💚มาลาริน/เรื่องหมูๆยุคลุงตู่ค่ะ..ชงนายกฯหยุดส่งออก แก้ราคาอาหารแพง ดันผลผลิต ผุดสินเชื่อเลี้ยงหมูให้เกษตรกร

อู๊ด...ตามต่างจังหวัด ไก่กับหมูเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน  ดิฉันเจอทั้งไก่ ทั้งหมู


...ขอบคุณภาพหมูจากอินเทอร์เน็ตนะคะ

ตัวที่เห็นในหมู่บ้านตัวใหญ่มากค่ะ ชาวบ้านเลี้ยงไว้ 3 ตัว ร้องอู๊ดๆทักทายคนไปดู.....อู๊ดอู๊ดอู๊ด

หมูดูสุขภาพดีค่ะ ดิฉันลืมถ่ายภาพมาอวด  ลืมเรื่องหมูแพง กินอาหารก็ราคาเดิมตามปกติ  

คำกล่าวว่า...เรื่องหมูๆเป็นเรื่องง่ายๆ  สมัยก่อนคงไร้ปัญหาในการเลี้ยง คำว่าหมูในอวย ก็เช่นกันนะคะ เป็นอันว่าหมูๆยุคใหม่ไม่ง่าย แต่ถ้าถึงมือลุงตู่ ก็หมูๆค่ะ....

เพี้ยนแคปเจอร์เฉลยเหตุ‘หมู’แพง!เกษตรฯชงนายกฯ‘ห้ามส่งออก’ กางโมเดลแก้ปัญหา-ดันผลผลิต
วันอังคาร ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565, 19.45 น.



4 มกราคม 2565 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ กระทรวงเกษตรฯได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาเนื้อหมูแพงต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯแก้ปัญหาด่วนที่สุด โดยจะเสนอให้นายกฯสั่งการกระทรวงพาณิชย์ระงับการส่งออกหมูเพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อหมูในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเริ่มปรับลดลงทันที ส่วนกระทรวงเกษตรฯจะส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยและรายเล็กที่หยุดเลี้ยง กลับมาเลี้ยงใหม่ พร้อมเสนอให้มีการแก้ไขปัญหาปัจจัยเรื่องอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรหยุดเลี้ยง โดยเสนอนายกฯพิจารณาช่วยเหลือ เช่น การลดภาษีนำเข้าข้าวโพดและถั่วเหลือง รวมถึงส่งเสริมการปลูกพืชในประเทศเพื่อให้วัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ราคาต่ำลง
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2561-2564 มีการระบาดของโรคที่สำคัญในสุกร ได้แก่ โรคพีอาร์อาร์ โรคปากและเท้าเปื่อย โรคอหิวาต์สุกร ซึ่งเป็นโรคที่พบในประเทศอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้านรอบไทย ซึ่งกรมปศุสัตว์ป้องกันอย่างเข้มงวด เมื่อพบหมูป่วยหรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงจะกำจัดทันที เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ปริมาณหมูในปี 2564 ลดลงจากปี 2563 จากผลิตได้ปีละ 20 ล้านตัวเหลือ 19 ล้านตัว โดยส่งออก 1 ล้านตัว คงเหลือบริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว แต่ยืนยันว่าโรค ASF ยังไม่พบในประเทศไทย ซึ่งตามที่พรรคเพื่อไทยแถลงในวันนี้ว่ารัฐบาลปล่อยให้มีการระบาดนั้น ไม่เป็นความจริง เมื่อกระทรวงเกษตรฯชี้แจงแล้ว ผู้แทนราษฎรจะเข้าใจ

นอกจากนี้ยังจะขอความร่วมมือผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่ให้ผลิตลูกหมูให้รายย่อยและรายเล็กไปเลี้ยง เชื่อว่ารายกลางและรายใหญ่ซึ่งได้กำไรไปมากในช่วงที่รายย่อยและรายเล็กจำนวนมากหยุดเลี้ยงจะให้ความร่วมมือ สำหรับการสนับสนุนการเลี้ยงจะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมจาก ธ.ก.ส.ในโครงการสานฝันสร้างอาชีพและยกระดับรายได้เกษตรกร วงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ใช้ปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์ม ซึ่งจะป้องกันโรคระบาดสัตว์ได้อย่างดี

ขณะที่นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า เมื่อมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ผ่อนคลาย ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์สูง เมื่อร่วมกับปัจจัยที่ปริมาณการเลี้ยงลดลง จึงทำให้ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้น สำหรับการยกระดับมาตรฐานฟาร์มของเกษตรกรเพื่อป้องกันโรคระบาดจะส่งเสริมให้ปรับปรุงเป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ซึ่งค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาตรฐานฟาร์ม GAP เพื่อไม่ให้ต้นทุนการเลี้ยงสูง ซึ่งมั่นใจว่ามาตรการสนับสนุนต่างๆ จะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับมาเลี้ยงใหม่และเพิ่มปริมาณการผลิตหมูให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ซึ่งจะเป็นผลให้ราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป

https://www.naewna.com/local/626470

เพี้ยนดีออกธ.ก.ส.เติม3หมื่นล้าน คลอด3สินเชื่อพิเศษหนุนเลี้ยงสุกร แก้ราคาแพง
วันพุธ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565, 16.21 น.



มผลผลิตอาหารสัตว์ การลงทุนระบบการเลี้ยงที่มาตรฐานในการป้องกันโรคระบาด เพื่อเร่งแก้ปัญหาราคาเนื้อสุกรเพิ่มสูงขึ้น ผ่าน 3 โครงการสินเชื่อพิเศษอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นการเฉพาะ วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท

5 มกราคม 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากปัญหาราคาเนื้อสุกรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงในสุกรทำให้จำนวนสุกรออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญ ๆ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง เป็นต้น มีราคาแพงขึ้นอย่างมาก ทำให้เกษตรกรต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังผู้บริโภค ในการนี้ รัฐบาลได้เร่งออกนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการงดส่งออกสุกรมีชีวิต การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียม/ภาษี รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้า เพื่อช่วยเหลือด้านราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงการจัดสินเชื่อพิเศษเพื่อการฟื้นฟูการผลิตสุกรเป็นการจำเพาะ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบการเลี้ยงสุกรที่ส่งผลดีทั้งต่อเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค
 
ด้านนายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรราว 190,000 ราย กว่า 90% เป็นรายย่อย ซึ่งผลิตสุกรในระบบประมาณ 30% โดยในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จำนวน 59, 205 ราย ขณะที่ผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่มีประมาณ 3% แต่ผลิตสุกรประมาณ 70% โดยสุกรที่ขุนได้เฉลี่ยปีละ 22 ล้านตัว ซึ่งกว่า 90% ใช้บริโภคภายในประเทศ จากผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงในสุกรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ไทยจะควบคุมโรคได้ดี แต่ก็ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายไปราว   30-40% เหลือเพียงประมาณ 18 ล้านตัวเศษ และคาดว่าปี 2565 จะผลิตได้เพียง 13-15 ล้านตัว  เมื่อประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้เลี้ยงรายใหม่ลดลง
 
ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้จัดเตรียมสินเชื่อพิเศษสำหรับเป็นทุนในการสนับสนุนการเลี้ยงสุกร การเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรที่จำเป็นต่อการผลิตอาหารสัตว์ และการวางระบบการเลี้ยงที่เป็นมาตรฐานเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคระบาดที่มักจะเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณสุกรให้ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ประกอบด้วย..👩‍💻
1) สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สำหรับเกษตรกรรายย่อยและบุคคลในครัวเรือนที่ประสงค์จะกู้เงิน เพื่อไปลงทุนเลี้ยงสุกรหรืออื่น ๆ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย กรณีกู้เป็นค่าใช้จ่ายคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้ กรณีเป็นค่าลงทุนปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 4 - 5 อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี) กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก
 
2) สินเชื่อ Food Safety เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือเพื่อเป็นค่าลงทุนในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยกรณีเกษตรกร MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.5 ต่อปี) กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือองค์กร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ดอกเบี้ย MLR (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ ร้อยละ 4.875 ต่อปี)  พิเศษสำหรับผู้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฯ หรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน กรณีเกษตรกร ดอกเบี้ย MRR-1 กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคลต่าง ๆ ดอกเบี้ย MLR-0.5 ระยะเวลาชำระคืน กรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ไม่เกิน 12 เดือน (กรณีพิเศษ ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันกู้) กรณีค่าลงทุน ไม่เกิน 15 ปี
 
3) สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือค่าลงทุนในการประกอบธุรกิจ โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม กำหนด  วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 – 2 ร้อยละ 4 ต่อปี และปีที่ 3 – 10 อัตราดอกเบี้ย MRR-1 / MLR / MOR ตามประเภทของลูกค้า (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี / MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี และ MOR เท่ากับร้อยละ 6.25 ต่อปี) กรณีที่ผู้ประกอบการสามารถนำ Platform มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ หรือมีการรับซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์หรืออาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่มีมาตรฐานรับรองหรือรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรต้นน้ำหรือกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของต้นทุนวัตถุดิบ หรือเป็นธุรกิจที่นำหลักโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ  องค์รวม (BCG Model) อย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยในปีที่ 3 - 4 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4  ต่อปี เพิ่มอีก 2 ปี ทั้งนี้ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดสินเชื่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555

https://www.naewna.com/business/626637

เพี้ยนปักหมุด เรื่องหมูๆน่าจะดีขึ้นนะคะ....

มื้อเย็นนี้มีทั้งหมูและปลาค่ะ....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่