กระทู้นี้ผมเขียนขึ้นมาจากความเข้าใจส่วนตัวตามที่เห็นและเข้าใจในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่งที่นับถือพุทธ ส่วนเมื่ออ่านจบแล้วจะได้อะไรก็แล้วแต่คนอ่านนะครับ
1. ภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์นั้นคงไม่ต้องพูดกันมากเพราะคนส่วนใหญ่ก็เข้าใจกันอยู่แล้ว ถึงแม้ความเข้าใจเหล่านั้นจะแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดแต่โดยหลักๆ แล้วประชาชนต่างก็มุ่งหวังให้สงฆ์และองค์กรสงฆ์เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคมในเกือบทุกๆ ด้าน ภาพลักษณ์นี้มีข้อดีคือมุมมองต่อสงฆ์จะเป็นไปในทางบวกและมีกลุ่มคนออกมาแสดงความนับถือและปกป้องอยู่เสมอ แต่ในทางกลับกันตัวสงฆ์และองค์กรเองก็ต้องแสดงออกให้เห็นว่าตนนั้นปฏิบัติดีตามที่ประชาชนมุ่งหวัง เรื่องบางเรื่องคนทั่วไปทำได้เป็นปกติแต่พอเป็นพระมาทำกลับกลายเป็นเรื่องไม่ดีไปในทันที
2. บุคคลที่จะมาเป็นพระสงฆ์ ในปัจจุบัน พระสงฆ์ 2 กลุ่มหลักๆ ที่เห็นประจำคือกลุ่มที่บวชเป็นพระสงฆ์แบบยาวๆ หลายๆ พรรษา กับกลุ่มที่บวชระยะสั้น
2.1 กลุ่มที่บวชแบบยาวๆ หลายพรรษา คนกลุ่มนี้มีทั้งบวชแต่เด็ก หรือบวชตอนโตแล้ว การที่อยู่หลายๆ พรรษานี้คาดว่าส่วนใหญ่ก็อยู่ด้วยความเข้าถึงธรรมด้วยความเลื่อมใสศรัทธา แต่ก็คงมีบางส่วนที่อยู่เพราะผลประโยชน์ หรือเพราะไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไรดี
2.2 กลุ่มบวชระยะสั้น เช่น บวชช่วงปิดเทอม ช่วงเข้าพรรษา แก้บน ช่วงงานสำคัญอะไรบางอย่าง หรือแม้กระทั่งบวชเลิกยา ฯลฯ
3. จากปัจจัยในข้อ 1 และ 2 นั้น ทำให้องค์กรและบุคคลากรที่ควรจะเป็นผู้นำด้านศรัทธาและความดีให้กับสังคมนั้นมีที่มาของบุคคลากรที่หลากหลายมาก ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ผมคงไม่กล่าวถึงทุกรูปแบบแต่จะกล่าวถึงพระบางส่วนคือ
3.1 กลุ่มที่บวชตั้งแต่เด็ก กลุ่มนี้มักจะเป็นผู้ที่เป็นใหญ่ในคณะสงฆ์ ทำหน้าที่ปกครองสงฆ์ในระดับต่างๆ ลดหลั่นกันลงมา จุดเด่นคือมีพรรษามาก มีความรู้และประสบการณ์ในทางธรรมมาอย่างยาวนาน แต่จุดด้อยคือ พระส่วนใหญ่ที่บวชแต่เด็กจะขาดความรู้ทางโลก อาจทำให้ตามไม่ทันโลก ไม่ทันสังคม หรือถูกหลอกจากพระใหม่ๆหรือฆราวาสได้ง่าย บางส่วนก็ไม่สามารถสึกมาใช้ชีวิตฆราวาสได้ก็ต้องอยู่ไปเรื่อยๆ พระบางส่วนมาจากครอบครัวที่ยากจนเป็นชนชั้นล่างในสังคม เมื่อบวชมีพรรษามาก มีเงินมียศฐาบรรดาศักดิ์ หันกลับมามองครอบครัวญาติพี่น้องยังลำบาก พระบางรูปก็เขวไปได้
พระกลุ่มนี้เองเป็นแกนหลักขององค์กรสงฆ์ไทย ที่จะชี้แนวทางของสงฆ์ว่าจะไปในทิศทางใด พระปฏิบัติบางส่วนก็มุ่งทางธรรมโดยไม่อยากข้องแวะทางโลก หรือทางปกครอง
3.2 กลุ่มที่บวชตอนโตแล้ว ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ กันไป ทั้งบวชระยะสั้นและระยะยาว พระกลุ่มนี้มีที่มาหลายหลาย และมีเหตุผลหลากหลายในการเข้ามาบวช พระเหล่านี้ต่างก็มีโอกาสในการบรรลุธรรม แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนกับพระที่บวชมาแต่เด็กคือโอกาสก้าวหน้าในทางปกครองที่น้อยกว่า เนื่องจากพรรษาที่เริ่มช้ากว่ารวมถึงองค์ความรู้วิชาการทางธรรมที่ต้องมาเริ่มช้ากว่า สิ่งเหล่านี้บวกกับที่มาที่หลากหลาย ทำให้พระกลุ่มนี้มีความหลากหลายเป็นอย่างมากและยากต่อการปกครอง
หากเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ แล้ว องค์กรสงฆ์นั้นมีบุคคลากรที่มีความแตกต่างกันอย่างมากในทุกๆ ด้าน ทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความรู้ ความมุ่งหมายในการบวช ความสนใจ ชนชั้น สังคม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เองทำให้การปกครององค์กรณ์สงฆ์นั้นมีปัญหามากมาย ผมเองดูข่าวก็เข้าใจและเห็นใจเวลามีข่าวลบๆ เกิดขึ้นกับองค์กรสงฆ์ ในฐานะชาวพุทธคนหนึ่งก็อยากให้องค์กรสงฆ์มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นแต่ด้วยปัญหาต่างๆ มากมาย (ที่เขียนมาเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น) ก็เข้าใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงคงทำได้ยาก
สรุปคือขอเป็นกำลังใจให้พระสงฆ์ดีๆ ช่วยทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรสงฆ์ต่อไปครับ การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองสงฆ์นั้นก็ถือว่าเป็นการเสียสละอย่างหนึ่ง หากพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหันไปปลีกวิเวกมุ่งทางธรรมกันหมด องค์กรสงฆ์คงแย่ไปกว่านี้
องค์กรสงฆ์ในมุมมองของผม
1. ภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์นั้นคงไม่ต้องพูดกันมากเพราะคนส่วนใหญ่ก็เข้าใจกันอยู่แล้ว ถึงแม้ความเข้าใจเหล่านั้นจะแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดแต่โดยหลักๆ แล้วประชาชนต่างก็มุ่งหวังให้สงฆ์และองค์กรสงฆ์เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคมในเกือบทุกๆ ด้าน ภาพลักษณ์นี้มีข้อดีคือมุมมองต่อสงฆ์จะเป็นไปในทางบวกและมีกลุ่มคนออกมาแสดงความนับถือและปกป้องอยู่เสมอ แต่ในทางกลับกันตัวสงฆ์และองค์กรเองก็ต้องแสดงออกให้เห็นว่าตนนั้นปฏิบัติดีตามที่ประชาชนมุ่งหวัง เรื่องบางเรื่องคนทั่วไปทำได้เป็นปกติแต่พอเป็นพระมาทำกลับกลายเป็นเรื่องไม่ดีไปในทันที
2. บุคคลที่จะมาเป็นพระสงฆ์ ในปัจจุบัน พระสงฆ์ 2 กลุ่มหลักๆ ที่เห็นประจำคือกลุ่มที่บวชเป็นพระสงฆ์แบบยาวๆ หลายๆ พรรษา กับกลุ่มที่บวชระยะสั้น
2.1 กลุ่มที่บวชแบบยาวๆ หลายพรรษา คนกลุ่มนี้มีทั้งบวชแต่เด็ก หรือบวชตอนโตแล้ว การที่อยู่หลายๆ พรรษานี้คาดว่าส่วนใหญ่ก็อยู่ด้วยความเข้าถึงธรรมด้วยความเลื่อมใสศรัทธา แต่ก็คงมีบางส่วนที่อยู่เพราะผลประโยชน์ หรือเพราะไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไรดี
2.2 กลุ่มบวชระยะสั้น เช่น บวชช่วงปิดเทอม ช่วงเข้าพรรษา แก้บน ช่วงงานสำคัญอะไรบางอย่าง หรือแม้กระทั่งบวชเลิกยา ฯลฯ
3. จากปัจจัยในข้อ 1 และ 2 นั้น ทำให้องค์กรและบุคคลากรที่ควรจะเป็นผู้นำด้านศรัทธาและความดีให้กับสังคมนั้นมีที่มาของบุคคลากรที่หลากหลายมาก ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ผมคงไม่กล่าวถึงทุกรูปแบบแต่จะกล่าวถึงพระบางส่วนคือ
3.1 กลุ่มที่บวชตั้งแต่เด็ก กลุ่มนี้มักจะเป็นผู้ที่เป็นใหญ่ในคณะสงฆ์ ทำหน้าที่ปกครองสงฆ์ในระดับต่างๆ ลดหลั่นกันลงมา จุดเด่นคือมีพรรษามาก มีความรู้และประสบการณ์ในทางธรรมมาอย่างยาวนาน แต่จุดด้อยคือ พระส่วนใหญ่ที่บวชแต่เด็กจะขาดความรู้ทางโลก อาจทำให้ตามไม่ทันโลก ไม่ทันสังคม หรือถูกหลอกจากพระใหม่ๆหรือฆราวาสได้ง่าย บางส่วนก็ไม่สามารถสึกมาใช้ชีวิตฆราวาสได้ก็ต้องอยู่ไปเรื่อยๆ พระบางส่วนมาจากครอบครัวที่ยากจนเป็นชนชั้นล่างในสังคม เมื่อบวชมีพรรษามาก มีเงินมียศฐาบรรดาศักดิ์ หันกลับมามองครอบครัวญาติพี่น้องยังลำบาก พระบางรูปก็เขวไปได้
พระกลุ่มนี้เองเป็นแกนหลักขององค์กรสงฆ์ไทย ที่จะชี้แนวทางของสงฆ์ว่าจะไปในทิศทางใด พระปฏิบัติบางส่วนก็มุ่งทางธรรมโดยไม่อยากข้องแวะทางโลก หรือทางปกครอง
3.2 กลุ่มที่บวชตอนโตแล้ว ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ กันไป ทั้งบวชระยะสั้นและระยะยาว พระกลุ่มนี้มีที่มาหลายหลาย และมีเหตุผลหลากหลายในการเข้ามาบวช พระเหล่านี้ต่างก็มีโอกาสในการบรรลุธรรม แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนกับพระที่บวชมาแต่เด็กคือโอกาสก้าวหน้าในทางปกครองที่น้อยกว่า เนื่องจากพรรษาที่เริ่มช้ากว่ารวมถึงองค์ความรู้วิชาการทางธรรมที่ต้องมาเริ่มช้ากว่า สิ่งเหล่านี้บวกกับที่มาที่หลากหลาย ทำให้พระกลุ่มนี้มีความหลากหลายเป็นอย่างมากและยากต่อการปกครอง
หากเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ แล้ว องค์กรสงฆ์นั้นมีบุคคลากรที่มีความแตกต่างกันอย่างมากในทุกๆ ด้าน ทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความรู้ ความมุ่งหมายในการบวช ความสนใจ ชนชั้น สังคม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เองทำให้การปกครององค์กรณ์สงฆ์นั้นมีปัญหามากมาย ผมเองดูข่าวก็เข้าใจและเห็นใจเวลามีข่าวลบๆ เกิดขึ้นกับองค์กรสงฆ์ ในฐานะชาวพุทธคนหนึ่งก็อยากให้องค์กรสงฆ์มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นแต่ด้วยปัญหาต่างๆ มากมาย (ที่เขียนมาเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น) ก็เข้าใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงคงทำได้ยาก
สรุปคือขอเป็นกำลังใจให้พระสงฆ์ดีๆ ช่วยทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรสงฆ์ต่อไปครับ การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองสงฆ์นั้นก็ถือว่าเป็นการเสียสละอย่างหนึ่ง หากพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหันไปปลีกวิเวกมุ่งทางธรรมกันหมด องค์กรสงฆ์คงแย่ไปกว่านี้