ปัญหาเรื่องประวัติศาสตร์ไทยยุคก่อนอยุธยาเป็นเรื่องถกเถียงสงสัยกันมานาน ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากในจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือ จารึกหลักที่ 1 มีการบันทึกศักราชดังนี้
1214 ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ปลูกไม้ตาล
1207 ศก ปีกุน ให้ขุดเอาไม้ธาตุออก
1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ
นักประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อน สรุปว่า 1214 คือ ปีมหาศักราช จึงใช้สูตรการแปลงมหาศักราชนำ 621 ไปบวกเป็นพุทธศักราช ทำให้ มหาศักราช 1214 ได้เป็น พ.ศ. 1835
แต่ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า จาก 1214 ปีมะโรงลงมา 1207 เป็นปีระกา ไม่ใช่ปีกุน ซึ่งตามหลักปีนักษัตรแล้วเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องมีอะไรผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้น
เรามาวิเคราะห์ ตำแหน่งทั้ง 3 จุดที่บ่งบอกมหาศักราชกันตามรูป
ภาพด้านล่าง คือ ตำแหน่งแรกในศิลาจารึก เป็นจารึกด้านที่ 3 บรรทัดที่ 10 ที่บ่งบอกว่า 1214 ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ปลูกไม้ตาล โดยที่ล้อมรอบสีแดงคือ คำว่า 1214 ศก ปีมะโรง
จะนำภาพนี้เทียบเคียงตัวเลขในศิลา กับ เลขโหรา กับ เลขในธรรม ที่เป็นเลขต้นแบบมานาน ตามภาพด้านล่าง
จะได้เป็น 1314 ศก ปี มะโรง ซึ่งก็คือ 1314+621 = พ.ศ.1935
ภาพด้านล่าง คือ ตำแหน่งที่ 2 ในศิลาจารึก เป็นจารึกด้านที่ 4 บรรทัดที่ 4 ที่บ่งบอกว่า 1207 ศก ปีกุน ให้ขุดเอาไม้ธาตุออก โดยที่ล้อมรอบสีแดงคือ 1207 ศก ปีกุน
จะนำภาพนี้เทียบเคียงตัวเลขในศิลา กับ เลขโหรา กับ เลขในธรรม ตามวิธีเดิมแบบรูปแรก ได้ดังรูป
ศิลาจารึกบรรทัดนี้แปล ชื่อปีผิด ที่จริง ปี รกร ต้องเป็น ปีระกา
จะได้เป็น 1307 ปีระกา ซึ่งก็คือ 1307+621 = พ.ศ. 1928
ภาพด้านล่าง คือ ตำแหน่งที่ 3 ในศิลาจารึก เป็นจารึกด้านที่ 4 บรรทัดที่ 4 ที่บ่งบอกว่า 1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ โดยที่ล้อมรอบสีแดงคือ 1205 ศก ปีมะแม
จะนำภาพนี้เทียบเคียงตัวเลขในศิลา กับเลขโหร และเลขในธรรม ตามวิธีเดิม ดังรูป
จะได้เป็น 1305 ปีมะแม ซึ่งก็คือ 1305+621 = พ.ศ.1926
ทีนี้ก็มาดูพยานแวดล้อมอื่นประกอบ อันดับแรก คือ เมืองฉอดของพ่อขุนสามชน ในศิลาจารึก ซึ่งถูกระบุในศิลาจารึกวัดศรีชุม ว่าอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ใกล้เมืองเวียงเหล็ก หรือ กำแพงเพชร ซึ่งก็คือ จังหวัดตาก แต่จากตรวจพิสูจน์ พบว่า เมืองโบราณใน จ.ตาก มีอายุ หลังจาก พ.ศ.1900 เป็นต้นไปทั้งนั้น ตามคลิป
และตรงกับการวิเคราะห์ของ อ.ศรีศักร วัลลิโภดม ตามลิงค์
https://www.silpa-mag.com/history/article_2203
ก็บอกไว้ว่า ศิลาจารึกน่าจะทำในช่วงสมัยพระเจ้าลิไทย เป็นต้นมา
สรุป การแปลศักราชในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแต่เดิมที่แปลเป็น มหาศักราช 1214 1207 1205 นั้น เป็นการแปลผิดพลาด ที่ถูกต้องคือมหาศักราช 1314 1307 1305 ซึ่งก็คือ พ.ศ. 1935 1928 1926
หวังว่า ทุกท่านคงนำเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการกันได้นะครับ ส่วนเรื่องที่ว่า พ่อขุนรามคำแหงเป็นใคร พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นใครนั้น ไว้คิดได้ก่อนแล้วจะมาวิเคราะห์ให้อ่านกันอีกที ระหว่างนี้ ก็ให้ท่านอื่นวิเคราะห์กันไปก่อนนะครับ
ค้นพบการแปลศักราชในจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ผิดพลาด
1214 ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ปลูกไม้ตาล
1207 ศก ปีกุน ให้ขุดเอาไม้ธาตุออก
1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ
นักประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อน สรุปว่า 1214 คือ ปีมหาศักราช จึงใช้สูตรการแปลงมหาศักราชนำ 621 ไปบวกเป็นพุทธศักราช ทำให้ มหาศักราช 1214 ได้เป็น พ.ศ. 1835
แต่ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า จาก 1214 ปีมะโรงลงมา 1207 เป็นปีระกา ไม่ใช่ปีกุน ซึ่งตามหลักปีนักษัตรแล้วเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องมีอะไรผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้น
เรามาวิเคราะห์ ตำแหน่งทั้ง 3 จุดที่บ่งบอกมหาศักราชกันตามรูป
ภาพด้านล่าง คือ ตำแหน่งแรกในศิลาจารึก เป็นจารึกด้านที่ 3 บรรทัดที่ 10 ที่บ่งบอกว่า 1214 ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ปลูกไม้ตาล โดยที่ล้อมรอบสีแดงคือ คำว่า 1214 ศก ปีมะโรง
จะนำภาพนี้เทียบเคียงตัวเลขในศิลา กับ เลขโหรา กับ เลขในธรรม ที่เป็นเลขต้นแบบมานาน ตามภาพด้านล่าง
จะได้เป็น 1314 ศก ปี มะโรง ซึ่งก็คือ 1314+621 = พ.ศ.1935
ภาพด้านล่าง คือ ตำแหน่งที่ 2 ในศิลาจารึก เป็นจารึกด้านที่ 4 บรรทัดที่ 4 ที่บ่งบอกว่า 1207 ศก ปีกุน ให้ขุดเอาไม้ธาตุออก โดยที่ล้อมรอบสีแดงคือ 1207 ศก ปีกุน
จะนำภาพนี้เทียบเคียงตัวเลขในศิลา กับ เลขโหรา กับ เลขในธรรม ตามวิธีเดิมแบบรูปแรก ได้ดังรูป
ศิลาจารึกบรรทัดนี้แปล ชื่อปีผิด ที่จริง ปี รกร ต้องเป็น ปีระกา
จะได้เป็น 1307 ปีระกา ซึ่งก็คือ 1307+621 = พ.ศ. 1928
ภาพด้านล่าง คือ ตำแหน่งที่ 3 ในศิลาจารึก เป็นจารึกด้านที่ 4 บรรทัดที่ 4 ที่บ่งบอกว่า 1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ โดยที่ล้อมรอบสีแดงคือ 1205 ศก ปีมะแม
จะนำภาพนี้เทียบเคียงตัวเลขในศิลา กับเลขโหร และเลขในธรรม ตามวิธีเดิม ดังรูป
จะได้เป็น 1305 ปีมะแม ซึ่งก็คือ 1305+621 = พ.ศ.1926
ทีนี้ก็มาดูพยานแวดล้อมอื่นประกอบ อันดับแรก คือ เมืองฉอดของพ่อขุนสามชน ในศิลาจารึก ซึ่งถูกระบุในศิลาจารึกวัดศรีชุม ว่าอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ใกล้เมืองเวียงเหล็ก หรือ กำแพงเพชร ซึ่งก็คือ จังหวัดตาก แต่จากตรวจพิสูจน์ พบว่า เมืองโบราณใน จ.ตาก มีอายุ หลังจาก พ.ศ.1900 เป็นต้นไปทั้งนั้น ตามคลิป
และตรงกับการวิเคราะห์ของ อ.ศรีศักร วัลลิโภดม ตามลิงค์ https://www.silpa-mag.com/history/article_2203
ก็บอกไว้ว่า ศิลาจารึกน่าจะทำในช่วงสมัยพระเจ้าลิไทย เป็นต้นมา
สรุป การแปลศักราชในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแต่เดิมที่แปลเป็น มหาศักราช 1214 1207 1205 นั้น เป็นการแปลผิดพลาด ที่ถูกต้องคือมหาศักราช 1314 1307 1305 ซึ่งก็คือ พ.ศ. 1935 1928 1926
หวังว่า ทุกท่านคงนำเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการกันได้นะครับ ส่วนเรื่องที่ว่า พ่อขุนรามคำแหงเป็นใคร พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นใครนั้น ไว้คิดได้ก่อนแล้วจะมาวิเคราะห์ให้อ่านกันอีกที ระหว่างนี้ ก็ให้ท่านอื่นวิเคราะห์กันไปก่อนนะครับ