นามสกุลไอน์สไตน์  Einstein






ต้นกำเนิด Israel 

ในยุคกลางตอนปลาย 
ผู้คนรู้จักกันเพียงแค่ชื่อเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น
นักเดินทาง/พ่อค้า เริ่มออกเดินทางต่างแดนกัน
ผู้คนจึงจำเป็นต้องนำชื่อที่สองนำมาใช้
เพื่อระบุตัวตนของตนเอง  แหล่งที่อยู่เดิม/ที่มา
นามสกุลของชาวยิว เพื่อบอกถึงต้นกำเนิด
จึงถูกนำมาใช้จากแหล่งต่าง ๆ กัน

นามสกุล Einstein อาจมาจากสองแหล่ง คือ
อาจจะเป็นนามสกุลตามอาชีพ
ภาษาเยอรมัน ein หนึ่ง/เกี่ยวกับ stein หิน  
หรือ einsteinen  หิน หรือ เกี่ยวกับหิน
ดังนั้น อาจจะเป็นนามสกุลของ คนที่ทำงานกับหิน
(Smith ช่างฝีมือ Goldsmith ช่างทอง
Blacksmith ช่างตีเหล็ก Coalsmith ช่างเตา)

อีกทางหนึ่งของนามสกุล Einstein
เป็นชื่อจำแนก/ประกอบชาวยิว (Ashkenazic)
นามสกุลชาวยิวจำนวนมากเป็นนามสกุลเสริม
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับท้องที่ อาชีพ ชื่อเล่น
หรือชื่อบุคคลของคนแรกที่ใช้ชื่อนั้น

อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็มาจากองค์ประกอบ
ที่อธิบายสถานที่ หรือ ลักษณะทางภูมิศาสตร์
สัตว์ นก อาชีพ หรือชื่อบุคคล(ต้นตระกูล) เป็นต้น
(ชื่อบ้านแปลงเมืองแบบของไทย ที่ตั้งตามชื่อ
คน สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ ภูมิศาสตร์ เป็นต้น)

นามสกุล Einstein ที่อพยพมายังสหรัฐอเมริกา
ขุดแรก ๆ  ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในศรวรรษที่  19
H Einstein อายุ 15 ปี
มาที่ Baltimore, Maryland ปี 1847 
L Einstein อายุ 29 ปี
มาที่ Baltimore, Maryland ปี 1847
Joseph Einstein
มาทึ่ North America ปี 1852 
Wilhelm Einstein
มาที่ North America ปี 1852 
William Einstein
จับจองที่ Allegany (Allegheny) County, Pennsylvania ปี 1854 
ข้อมูลเพิ่มเติม Einstein  มีค่าใช้จ่าย

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/320erOO






เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ต้นสกุล สุขุม 
ท่านผู้หญิงตลับ คุณหญิงประจวบ รามราฆพ (สุขุม)



ตั้งแต่โบราณมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6
คนสยามยังไม่มีนามสกุลใช้ มีแต่ชื่อโดด ๆ
ทั้งชื่อก็ยังซ้ำกันมาก อย่าง อิน จัน มั่น คง
แดง ดำ ขาว เขียว

หมายเหตุ

อิน=พระอินทร์ จัน=พระจันทร์ มั่น=แน่นอน
คง=ดุจเดิม คนโบราณไม่นิยมตั้งให้ลูกหลาน
เพราะกลัวคำเล่าลือจะถูกจับไปฝังทั้งเป็น
เพื่อเป็นผีเฝ้าศาลหลักเมืองเวลาขึ้นเสาใหม่
หรือเวลามีการสร้างเมืองใหม่
จะมีการตระเวณหาและเรียกขานชื่อนี้ยามค่ำคืน
ใครตอบรับว่า เอ้อ แม้ไม่ใช่ชื่อนี้ ก็ถือว่าใช่
แบบเทพดลใจให้ไปเป็นผีเฝ้าศาลหลักเมือง
คนโบราณจึงบอก ยามค่ำคืนใครขานชื่อ อย่าขานรับ
แต่มีเหตุผลเบื้องหลัง กันขโมย/ผู้ร้ายจะมาฆ่า
จะได้ฆ่าไม่ผิดตัว และรู้ว่าอยู่ที่บ้านแน่นอน

พระอินทร์ คือ เทพอุปถัมภ์ของพุทธศาสนา
และความเชื่อในนิทานพื้นบ้าน/ชาดกของสยาม
หลังจากพราหมณ์มีชัยชนะศาสนาพุทธที่อินเดีย
ก็เลยแต่งนิยายสวด(ด่า)พระอินทร์จนเสียพระ
แล้วไปชเลียร์พระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ

ตอนจะมีไปรษณีย์ในสมัยรัชกาลที่ 5
เมื่อแก้ปัญหาไม่มีเลขที่บ้านไปแล้ว
ก็ยังมีปัญหาเรื่องชื่อบุคคลที่จะรับจดหมายอีก
เพราะไม่รู้ว่าแดงไหน ดำไหน
เพราะตอนไปสำรวจจัดทำบ้านเลขที่
ก็ขอให้บอกชื่อคนที่อยู่ รวมทั้งชื่อบิดามารดาด้วย
จะได้ชัดเจนขึ้น โดยมีประกาศตอนหนึ่งว่า

หมายเหตุ

ระบบบ้านเลขที่ก็ยังมีปัญหาในการลงเลขบ้าน
เดิมผู้ใหญ่บ้านมีสมุดจดเบอร์บ้านสร้างใหม่
แล้วให้แต่ละคนเลือกเลขบ้านเองได้
ถ้าไม่เลือกก็จะลงตามลำดับในสมุด
ทำให้บ้านเลขที่กระโดดไปกระโดดมาในบางแห่ง
ยิ่งหมู่บ้านเกิดกันเยอะ ยิ่งมีปัญหามาก
จนตัองมีการใช้เครื่องหมาย / ตามด้วยเลขที่



“ ถ้าไม่จดชื่อบิดากำกับด้วย ก็ไม่ทราบว่า อิน จัน มั่น คง คนใด
จึงต้องถามชื่อบิดาด้วย จะได้ลงชื่อบิดากำกับไม่ใช้ชื่อซ้ำกัน
เหมือนดั่งชื่อธรรมเนียมจีนธรรมเนียมยุโรปอื่น ๆ นั้น
เหมือนกับนายอินบุตรนายอ้น นายจันบุตรนายจร
นายมั่นบุตรนายม่วง นายคงบุตรนายคำ ดั่งนี้เป็นต้น ”

แต่เมื่อลงชื่อบิดากำกับแล้ว ชื่อบิดาก็อาจซ้ำกันอีก จึงต้องขอให้บอกอาชีพด้วย
“ การซึ่งถามถึงสังกัจและการทำมาค้าขายนั้นก็เหมือนกัน
พอให้เปนที่มั่นคงเครื่องหมายที่จะให้ผิดชื่อกันเท่านั้น
แลจะได้ทราบว่าผู้นั้นมีวิชาการสิ่งไร แลทำมาค้าขายสิ่งอันใด
เพราะเพื่อราษฎรลูกค้าพานิชชาวต่างประเทศ
จะมีความประสงค์ในการวิชาของผู้นั้น
ฤามีธุระเกี่ยวข้องในวิชาแลการค้าขายสิ่งใดก็ดี
ก็จะได้ทราบว่าผู้นั้นเป็นคนอย่างไร แลทำมาค้าขายสิ่งอันใด
ราษฎรลูกค้าพานิชจะได้ซื้อส่งสินค้าได้คล่องแคล่ว โดยสะดวก
ไม่ว่าต่างเมืองทางไกลแลใกล้ มิใช่จะจดชื่อเสียงไว้
สำหรับเก็บภาษี ฤาคิดค่าหลังคาเรือน ”

ด้วยเหตุที่ยุ่งยากเรื่องชื่อนี้ ในรัชกาลที่ 6
จึงประกาศพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม 2455
บังคับใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2456 เป็นต้นไป
(ให้เวลาชาวบ้านเตรียมการถึง 15 เดือน)
ให้คนสยามต้องมีนามสกุล เพื่อสะดวกแก่การจดทะเบียน
คนเกิด คนตาย และทำการสมรส
ทรงชี้แจงถึงคุณประโยชน์ของการมีนามสกุลไว้ใน
จดหมายเหตุรายวัน  ว่า
 
“ การมีชื่อตระกูลเปนความสะดวกมาก
อย่างต่ำ ๆ ที่ใครๆก็ย่อมจะมองเห็นได้
คือ ชื่อคนในทะเบียฬสำมโนครัวจะได้ไม่ปนกัน
แต่อันที่จริงจะมีผลสำคัญกว่านั้น
คือ จะทำให้เรารู้จักรำฤกถึงบรรพบุรุษของตน
ผู้ได้อุสาหก่อสร้างตัวมา และได้ตั้งตระกูลไว้ให้มีชื่อในแผ่นดิน
เราผู้เปนเผ่าพันธุ์ของท่านได้รับมรฎกมาแล้ว
จำต้องประพฤติตนให้สมกับที่ท่านได้ทำดีมาไว้ และการที่จะตั้งใจเช่นนี้
ถ้ามีชื่อที่ต้องรักษามิให้เสื่อมทรามไปแล้ว
ย่อมจะทำให้เปนเครื่องยึดเหนี่ยวหน่วงใจคน
มิให้ตามใจตนไปฝ่ายเดียว จะถือว่า
ตัวใครก็ตัวใคร ไม่ได้อีกต่อไป 
จะต้องรักษาทั้งชื่อของตัวเองทั้งชื่อของตระกูลด้วยอีกส่วน ”
(ถ้าใครทำไม่ดี ก็จะเสียไปถึงโคตรเง่าบรรพบุรุษด้วย)

(รัชกาลที่ 6 ทรงสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ
จึงเข้าใจดีถึงความยุ่งยากของฝรั่งที่มีนามสกุลโหล/ซ้ำกันเยอะ
จึงกำหนดขอบเขตนามสกุลคนสยามห้ามซ้ำกัน
แต่ขอใช้ร่วมกันได้ถ้าเจ้าของนามสกุลยินยอม)






ตอนให้ตั้งนามสกุลก็เป็นเรื่องโกลาหลไม่น้อย
เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าจะตั้งอย่างไร
นายอำเภอ เจ้าเมือง พระภิกษุ(รู้บาลี) จึงเป็นที่พึ่ง
วัน ๆ ไม่ต้องทำอะไรได้แต่ตั้งนามสกุลให้คนที่ไปหากันแน่น
รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานนามสกุลให้แก่ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน
บันทึกไว้ในทะเบียฬนามสกุล มีถึง 6,432 นามสกุล

นามสกุลหมายเลข 1  คือ นามสกุล  สุขุม 
ต้นสกุลคือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
พระราชทานนที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2456

© เรื่องวุ่น ๆ เมื่อคนไทยเริ่มใช้นามสกุล
ร.๖ พระราชทานนามสกุลแรกของชาวสยาม






เรื่องเล่าไร้สาระ

เดาทึ่มา นามสกุลคนใต้บางถิ่น
สระโอ ใช้กันมากในสงขลา เช่น พัฒโน สุวรรณโณ ปุสโร ปุสวิโร
จันทร์ จันทน์ สุวรรณ (สุวรรณวงศ์ สุวรรณคีรี)
มักจะใช้นำหน้านามสกุล

นิยมเดชา (มุสลิม) มาจากบ้านบ่อตรุ อำเภอสทิงพระ
ตำนานเป็นสตรีที่เคยแต่งงานไปอยุธยาในสมัยอยุธยา แล้วกลับมาอยู่ที่นี่
ทุกวันนี้ บางส่วนเป็นพุทธ บางส่วนใช้ตามตายาย บางส่วนมั่วเอาแอบใช้

เพราะระบบทะเบียนราษฏร์ในอดีตยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ
ถือเอาการจดแจ้งจากผู้ใหญ่บ้าน กับที่อำเภอเป็นสำคัญ
บัตรประชาชนทำแต่ละครั้งรอกันครึ่งปี เปลี่ยนหมายเลขทุกครั้ง
ต้องใช้ใบเหลืองเป็นการชั่วคราวติดรูปถ่ายที่ต้องไปถ่ายข้างนอกก่อน
กว่าจะเริ่มมีหมายเลขบัตรประจำตัวบัตรประชาชน
ก็เริ่มสำรวจกันในปี 2527 และเริ่มทำกันจริงจังราวปี 2530
แล้วเลขที่บัตรทำใช้กันทั่วประเทศราวปี 2535

คง (มั่นคง หรือ ข้าวโพด คำท้องถิ่น) มุสิก (หนู) มุสิกพงศ์ 
นำหน้าตามหลัง มีการใช้กันในพัทลุง ระโนฏ
(สะกดตามพงศาวดารรัชกาลที่ 3 มาจาก ตาลตโนด) 
เพราะในอดีตไปมาติดต่อกันในทะเลน้อยใกล้กว่ามาสงขลา 
และเป็นเครือญาติกัน บางครั้งมีไปถึงตรัง เพราะใกล้กัน

เก้าเอี้ยน ตรัง มีตำนานที่ยอมรับกันว่า ขอใช้ร่วมกันทั้งหมู่บ้านในตรัง 
เพราะเป็นพวกคนจีนอพยพมาจากหมู่บ้าน/ตำบลเดียวกันในอดีต 
เลยนับญาติพี่น้องกัน สมัยที่การขอมีนามสกุลยุ่งยากมาก เลยมั่วกันได้ ขอใช้กันได้

แสงทอง มีทั้งไทยจีนแขก 
เพราะระบบทะเบียนราษฏร์ในอดีตมั่วมาก 
คนรู้จักผมคนหนึ่งยังยอมรับเองว่า 
พ่อของตนไปแจ้งใช้นามสกุลนี้ที่อำเภอเอง 
ตอนไปทำบัตรประชาชนในอดีต
เพราะจำได้ว่า ผมถามแกตอนที่มีข่าว
จับผู้ก่อการร้ายแขกรายหนึ่ง นามสกุล แสงทอง
ผมถามแกว่าเป็นญาติกันไหม
และนายวิชิต แสงทอง อดีตรมต. ยุคป๋าเปรม
ก็ให้สัมภาษณ์ บอกไม่รู้จักกับโจรแขกนี้เลย

กู กูร์ กูมะ ประกอบนามสกุล 
มักจะเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า 3 จังหวัดชายแดน 
ในอดีตเจ้านครรัฐกลันตัน มีอาณาเขตถึงปัตตานี 
(ปัตตานิ ชาวนา หรือ นาข้าว) บางครั้งก็ส่งเชื้อสายมาปกครองที่นี่ 
สำเนียงภาษายาวี (มลายู) ที่นี่ใกล้เคียงกับสำเนียงกลันตัน

หวัน  วัน  เชื่อว่ามาจากตระกูลเจ้ามลายู
ซึ่งในบางสายตระกูลก็แผลงเป็นคำว่า  แว  นำหน้าก็มี
เกิดจากการออกเสียงและสำเนียงการพูด
วันมูฮัมหมัด นี่ก็แผลงมาเป็น แวมามะ




การเปลี่ยนนามสกุลครั้งใหญ่ที่พัทลุง

นายร้อยถัด รัตนพันธุ์ ผู้ร่วมก่อการกบฏ ร.ศ.130
เป็นอดีตบรรณาธิการศรีกรุง สยามราษฎร์
และเป็น ส.ส.ที่มาจากเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2477
คือ ผู้สร้างวาทกรรม/สโลแกนที่โด่งดังว่า
กินเลี้ยงครูถัด ใส่บัตรนายร้อย

สโลแกนการเมืองในอดีต
เหล็กวิลาส หรือจะสู้ตะปูควง
เอาเสาไฟฟ้าสมัคร ยังชนะเลย
ไม่เลือกเรา เขามาแน่
จำลองพาคนไปตาย
เลือกพรรคถึงจะดี เหมือนฟังดนตรีทั้งคณะ
30 บาทตายทุกโรค
รับเงินหมา กาบัตรคน

ในการลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดพัทลุง
ครูถัด พรหมมาณพ ครูใหญ่โรงเรียนพัทลุง
เป็นคู่แข่งสำคัญของนายร้อยถัด คะแนนนำโด่ง
จนมีการเปิดโรงเลี้ยงกันเอิกเกริก เป็นงานเลี้ยง
เพื่อหาเสียงของครูถัด เลี้ยงเหมือนมีงานวัดทั้งวันทั้งคืน

นายร้อยถัด รัตนพันธุ์ หาเสียงว่าคนพัทลุงต้องเลือกนักสู้
เลือกคนที่ติดคุกการเมือง ใครเลี้ยงใครแจกเงินให้กินให้รับ
แต่เวลาเลือกต้องเลือกคนที่กล้าสู้กับนาย
(นาย คือ ข้าราชการในยุคอดีตที่ชอบรังแกชาวบ้าน)
(ไม่รบนาย ไม่หายจน) และความไม่ชอบธรรม

(อาจจะมีการวางเดิมพันว่า นายร้อยแพ้แน่
แบบต่อกัน 3/1 5/1 คนอยากชนะเดิมพันครั้งนี้
จะชักชวนกันไปเทคะแนนให้นายร้อย เพื่อกินเดิมพัน
ยุทธวิธีหาเสียงในอดีตของพรรคเก่าแก่
แบบอั้นวงเงินไว้ต่อรองจำนวนหนึ่งเพื่อการนี้)

ในทางลับนั้น ร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์ได้ตกลงกับ
คนในตระกูลสงสม หรือ สงสมพันธุ์
ให้คนจำนวนเกือบ 3 พันคนในตระกูลนี้
เปลี่ยนนามสกุลเป็นรัตนพันธุ์
เพื่อว่าหากได้เป็น ส.ส. หรือถึงขั้นได้เป็นรัฐมนตรี
จะได้เป็นญาติกัน  คนทางการจะได้เกรงใจ

ดังนั้นเวลามีงานรวมญาติตระกูล รัตนพันธุ์
ในพัทลุง จึงต้องสืบกันว่าเป็นสายไหน
เป็นสายตรงหรือที่เปลี่ยนนามสกุลมา
ที่มา  Chen Songsomphan





เรื่องเดิม  เธอคงเป็นนางสาวแล้วนะ

กฎหมายใหม่ สตรีมีสิทธิ์ใช้ นามสกุลเดิม
หลังจากแต่งงานแล้ว หรือ หย่า/ม่าย แล้ว
สตรีมีสิทธิ์ใช้ นางสาว หรือ นาง
ได้หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว
ถ้าหย่า/ม่ายจะเปลี่ยนจาก นาง เป็น นางสาว ก็ได้
บุตรมีสิทธิ์ใช้นามสกุลฝ่าย มารดา หรือ บิดา
หรือใช้ทั้งสองนามสกุลร่วมกันได้







แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่