กู้ร่วม กับ ค้ำประกัน เป็นคำที่มักได้ยินบ่อย ๆ ในกรณีที่ผู้กู้มีรายได้เไม่เพียงพอ การหาคนกู้ร่วมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับการอนุมัติสินเชื่อได้มากขึ้น เพราะสถาบันการเงินและธนาคารจะประเมินวงเงินสินเชื่อจากผู้กู้และผู้กู้ร่วมรวมกัน แต่มีสินเชื่อบางประเภท ที่อาจจะต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีมูลค่าสูง และต้องใช้ระยะเวลานานในการผ่อนชำระ
หลายคนที่กำลังคิดซื้อบ้าน-คอนโด จึงควรศึกษาให้ดีก่อนว่า กู้ร่วม กับ ค้ำประกัน คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แม้การกู้ร่วม และ ค้ำประกัน จะเป็นเทคนิควิธีที่ทำให้การกู้ผ่านง่าย แต่ก็มีข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรรู้ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลทั้งผลดีและผลเสียในระยะยาว
กู้ร่วมกับค้ำประกันคืออะไร?
1. กู้ร่วมคืออะไร?
กู้ร่วม คือ การทำสัญญายื่นกู้สินเชื่อก้อนเดียวกัน เพื่อให้ทางธนาคารเห็นว่าจะมีอีกคนมาช่วยรับผิดชอบ หรือรับภาระหนี้ร่วมกัน เพิ่มความมั่นใจว่าจะสามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนด ทำให้ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรือได้วงเงินสูงขึ้น
โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินจะอนุมัติสินเชื่อหรือไม่อนุมัติสินเชื่อนั้น จะนำข้อมูลของผู้กู้ร่วมมาร่วมพิจารณาด้วย เช่น รายได้ต่อเดือน ภาระหนี้สินที่มีอยู่ในความสามารถในการชำระหนี้ ประวัติในการชำระหนี้ ติดเครดิตบูโร หรือไม่ และเมื่อได้รับการอนุมัติสินเชื่อเรียบร้อยแล้ว จะถือว่าผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมจะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน โดยปกติแล้วจะกู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คน สามารถกู้ร่วมได้ในสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
2. ค้ำประกันคืออะไร?
ค้ำประกัน คือ การทำสัญญาซึ่งต้องมีบุคคลภายนอก หรือที่เรียกว่าผู้ค้ำประกัน เข้ามาผูกพันทางกฎหมายต่อเจ้าหนี้ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา โดยผู้ค้ำประกันจะไม่ได้มีสถานะเป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับผู้กู้ร่วม สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกัน แต่หากเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยว ไม่ยอมจ่ายหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินสามารถไล่เบี้ยกับผู้ค้ำประกัน เพื่อให้ชำระหนี้แทนได้
โดยในการทำสัญญาค้ำประกัน จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ เพื่อเป็นการสัญญาว่าจะชำระหนี้คืนแทน หากลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้คืนตามกำหนด กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อถึงกำหนดวันเวลาที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าหนี้แล้ว ตามกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
กู้ร่วมกับค้ำประกันต่างกันอย่างไร?
การกู้ร่วมซื้อบ้านและการค้ำประกันซื้อบ้าน ดูเหมือนมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่แท้จริงแล้วมี 5 ความแตกต่าง ดังนี้
กู้ร่วมกับค้ำประกันเหมือนกันอย่างไร?
-มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนด
-มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ไม่ติดเครดิตบูโร
-รับผิดชอบในมูลหนี้ทั้งหมดที่ค้างอยู่กับธนาคารและสถาบันการเงิน
ที่มา : https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/กู้ร่วม-ค้ำประกัน-เหมือนหรือต่างกันอย่างไร-57142
กู้ร่วม-ค้ำประกัน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
หลายคนที่กำลังคิดซื้อบ้าน-คอนโด จึงควรศึกษาให้ดีก่อนว่า กู้ร่วม กับ ค้ำประกัน คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แม้การกู้ร่วม และ ค้ำประกัน จะเป็นเทคนิควิธีที่ทำให้การกู้ผ่านง่าย แต่ก็มีข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรรู้ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลทั้งผลดีและผลเสียในระยะยาว
กู้ร่วมกับค้ำประกันคืออะไร?
1. กู้ร่วมคืออะไร?
กู้ร่วม คือ การทำสัญญายื่นกู้สินเชื่อก้อนเดียวกัน เพื่อให้ทางธนาคารเห็นว่าจะมีอีกคนมาช่วยรับผิดชอบ หรือรับภาระหนี้ร่วมกัน เพิ่มความมั่นใจว่าจะสามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนด ทำให้ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรือได้วงเงินสูงขึ้น
โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินจะอนุมัติสินเชื่อหรือไม่อนุมัติสินเชื่อนั้น จะนำข้อมูลของผู้กู้ร่วมมาร่วมพิจารณาด้วย เช่น รายได้ต่อเดือน ภาระหนี้สินที่มีอยู่ในความสามารถในการชำระหนี้ ประวัติในการชำระหนี้ ติดเครดิตบูโร หรือไม่ และเมื่อได้รับการอนุมัติสินเชื่อเรียบร้อยแล้ว จะถือว่าผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมจะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน โดยปกติแล้วจะกู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คน สามารถกู้ร่วมได้ในสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
2. ค้ำประกันคืออะไร?
ค้ำประกัน คือ การทำสัญญาซึ่งต้องมีบุคคลภายนอก หรือที่เรียกว่าผู้ค้ำประกัน เข้ามาผูกพันทางกฎหมายต่อเจ้าหนี้ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา โดยผู้ค้ำประกันจะไม่ได้มีสถานะเป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับผู้กู้ร่วม สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกัน แต่หากเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยว ไม่ยอมจ่ายหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินสามารถไล่เบี้ยกับผู้ค้ำประกัน เพื่อให้ชำระหนี้แทนได้
โดยในการทำสัญญาค้ำประกัน จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ เพื่อเป็นการสัญญาว่าจะชำระหนี้คืนแทน หากลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้คืนตามกำหนด กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อถึงกำหนดวันเวลาที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าหนี้แล้ว ตามกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
กู้ร่วมกับค้ำประกันต่างกันอย่างไร?
การกู้ร่วมซื้อบ้านและการค้ำประกันซื้อบ้าน ดูเหมือนมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่แท้จริงแล้วมี 5 ความแตกต่าง ดังนี้
กู้ร่วมกับค้ำประกันเหมือนกันอย่างไร?
-มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนด
-มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ไม่ติดเครดิตบูโร
-รับผิดชอบในมูลหนี้ทั้งหมดที่ค้างอยู่กับธนาคารและสถาบันการเงิน
ที่มา : https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/กู้ร่วม-ค้ำประกัน-เหมือนหรือต่างกันอย่างไร-57142