ณ ตอนนี้สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มไม่สู้ดีนักเนื่องจากมีโควิด-19สายพันธุ์ใหม่เข้ามา ทำให้เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมากในประเทศ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่าโควิด-19 ที่แพร่เชื้อในไทยนั้นมีกี่สายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
โควิดสายพันธุ์อู่ฮั่น (
Serine)
จากการคาดการณ์พบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน และ วันที่12 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยหญิงจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยคนแรก
กระทรวงสาธารณสุขของไทยประกาศเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 ว่าพบนักท่องเที่ยวหญิงวัย 61 ปี สัญชาติจีน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 นับว่าเป็นการพบผู้ติดเชื้อคนแรกนอกประเทศจีน
จากการสอบสวนโรค พบว่า เธอเดินทางออกจากเมืองอู่ฮั่น ถึงท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2563
อาการข้างต้นที่พบได้บ่อย คือ มีอาการไข้
-ไอ
-อ่อนเพลีย
-ไม่รับรสและ
-ไม่รับกลิ่น
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
-เจ็บคอ
-ปวดศีรษะ
-ปวดเมื่อยเนื้อตัว
-ท้องเสีย
-มีผื่นบนผิวหนังหรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี ตาแดงหรือระคายเคืองตา
อาการรุนแรงมีดังนี้
-หายใจลำบากหรือหายใจถี่
-สูญเสียความสามารถในการพูดหรือเคลื่อนไหว
-หรือมึนงง
-เจ็บหน้าอก
โควิดสายพันธุ์เดลต้า B.1.6.17
เริ่มกันที่โควิดสายพันธุ์เดลต้า ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยโควิดสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบการแพร่กระจายไปแล้วกว่า 92 ประเทศทั่วโลกและยังระบาดเร็วแพร่เชื้อง่าย หลบภูมิคุ้มกันได้
อาการจากโควิดสายพันธุ์เดลต้า
-ปวดหัว
-เจ็บคอ
-มีน้ำมูก
-ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา
โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า B.1.1.7
สำหรับโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า พบการติดเชื้อในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 โดยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 1.7 เท่าและยังเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด
อาการจากโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า
-มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
-เจ็บคอ
-หายใจหอบเหนื่อย
-ปวดตามร่างกายและศีรษะ
-รับรสและกลิ่นได้น้อยลง
โควิดสายพันธุ์เบต้า B.1.351
ส่วนโควิดสายพันธุ์เบต้าพบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ จากอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับเชื้อจากผู้ลักลอบเข้าเมือง และพบผู้ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564
นายแพทย์ศุภกิจเปิดเผยว่า สายพันธุ์เบต้ามีการแพร่กระจายเชื้อไม่รวดเร็วเท่าสายพันธุ์เดลต้าและอัลฟ่า แต่อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์เบต้าอาจทำให้เกิดอาการป่วยหรือเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมเพราะว่า
มีการดื้อวัคซีน
อาการจากโควิดสายพันธุ์เบต้า
-ปวดเมื่อยตามร่างกาย
-เจ็บคอ
-ท้องเสีย
-ปวดศีรษะตาแดง
-การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
-มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังหรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
โควิดสาพันธุ์แกมม่า P.1
พบครั้งแรกในประเทศบราซิลและในไทยพบในผู้ที่เดินทางกลับมาประเทศไทย ในสถานกักกันของรัฐรายหนึ่ง เนื่องจากมันมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เพราะมันสามารถทะลุทะลวงเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายมาก อีกทั้งยังสามารถเอาตัวรอดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ซึ่งนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการติดเชื้อซ้ำ และพบว่าวัคซีนบางชนิดมีประสิทธิผลน้อยลงต่อเชื้อนี้
แต่ปัจจุบัน
ยังไม่มีการระบาดของสายพันธุ์แกมมาในไทย มีเพียงแต่การพบในผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และพักในสถานกักกันของรัฐ จำนวนหนึ่งราย
อาการจากโควิดสายพันธุ์แกมมา รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง มีความสามารถแพร่ระบาดวนเวียนอยู่ในหมู่คนที่ได้รับวัคซีนแล้วได้ด้วย แม้พื้นที่นั้นๆจะมีการฉีดวัคซีนที่สูงก็ตาม (ลดประสิทธิภาพวัคซีน)
โควิดสายพันธุ์โอไมครอน
สายพันธุ์ใหม่ที่งานวิจัยน้อยสุดและมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากทำให้วัคซีนหลายๆตัวไม่สามารถป้องกันได้ทำให้เกิดความน่ากลัวและกังวลใจเป็นอย่างมาก
แม้ว่าวัคซีนจะช่วยลดโอกาสที่จะเสียชีวิตแต่ถึงอย่างนั้นเราก็ควรดูแลรักษาตัวเองให้ปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19
ถึงวันที่เราต้องรู้จักกับ“โควิด-19”ให้ลึกซึ้งมากขึ้น
โควิดสายพันธุ์อู่ฮั่น (Serine)
จากการคาดการณ์พบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน และ วันที่12 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยหญิงจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยคนแรก
กระทรวงสาธารณสุขของไทยประกาศเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 ว่าพบนักท่องเที่ยวหญิงวัย 61 ปี สัญชาติจีน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 นับว่าเป็นการพบผู้ติดเชื้อคนแรกนอกประเทศจีน
จากการสอบสวนโรค พบว่า เธอเดินทางออกจากเมืองอู่ฮั่น ถึงท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2563
อาการข้างต้นที่พบได้บ่อย คือ มีอาการไข้
-ไอ
-อ่อนเพลีย
-ไม่รับรสและ
-ไม่รับกลิ่น
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
-เจ็บคอ
-ปวดศีรษะ
-ปวดเมื่อยเนื้อตัว
-ท้องเสีย
-มีผื่นบนผิวหนังหรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี ตาแดงหรือระคายเคืองตา
อาการรุนแรงมีดังนี้
-หายใจลำบากหรือหายใจถี่
-สูญเสียความสามารถในการพูดหรือเคลื่อนไหว
-หรือมึนงง
-เจ็บหน้าอก
โควิดสายพันธุ์เดลต้า B.1.6.17
เริ่มกันที่โควิดสายพันธุ์เดลต้า ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยโควิดสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบการแพร่กระจายไปแล้วกว่า 92 ประเทศทั่วโลกและยังระบาดเร็วแพร่เชื้อง่าย หลบภูมิคุ้มกันได้
อาการจากโควิดสายพันธุ์เดลต้า
-ปวดหัว
-เจ็บคอ
-มีน้ำมูก
-ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา
โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า B.1.1.7
สำหรับโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า พบการติดเชื้อในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 โดยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 1.7 เท่าและยังเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด
อาการจากโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า
-มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
-เจ็บคอ
-หายใจหอบเหนื่อย
-ปวดตามร่างกายและศีรษะ
-รับรสและกลิ่นได้น้อยลง
โควิดสายพันธุ์เบต้า B.1.351
ส่วนโควิดสายพันธุ์เบต้าพบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ จากอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับเชื้อจากผู้ลักลอบเข้าเมือง และพบผู้ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564
นายแพทย์ศุภกิจเปิดเผยว่า สายพันธุ์เบต้ามีการแพร่กระจายเชื้อไม่รวดเร็วเท่าสายพันธุ์เดลต้าและอัลฟ่า แต่อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์เบต้าอาจทำให้เกิดอาการป่วยหรือเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมเพราะว่ามีการดื้อวัคซีน
อาการจากโควิดสายพันธุ์เบต้า
-ปวดเมื่อยตามร่างกาย
-เจ็บคอ
-ท้องเสีย
-ปวดศีรษะตาแดง
-การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
-มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังหรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
โควิดสาพันธุ์แกมม่า P.1
พบครั้งแรกในประเทศบราซิลและในไทยพบในผู้ที่เดินทางกลับมาประเทศไทย ในสถานกักกันของรัฐรายหนึ่ง เนื่องจากมันมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เพราะมันสามารถทะลุทะลวงเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายมาก อีกทั้งยังสามารถเอาตัวรอดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ซึ่งนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการติดเชื้อซ้ำ และพบว่าวัคซีนบางชนิดมีประสิทธิผลน้อยลงต่อเชื้อนี้
แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีการระบาดของสายพันธุ์แกมมาในไทย มีเพียงแต่การพบในผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และพักในสถานกักกันของรัฐ จำนวนหนึ่งราย
อาการจากโควิดสายพันธุ์แกมมา รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง มีความสามารถแพร่ระบาดวนเวียนอยู่ในหมู่คนที่ได้รับวัคซีนแล้วได้ด้วย แม้พื้นที่นั้นๆจะมีการฉีดวัคซีนที่สูงก็ตาม (ลดประสิทธิภาพวัคซีน)
โควิดสายพันธุ์โอไมครอน
สายพันธุ์ใหม่ที่งานวิจัยน้อยสุดและมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากทำให้วัคซีนหลายๆตัวไม่สามารถป้องกันได้ทำให้เกิดความน่ากลัวและกังวลใจเป็นอย่างมาก
แม้ว่าวัคซีนจะช่วยลดโอกาสที่จะเสียชีวิตแต่ถึงอย่างนั้นเราก็ควรดูแลรักษาตัวเองให้ปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19