... ภาษาเกาหลีถูกจำแนกอยู่ใน
"ตระกูลภาษาเกาหลี" (Koreanic languages) มีผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณคาบสมุทรเกาหลี และเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดชนชาติเกาหลีหยันเปียน มณฑลจี๋หลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะที่ภาษาทมิฬถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาษาทมิฬ(Tamil languages) สาขาทมิฬ-กันนาดา(Tamil–Kannada languages) กลุ่มดราวิเดียนใต้(South Dravidian languages)
"ตระกูลภาษาดราวิเดียน" (Dravidian languages) โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดีย, จังหวัดเหนือ, ตะวันออก, ทางเหนือของจังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ และทางใต้ของจังหวัดกลางของประเทศศรีลังกา ดังนั้นภาษาเกาหลีกับทมิฬจึงไม่มีความเชื่อมโยงกันในเชิงความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย(genetic relationship) ทว่าทั้งสองกลับมีคำศัพท์ทั่วไปในชีวิตประจำวันที่คล้ายคลึงกันหลายคำ จนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีมิชชันนารีและนักข่าวชาวอเมริกันนาม Homer Bezaleel Hulbert เป็นผู้เริ่มเสนอให้ทั้งสองภาษาอยู่ในตระกูลเดียวกันภายใต้ชื่อ
"ตระกูลทราวิฑ-เกาหลี" (Dravido-Korean languages) หรือ "ตระกูลทราวิฑ-เกาหลี-ญี่ปุ่น" (Dravido-Koreo-Japonic) เพราะบางครั้งมีการรวมกลุ่มภาษาญี่ปุ่นเข้าไปด้วยตามแนวคิดของ ซึซึมุ โอโนะ (大野 晋) นักภาษาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นประจำมหาวิทยาลัยกาคุชูอิน(学習院大学) แต่ตระกูลภาษาดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างคำศัพท์ของเกาหลีกับทมิฬที่คล้ายกันเช่น
คำสรรพนาม (Pronouns)
-
"นา" (나), "นานึน" (나는) = "นาน" (நான்) หมายถึง "ฉัน" (แบบไม่เป็นทางการในทั้งสองภาษา ซึ่ง 나는 จะใช้เน้นการกระทำ)
-
"เนกา" (내가) = "นางกัล" (நாங்கள்) คือ "ฉัน" (แบบไม่เป็นทางการ ใช้เน้นผู้กระทำ ในภาษาเกาหลี), "เรา" (แบบไม่รวมผู้ฟัง(Exclusive) ในภาษาทมิฬ)
-
"นอ" (너) = "นี" (நீ) แปลว่า "คุณ" (แบบไม่เป็นทางการในทั้งสองภาษา)
-
"นีกา" (네가) = "นีงกัล" (நீங்க) หมายถึง "คุณ" (แบบไม่เป็นทางการ ใช้เน้นผู้กระทำ ในภาษาเกาหลี ส่วนในภาษาทมิฬเป็นแบบทางการ), "พวกคุณ" (ในภาษาทมิฬ)
คำเกี่ยวกับเครือญาติ (Kinship)
-
"อาบอจี" (아버지) = "อัปปุชชี" (அப்புச்சி) คือ "พ่อ" (แบบเป็นทางการ ในภาษาเกาหลี), "ตา" (ในภาษาทมิฬ)
-
"อัปปา" (아빠) = "อัปปา" (அப்பா) แปลว่า "พ่อ" (แบบไม่เป็นทางการในภาษาเกาหลี)
-
"ออโมนี" (어머니) = "อัมมานี" (அம்மணி) หมายถึง "แม่" (แบบเป็นทางการในภาษาเกาหลี), "หญิงสูงศักดิ์,คุณหญิง" (คำเรียกหญิงสาวเชิงเคารพยกย่องในภาษาทมิฬ)
-
"อมมา" (엄마) = "อัมมา" (அம்மா) หมายถึง "แม่" (แบบไม่เป็นทางการในภาษาเกาหลี)
-
"อนนี" (언니) = "อันนี" (அண்ணி) แปลว่า พี่สาว (ความหมายในภาษาเกาหลี ซึ่งเป็นคำที่ผู้หญิงใช้กล่าวถึงหรือเรียกผู้หญิงที่มีอายุมากกว่าตนเองในเครือญาติ หรือบุคคลนอกที่สนิทสนม), พี่สาวของสามีหรือภรรยา (ความหมายในภาษาทมิฬ)
-
"อากาชี" (아가씨) = "ตังกัชชี/ตังไก" (தங்கச்சி/தங்கை) หมายถึง "หญิงสาว, นางสาว, น้องสาวของสามี, คุณหนู(ลูกสาวขุนนางที่ยังไม่แต่งงาน)" (ภาษาเกาหลี), "น้องสาว" (ภาษาทมิฬ)
คำหรือกลุ่มคำอื่นๆ
-
"คาดา" (가다) = "คาดา" (கட) คือ "ไป" (ในภาษาเกาหลี), "ผ่าน, ข้าม" (ในภาษาทมิฬ)
-
"คัจโชยาฮัม" (갖춰야 함) = "คัตตายัม" (கட்டாயம்) แปลว่า "จำเป็นต้องมี" (ในภาษาเกาหลี), "จำเป็น, บังคับ" (ในภาษาทมิฬ)
-
"โชกึม โชกึม" (조금 조금) = "กญเจิม กญเจิม" (கொஞ்சம் கொஞ்சம்) หมายถึง "นิดๆหน่อยๆ, เล็กๆน้อยๆ"
-
"ซัล" (쌀) = "โซรู" (சோறு) คือ "ข้าว" (ในภาษาเกาหลี), "ข้าวสุก" (ในภาษาทมิฬ)
-
"ซาวูดะ" (싸우다) = "ซาวูดะ/ซันเด" (சண்டை) แปลว่า "สู้, ต่อสู้, ทะเลาะ" (சண்டை อาจมาจาก "ชานดา" (चण्ड) ของภาษาสันสกฤต)
-
"นาล" (날) = "นาล" (நாள்) หมายถึง "วัน"
-
"โพดา" (보다) = "วิดา" (விட) คือ "กว่า"
-
"พุล" (풀) = "พุล" (புல்) แปลว่า "หญ้า"
-
"มาอึม" (마음) = "มานัม" (மனம்) หมายถึง "จิตใจ, เจตนา" (மனம் อาจมาจาก "มานัส" (मनस्) ของภาษาสันสกฤต)
-
"เมตูกี" (메뚜기) = "เวตุกกิลิ" (வெட்டுக்கிளி) คือ "ตั๊กแตน"
-
"มูดอ" (묻어) = "มูดุ" (மூடு) แปลว่า "ฝัง, ซ่อน, ติด, ยึด" (묻어 เป็นรูปผันหนึ่งของ 묻다 ในภาษาเกาหลี), "ปิด, บัง, คลุม" (ในภาษาทมิฬ)
-
"วา" (와) = "วา" (வா) หมายถึง "มา" (와 เป็นรูปผันหนึ่งของ 오다 ในภาษาเกาหลี)
-
"อาพา" (아파) = "อาปา" (அப்பா) แปลว่า "เจ็บ, คำอุทานแสดงความเจ็บปวด" (아파 เป็นรูปผันหนึ่งของ 아프다 ในภาษาเกาหลี)
-
"อีกอท" (이것) = "อิตุ" (இது) หมายถึง "นี่, นี้, สิ่งนี้, อันนี้" (ซึ่ง 이 คือ "นี่, นี้" ส่วน 것 คือ "สิ่ง/อัน" ในภาษาเกาหลี)
-
"ไอโก" (아이고) = "ไอโย" (ஐயோ) คือ "คำอุทานแสดงความแปลกใจ, กลุ้มใจ, เสียใจ, รังเกียจ เป็นต้น" (คล้ายกับ "ไอโย" (哎喲) ของภาษาจีนที่เป็นคำอุทานด้วยเช่นกัน)
-
"โอลลา" (올라) = "เอลลา/เอลลุ" (எழ/எழு) แปลว่า "ขึ้น" (올라 เป็นรูปผันหนึ่งของ 오르다 ในภาษาเกาหลี)
-
"อนนือ" (어느) = "อน-ดรือ/อนนือ" (ஒன்று) หมายถึง "หนึ่ง"
(ในภาษาเกาหลีจะเป็นคำขยายคำนาม บ่งบอกถึงความไม่แน่ชัด เช่น "어느 날 아침" แปลว่า เช้าวันหนึ่ง เป็นต้น)
-
"อิปปัล" (이빨) = "ปัล" (பல்) คือ "ฟัน" (ยังคล้ายกับคำของบางภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนด้วย อาทิ ภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม คือ "*nipən" (นิเปิน) และภาษาตากาล็อก คือ "Ngipin" (งีปิน) เป็นต้น)
-
"อาพึน" (아픈) = "พุน" (புண்) แปลว่า "เจ็บปวด" (아픈 เป็นรูปผันหนึ่งของ 아프다 ในภาษาเกาหลี)
เป็นต้น
ทั้งนี้ความคล้ายกันระหว่างคำศัพท์ภาษาเกาหลีกับทมิฬเหล่านี้ เกิดขึ้นจากความบังเอิญหรือมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ภาษาเกาหลีกับทมิฬมีการแลกเปลี่ยนคำศัพท์ระหว่างกันครับ? ...
... เหตุใดคำศัพท์บางคำในภาษา"เกาหลี"และ"ทมิฬ" จึงมีความคล้ายคลึงกัน? ...
คำสรรพนาม (Pronouns)
- "นา" (나), "นานึน" (나는) = "นาน" (நான்) หมายถึง "ฉัน" (แบบไม่เป็นทางการในทั้งสองภาษา ซึ่ง 나는 จะใช้เน้นการกระทำ)
- "เนกา" (내가) = "นางกัล" (நாங்கள்) คือ "ฉัน" (แบบไม่เป็นทางการ ใช้เน้นผู้กระทำ ในภาษาเกาหลี), "เรา" (แบบไม่รวมผู้ฟัง(Exclusive) ในภาษาทมิฬ)
- "นอ" (너) = "นี" (நீ) แปลว่า "คุณ" (แบบไม่เป็นทางการในทั้งสองภาษา)
- "นีกา" (네가) = "นีงกัล" (நீங்க) หมายถึง "คุณ" (แบบไม่เป็นทางการ ใช้เน้นผู้กระทำ ในภาษาเกาหลี ส่วนในภาษาทมิฬเป็นแบบทางการ), "พวกคุณ" (ในภาษาทมิฬ)
คำเกี่ยวกับเครือญาติ (Kinship)
- "อาบอจี" (아버지) = "อัปปุชชี" (அப்புச்சி) คือ "พ่อ" (แบบเป็นทางการ ในภาษาเกาหลี), "ตา" (ในภาษาทมิฬ)
- "อัปปา" (아빠) = "อัปปา" (அப்பா) แปลว่า "พ่อ" (แบบไม่เป็นทางการในภาษาเกาหลี)
- "ออโมนี" (어머니) = "อัมมานี" (அம்மணி) หมายถึง "แม่" (แบบเป็นทางการในภาษาเกาหลี), "หญิงสูงศักดิ์,คุณหญิง" (คำเรียกหญิงสาวเชิงเคารพยกย่องในภาษาทมิฬ)
- "อมมา" (엄마) = "อัมมา" (அம்மா) หมายถึง "แม่" (แบบไม่เป็นทางการในภาษาเกาหลี)
- "อนนี" (언니) = "อันนี" (அண்ணி) แปลว่า พี่สาว (ความหมายในภาษาเกาหลี ซึ่งเป็นคำที่ผู้หญิงใช้กล่าวถึงหรือเรียกผู้หญิงที่มีอายุมากกว่าตนเองในเครือญาติ หรือบุคคลนอกที่สนิทสนม), พี่สาวของสามีหรือภรรยา (ความหมายในภาษาทมิฬ)
- "อากาชี" (아가씨) = "ตังกัชชี/ตังไก" (தங்கச்சி/தங்கை) หมายถึง "หญิงสาว, นางสาว, น้องสาวของสามี, คุณหนู(ลูกสาวขุนนางที่ยังไม่แต่งงาน)" (ภาษาเกาหลี), "น้องสาว" (ภาษาทมิฬ)
คำหรือกลุ่มคำอื่นๆ
- "คาดา" (가다) = "คาดา" (கட) คือ "ไป" (ในภาษาเกาหลี), "ผ่าน, ข้าม" (ในภาษาทมิฬ)
- "คัจโชยาฮัม" (갖춰야 함) = "คัตตายัม" (கட்டாயம்) แปลว่า "จำเป็นต้องมี" (ในภาษาเกาหลี), "จำเป็น, บังคับ" (ในภาษาทมิฬ)
- "โชกึม โชกึม" (조금 조금) = "กญเจิม กญเจิม" (கொஞ்சம் கொஞ்சம்) หมายถึง "นิดๆหน่อยๆ, เล็กๆน้อยๆ"
- "ซัล" (쌀) = "โซรู" (சோறு) คือ "ข้าว" (ในภาษาเกาหลี), "ข้าวสุก" (ในภาษาทมิฬ)
- "ซาวูดะ" (싸우다) = "ซาวูดะ/ซันเด" (சண்டை) แปลว่า "สู้, ต่อสู้, ทะเลาะ" (சண்டை อาจมาจาก "ชานดา" (चण्ड) ของภาษาสันสกฤต)
- "นาล" (날) = "นาล" (நாள்) หมายถึง "วัน"
- "โพดา" (보다) = "วิดา" (விட) คือ "กว่า"
- "พุล" (풀) = "พุล" (புல்) แปลว่า "หญ้า"
- "มาอึม" (마음) = "มานัม" (மனம்) หมายถึง "จิตใจ, เจตนา" (மனம் อาจมาจาก "มานัส" (मनस्) ของภาษาสันสกฤต)
- "เมตูกี" (메뚜기) = "เวตุกกิลิ" (வெட்டுக்கிளி) คือ "ตั๊กแตน"
- "มูดอ" (묻어) = "มูดุ" (மூடு) แปลว่า "ฝัง, ซ่อน, ติด, ยึด" (묻어 เป็นรูปผันหนึ่งของ 묻다 ในภาษาเกาหลี), "ปิด, บัง, คลุม" (ในภาษาทมิฬ)
- "วา" (와) = "วา" (வா) หมายถึง "มา" (와 เป็นรูปผันหนึ่งของ 오다 ในภาษาเกาหลี)
- "อาพา" (아파) = "อาปา" (அப்பா) แปลว่า "เจ็บ, คำอุทานแสดงความเจ็บปวด" (아파 เป็นรูปผันหนึ่งของ 아프다 ในภาษาเกาหลี)
- "อีกอท" (이것) = "อิตุ" (இது) หมายถึง "นี่, นี้, สิ่งนี้, อันนี้" (ซึ่ง 이 คือ "นี่, นี้" ส่วน 것 คือ "สิ่ง/อัน" ในภาษาเกาหลี)
- "ไอโก" (아이고) = "ไอโย" (ஐயோ) คือ "คำอุทานแสดงความแปลกใจ, กลุ้มใจ, เสียใจ, รังเกียจ เป็นต้น" (คล้ายกับ "ไอโย" (哎喲) ของภาษาจีนที่เป็นคำอุทานด้วยเช่นกัน)
- "โอลลา" (올라) = "เอลลา/เอลลุ" (எழ/எழு) แปลว่า "ขึ้น" (올라 เป็นรูปผันหนึ่งของ 오르다 ในภาษาเกาหลี)
- "อนนือ" (어느) = "อน-ดรือ/อนนือ" (ஒன்று) หมายถึง "หนึ่ง"
(ในภาษาเกาหลีจะเป็นคำขยายคำนาม บ่งบอกถึงความไม่แน่ชัด เช่น "어느 날 아침" แปลว่า เช้าวันหนึ่ง เป็นต้น)
- "อิปปัล" (이빨) = "ปัล" (பல்) คือ "ฟัน" (ยังคล้ายกับคำของบางภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนด้วย อาทิ ภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม คือ "*nipən" (นิเปิน) และภาษาตากาล็อก คือ "Ngipin" (งีปิน) เป็นต้น)
- "อาพึน" (아픈) = "พุน" (புண்) แปลว่า "เจ็บปวด" (아픈 เป็นรูปผันหนึ่งของ 아프다 ในภาษาเกาหลี)
เป็นต้น
ทั้งนี้ความคล้ายกันระหว่างคำศัพท์ภาษาเกาหลีกับทมิฬเหล่านี้ เกิดขึ้นจากความบังเอิญหรือมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ภาษาเกาหลีกับทมิฬมีการแลกเปลี่ยนคำศัพท์ระหว่างกันครับ? ...