พื้นที่ของพวกข้า สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ให้ทุนสนับสนุนการวางเคเบิลใต้น้ำแก่ประเทศในแปซิฟิก

เรื่องนี้ต้องย้อนไป เมื่อปี 2560 เมื่อหมู่เกาะโซโลมอนลงนามสัญญาเคเบิลใต้น้ำ กับ หัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์ค (HMN Technologies ปัจจุบัน)
เพื่อวางสายจากออสเตรเลีย-หมู่เกาะโซโลมอน 
แต่รัฐบาลออสเตรเลียปฏิเสธที่จะให้ทาง HMN Tech ดำเนินการเพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อเครือข่าย ข้อมูล ในจุดเชื่อมต่อบนฝั่งของตน และถูกตีตกไป แน่นอนว่าทาง HMN Tech ก็ปฏิเสธในข้อกล่าวหานั้น

ซึ่งในเวลาต่อมาออสเตรเลียได้ออกมาเตือนและให้เงินทุนและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในการวางเคเบิลใต้น้ำ ให้แก่โซโลมอน จนสำเร็จเป็นสายเคเบิล Coral Sea Cable System ตามภาพ

ต่อมา

สหรัฐฯได้ออกมาเตือนหมู่เกาะแปซิฟิกเรื่องการประมูลโครงการเคเบิลใต้น้ำ ในด้านความปลอดภัย และ เทคโนโลยี เนื่องจากแปซิฟิกมีจุดเชื่อมต่อที่อยู่ในการดูแลของสหรัฐฯ ในหลายพื้นที่ หลายประเทศก็ต้องคิดหนักในเรื่องนี้

ต่อมา

สหรัฐฯ ออสเตรเลียและญี่ปุ่น ได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการเคเบิลใต้น้ำ แก่ประเทศปาเลา 

ปัจจุบัน

สหรัฐฯ ออสเตรเลียและญี่ปุ่น ได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการเคเบิลใต้น้ำ แก่ประเทศนาอูรู ,ประเทศคิริบาส(คิริบาตี) และสหพันธรัฐไมโครนีเซีย

แหล่งเงินทุนดังกล่าวจะอยู่ในรูปแผนพัฒนาประเทศและฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ในประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก และยังไม่ได้บอกถึงจำนวนเงินและรูปแบบการจัดสรร ซึ่งแน่นอนทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อกันไม่ให้ทุนจีนเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว
โดยเมื่อ2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา หมู่เกาะโซโลมอนก็ได้มีการประท้วงครั้งใหญ่โดยกล่าวหาว่ารัฐบาลเข้าข้างจีน จนเป็นเหตุเผาทำลายธุรกิจทรัพย์สินของคนจีนบนเกาะ จนรัฐบาลออสเตรเลีย ต้องส่งกองกำลังไปช่วยเหลือตามสนธิสัญญาความมั่นคงที่ทำกันไว้
 
 
การประลองกำลังในพื้นที่นี้ดูน่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากเป็นประเทศเล็กๆรายได้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่การท่องเที่ยวและทำเหมือง ไม่มีเงินถุงเงินถังมาพัฒนาประเทศ เป็นโอกาสในประเทศใหญ่ๆยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ พัฒนา มีอิทธิพล ในแต่ละพื้นที่
ซึ่งแหล่งเงินทุน หรือ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อันมหาศาล มันก็เย้ายวนเกินจะห้ามใจ


Coral Sea Cable System


ระบบสายเคเบิลใต้น้ำ ที่มี HMN Tech เป็นผู้ดำเนินการ ดูแล ในภูมิภาค

สำหรับใครอยากรู้ว่า สายเคเบิลใต้น้ำอยู่ตรงไหนบ้าง รายละเอียดเป็นอย่างไร ดูได้ที่นี่ (เว็บมีข้อมูลดี ผู้สนับสนุนก็ใหญ่ ฮา)

เพิ่มเติม 
นิวแคลิโดเนีย แยกตัวไม่สำเร็จ ยังคงอยู่กับฝรั่งเศสต่อไป โดยผลครั้งที่สาม คะแนนโหวตให้อยู่ต่อสูงถึง 96% เนื่องจากชนพื้นเมืองประกาศแบนไม่เข้าร่วมลงคะแนน ซึ่งชนพื้นเมืองส่วนใหญ่สนับสนุนให้แยกตัว
ทำให้ฝรั่งเศสยังส่วนร่วมในภูมิภาคนี้อยู่ต่อไป แต่ก็มีความกังวล ว่าอาจจะเกิดการประท้วงในภายหน้า
ผลครั้งที่หนึ่ง คะแนนโหวตให้อยู่ต่ออยู่ที่ 56.7% และ ครั้งที่สอง 53.3%

ที่มา
https://www.huawei.com/en/news/2017/7/HuaweiMarine-Submarine-Cable-Solomon
https://www.smh.com.au/politics/federal/australia-refuses-to-connect-to-undersea-cable-built-by-chinese-company-20170726-gxj9bf.html
https://www.reuters.com/world/china/exclusive-us-warns-pacific-islands-about-chinese-bid-undersea-cable-project-2020-12-17/
https://asia.nikkei.com/Politics/International-relations/Japan-US-and-Australia-to-finance-undersea-cable-for-Palau
https://www.reuters.com/article/usa-pacific/u-s-australia-and-japan-to-fund-undersea-cable-in-the-pacific-idINL4N2SW076
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่