกรจะชะลอการผลิตเพราะต้นทุนการผลิตที่สูง กุ้งขาวแวนนาไม กก.ละ 163.73-164.39 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.45-0.85% เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมออกสู่ตลาดน้อย เพียง 5.82% ของผลผลิตทั้งปี ขณะที่ความต้องการบริโภคกุ้งเพิ่มจากการบริโภคและการท่องเที่ยว
นาย
สมเกียรติกล่าวอีกว่า ด้านโคเนื้อ ราคาอยู่ที่ กก.ละ 98-101 บาท เพิ่มขึ้น 0.29-3.36% เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวบริการและร้านอาหารเปิดบริการได้ช่วงปีใหม่ รวมถึงการทยอยส่งโคไปจีนตามคำสั่งซื้อกว่า 5 แสนตัว ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ตันละ 9,966-10,075 บาท เพิ่มขึ้น 1.17-2.27% เนื่องจากฮ่องกงต้องการใช้ช่วงเทศกาลตรุษจีน ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว 8,160-8,460 บาท เพิ่มขึ้น 1.18-4.90% หลังผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กก.ละ 9.08-9.16 บาท เพิ่มขึ้น 0.85-1.73% หลังสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก กก.ละ 14.05-14.38 บาท เพิ่ม 1.87-4.25% ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 54.95-55.90 บาทต่อ กก. เพิ่มขึ้น 3.46-5.25%
“ส่วนสินค้าเกษตรที่ มีแนวโน้มราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ ตันละ 7,644-7,701 บาท ลดลง 0.70-1.43% เนื่องจากการแข่งขันราคาข้าวยังคงรุนแรง มันสำปะหลัง กก.ละ 2.20-2.26 บาท ลดลง 0.88-3.51% เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ปาล์มน้ำมัน กก.ละ 8.10 -8.40 บาท ลดลง 3.22-6.60% เนื่องจากมาตรการภาครัฐยังคงขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงงานสกัดตรึงราคาน้ำมันปาล์มดิบจากการที่ราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดปรับตัวสูงขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภค รวมถึงความกังวลโควิดระลอกใหม่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในการเดินทางลดลง” นาย
สมเกียรติกล่าว
TDRI วิเคราะห์ดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ ไทยสมควรอยู่อันดับ 5 ของโลกจริงหรือ?
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/164012
นักวิชาการวิเคราะห์การจัดอันดับดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ ซึ่งไทยอยู่ในอันดับ 5 ของโลก เราทำได้ดีแล้วจริง ๆ หรือเป็นเพราะทั่วโลกคะแนนตก
เมื่อเดือน ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพ (Global Health Security Index: GHS) ประจำปี 2021 ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางสุขภาพสูงที่สุดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก จาก 195 ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO)
ดัชนีดังกล่าวได้ประเมินความสามารถในการเตรียมพร้อมรับมือกับการเกิดโรคระบาด (Epidemics) และการระบาดใหญ่ (Pandemics) ผ่านตัวชี้วัดใน 6 หมวดหมู่ ได้แก่
• Prevention – การป้องกันการเกิดขึ้นหรือการรั่วไหลของเชื้อโรค
• Detection and Reporting – การตรวจคัดกรองและการรายงานโรคระบาดได้ตั้งแต่ระยะแรก
• Rapid Response – การตอบสนองอย่างเร่งด่วนและการบรรเทาผลกระทบของการแพร่กระจายของโรคระบาด
• Health System – ระบบสาธารณสุขมีศักยภาพเพียงพอและเข้มแข็งในการรักษาผู้ป่วยและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์
• Compliance with International Norms – ความมุ่งมั่นในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ มีแผนการจัดหาเงินทุนเพื่ออุดช่องว่าง และดำเนินงานตามบรรทัดฐานระดับโลก
• Risk Environment – สภาพแวดล้อมความเสี่ยงโดยรวมและความเปราะบางของประเทศต่อภัยคุกคามทางชีวภาพ
ดร.
วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้วิเคราะห์ผลการจัดอันดับ GHS Index 2021 ว่า ดัชนีดังกล่าวได้เขียนสรุปสถานการณ์ไว้ว่า “ไม่มีประเทศไหนที่พร้อมจริง ๆ ในทุกด้านในการรับมือกับโรคระบาดในอนาคต”
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเข็ม 3 “ไฟเซอร์” ผ่านเครือข่ายมือถือ เริ่ม 7 ม.ค. 65
โดยเมื่อพิจารณาจากคะแนนแล้ว ไม่มีประเทศไหนที่ได้คะแนนเกิน 80 จาก 100 ในทุกด้านเลย โดยเมื่อเฉลี่ยทั้ง 195 ประเทศ พบว่า ได้คะแนนรวมเพียง 38.9 จาก 100 และคะแนนเฉลี่ยด้านความสามารถในการป้องกันการระบาดก็อยู่ที่ 28.9 เท่านั้น
“สำหรับประเทศไทย ได้คะแนนรวมความมั่นคงทางสุขภาพที่ 68.2 คะแนน เป็นคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก แม้ว่าจะได้อันดับที่สูงขึ้นจากปี 2019 ที่อยู่อันดับที่ 6 แต่คะแนนรวมลดลง 0.7 คะแนน” ดัชนีระบุ
อย่างไรก็ตาม ไทยก็ยังเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มประเทศที่มีประชากร 50-100 ล้านคน และกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง
ประเทศไทยได้คะแนนเกิน 80 ในด้านเดียวคือด้าน “การตรวจคัดกรองและการรายงาน” (91.5 คะแนน) เป็นอันดับ 1 ของโลก ส่วนในหมวดหมู่อื่น ๆ อยู่ในอันดับไม่เกิน 12 อันดับแรก ยกเว้นหมวดหมู่ “สภาพแวดล้อมความเสี่ยงโดยรวม” ที่อยู่ในอันดับ 88 ของโลก
ประเทศที่ได้คะแนน GHS Index สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. สหรัฐอเมริกา (75.9) 2. ออสเตรเลีย (71.1) 3. ฟินแลนด์ (70.9) 4. แคนาดา (69.8) 5. ไทย (68.2) 6. สโลวาเนีย (67.8) 7. สหราชอาณาจักร (67.2) 8. เยอรมนี (65.5) 9. เกาหลีใต้ (65.4) และ 10. สวีเดน (64.9)
สำหรับคะแนนในแต่ละหมวดหมู่ของประเทศไทย เป็นดังนี้
หมวดที่ 1 ด้าน “การป้องกันโรค” ไทยได้คะแนน 59.7 เป็นอันดับ 10 จาก 195 ประเทศ (คะแนนรวมลดลงจากเดิม 4.2 ซึ่งเป็นผลจากคะแนนการฉีดวัคซีนลดลงจาก 100 เหลือ 75 โดยคะแนนด้านอื่น ๆ ในหมวดไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม
หมวดที่ 2 ด้าน “การตรวจคัดกรองและรายงาน” เป็นหมวดที่ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุด (เพิ่มขึ้น 8.3) เป็น 91.5 (อันดับ 1 ของโลก) โดยได้อันดับ 1 ใน 4 รายการซึ่งเป็นด้านความพร้อมของห้องปฏิบัติการและความรวดเร็วของกระบวนการตรวจและรายงาน ได้คะแนนเพิ่มในด้านการสอบสวนโรคอีก 25 เป็น 75 (อันดับ 3) และมีคะแนนคงที่ในด้านการเข้าถึงและความโปร่งใสของข้อมูลที่ตรวจ (อันดับ 18)
หมวดที่ 3 ด้าน “การรับมือ/ตอบสนองอย่างรวดเร็ว” เป็นหมวดที่ไทยได้คะแนนลดลงมากที่สุด (-11.3) เป็น 67.3 (แต่ก็ยังเป็นอันดับ 2 ของโลก) โดยคะแนนใน 5 รายการแรกคงเดิม (ได้อันดับ 1 รวม 4 รายการ โดยเป็นคะแนนเต็ม 100 ใน 3 รายการ ประกอบด้วยด้านการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านการเชื่อมสาธารณสุขกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านการสื่อสารความเสี่ยง และได้ 66.7 ในด้านการปฏิบัติการรับมือกับกับสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ได้คะแนนการปฏิบัติตามแผนเพียง 25 (อันดับ 19)) ส่วนอีก 2 ด้านที่ได้คะแนนลดลงคือด้านการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร (อันดับ 49) และด้านการมีมาตรการปิดกั้นการค้าและการเดินทางที่แรงเกินไปหรือทำโดยฝ่ายเดียว ได้คะแนนลดลงจาก 75 เหลือ 0 (เป็นอันดับต่ำสุดคือ 171 ร่วม)
หมวดที่ 4 ด้าน “ระบบสาธารณสุข” ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 2.4 เป็น 64.7 (อันดับ 10 ของโลก) โดยจาก 7 รายการ ไทยได้คะแนนเพิ่ม 16.6 ในด้านศักยภาพของสถานพยาบาลระดับต่าง ๆ จาก 39.6 เป็น 56.2 (อันดับ 24) จากการขยายศักยภาพของสถานพยาบาลและการกักตัว ที่เหลืออีก 6 รายการคะแนนคงเดิม รวมทั้งในด้านการเข้าถึงบริการที่ได้ 96.8 (อันดับ 2 ของโลก) ซึ่งคงเป็นคะแนนที่ให้กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย และคะแนนเต็ม 100 ในด้านศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ และศักยภาพในการตรวจอนุมัติยาหรือมาตรการใหม่ ๆ แต่ได้คะแนนเพียง 50 ในด้าน supply chain ของระบบสาธารณสุข และในด้านการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานในระบบสาธารณสุข
หมวดที่ 5 ด้าน “การปฏิบัติตามบรรทัดฐานของนานาชาติ” ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 2.4 เป็น 68.9 (อันดับ 10 ของโลก) โดยได้คะแนนดีในด้านการรายงานและความร่วมมือกับนานาชาติ การสนับสนุนด้านการเงิน และการแชร์ข้อมูลและตัวอย่างต่าง ๆ
หมวดที่ 6 ด้าน “ความเสี่ยงของภาวะแวดล้อม” เป็นหมวดที่ไทยได้คะแนนและอันดับต่ำสุด (เช่นเดียวกับในปี 2019) โดยในปีนี้ไทยได้คะแนนลดลง 1.7 เหลือ 57.2 (อันดับ 88 ของโลก) ในหมวดนี้ คะแนนสูงสุดที่ไทยได้คือด้านความเปราะบางด้านสาธารณสุข 70.7 คะแนน (อันดับ 29) ที่เหลือความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้อันดับ 70 ด้านความเพียงพอของโครงสร้างพื้นฐานอันดับ 85 ความสามารถในการปรับตัวในด้านเศรษฐกิจและสังคมอันดับ 90 และที่ได้คะแนนต่ำสุดคือความเสี่ยงด้านการเมืองและความมั่นคงได้ 41.6 คะแนน (เพิ่มขึ้น 6.5 แต่ยังอยู่ที่อันดับ 149 จาก 195 ประเทศ)
ดร.
วิโรจน์บอกว่า โดยสรุปแล้ว รายงานนี้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ประเทศทั่วทั้งโลก (ตั้งแต่สหรัฐฯ ลงมา) สอบตกในด้านการรับมือกับโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
“ในการจัดอันดับครั้งนี้ที่แทบทุกประเทศได้คะแนนต่ำลง ก็ยิ่งตอกย้ำถึงปัญหาในปัจจุบันที่ผู้จัดอันดับชี้ไว้ว่า ไม่มีประเทศไหนที่พร้อมจริง ๆ ในทุกด้านในการรับมือกับโรคระบาดในอนาคต”
แม้ว่ารายงานปีนี้จะตระหนักว่า หลายประเทศได้ขยายศักยภาพในด้านต่าง ๆ เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 แต่ก็ชี้ด้วยว่าส่วนใหญ่ยังเป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากโควิด-19 ทำให้ “ทุกประเทศยังขาดความพร้อมในระดับที่อันตรายในการรับมือกับการระบาดในอนาคต”
“ที่น่าสนใจคือรายงานนี้ให้ความสำคัญกับการที่ประเทศมีแผน นโยบาย กฎระเบียบ และมาตรการที่ออกมาสำหรับการดำเนินการในระยะยาว (นอกเหนือจากมาตรการเฉพาะหน้า) ด้วย ซึ่งไทยก็ได้รับเครดิตในด้านเหล่านี้ด้วย เช่นในหมวดที่ 3 การรับมือ/ตอบสนองอย่างรวดเร็ว ที่ไทยได้คะแนนเต็ม 100 ในด้านการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าแผนเหล่านั้นอาจไม่ได้ส่งผลในทางปฏิบัติมากนัก โดยจะเห็นได้จากไทยได้คะแนนด้านการปฏิบัติตามแผนอยู่ในระดับต่ำเพียง 25 จาก 100 ทั้งในปี 2019 และยังคงที่อยู่ในระดับต่ำในปี 2021 นี้” ดร.วิโรจน์แสดงความเห็น
เขาเสริมว่า
“ในแง่หนึ่ง รายงานนี้เป็นรายงานที่ออกมาช่วยวัดความมั่นคงด้านสุขภาพของเรา รวมทั้งการวางแผนในการรับมือกับการระบาดในอนาคต ซึ่งถ้าเรานำไปศึกษาและปรับปรุงก็จะช่วยให้เรามีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะรับมือกับโรคอุบัติใหม่ได้ดีขึ้นในอนาคต แต่รายงานนี้อาจจะไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรถ้าเรามัวแต่หลงใหลได้ปลื้มไปกับ “อันดับ” ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นอันดับต้น ๆ แต่ก็ยังเป็นอันดับต้น ๆ ในกลุ่มของผู้ที่สอบตกยกชั้นทั่วโลก และอันดับในหลายด้านก็ยังเป็นที่กังขาว่าเราสมควรได้อันดับ 1 หรือ 100 คะแนนเต็มจริงหรือไม่”
JJNY : ราคาสินค้าเกษตรเดือนม.ค.│TDRI วิเคราะห์ดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ│พิธาไฮด์ปาร์คในค่ายทหาร│ก้าวไกลช่วยผู้สมัครชุมพร
https://www.matichon.co.th/economy/news_3120193
ราคาสินค้าเกษตรเดือน ม.ค. ข้าวหอม ข้าวเหนียว เนื้อหมู กุ้ง วัว แพงต่อเนื่องรับเทศกาลปีใหม่
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนมกราคม 2565 โดยพบว่าความต้องการสินค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่และมาตรการของภาครัฐ ทำให้ในเดือนมกราคม 2565 ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำตาลทรายดิบ ยางพาราแผ่นดิบ สุกร กุ้งขาวแวนนาไม และโคเนื้อ มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเจ้า มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน มีแนวโน้มราคาปรับลดลง
นายสมเกียรติกล่าวว่า สำหรับสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ สุกร ราคาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 77.56-81.29 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.45-6.31% เนื่องจากความต้องการเนื้อสุกรของร้านอาหารและผู้บริโภคเพื่อใช้ในการบริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่เพิ่ม ขณะที่มีผลผลิตสุกรมีแนวโน้มลดลงจากการที่ผู้เลี้ยงสุกรจะชะลอการผลิตเพราะต้นทุนการผลิตที่สูง กุ้งขาวแวนนาไม กก.ละ 163.73-164.39 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.45-0.85% เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมออกสู่ตลาดน้อย เพียง 5.82% ของผลผลิตทั้งปี ขณะที่ความต้องการบริโภคกุ้งเพิ่มจากการบริโภคและการท่องเที่ยว
นายสมเกียรติกล่าวอีกว่า ด้านโคเนื้อ ราคาอยู่ที่ กก.ละ 98-101 บาท เพิ่มขึ้น 0.29-3.36% เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวบริการและร้านอาหารเปิดบริการได้ช่วงปีใหม่ รวมถึงการทยอยส่งโคไปจีนตามคำสั่งซื้อกว่า 5 แสนตัว ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ตันละ 9,966-10,075 บาท เพิ่มขึ้น 1.17-2.27% เนื่องจากฮ่องกงต้องการใช้ช่วงเทศกาลตรุษจีน ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว 8,160-8,460 บาท เพิ่มขึ้น 1.18-4.90% หลังผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กก.ละ 9.08-9.16 บาท เพิ่มขึ้น 0.85-1.73% หลังสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก กก.ละ 14.05-14.38 บาท เพิ่ม 1.87-4.25% ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 54.95-55.90 บาทต่อ กก. เพิ่มขึ้น 3.46-5.25%
“ส่วนสินค้าเกษตรที่ มีแนวโน้มราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ ตันละ 7,644-7,701 บาท ลดลง 0.70-1.43% เนื่องจากการแข่งขันราคาข้าวยังคงรุนแรง มันสำปะหลัง กก.ละ 2.20-2.26 บาท ลดลง 0.88-3.51% เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ปาล์มน้ำมัน กก.ละ 8.10 -8.40 บาท ลดลง 3.22-6.60% เนื่องจากมาตรการภาครัฐยังคงขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงงานสกัดตรึงราคาน้ำมันปาล์มดิบจากการที่ราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดปรับตัวสูงขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภค รวมถึงความกังวลโควิดระลอกใหม่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในการเดินทางลดลง” นายสมเกียรติกล่าว
TDRI วิเคราะห์ดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ ไทยสมควรอยู่อันดับ 5 ของโลกจริงหรือ?
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/164012
นักวิชาการวิเคราะห์การจัดอันดับดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ ซึ่งไทยอยู่ในอันดับ 5 ของโลก เราทำได้ดีแล้วจริง ๆ หรือเป็นเพราะทั่วโลกคะแนนตก
เมื่อเดือน ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพ (Global Health Security Index: GHS) ประจำปี 2021 ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางสุขภาพสูงที่สุดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก จาก 195 ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO)
ดัชนีดังกล่าวได้ประเมินความสามารถในการเตรียมพร้อมรับมือกับการเกิดโรคระบาด (Epidemics) และการระบาดใหญ่ (Pandemics) ผ่านตัวชี้วัดใน 6 หมวดหมู่ ได้แก่
• Prevention – การป้องกันการเกิดขึ้นหรือการรั่วไหลของเชื้อโรค
• Detection and Reporting – การตรวจคัดกรองและการรายงานโรคระบาดได้ตั้งแต่ระยะแรก
• Rapid Response – การตอบสนองอย่างเร่งด่วนและการบรรเทาผลกระทบของการแพร่กระจายของโรคระบาด
• Health System – ระบบสาธารณสุขมีศักยภาพเพียงพอและเข้มแข็งในการรักษาผู้ป่วยและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์
• Compliance with International Norms – ความมุ่งมั่นในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ มีแผนการจัดหาเงินทุนเพื่ออุดช่องว่าง และดำเนินงานตามบรรทัดฐานระดับโลก
• Risk Environment – สภาพแวดล้อมความเสี่ยงโดยรวมและความเปราะบางของประเทศต่อภัยคุกคามทางชีวภาพ
ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้วิเคราะห์ผลการจัดอันดับ GHS Index 2021 ว่า ดัชนีดังกล่าวได้เขียนสรุปสถานการณ์ไว้ว่า “ไม่มีประเทศไหนที่พร้อมจริง ๆ ในทุกด้านในการรับมือกับโรคระบาดในอนาคต”
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเข็ม 3 “ไฟเซอร์” ผ่านเครือข่ายมือถือ เริ่ม 7 ม.ค. 65
โดยเมื่อพิจารณาจากคะแนนแล้ว ไม่มีประเทศไหนที่ได้คะแนนเกิน 80 จาก 100 ในทุกด้านเลย โดยเมื่อเฉลี่ยทั้ง 195 ประเทศ พบว่า ได้คะแนนรวมเพียง 38.9 จาก 100 และคะแนนเฉลี่ยด้านความสามารถในการป้องกันการระบาดก็อยู่ที่ 28.9 เท่านั้น
“สำหรับประเทศไทย ได้คะแนนรวมความมั่นคงทางสุขภาพที่ 68.2 คะแนน เป็นคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก แม้ว่าจะได้อันดับที่สูงขึ้นจากปี 2019 ที่อยู่อันดับที่ 6 แต่คะแนนรวมลดลง 0.7 คะแนน” ดัชนีระบุ
อย่างไรก็ตาม ไทยก็ยังเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มประเทศที่มีประชากร 50-100 ล้านคน และกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง
ประเทศไทยได้คะแนนเกิน 80 ในด้านเดียวคือด้าน “การตรวจคัดกรองและการรายงาน” (91.5 คะแนน) เป็นอันดับ 1 ของโลก ส่วนในหมวดหมู่อื่น ๆ อยู่ในอันดับไม่เกิน 12 อันดับแรก ยกเว้นหมวดหมู่ “สภาพแวดล้อมความเสี่ยงโดยรวม” ที่อยู่ในอันดับ 88 ของโลก
ประเทศที่ได้คะแนน GHS Index สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. สหรัฐอเมริกา (75.9) 2. ออสเตรเลีย (71.1) 3. ฟินแลนด์ (70.9) 4. แคนาดา (69.8) 5. ไทย (68.2) 6. สโลวาเนีย (67.8) 7. สหราชอาณาจักร (67.2) 8. เยอรมนี (65.5) 9. เกาหลีใต้ (65.4) และ 10. สวีเดน (64.9)
สำหรับคะแนนในแต่ละหมวดหมู่ของประเทศไทย เป็นดังนี้
หมวดที่ 1 ด้าน “การป้องกันโรค” ไทยได้คะแนน 59.7 เป็นอันดับ 10 จาก 195 ประเทศ (คะแนนรวมลดลงจากเดิม 4.2 ซึ่งเป็นผลจากคะแนนการฉีดวัคซีนลดลงจาก 100 เหลือ 75 โดยคะแนนด้านอื่น ๆ ในหมวดไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม
หมวดที่ 2 ด้าน “การตรวจคัดกรองและรายงาน” เป็นหมวดที่ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุด (เพิ่มขึ้น 8.3) เป็น 91.5 (อันดับ 1 ของโลก) โดยได้อันดับ 1 ใน 4 รายการซึ่งเป็นด้านความพร้อมของห้องปฏิบัติการและความรวดเร็วของกระบวนการตรวจและรายงาน ได้คะแนนเพิ่มในด้านการสอบสวนโรคอีก 25 เป็น 75 (อันดับ 3) และมีคะแนนคงที่ในด้านการเข้าถึงและความโปร่งใสของข้อมูลที่ตรวจ (อันดับ 18)
หมวดที่ 3 ด้าน “การรับมือ/ตอบสนองอย่างรวดเร็ว” เป็นหมวดที่ไทยได้คะแนนลดลงมากที่สุด (-11.3) เป็น 67.3 (แต่ก็ยังเป็นอันดับ 2 ของโลก) โดยคะแนนใน 5 รายการแรกคงเดิม (ได้อันดับ 1 รวม 4 รายการ โดยเป็นคะแนนเต็ม 100 ใน 3 รายการ ประกอบด้วยด้านการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านการเชื่อมสาธารณสุขกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านการสื่อสารความเสี่ยง และได้ 66.7 ในด้านการปฏิบัติการรับมือกับกับสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ได้คะแนนการปฏิบัติตามแผนเพียง 25 (อันดับ 19)) ส่วนอีก 2 ด้านที่ได้คะแนนลดลงคือด้านการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร (อันดับ 49) และด้านการมีมาตรการปิดกั้นการค้าและการเดินทางที่แรงเกินไปหรือทำโดยฝ่ายเดียว ได้คะแนนลดลงจาก 75 เหลือ 0 (เป็นอันดับต่ำสุดคือ 171 ร่วม)
หมวดที่ 4 ด้าน “ระบบสาธารณสุข” ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 2.4 เป็น 64.7 (อันดับ 10 ของโลก) โดยจาก 7 รายการ ไทยได้คะแนนเพิ่ม 16.6 ในด้านศักยภาพของสถานพยาบาลระดับต่าง ๆ จาก 39.6 เป็น 56.2 (อันดับ 24) จากการขยายศักยภาพของสถานพยาบาลและการกักตัว ที่เหลืออีก 6 รายการคะแนนคงเดิม รวมทั้งในด้านการเข้าถึงบริการที่ได้ 96.8 (อันดับ 2 ของโลก) ซึ่งคงเป็นคะแนนที่ให้กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย และคะแนนเต็ม 100 ในด้านศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ และศักยภาพในการตรวจอนุมัติยาหรือมาตรการใหม่ ๆ แต่ได้คะแนนเพียง 50 ในด้าน supply chain ของระบบสาธารณสุข และในด้านการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานในระบบสาธารณสุข
หมวดที่ 5 ด้าน “การปฏิบัติตามบรรทัดฐานของนานาชาติ” ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 2.4 เป็น 68.9 (อันดับ 10 ของโลก) โดยได้คะแนนดีในด้านการรายงานและความร่วมมือกับนานาชาติ การสนับสนุนด้านการเงิน และการแชร์ข้อมูลและตัวอย่างต่าง ๆ
หมวดที่ 6 ด้าน “ความเสี่ยงของภาวะแวดล้อม” เป็นหมวดที่ไทยได้คะแนนและอันดับต่ำสุด (เช่นเดียวกับในปี 2019) โดยในปีนี้ไทยได้คะแนนลดลง 1.7 เหลือ 57.2 (อันดับ 88 ของโลก) ในหมวดนี้ คะแนนสูงสุดที่ไทยได้คือด้านความเปราะบางด้านสาธารณสุข 70.7 คะแนน (อันดับ 29) ที่เหลือความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้อันดับ 70 ด้านความเพียงพอของโครงสร้างพื้นฐานอันดับ 85 ความสามารถในการปรับตัวในด้านเศรษฐกิจและสังคมอันดับ 90 และที่ได้คะแนนต่ำสุดคือความเสี่ยงด้านการเมืองและความมั่นคงได้ 41.6 คะแนน (เพิ่มขึ้น 6.5 แต่ยังอยู่ที่อันดับ 149 จาก 195 ประเทศ)
ดร.วิโรจน์บอกว่า โดยสรุปแล้ว รายงานนี้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ประเทศทั่วทั้งโลก (ตั้งแต่สหรัฐฯ ลงมา) สอบตกในด้านการรับมือกับโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
“ในการจัดอันดับครั้งนี้ที่แทบทุกประเทศได้คะแนนต่ำลง ก็ยิ่งตอกย้ำถึงปัญหาในปัจจุบันที่ผู้จัดอันดับชี้ไว้ว่า ไม่มีประเทศไหนที่พร้อมจริง ๆ ในทุกด้านในการรับมือกับโรคระบาดในอนาคต”
แม้ว่ารายงานปีนี้จะตระหนักว่า หลายประเทศได้ขยายศักยภาพในด้านต่าง ๆ เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 แต่ก็ชี้ด้วยว่าส่วนใหญ่ยังเป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากโควิด-19 ทำให้ “ทุกประเทศยังขาดความพร้อมในระดับที่อันตรายในการรับมือกับการระบาดในอนาคต”
“ที่น่าสนใจคือรายงานนี้ให้ความสำคัญกับการที่ประเทศมีแผน นโยบาย กฎระเบียบ และมาตรการที่ออกมาสำหรับการดำเนินการในระยะยาว (นอกเหนือจากมาตรการเฉพาะหน้า) ด้วย ซึ่งไทยก็ได้รับเครดิตในด้านเหล่านี้ด้วย เช่นในหมวดที่ 3 การรับมือ/ตอบสนองอย่างรวดเร็ว ที่ไทยได้คะแนนเต็ม 100 ในด้านการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าแผนเหล่านั้นอาจไม่ได้ส่งผลในทางปฏิบัติมากนัก โดยจะเห็นได้จากไทยได้คะแนนด้านการปฏิบัติตามแผนอยู่ในระดับต่ำเพียง 25 จาก 100 ทั้งในปี 2019 และยังคงที่อยู่ในระดับต่ำในปี 2021 นี้” ดร.วิโรจน์แสดงความเห็น
เขาเสริมว่า “ในแง่หนึ่ง รายงานนี้เป็นรายงานที่ออกมาช่วยวัดความมั่นคงด้านสุขภาพของเรา รวมทั้งการวางแผนในการรับมือกับการระบาดในอนาคต ซึ่งถ้าเรานำไปศึกษาและปรับปรุงก็จะช่วยให้เรามีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะรับมือกับโรคอุบัติใหม่ได้ดีขึ้นในอนาคต แต่รายงานนี้อาจจะไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรถ้าเรามัวแต่หลงใหลได้ปลื้มไปกับ “อันดับ” ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นอันดับต้น ๆ แต่ก็ยังเป็นอันดับต้น ๆ ในกลุ่มของผู้ที่สอบตกยกชั้นทั่วโลก และอันดับในหลายด้านก็ยังเป็นที่กังขาว่าเราสมควรได้อันดับ 1 หรือ 100 คะแนนเต็มจริงหรือไม่”