ฉลาม kitefin ขนาด 6 ฟุต เป็นสายพันธุ์เรืองแสงในความมืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งบนบกและในทะเล
(Cr.Jerome Mallefet/National Fund for Scientific Research, Catholic University of Louvain)
แม้ใกล้จะสิ้นปีที่สองของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในท้องถิ่นที่เป็นอันตรายมากขึ้นเรื่อย ๆ และการปกป้องข้อมูลของวิทยาศาสตร์ยังคงมีการเรียนรู้อย่างหนัก แต่โลกยังคงเป็นสถานที่ที่เหนือจินตนาการ ที่เต็มไปด้วยคำมั่นสัญญาและความลึกลับ เพราะอย่างนั้น การวิจัยที่เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของโลกธรรมชาติ ซึ่งได้ดำเนินการตลอดมาก็เพื่อบ่งชี้ว่าชีวิตที่น่าอัศจรรย์บนโลกของเรานั้นวิเศษจริงๆ
เพื่อเข้าใจถึงความหลากหลายของชีวิตที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของทั้งมนุษย์และสัตว์ ปีนี้ นักอนุกรมวิธาน (นักวิทยาศาสตร์ที่จำแนกชนิดพันธุ์) ได้จำแนกสปีชีส์ใหม่(มีชีวิต) ที่ยังหลงเหลืออยู่หลายพันชนิด(บางครั้งสายพันธุ์เหล่านี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยได้รับการศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์มาก่อน) รวมถึงแมงมุมที่น่าประทับใจในปาปัวนิวกินี (ตั้งชื่อตามนักเคลื่อนไหว Greta Thunberg) และกิ้งก่าตัวจิ๋วในมาดากัสการ์
นอกจากนั้นยังได้เห็นการค้นพบใหม่ที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะแปลกประหลาดที่พัฒนาขึ้นจากการปรับตัว ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก DNA ของสัตว์มีการกลายพันธุ์ของยีนแบบสุ่มที่สร้างลักษณะเฉพาะที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสภาพแวดล้อมเฉพาะ ทำให้สัตว์มีแนวโน้มที่จะอยู่รอดและถ่ายทอดยีนของมันมากขึ้น และอาจเป็นไปได้ว่าลักษณะเหล่านี้จะค่อยๆ ส่งต่อกันไปหลายชั่วอายุคน จนมีลักษณะเด่นในสายพันธุ์
ด้วยวิธีนี้ สภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์สามารถทำให้สัตว์พัฒนารูปลักษณ์และความสามารถเฉพาะตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ร้อนจัด การแข่งขันเพื่อคู่ครอง หรืออื่นๆ นับเป็นปีที่ดีในการเพิ่มพูนความรู้ของเราเกี่ยวกับการพัฒนาในโลกธรรมชาติ และนี่คือการค้นพบในสัตว์ที่น่าประทับใจที่สุดที่ได้รับการพิจารณาในช่วงปีนี้
ช้างบางตัวกำลังพัฒนาจนเสียงา Cr.science.org/
สงครามกลางเมืองในโมซัมบิกซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 1977 - 1992 นั้นโหดร้ายสำหรับช้างแอฟริกา โดยสัตว์มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ถูกฆ่าตายเพราะงาช้างในอุทยานแห่งชาติ Gorongosa National Park ของประเทศ แต่การสังหารครั้งนี้มีผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง มันทำให้ช้างบางตัวกำลังพัฒนาโดยไม่มีงา เพื่อทำให้มีโอกาสถูกลอบล่าน้อยลง
ตามที่ National Geographic ได้รายงานไว้ ประมาณหนึ่งในสามของช้างตัวเมียในอุทยานแห่งชาติ Gorongosa ที่เกิดหลังสงครามสิ้นสุดในปี 1992
ไม่เคยพัฒนางาอีกเลย โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในเดือนตุลาคม 2021 ในวารสารวิทยาศาสตร์ Science แสดงให้เห็นว่าช้างดังกล่าวมีการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมของสองยีนที่ปกติจะส่งเสริมการพัฒนางาช้าง (โดยปกติ งาช้างจะเกิดเพียงประมาณ 2 - 4 เปอร์เซ็นต์ของช้างแอฟริกาเพศเมียเท่านั้น)
Robert Pringle นักนิเวศวิทยาที่มหาวิทยาลัย Princeton กล่าวว่า แม้วันนี้การล่าได้หยุดลงแล้วและจำนวนช้างกำลังฟื้นตัว แต่อาจใช้เวลานานกว่าที่ตัวเมียที่มีงาจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนที่เคยเป็นมา
Virgin births ในนกหายาก Cr.bbc.com
แร้งแคลิฟอร์เนีย (California condors) สัตว์กินของเน่าที่งดงามด้วยปีกกว้างกว่า 9 ฟุต ที่เกือบจะสูญพันธุ์ไปในกลางศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากพิษ การรุกล้ำ และการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย ด้วยความทะเยอทะยานที่จะช่วยชีวิตพวกเขา แร้งทั้ง 22 ตัวถูกจับมาจากป่าในปี 1987 และผสมพันธุ์ในกรง ก่อนที่จะถูกปล่อยกลับไปยังบางส่วนของแคลิฟอร์เนีย ยูทาห์ แอริโซนา และ Baja California ทำให้ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 500 ตัว
จากนั้น นักวิจัยได้เฝ้าติดตามนกอย่างระมัดระวัง ทั้งพฤติกรรมการผสมพันธุ์และพันธุศาสตร์ จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2021 พวกเขาค้นพบว่าแร้งสองตัวเพศหญิงได้ให้กำเนิดโดยไม่ต้องผสมพันธุ์ นี่เป็นหลักฐานแรกของการกำเนิดบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า parthenogenesis หรือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสายพันธุ์นี้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการสืบพันธุ์รูปแบบนี้พบได้ทั่วไปในโลกของสัตว์มากกว่าที่คิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยากต่อการตรวจจับและแทบไม่ถูกติดตาม
สำหรับ Parthenogenesis นั้นเป็นเหตุการณ์ที่หายากมาก แต่ได้รับการบันทึกไว้ในสายพันธุ์อื่นมาก่อน เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในเพศหญิงทำตัวเหมือนสเปิร์มและหลอมรวมกับไข่ มักเกิดขึ้นในสัตว์ที่มีลูกผสมพันธุ์น้อยหรือไม่มีเลย
COVID-19 ที่พบในสัตว์ต่างๆ Cr.10news.com/
ไวรัสที่ทำให้เกิด COVID-19 ไม่เพียงสร้างความเสียหายต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ยังสามารถแพร่เชื้อในสัตว์ได้หลากหลายสายพันธุ์ จนถึงตอนนี้ นักวิจัยได้พบหลักฐานของการติดเชื้อในสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์หรือสัตว์เลี้ยง ทั้งเสือ สิงโต กอริลล่า มิงค์ เสือดาวหิมะ สุนัขและแมวบ้าน ซึ่งโดยทั่วไป ไวรัสจะทำให้เกิดอาการไม่รุนแรงแม้ในสัตว์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ไวรัสยังแพร่ระบาดในกวางป่า white-tailed ในอเมริกาเหนือ โดยนักวิทยาศาสตร์ในรัฐ Iowa พบการติดเชื้อในกวางประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามการวิจัยที่ตีพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน 2021 บน bioRxiv เว็บไซต์ที่โพสต์ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่ากวางได้รับเชื้อจากคนหลายครั้งและส่งต่อให้กัน แม้ว่าจะไม่มีใครรู้ว่ากวางสามารถติดไวรัสได้อย่างไร
การวิจัยครั้งนี้มีความคล้ายคลึงกับการศึกษาที่เผยแพร่ก่อนหน้าเมื่อต้นปีที่แสดงว่าร้อยละ 40 ของกวาง 152 ตัวที่ถูกทดสอบในสามรัฐ มิชิแกน อิลลินอยส์ และนิวยอร์ก มีแอนติบอดีต่อโรคซาร์ส COV-2 (ไวรัสที่ทำให้เกิด COVID-19) ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่า การมีแหล่งกักเก็บไวรัสในสัตว์ทั่วไปนั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากกวางอาจส่งไวรัสกลับคืนสู่มนุษย์ได้
black-footed ferret ถูกโคลนนิ่งสำเร็จ Cr.vigil360.com.ng
เพื่อช่วยสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ได้ประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่ง black-footed ferret โดยใช้เซลล์ที่เก็บรักษาไว้จากสัตว์ป่า
ที่ตายไปนาน นับเป็นครั้งแรกที่มีการโคลนสัตว์ใกล้สูญพันธุ์พื้นเมืองในสหรัฐอเมริกา
ความสำเร็จที่ประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ เนื่องจากมีพังพอนเท้าดำเหลืออยู่เพียง 500 ตัวซึ่งทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและเป็นลูกหลานของอาณานิคมเดียวที่พบในปี 1981 ในรัฐไวโอมิง หลังจากที่คาดว่าสปีชีส์นี้จะสูญพันธุ์ แต่เซลล์จาก Willa พังพอนเท้าดำที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วและเสียชีวิตไปในในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ทั้งยังไม่มีลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ด้วยความเย็นที่ Frozen Zoo ในโปรแกรมของ San Diego Zoo Global สวนสัตว์ป่าพันธมิตร ตอนนี้ เซลล์เหล่านี้ถูกโคลนและกลายเป็น พังพอนเท้าดำ ที่ชื่อ Elizabeth Ann
นักวิจัยหวังว่าลูกหลานของมันจะสามารถกลับคืนสู่ธรรมชาติได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และการผสมผสานความหลากหลายทางพันธุกรรมนี้จะสามารถช่วยให้สัตว์ขยายพันธุ์ได้ง่ายขึ้นและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นต่อโรคและแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมภายนอก
ทากทะเลพวกนี้ตัดหัวของมันเอง และสร้างร่างใหม่ทั้งหมด Cr.cnet.com/
โดยปกติเมื่อสัตว์สูญเสียศีรษะ ชีวิตของสัตว์ตัวนั้นก็จะสิ้นสุดลง แต่ไม่ใช่สำหรับทากทะเลบางตัว ตามที่อธิบายไว้ในการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม 2021 ในสาร Current Biology สัตว์ทะเลสองสายพันธุ์สามารถฉีกหัวของพวกมันเองได้ และหัวที่แยกส่วนแต่ละหัวสามารถสร้างร่างกายใหม่ทั้งหมดได้
อย่างสมบูรณ์ภายในสามสัปดาห์ (เรียกว่า autotomy สิ่งที่กิ้งก่าทำเมื่อสูญเสียหางเพื่อรักษาตัวเอง) ซึ่งนักวิจัยแนะนำว่าพวกมันอาจมีเซลล์ที่คล้ายสเต็มเซลล์ที่สามารถงอกใหม่ได้
นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ยังผิดปกติในการที่พวกมันสามารถขโมยคลอโรพลาสต์จากสาหร่าย และอาจเก็บเกี่ยวพลังงานจากดวงอาทิตย์ภายในร่างกายของพวกมันเองได้ด้วย โดยกระบวนการฟื้นฟูร่างกายที่น่าประหลาดใจนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความคิดในการศึกษาต่อไป ในตัวอย่างสุดโต่งของการฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการแพทย์ของมนุษย์
มดสามารถหดและงอกสมองได้ Cr.popsci.com
มดกระโดดอินเดีย (Indian jumping ants) ที่เรียกว่า Harpegnathos saltator เป็นสายพันธุ์ที่มีขากรรไกรเหมือนคีมและดวงตาสีดำขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในป่าตามแนวชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย จากผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนเมษายน 2021 ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B
ระบุว่าพวกมันมีวิธีการเลือกราชินีที่แปลก
ในการทำเช่นนั้นเพื่อชิงมงกุฎ มดงานที่เข้าแข่งขันจะหดและงอกสมองของพวกมันขึ้นใหม่ (การหดสมองที่เกิดขึ้นอาจเพื่อให้สามารถประหยัดพลังงานเพื่อเน้นการผลิตไข่ได้) จากนั้นฮอร์โมนจะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในมด รวมถึงรังไข่จะใหญ่ขึ้น การผลิตพิษน้อยลง และอายุขัยยืนยาวขึ้น ความสามารถนี้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่รุนแรงแต่สามารถย้อนกลับได้ โดยสมองของมันสามารถหดตัวได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์เริ่มพบว่ามีสัตว์หลายชนิดที่สามารถหดสมองของพวกมันแล้วงอกใหม่ แม้กระทั่งมนุษย์ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่เราเห็นจากการทดลองในมด
ม้าป่าและลาขุดบ่อน้ำในทะเลทราย Cr. kjzz.org
แม้ว่าบางคนจะมองว่าม้าและลาป่าหรือ burros เป็นภัยคุกคาม แต่ก็สามารถส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่ช่วยเหลือสัตว์อื่นๆ ได้ ในเดือนเมษายน 2021 ในวารสารวิทยาศาสตร์ Science นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า สัตว์เหล่านี้สามารถใช้กีบเท้าของพวกมันขุดดินได้ลึกกว่า 6 ฟุตไปถึงน้ำใต้ดินและภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง จะกลายเป็นบ่อน้ำที่ลึกประมาณหนึ่งเมตร ซึ่งเป็นประโยชน์ให้กับสัตว์ป่าอื่น ๆด้วย
โดยทีมงานพบบ่อน้ำดังกล่าวในทะเลทราย Sonoran ในรัฐแอริโซนาตะวันตก และในทะเลทราย Mojave ซึ่งมีบันทึกถึง 57 สายพันธุ์ที่มาเยี่ยมชมแหล่งน้ำ รวมถึงแบดเจอร์อเมริกัน หมีดำ และฝูงนก รวมทั้งนกบางชนิดที่ลดจำนวนลง เช่น นกฮูก elf
Erick Lundgren นักวิจัยด้านดุษฏีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Aarhus ในเดนมาร์กกล่าวว่า พฤติกรรมนี้สอดคล้องกับคำจำกัดความของ "วิศวกรรมระบบนิเวศ" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สัตว์ป่าเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพวกมัน
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
การค้นพบในสัตว์ที่น่าอัศจรรย์ที่สุดในปี 2021
เพื่อเข้าใจถึงความหลากหลายของชีวิตที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของทั้งมนุษย์และสัตว์ ปีนี้ นักอนุกรมวิธาน (นักวิทยาศาสตร์ที่จำแนกชนิดพันธุ์) ได้จำแนกสปีชีส์ใหม่(มีชีวิต) ที่ยังหลงเหลืออยู่หลายพันชนิด(บางครั้งสายพันธุ์เหล่านี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยได้รับการศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์มาก่อน) รวมถึงแมงมุมที่น่าประทับใจในปาปัวนิวกินี (ตั้งชื่อตามนักเคลื่อนไหว Greta Thunberg) และกิ้งก่าตัวจิ๋วในมาดากัสการ์
นอกจากนั้นยังได้เห็นการค้นพบใหม่ที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะแปลกประหลาดที่พัฒนาขึ้นจากการปรับตัว ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก DNA ของสัตว์มีการกลายพันธุ์ของยีนแบบสุ่มที่สร้างลักษณะเฉพาะที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสภาพแวดล้อมเฉพาะ ทำให้สัตว์มีแนวโน้มที่จะอยู่รอดและถ่ายทอดยีนของมันมากขึ้น และอาจเป็นไปได้ว่าลักษณะเหล่านี้จะค่อยๆ ส่งต่อกันไปหลายชั่วอายุคน จนมีลักษณะเด่นในสายพันธุ์
ด้วยวิธีนี้ สภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์สามารถทำให้สัตว์พัฒนารูปลักษณ์และความสามารถเฉพาะตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ร้อนจัด การแข่งขันเพื่อคู่ครอง หรืออื่นๆ นับเป็นปีที่ดีในการเพิ่มพูนความรู้ของเราเกี่ยวกับการพัฒนาในโลกธรรมชาติ และนี่คือการค้นพบในสัตว์ที่น่าประทับใจที่สุดที่ได้รับการพิจารณาในช่วงปีนี้
ตามที่ National Geographic ได้รายงานไว้ ประมาณหนึ่งในสามของช้างตัวเมียในอุทยานแห่งชาติ Gorongosa ที่เกิดหลังสงครามสิ้นสุดในปี 1992
ไม่เคยพัฒนางาอีกเลย โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในเดือนตุลาคม 2021 ในวารสารวิทยาศาสตร์ Science แสดงให้เห็นว่าช้างดังกล่าวมีการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมของสองยีนที่ปกติจะส่งเสริมการพัฒนางาช้าง (โดยปกติ งาช้างจะเกิดเพียงประมาณ 2 - 4 เปอร์เซ็นต์ของช้างแอฟริกาเพศเมียเท่านั้น)
Robert Pringle นักนิเวศวิทยาที่มหาวิทยาลัย Princeton กล่าวว่า แม้วันนี้การล่าได้หยุดลงแล้วและจำนวนช้างกำลังฟื้นตัว แต่อาจใช้เวลานานกว่าที่ตัวเมียที่มีงาจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนที่เคยเป็นมา
จากนั้น นักวิจัยได้เฝ้าติดตามนกอย่างระมัดระวัง ทั้งพฤติกรรมการผสมพันธุ์และพันธุศาสตร์ จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2021 พวกเขาค้นพบว่าแร้งสองตัวเพศหญิงได้ให้กำเนิดโดยไม่ต้องผสมพันธุ์ นี่เป็นหลักฐานแรกของการกำเนิดบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า parthenogenesis หรือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสายพันธุ์นี้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการสืบพันธุ์รูปแบบนี้พบได้ทั่วไปในโลกของสัตว์มากกว่าที่คิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยากต่อการตรวจจับและแทบไม่ถูกติดตาม
สำหรับ Parthenogenesis นั้นเป็นเหตุการณ์ที่หายากมาก แต่ได้รับการบันทึกไว้ในสายพันธุ์อื่นมาก่อน เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในเพศหญิงทำตัวเหมือนสเปิร์มและหลอมรวมกับไข่ มักเกิดขึ้นในสัตว์ที่มีลูกผสมพันธุ์น้อยหรือไม่มีเลย
อย่างไรก็ตาม ไวรัสยังแพร่ระบาดในกวางป่า white-tailed ในอเมริกาเหนือ โดยนักวิทยาศาสตร์ในรัฐ Iowa พบการติดเชื้อในกวางประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามการวิจัยที่ตีพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน 2021 บน bioRxiv เว็บไซต์ที่โพสต์ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่ากวางได้รับเชื้อจากคนหลายครั้งและส่งต่อให้กัน แม้ว่าจะไม่มีใครรู้ว่ากวางสามารถติดไวรัสได้อย่างไร
การวิจัยครั้งนี้มีความคล้ายคลึงกับการศึกษาที่เผยแพร่ก่อนหน้าเมื่อต้นปีที่แสดงว่าร้อยละ 40 ของกวาง 152 ตัวที่ถูกทดสอบในสามรัฐ มิชิแกน อิลลินอยส์ และนิวยอร์ก มีแอนติบอดีต่อโรคซาร์ส COV-2 (ไวรัสที่ทำให้เกิด COVID-19) ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่า การมีแหล่งกักเก็บไวรัสในสัตว์ทั่วไปนั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากกวางอาจส่งไวรัสกลับคืนสู่มนุษย์ได้
ที่ตายไปนาน นับเป็นครั้งแรกที่มีการโคลนสัตว์ใกล้สูญพันธุ์พื้นเมืองในสหรัฐอเมริกา
ความสำเร็จที่ประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ เนื่องจากมีพังพอนเท้าดำเหลืออยู่เพียง 500 ตัวซึ่งทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและเป็นลูกหลานของอาณานิคมเดียวที่พบในปี 1981 ในรัฐไวโอมิง หลังจากที่คาดว่าสปีชีส์นี้จะสูญพันธุ์ แต่เซลล์จาก Willa พังพอนเท้าดำที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วและเสียชีวิตไปในในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ทั้งยังไม่มีลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ด้วยความเย็นที่ Frozen Zoo ในโปรแกรมของ San Diego Zoo Global สวนสัตว์ป่าพันธมิตร ตอนนี้ เซลล์เหล่านี้ถูกโคลนและกลายเป็น พังพอนเท้าดำ ที่ชื่อ Elizabeth Ann
นักวิจัยหวังว่าลูกหลานของมันจะสามารถกลับคืนสู่ธรรมชาติได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และการผสมผสานความหลากหลายทางพันธุกรรมนี้จะสามารถช่วยให้สัตว์ขยายพันธุ์ได้ง่ายขึ้นและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นต่อโรคและแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมภายนอก
โดยปกติเมื่อสัตว์สูญเสียศีรษะ ชีวิตของสัตว์ตัวนั้นก็จะสิ้นสุดลง แต่ไม่ใช่สำหรับทากทะเลบางตัว ตามที่อธิบายไว้ในการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม 2021 ในสาร Current Biology สัตว์ทะเลสองสายพันธุ์สามารถฉีกหัวของพวกมันเองได้ และหัวที่แยกส่วนแต่ละหัวสามารถสร้างร่างกายใหม่ทั้งหมดได้
อย่างสมบูรณ์ภายในสามสัปดาห์ (เรียกว่า autotomy สิ่งที่กิ้งก่าทำเมื่อสูญเสียหางเพื่อรักษาตัวเอง) ซึ่งนักวิจัยแนะนำว่าพวกมันอาจมีเซลล์ที่คล้ายสเต็มเซลล์ที่สามารถงอกใหม่ได้
นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ยังผิดปกติในการที่พวกมันสามารถขโมยคลอโรพลาสต์จากสาหร่าย และอาจเก็บเกี่ยวพลังงานจากดวงอาทิตย์ภายในร่างกายของพวกมันเองได้ด้วย โดยกระบวนการฟื้นฟูร่างกายที่น่าประหลาดใจนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความคิดในการศึกษาต่อไป ในตัวอย่างสุดโต่งของการฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการแพทย์ของมนุษย์
มดกระโดดอินเดีย (Indian jumping ants) ที่เรียกว่า Harpegnathos saltator เป็นสายพันธุ์ที่มีขากรรไกรเหมือนคีมและดวงตาสีดำขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในป่าตามแนวชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย จากผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนเมษายน 2021 ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B
ระบุว่าพวกมันมีวิธีการเลือกราชินีที่แปลก
ในการทำเช่นนั้นเพื่อชิงมงกุฎ มดงานที่เข้าแข่งขันจะหดและงอกสมองของพวกมันขึ้นใหม่ (การหดสมองที่เกิดขึ้นอาจเพื่อให้สามารถประหยัดพลังงานเพื่อเน้นการผลิตไข่ได้) จากนั้นฮอร์โมนจะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในมด รวมถึงรังไข่จะใหญ่ขึ้น การผลิตพิษน้อยลง และอายุขัยยืนยาวขึ้น ความสามารถนี้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่รุนแรงแต่สามารถย้อนกลับได้ โดยสมองของมันสามารถหดตัวได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์เริ่มพบว่ามีสัตว์หลายชนิดที่สามารถหดสมองของพวกมันแล้วงอกใหม่ แม้กระทั่งมนุษย์ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่เราเห็นจากการทดลองในมด
โดยทีมงานพบบ่อน้ำดังกล่าวในทะเลทราย Sonoran ในรัฐแอริโซนาตะวันตก และในทะเลทราย Mojave ซึ่งมีบันทึกถึง 57 สายพันธุ์ที่มาเยี่ยมชมแหล่งน้ำ รวมถึงแบดเจอร์อเมริกัน หมีดำ และฝูงนก รวมทั้งนกบางชนิดที่ลดจำนวนลง เช่น นกฮูก elf
Erick Lundgren นักวิจัยด้านดุษฏีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Aarhus ในเดนมาร์กกล่าวว่า พฤติกรรมนี้สอดคล้องกับคำจำกัดความของ "วิศวกรรมระบบนิเวศ" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สัตว์ป่าเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพวกมัน