♼
♼
.
ถังน้ำบาดาลสูบน้ำจากบ่อพักที่กลับรถไฟ 360 องศา
แถวหลังอู่ของ รฟท. การรถไฟแห่งประเทศไทย
อายุอานามร่วม 100 กว่าปีแล้ว ความสูงราว 20 เมตร
แรงดันน้ำราว 2 บาร์ เดินทางไกลมาจาก England
เป็นเหล็กหนาราวครึ่งนิ้ว ตีโค้งเป็นแผ่นใหญ่ ๆ
แล้วใช้หมุดย้ำให้แผ่นเหล็กยึดเข้าด้วยกัน
ก่อนทาสีเรือกันสนิมทั้งภายนอกภายใน
ทาอย่างหนา อย่างแรง ทนถึก กันสนิม
ทนทานนานนับหลายปีแบบสะพานเหล็กรถไฟในอดีต
ที่นี่เป็นถังน้ำขนาดมหึมาพอ ๆ กับของการประปา
ในยุคระบบ Analog คนยุคโบราณ ใช้แค่
รอก คาน รางเหล็กรถไฟยาว 10-15 เมตร ชะแลง
ยกของหนัก ๆ หลายสิบตันขึ้นลงสบาย ๆ
ขนาดตู้รถไฟตกราง ก็ใช้อุปกรณ์พวกนี้
เสริมด้วยแม่แรงกระปุกขนาด 50 ตัน 6 ตัว
หัวท้าย 4 จุด ตรงที่ตกราง 2 จุด
.
♼
♼
.
ผมเคยเป็นไทยมุง ยืนดูนายช่างกับคนงานรถไฟ
ยกตู้โดยสารรถไฟตกราง ที่ชุมทางหาดใหญ่
พอยกตู้โดยสารขึ้นมาแล้ว กำลังจะหยบ(กลับ)บ้านกัน
สักพักนายช่าง วัยราว 40 ปลาย ๆ ก็โพล่งขึ้นมาว่า เมื่อคืน 4 ที
ผมกับคนที่มุงอยู่ต่างอมยิ้ม พร้อมกับคิดว่า
จะไหวฤาลุง ลุงแมงโม้หรือเปล่า
สักพักแกก็เฉลย ตื่นขึ้นมาฉี่ สงสัยเบาหวานแดx
.
♼
.
สยามกู้เงินอังกฤษ
สร้างทางรถไฟสายใต้ สายเหนือ จากอังกฤษ
โดยกู้เงินผ่านธนาคารฮ่องกงแอนด์เซึ่ยงไฮ้
ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในสยาม
ต่อมาธนาคารแห่งนี้ก็พยายามเจ้ากี้เจ้าการ
ต้องการจะเป็นแกนนำก่อตั้งธนาคารชาติสยาม
ซึ่งจะทำให้สยามเสียอธิปไตยทางการคลัง
นายปรีดี พนมยงค์ จึงตั้งธนาคารชาติในปี 2485
ธนาคารไทยพาณิชย์ คือ ธนาคารไทยแห่งแรก
สยามมีลูกเล่นสร้างรางรถไฟ
แถวภาคกลางภาคเหนือเหมือนทุกวันนี้
แต่สายใต้ให้มีขนาดรางรถไฟต่างกับมาเลย์
เมืองขึ้นอังกฤษในยุคนั้น ได้เอกราชปี 2500
เพราะสยามกลัวถูกยกทัพรุกราน
จากอังกฤษโดยเคลื่อนทัพมาทางรถไฟ
แต่สุดท้ายสยามต้องปรับขนาดรางรถไฟ
ให้เท่ากับรางรถไฟมาเลย์
ตามคำสั่งนายทุนเงินกู้อังกฤษ
เลยเสียเวลาทำงานใหม่นานนับปีเช่นกัน
วิศวกร/ที่ปรึกษาทางรถไฟมาจากอังกฤษ
เพราะรางรถไฟ/อุปกรณ์ต่าง ๆ
มีในมาเลย์/อินเดียแล้วส่วนมาก
บางส่วนขนส่งทางเรือมาจากปีนัง สิงคโปร์
อังกฤษเป็นชาตินิยมแบ่งแยกแล้วปกครอง
บ้านพักเจ้านายจะมีรั้วรอบขอบชิด
บ้านพักคนงานจะเป็นหลัง ๆ หรือเรือนแถว
อยู่กันเป็นเอกเทศตามตำแหน่งงานไม่ปะปนกัน
บ้านมีบริเวณ จะมีต้นไม้พุ่ม Hedge
แบบเมืองนอกที่อังกฤษนิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน
สอ เสถบุถ เคยเขียนเล่าไว้ในหนังสือเล่มหนึ่ง
ที่ดินสองข้างทางรถไฟด้านละ 40 เมตร
ก็มาจากแนวคิดที่ปรึกษาาชาวอังกฤษ
ส่วนวิศวกรสร้างอุโมงค์มาจากเยอรมัน
มีผลงานที่ ขุนตาล ชุมทางเขาชุมทอง
.
♼
.
ถังเก็บน้ำลูกนี้ติดกับคอนโด Centris
เดิมคือ ที่ตั้งของโรงเรียนสงขลาวัฒนา หรือ ประพันธ์วิทยา
ถ้าความเชื่อคนจีน สถานที่ดุร้าย คือ
โรงเรียน ศาลเจ้า กรมการเมือง
(ที่ว่าการอำเภอ เดิมมีทั้งโรงพัก เรือนจำ ศาล
แบบหนังจีนเปาบุ้นจิ้น/กำลังภายใน
ใต้ถุนที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่หลังเก่า
เดิมก็ใช้เป็นที่ขังนักโทษ มีประตูปิดตาย
ข้างล่างเน่าเหม็นจากคราบน้ำท่วมและทิ้งร้างนานแล้ว
ยังมีร่องรอยโผล่ขึ้นมา เพราะถมดินถึงขนาด)
ซี่ คือ กระแสฮวงจุ๊ย/สายลมที่หวังดี
ฮวงจุ๊ย ลม น้ำ แถวนี้จะวูบวาบ ไม่สงบนิ่ง
ในบริเวณติดกันหรือใกล้เคียง
แบบโรงเรียนเข้า โรงเรียนเลิก
ศาลเจ้ามีงาน ไร้งาน
กรมการเมืองงานเข้า กับไม่มีงานทำ
พูดง่าย ๆ มีคนมากคนน้อย เอาแน่เอานอนบ่ได้
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนที่จะเลือนหายไปเหมือนเสียงหวูดรถไฟ
.
♼
♼
♼
ด้านหลังภาพ
♼
♼
พุ่มไม้ Hedge แบบอังกฤษ
♼
♼
♼
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
รถไฟสายแรกของสยาม คือ สายปากน้ำ
เพื่อขนอาหารจากเรือมาพระนคร
สถานีต้นทางรถไฟ คือ สถานีหัวลำโพง
สถานีปลายทางคือ สถานีปากน้ำ
(ท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์)
ระหว่าง พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2459
มีสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี
และเพิ่มเป็น 12 สถานีจนสิ้นสุดการเดินรถ
ค่าโดยสารไปกลับราคา 1 บาท
ส่วนรายสถานีคิดค่าโดยสารระยะสถานี
สถานีละ 1 เฟื้อง มีขนาดราง 1.00 เมตร
ขบวนรถโดยสารหนึ่งขบวนจะประกอบไปด้วย
ตู้โดยสาร 4 ตู้ และโบกี้ห้ามล้ออีกหนึ่งโบกี้
มีระดับชั้นที่นั่งสองระดับคือ
ชั้นสองและชั้นสามเท่านั้น
ระยะเวลาเดินทางราวหนึ่งชั่วโมง
จะต้องผ่านสะพานข้ามคูคลองจำนวนมาก
ซึ่งสะพานส่วนใหญ่ทำจากไม้
มีเพียงบางส่วนที่เป็นไม้กับเหล็ก
การเดินรถในระยะแรก ใช้หัวรถจักรไอน้ำ
ของบริษัท Krauss & Co of Munich เยอรมนี
บริหารงานโดย กอมปานีรถไฟ
หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำทุนจำกัด
โดยพระยาชลยุทธโยธินทร์
(André du Plessis de Richelieu)
ชาวเดนมาร์ก และพระนิเทศชลธี
(แอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช)
ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429
เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479
เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434
มีวิศวกรเดินรถชื่อ
ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche)
ชาวเดนมาร์ก ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น
ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์
ครั้งนั้น พระปิยะมหาราชทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434
ต่อมารถไฟสายนี้ขาดทุนหนักมาก
จึงต้องขายกิจการให้หลวงไป
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2ZDMJ31
http://bit.ly/2HC7dmJ
ต่อมาหลังจากรัฐบาลสยามได้ซื้อกิจการรถไฟ
ก็ขยายเส้นทางจากหัวลำโพง-อยุธยา
พร้อมกับทาสีขบวนรถไฟเป็นสีหมากสุก
เพราะชาวบ้านยุคนั้นยังกินหมากกัน
มักจะบ้วนหมากลงข้างทางแล้วปลิวติดข้างตู้รถโดยสาร
การใช้สีดังกล่าวจะทำให้มองเห็นกลมกลืนกัน
ส่วนสุขอนามัยยังไม่สนใจกันมากในยุคนั้น
ห้องส้วมก็ให้ผู้โดยสารขับถ่ายลงตามร่องกลางรางรถไฟ
มีความเชื่อในหมู่คนงานรถไฟ/ชาวบ้านข้างทางรางรถไฟ
ใครลักขโมยรางรถไฟและอุปกรณ์ชิ้นส่วนรางรถไฟไป จะซวยหนัก
เพราะมีคำสาปแช่งจากหลวงไว้แล้วตอนสร้าง
จึงไม่ค่อยเห็นคนลักขโมยรางรถไฟ/ชิ้นส่วนยีดรางรถไฟไปขายเป็นเศษเหล็ก
เพราะร้านรับซื้อของเก่าดูสภาพของก็บอกได้ว่าเป็นของรถไฟ
รถไฟมีประเพณีปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่งคือ
ที่ชุมทางหาดใหญ่จะมี หัวรถจักรสีเหลือง
พร้อมอุปกรณ์จอดประจำอยู่แถวอู่ซ่อมรถไฟ
ถ้าเกิดกรณีรถไฟสายใต้ใกล้ ๆ ตกราง
หรือมีปัญหาเรื่องเส้นทางรถไฟขาด
ถ้าต้องไปซ่อมแซมบำรุงรักษาซึ่งเป็นงานช้าง
ก็จะมีหวูดเรียกเป็นระยะ ๆ ราว 30 นาทีอย่างต่ำ
ก็เป็นอันรู้กันว่ามีรถไฟตกรางแล้ว
ใครที่ว่างเว้นภาระกิจ/ไม่ได้ทำงานในวันนั้น
ก็จะพากันขึ้นขบวนรถไฟเหลืองไปช่วยเหลือกัน
การซ่อมบำรุงทางรถไฟ
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ คือชื่อฝั่งมาเลย์ แต่ชื่อสถานีสอง ที่ฝั่งไทย
ในการซ่อมบำรุงทางรถไฟที่ปาดังเบซาร์
ช่างมาเลย์จะข้ามเข้ามาในเขตแดนไทยร่วม 10 กิโลเมตร
ส่วนการซ่อมทางที่สถานีสุไหงโก-ลค
ช่างไทยจะข้ามเข้าไปในเขตแดนมาเลย์ร่วม 10 กิโลเมตรเช่นกัน
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างต้องทำงานภายในบริเวณเขตรางรถไฟ
ไม่ใช่เพ่นพล่านไปบริเวณอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ
แต่คนงานมักชอบเดินไปขอน้ำ/ผักผลไม้จากชาวบ้านสองข้างทางเป็นประจำ
เพราะได้เอื้อประโยชน์ในการฝากซื้อของชายแดนเล็ก ๆ น้อย ๆ กัน
โดยด่านศุลกากรทั้งสองฝั่งไม่ค่อยอยากยุ่งกับคนงานรถไฟ
เพราะกลัวมีปัญหาบานปลายถ้ากระทบกระทั่ง
เช่น ถูกกั๊กรถขบวนสินค้าที่ผ่านการตรวจแล้ว
หรือแกล้งทำงานซ่อมแซมล่าช้าทำให้รถไฟวิ่งไม่ได้
ชาวบ้านจะสวด(ด่า)ว่าด่านศุลกากรว่าเป็นต้นเหตุ
(แบบโทรศัพท์บ้านสมัยก่อนที่หาดใหญ่
ตำรวจไปจับปรับรถซ่อมแซมสายโทรศัพท์
ผลคือ โทรศัพท์ทั้งโรงพักใช้งานไม่ได้
ในยุคนั้นยังไม่มีโทรศัพท์มือถือด้วย
ถ้ามีก็แพงมาก ๆ หนักมาก ๆ เช่นกัน
ผลคือ โรงพักถูกสวดหูชาทั้งจากเจ้านายและชาวบ้าน)
การเข้าไปทำงานภายในเส้นทางรถไฟ
เป็นข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝั่งนานมากแล้ว
ในที่ฝั่งไทยบริเวณที่ดินรถไฟ
จะวัดออกจากรางซ้ายขวาข้างละ 40 เมตร
ตามกฎหมายตั้งแต่สมัยพระปิยะมหาราช
ช่วงตั้งกิจการรถไฟที่วิศวกรอังกฤษเป็นที่ปรึกษา
ที่ดินรถไฟจึงมีพื้นที่สองข้างทางรถไฟว่างมาก
ทำให้ชาวบ้านบุกรุกทำประโยชน์สองข้างทางรถไฟจนทุกวันนี้
จากเรื่องเดิม
ไทยแลกดินแดน
Jack ลิงบาบูนนายสถานีรถไฟ
Lunatic Express ทางรถไฟคนบ้าที่สร้างประเทศเคนยา
ถังน้ำรถไฟกับความทรงจำเก่า ๆ
♼
.
ถังน้ำบาดาลสูบน้ำจากบ่อพักที่กลับรถไฟ 360 องศา
แถวหลังอู่ของ รฟท. การรถไฟแห่งประเทศไทย
อายุอานามร่วม 100 กว่าปีแล้ว ความสูงราว 20 เมตร
แรงดันน้ำราว 2 บาร์ เดินทางไกลมาจาก England
เป็นเหล็กหนาราวครึ่งนิ้ว ตีโค้งเป็นแผ่นใหญ่ ๆ
แล้วใช้หมุดย้ำให้แผ่นเหล็กยึดเข้าด้วยกัน
ก่อนทาสีเรือกันสนิมทั้งภายนอกภายใน
ทาอย่างหนา อย่างแรง ทนถึก กันสนิม
ทนทานนานนับหลายปีแบบสะพานเหล็กรถไฟในอดีต
ที่นี่เป็นถังน้ำขนาดมหึมาพอ ๆ กับของการประปา
ในยุคระบบ Analog คนยุคโบราณ ใช้แค่
รอก คาน รางเหล็กรถไฟยาว 10-15 เมตร ชะแลง
ยกของหนัก ๆ หลายสิบตันขึ้นลงสบาย ๆ
ขนาดตู้รถไฟตกราง ก็ใช้อุปกรณ์พวกนี้
เสริมด้วยแม่แรงกระปุกขนาด 50 ตัน 6 ตัว
หัวท้าย 4 จุด ตรงที่ตกราง 2 จุด
.
♼
♼
.
ผมเคยเป็นไทยมุง ยืนดูนายช่างกับคนงานรถไฟ
ยกตู้โดยสารรถไฟตกราง ที่ชุมทางหาดใหญ่
พอยกตู้โดยสารขึ้นมาแล้ว กำลังจะหยบ(กลับ)บ้านกัน
สักพักนายช่าง วัยราว 40 ปลาย ๆ ก็โพล่งขึ้นมาว่า เมื่อคืน 4 ที
ผมกับคนที่มุงอยู่ต่างอมยิ้ม พร้อมกับคิดว่า
จะไหวฤาลุง ลุงแมงโม้หรือเปล่า
สักพักแกก็เฉลย ตื่นขึ้นมาฉี่ สงสัยเบาหวานแดx
.
♼
.
สยามกู้เงินอังกฤษ
สร้างทางรถไฟสายใต้ สายเหนือ จากอังกฤษ
โดยกู้เงินผ่านธนาคารฮ่องกงแอนด์เซึ่ยงไฮ้
ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในสยาม
ต่อมาธนาคารแห่งนี้ก็พยายามเจ้ากี้เจ้าการ
ต้องการจะเป็นแกนนำก่อตั้งธนาคารชาติสยาม
ซึ่งจะทำให้สยามเสียอธิปไตยทางการคลัง
นายปรีดี พนมยงค์ จึงตั้งธนาคารชาติในปี 2485
ธนาคารไทยพาณิชย์ คือ ธนาคารไทยแห่งแรก
สยามมีลูกเล่นสร้างรางรถไฟ
แถวภาคกลางภาคเหนือเหมือนทุกวันนี้
แต่สายใต้ให้มีขนาดรางรถไฟต่างกับมาเลย์
เมืองขึ้นอังกฤษในยุคนั้น ได้เอกราชปี 2500
เพราะสยามกลัวถูกยกทัพรุกราน
จากอังกฤษโดยเคลื่อนทัพมาทางรถไฟ
แต่สุดท้ายสยามต้องปรับขนาดรางรถไฟ
ให้เท่ากับรางรถไฟมาเลย์
ตามคำสั่งนายทุนเงินกู้อังกฤษ
เลยเสียเวลาทำงานใหม่นานนับปีเช่นกัน
วิศวกร/ที่ปรึกษาทางรถไฟมาจากอังกฤษ
เพราะรางรถไฟ/อุปกรณ์ต่าง ๆ
มีในมาเลย์/อินเดียแล้วส่วนมาก
บางส่วนขนส่งทางเรือมาจากปีนัง สิงคโปร์
อังกฤษเป็นชาตินิยมแบ่งแยกแล้วปกครอง
บ้านพักเจ้านายจะมีรั้วรอบขอบชิด
บ้านพักคนงานจะเป็นหลัง ๆ หรือเรือนแถว
อยู่กันเป็นเอกเทศตามตำแหน่งงานไม่ปะปนกัน
บ้านมีบริเวณ จะมีต้นไม้พุ่ม Hedge
แบบเมืองนอกที่อังกฤษนิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน
สอ เสถบุถ เคยเขียนเล่าไว้ในหนังสือเล่มหนึ่ง
ที่ดินสองข้างทางรถไฟด้านละ 40 เมตร
ก็มาจากแนวคิดที่ปรึกษาาชาวอังกฤษ
ส่วนวิศวกรสร้างอุโมงค์มาจากเยอรมัน
มีผลงานที่ ขุนตาล ชุมทางเขาชุมทอง
.
♼
.
ถังเก็บน้ำลูกนี้ติดกับคอนโด Centris
เดิมคือ ที่ตั้งของโรงเรียนสงขลาวัฒนา หรือ ประพันธ์วิทยา
ถ้าความเชื่อคนจีน สถานที่ดุร้าย คือ
โรงเรียน ศาลเจ้า กรมการเมือง
(ที่ว่าการอำเภอ เดิมมีทั้งโรงพัก เรือนจำ ศาล
แบบหนังจีนเปาบุ้นจิ้น/กำลังภายใน
ใต้ถุนที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่หลังเก่า
เดิมก็ใช้เป็นที่ขังนักโทษ มีประตูปิดตาย
ข้างล่างเน่าเหม็นจากคราบน้ำท่วมและทิ้งร้างนานแล้ว
ยังมีร่องรอยโผล่ขึ้นมา เพราะถมดินถึงขนาด)
ซี่ คือ กระแสฮวงจุ๊ย/สายลมที่หวังดี
ฮวงจุ๊ย ลม น้ำ แถวนี้จะวูบวาบ ไม่สงบนิ่ง
ในบริเวณติดกันหรือใกล้เคียง
แบบโรงเรียนเข้า โรงเรียนเลิก
ศาลเจ้ามีงาน ไร้งาน
กรมการเมืองงานเข้า กับไม่มีงานทำ
พูดง่าย ๆ มีคนมากคนน้อย เอาแน่เอานอนบ่ได้
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนที่จะเลือนหายไปเหมือนเสียงหวูดรถไฟ
.
♼
♼
ด้านหลังภาพ
♼
♼
พุ่มไม้ Hedge แบบอังกฤษ
♼
♼
♼
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
รถไฟสายแรกของสยาม คือ สายปากน้ำ
เพื่อขนอาหารจากเรือมาพระนคร
สถานีต้นทางรถไฟ คือ สถานีหัวลำโพง
สถานีปลายทางคือ สถานีปากน้ำ
(ท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์)
ระหว่าง พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2459
มีสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี
และเพิ่มเป็น 12 สถานีจนสิ้นสุดการเดินรถ
ค่าโดยสารไปกลับราคา 1 บาท
ส่วนรายสถานีคิดค่าโดยสารระยะสถานี
สถานีละ 1 เฟื้อง มีขนาดราง 1.00 เมตร
ขบวนรถโดยสารหนึ่งขบวนจะประกอบไปด้วย
ตู้โดยสาร 4 ตู้ และโบกี้ห้ามล้ออีกหนึ่งโบกี้
มีระดับชั้นที่นั่งสองระดับคือ
ชั้นสองและชั้นสามเท่านั้น
ระยะเวลาเดินทางราวหนึ่งชั่วโมง
จะต้องผ่านสะพานข้ามคูคลองจำนวนมาก
ซึ่งสะพานส่วนใหญ่ทำจากไม้
มีเพียงบางส่วนที่เป็นไม้กับเหล็ก
การเดินรถในระยะแรก ใช้หัวรถจักรไอน้ำ
ของบริษัท Krauss & Co of Munich เยอรมนี
บริหารงานโดย กอมปานีรถไฟ
หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำทุนจำกัด
โดยพระยาชลยุทธโยธินทร์
(André du Plessis de Richelieu)
ชาวเดนมาร์ก และพระนิเทศชลธี
(แอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช)
ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429
เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479
เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434
มีวิศวกรเดินรถชื่อ
ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche)
ชาวเดนมาร์ก ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น
ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์
ครั้งนั้น พระปิยะมหาราชทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434
ต่อมารถไฟสายนี้ขาดทุนหนักมาก
จึงต้องขายกิจการให้หลวงไป
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2ZDMJ31
http://bit.ly/2HC7dmJ
ต่อมาหลังจากรัฐบาลสยามได้ซื้อกิจการรถไฟ
ก็ขยายเส้นทางจากหัวลำโพง-อยุธยา
พร้อมกับทาสีขบวนรถไฟเป็นสีหมากสุก
เพราะชาวบ้านยุคนั้นยังกินหมากกัน
มักจะบ้วนหมากลงข้างทางแล้วปลิวติดข้างตู้รถโดยสาร
การใช้สีดังกล่าวจะทำให้มองเห็นกลมกลืนกัน
ส่วนสุขอนามัยยังไม่สนใจกันมากในยุคนั้น
ห้องส้วมก็ให้ผู้โดยสารขับถ่ายลงตามร่องกลางรางรถไฟ
มีความเชื่อในหมู่คนงานรถไฟ/ชาวบ้านข้างทางรางรถไฟ
ใครลักขโมยรางรถไฟและอุปกรณ์ชิ้นส่วนรางรถไฟไป จะซวยหนัก
เพราะมีคำสาปแช่งจากหลวงไว้แล้วตอนสร้าง
จึงไม่ค่อยเห็นคนลักขโมยรางรถไฟ/ชิ้นส่วนยีดรางรถไฟไปขายเป็นเศษเหล็ก
เพราะร้านรับซื้อของเก่าดูสภาพของก็บอกได้ว่าเป็นของรถไฟ
รถไฟมีประเพณีปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่งคือ
ที่ชุมทางหาดใหญ่จะมี หัวรถจักรสีเหลือง
พร้อมอุปกรณ์จอดประจำอยู่แถวอู่ซ่อมรถไฟ
ถ้าเกิดกรณีรถไฟสายใต้ใกล้ ๆ ตกราง
หรือมีปัญหาเรื่องเส้นทางรถไฟขาด
ถ้าต้องไปซ่อมแซมบำรุงรักษาซึ่งเป็นงานช้าง
ก็จะมีหวูดเรียกเป็นระยะ ๆ ราว 30 นาทีอย่างต่ำ
ก็เป็นอันรู้กันว่ามีรถไฟตกรางแล้ว
ใครที่ว่างเว้นภาระกิจ/ไม่ได้ทำงานในวันนั้น
ก็จะพากันขึ้นขบวนรถไฟเหลืองไปช่วยเหลือกัน
การซ่อมบำรุงทางรถไฟ
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ คือชื่อฝั่งมาเลย์ แต่ชื่อสถานีสอง ที่ฝั่งไทย
ในการซ่อมบำรุงทางรถไฟที่ปาดังเบซาร์
ช่างมาเลย์จะข้ามเข้ามาในเขตแดนไทยร่วม 10 กิโลเมตร
ส่วนการซ่อมทางที่สถานีสุไหงโก-ลค
ช่างไทยจะข้ามเข้าไปในเขตแดนมาเลย์ร่วม 10 กิโลเมตรเช่นกัน
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างต้องทำงานภายในบริเวณเขตรางรถไฟ
ไม่ใช่เพ่นพล่านไปบริเวณอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ
แต่คนงานมักชอบเดินไปขอน้ำ/ผักผลไม้จากชาวบ้านสองข้างทางเป็นประจำ
เพราะได้เอื้อประโยชน์ในการฝากซื้อของชายแดนเล็ก ๆ น้อย ๆ กัน
โดยด่านศุลกากรทั้งสองฝั่งไม่ค่อยอยากยุ่งกับคนงานรถไฟ
เพราะกลัวมีปัญหาบานปลายถ้ากระทบกระทั่ง
เช่น ถูกกั๊กรถขบวนสินค้าที่ผ่านการตรวจแล้ว
หรือแกล้งทำงานซ่อมแซมล่าช้าทำให้รถไฟวิ่งไม่ได้
ชาวบ้านจะสวด(ด่า)ว่าด่านศุลกากรว่าเป็นต้นเหตุ
(แบบโทรศัพท์บ้านสมัยก่อนที่หาดใหญ่
ตำรวจไปจับปรับรถซ่อมแซมสายโทรศัพท์
ผลคือ โทรศัพท์ทั้งโรงพักใช้งานไม่ได้
ในยุคนั้นยังไม่มีโทรศัพท์มือถือด้วย
ถ้ามีก็แพงมาก ๆ หนักมาก ๆ เช่นกัน
ผลคือ โรงพักถูกสวดหูชาทั้งจากเจ้านายและชาวบ้าน)
การเข้าไปทำงานภายในเส้นทางรถไฟ
เป็นข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝั่งนานมากแล้ว
ในที่ฝั่งไทยบริเวณที่ดินรถไฟ
จะวัดออกจากรางซ้ายขวาข้างละ 40 เมตร
ตามกฎหมายตั้งแต่สมัยพระปิยะมหาราช
ช่วงตั้งกิจการรถไฟที่วิศวกรอังกฤษเป็นที่ปรึกษา
ที่ดินรถไฟจึงมีพื้นที่สองข้างทางรถไฟว่างมาก
ทำให้ชาวบ้านบุกรุกทำประโยชน์สองข้างทางรถไฟจนทุกวันนี้
จากเรื่องเดิม
ไทยแลกดินแดน
Jack ลิงบาบูนนายสถานีรถไฟ
Lunatic Express ทางรถไฟคนบ้าที่สร้างประเทศเคนยา