JJNY : คาดเจอโอไมครอนหลังปีใหม่-กลางม.ค.65│หมอธีระเตือน!โควิดในไทย│โอไมครอนอาจร้ายกว่าที่คิด│รถบรรทุกเตรียมเตรียมหยุด70%

กรมการแพทย์คาดไทยเจอ ‘โอไมครอน’ หลังปีใหม่-กลาง ม.ค.65 ชี้ติดง่าย แพร่เร็ว
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3086828
 
 
กรมการแพทย์คาดไทยเจอ ‘โอไมครอน’ หลังปีใหม่-กลาง ม.ค.65 ชี้ติดง่าย แพร่เร็ว
 
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หลังจากพบการระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน และล่าสุด ในประเทศอังกฤษพบผู้ป่วยเสียชีวิต 1 คน ฃึ่งมาตรการต่างๆ ในการรักษายังคงเดิม แต่ขณะนี้ได้มีการหารือกับภาคีเครือข่ายเตรียมพร้อมดูแลผู้ติดเชื้อ หากประเทศไทยต้องเผชิญกับโอไมครอน ส่วนตัวคาดว่าไทยน่าจะเริ่มพบผู้ป่วยโอไมครอนมากขึ้นช่วงหลังปีใหม่ หรือในกลางเดือนมกราคม 2565 ทั้งนี้ หากพบมากขึ้นแต่ป่วยน้อยก็ยังใช้การรักษาแบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)
 
“ต้องยอมรับว่าโอไมครอนติดง่ายและแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า แม้ผลการรายงานโอไมครอนระบุว่าอาจหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีน แต่การฉีดวัคซีนยังช่วยลดอัตราการติดเชื้อรุนแรงได้อยู่ ส่วนเรื่องของยาทั้งโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravia) และแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ประสิทธิภาพน่าจะได้อยู่ แต่ที่สามารถป้องกันได้ผล 100% คือมาตรการระยะห่าง สวมหน้ากาก และล้างมือ ช่วยป้องกันโอไมครอนได้แน่นนอน” นพ.สมศักดิ์กล่าว
   
อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวย้ำว่า ความรุนแรงของเชื้อโอไมครอนขึ้นอยู่กับจำนวนการติดเชื้อ หากมีการติดเชื้อมากย่อมมีโอกาสที่จะพบคนมีความรุนแรง โดยอัตราป่วยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ป่วย 1,000 คน อาจรุนแรงร้อยละ 5 แต่ขณะนี้จากการติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยอาการหนักจากเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรักษาในไอซียู
  

  
หมอธีระเตือน!โควิดในไทยมีโอกาสระบาดปะทุสูง
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/99276/
 
หมอธีระเตือนโควิดโอไมครอนไม่ธรรมดาไทยมีโอกาสระบาดปะทุขึ้นมาสูง เหตุปัจจัยแวดล้อมทางนโยบายและสังคมในปัจจุบันมีความเสี่ยงมาก
  
วันนี้ (14 ธ.ค. 64) นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า 
 
เมื่อวานที่อังกฤษมีรายงานออกมาแล้วว่า เคสติดเชื้อโควิด-19 โอไมครอน ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีเสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย โดยคนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 10 ราย ส่วนใหญ่มีประวัติได้รับวัคซีน 2 โดสไปแล้วด้วย เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนไม่ให้หลงไปกับมายาคติที่ว่า โอไมครอน เป็นหวัดธรรมดา ไม่ตาย
  
สำคัญไปกว่านั้นคือ ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับภาวะอาการคงค้างหลังจากการติดเชื้อ โอไมครอน ที่รู้จักกันในชื่อ Long COVID ว่าจะมีมากน้อยเพียงใด อาการคงค้างมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการมากที่กระทบอวัยวะ หรือระบบสำคัญในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น
  
สายพันธุ์ต่างๆ ก่อนหน้านี้ Long COVID พบได้ทั้งในคนที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรือมีอาการรุนแรง โดยต่างประเทศเคยมีการรายงานว่าสามารถพบได้ราว 43% (ช่วงความเชื่อมั่น 35%-51%) ของคนที่ติดเชื้อทั้งหมด แต่สำหรับ โอไมครอ ยังไม่มีข้อมูลเรื่องนี้ เพราะเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งเจอกันแค่เดือนกว่าๆ เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องระวังเรื่องนี้ด้วย
  
นอกจากนี้ ข้อมูลจาก Prof.Alastair Grant ชี้ให้เห็นว่า ตอนนี้การระบาดของ โอไมครอน ใน UK นั้นมีการระบาดมากในเด็กและเยาวชนวัย Teenage และคนวัยทำงาน ซึ่งก็สอดคล้องกับอีกหลายประเทศ ยกเว้นในเดนมาร์กที่พบในคนสูงอายุมากขึ้น
  
ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องระวังให้ดี เพราะมีโอกาสเกิดการระบาดปะทุขึ้นมาสูง เพราะปัจจัยแวดล้อมทางนโยบายและสังคมในปัจจุบันมีความเสี่ยงมาก ทั้งเรื่องจำนวนคน จำนวนการพบปะกัน ระยะเวลาที่คลุกคลี ความใกล้ชิด และเป็นฤดูท่องเที่ยว และอากาศเย็น ครบองค์ประกอบในการระบาด
  
อีกทั้งวัยเด็กและเยาวชนนั้น มีทั้งช่วงวัยที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และที่ยังได้วัคซีนไม่ครอบคลุม จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ในขณะที่วัยทำงาน คงชัดเจนว่ามาจากการทำงาน พบปะติดต่อกัน กินข้าวร่วมกัน ไปเที่ยวปาร์ตี้สังสรรค์กัน และไม่ได้ป้องกันตัว
  
จุดอ่อนเชิงระบบของไทยนั้น เป็นดังที่เคยนำเสนอให้เห็นแล้วว่าคือ ระบบการตรวจคัดกรองโรคมาตรฐาน RT-PCR ในเชิงศักยภาพจำนวนการตรวจต่อวัน การเข้าถึงบริการ และกำแพงเรื่องค่าใช้จ่าย
  
ทั้งนี้หากมีการระบาดปะทุขึ้นมาเหมือนระลอกสองและสาม ทุกคนได้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาแล้วว่าเป็นเช่นไร ดังนั้นจึงควรเสริมสร้างศักยภาพของระบบตรวจคัดกรองโรคให้เข้มแข็งขึ้น และเริ่มดำเนินการตะลุยตรวจมากขึ้น เพื่อดักหน้าโรค ด้วยเหตุผลเรื่องปัจจัยเสี่ยงปัจจุบันที่สูงขึ้นมาก
 
สุดท้ายแล้ว การใส่หน้ากาก และเว้นระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร เป็นสิ่งที่ต้องทำในระยะยาวถัดจากนี้ ควบคู่ไปกับการปรับตัว ปรับงาน ปรับสิ่งแวดล้อม เพื่อประคับประคองให้ทุกอย่างพอจะก้าวเดินไปได้ในยามที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดของสงครามโควิด-19
  
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223582552984394
 

 
โอไมครอนอาจร้ายกว่าที่คิด ไฟเซอร์-แอสตร้าฯ ต้านไม่อยู่ คำเตือนจากออกซฟอร์ด
https://www.prachachat.net/prachachat-top-story/news-820998

ออกซฟอร์ดเผยวัคซีนไฟเซอร์และแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ไม่อาจป้องกันโอไมครอนได้ ชี้จำเป็นต้องพัฒนาวัคซีนสู้โอไมครอนโดยเฉพาะ แม้มีผลลดประสิทธิภาพกันเชื้อเดลต้า
  
วันที่ 14 ธันวาคม 2564 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดของอังกฤษ และสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของอังกฤษ (HSA) เปิดเผยรายงานที่ระบุว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของไฟเซอร์ หรือวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าทั้ง 2 เข็ม ไม่อาจมีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ หากเทียบกับการป้องกันสายพันธุ์เดลต้า
  
รายงานระบุว่า การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อกลายพันธุ์โอไมครอนโดยเฉพาะนั้น อาจทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันสายพันธุ์เดลต้าลดลงเช่นกัน เนื่องจากการกลายพันธุ์บริเวณปลายหนามโปรตีนของเชื้อโอไมครอน มีมากถึง 32 ตำแหน่ง
  
รายงานฉบับดังกล่าวยังเผยอีกว่า มีแนวโน้มที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในสหราชอาณาจักรเพิ่มสูง ทั้งจากกลุ่มผู้ที่รับวัคซีนครบสองเข็มแล้ว รวมถึงผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิดแล้วเช่นกัน
  
พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลเน้นความสำคัญการฉีดบูสเตอร์เข็มสาม ต่อผู้ที่รับวัคซีนครบโดสแล้ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อเชื้อโอไมครอน ท่ามกลางข้อมูลของเชื้อโอไมครอนที่ยังไม่ชัดเจน รวมถึงต้องรอการพัฒนาวัคซีนจากบรรดาผู้ผลิตให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับเชื้อโอไมครอน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่