‘สรยุทธ์’ยังแรง ‘ช่อง 3’ โกยกำไร 5 ไตรมาสติดกัน ปี 64 พ้นขาดทุน ขยายธุรกิจใหม่ ‘หนัง-เพลง-บริหารศิลปิน’
หลังเจอภาวะขาดทุนหนักมาตั้งแต่ปี 2561 เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของ “บีอีซี” เจ้าของช่อง 3 ที่กลับมาเห็น “กำไร” อีกครั้งตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2563 นับถึงปัจจุบันทำกำไรติดกันมาแล้ว 5 ไตรมาส ตัวเลขทั้งปี 2564 จึงมีโอกาสกลับมา “กำไร” แน่นอน
สิ่งที่ “บีอีซี” ทำมาต่อเนื่องนับจาก คุณสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ มานั่งบริหารในตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจโทรทัศน์ บมจ.บีอีซี เวิลด์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ภายใต้กลยุทธ์ Single Content Multiple Platform คือการทำคอนเทนต์ 1 ครั้ง ซึ่งมีต้นทุนครั้งเดียว แต่เผยแพร่ได้หลายช่องทาง สร้างรายได้หลายครั้ง
โจทย์หลักคือต้องทำให้ บีอีซี “พ้นขาดทุน” และกลับมาทำกำไรให้ได้ จึงต้องเพิ่มทั้งฝั่งหารายได้ใหม่ๆ จากการขายลิขสิทธิ์ละครในต่างประเทศ (Global Content Licensing) และการสร้างดิจิทัล แพลตฟอร์ม ของตัวเอง คือ CH3Plus พร้อมทั้งเดินหน้า “ลดต้นทุน” ด้วยการลดขนาดองค์กร ลดพนักงาน และตัดทิ้งธุรกิจขาดทุน อย่าง บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ รวมทั้งปิดบริษัทย่อยสำนักข่าวบีอีซี ,บีอีซี ไอทีโซลูชั่น, บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์
ปัจจุบันบีอีซี ซึ่งมีรายได้หลักมาจากโฆษณาช่อง 3 (ช่อง 33) กว่า 80% แต่ปี 2564 ซึ่งยังต้องเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณาถดถอย
แต่ช่อง 3 ได้ “กรรมกรข่าว” คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา กลับมาจัดรายการข่าวอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ใน 2 รายการข่าว คือ เรื่องเล่าเช้านี้ จันทร์-ศุกร์ เวลา 6.00-8.20 น. และ เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.30-12.15 น. เรียกว่าจัดรายการ 7 วันรวด ส่งผลให้เรตติ้งรายการข่าวเพิ่มขึ้น จากแฟนคลับที่ติดตามคุณสรยุทธ กลายเป็นปัจจัยสำคัญทำให้รายได้โฆษณากลับมาโดดเด่นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปีนี้
รวมทั้งพิธีกรข่าวคนดัง “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในรายการข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์และโหนกระแส ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.20-12.35 น. ทำเรตติ้งเบอร์ 1 ในช่วงเวลาที่ออกอากาศมาต่อเนื่อง แน่นอนว่าโฆษณาเต็ม!
รายได้ข่าวเพิ่มขึ้น 55%
หากดูรายได้โฆษณา 3 ไตรมาสแรก (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2564 ของช่อง 3 อยู่ที่ 3,459 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งได้ดังนี้
– ละคร สัดส่วน 57.2% เพิ่มขึ้น 1.8%
– รายการข่าว สัดส่วน 26.6% เพิ่มขึ้น 55.6%
– วาไรตี้ สัดส่วน 13.3% เพิ่มขึ้น 29.1%
ช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2564 รายได้โฆษณาช่อง 3 เพิ่มขึ้นทุกประเภท “รายการ” ทั้งจากการลงละครใหม่ ทำให้ราคาค่าโฆษณาปรับสูงขึ้นกว่าละครรีรัน
แต่ที่เพิ่มขึ้นชัดเจนคือ “รายการข่าว” ทั้งการเพิ่มขึ้นของ Slots เวลาที่นำเสนอ และการขายโฆษณาในช่วงเวลาที่ออกอากาศได้มากขึ้น โดยเฉพาะรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ และ เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ที่คุณสรยุทธ เป็นผู้ดำเนินรายการ
หากย้อนดูรายได้จากรายการข่าว “เรื่องเล่าเช้านี้” ไตรมาสแรก ปี 2563 มีอัตราการใช้เวลาโฆษณา (Loading) อยู่ที่ 30% ไตรมาสแรกปี 2564 (ก่อนคุณสรยุทธ กลับมา) ขยับมาอยู่ที่ 60% เนื่องจาก ช่อง 3 มีนาทีโฆษณาเพิ่มขึ้น จากโควตาเดิมที่เป็นของบีอีซี เทโรฯ เมื่อมาร่วมกับของช่อง 3 ทำให้จำนวนนาทีขายโฆษณาเพิ่มขึ้น
เมื่อคุณสรยุทธ กลับมาจัด 2 รายการข่าว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 รวมทั้งเพิ่มเวลารายการเรื่องเล่าเช้านี้ อีก 25 นาที จากเดิมเวลา 6.00-7.55 น. เป็น 6.00-8.20 น. วันละ 2.20 ชั่วโมง ทำให้มีนาทีขายโฆษณามากขึ้น โดยราคา Rate Card (ราคาเสนอขาย) อยู่ที่นาทีละ 2.2 แสนบาท ไตรมาส 2 ปีนี้ อัตราการใช้เวลาโฆษณาขยับขึ้นมาอยู่ที่ 75% และไตรมาส 3 ขยับขึ้นไปอีกที่ 80-90% ส่งผลให้รายได้จากรายการข่าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ส่วนรายการ “เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์” เป็นรายการข่าวที่มีอัตราการใช้เวลาโฆษณาสูงของสถานีมาต่อเนื่องอยู่แล้ว ปี 2563 อยู่ที่ 50-60% ไตรมาสแรก 2564 อยู่ที่ 75% ในเดือนพฤษภาคม เมื่อคุณสรยุทธ กลับมา ทำให้อัตราการใช้เวลาโฆษณาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 95% (ราคาโฆษณา Rate Card 2.9 แสนบาทต่อนาที)
จากเรตติ้งข่าวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการใช้เวลาค่อนข้างเต็ม ช่อง 3 มองโอกาสปรับขึ้นราคาโฆษณารายการข่าวในปี 2565 เช่น เรื่องเล่าเช้านี้, เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์, โหนกระแส (ปกติขายโฆษณาเต็ม 100% มาตลอด)
รวมทั้งละคร 19.00 น. เรตติ้งดีตั้งแต่ต้นปี เป็นอีกความสำเร็จของช่อง 3 ที่ทำเรตติ้งอันดับ 1 ได้ในกลุ่ม 15 ปีขึ้นไป พื้นที่กรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ และเป็นอีกรายการที่ขายโฆษณาเต็ม ปัจจุบัน Rate Card นาทีละ 3.6 แสนบาท และละคร 20.00 น.
ขยายธุรกิจใหม่ “หนัง-เพลง-บริหารศิลปิน”
ภายใต้กลยุทธ์ Single Content Multiple Platforms ของ บีอีซี จึงมีแหล่งรายได้หลัก 3 ช่องทาง คือ ทีวี,ดิจิทัล แพลตฟอร์ม และการขายลิขสิทธิ์ละครในต่างประเทศ (Global Content Licensing) ดังนี้
1. กลุ่มธุรกิจทีวี รายได้จากโฆษณาและสปอนเซอร์ (tie-in, กิจกรรมออนกราวด์, แพ็กเกจโฆษณาออฟไลน์และออนไลน์)
– ปัจจุบันรักษาตำแหน่งผู้นำเรตติ้งทีวี ในกลุ่มผู้ชมอายุ 15 ปีขึ้นไป พื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมือง เวลา 6.00-24.00 น. จันทร์-อาทิตย์ และช่วงเวลาไพร์มไทม์ 18.00-22.30 น.
2. ดิจิทัล แพลตฟอร์ม คือ CH3 Plus และ CH3 Plus Premium
– โฆษณาออนไลน์ ผ่านช่องทางแอป CH3 Plus (ดูฟรีเดือนพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 3.2 ล้านราย) โซเชียลมีเดียของช่อง 3 ทั้ง เฟซบุ๊ก ยูทูบ
– สมัครสมาชิกจ่ายรายเดือนดูคอนเทนต์พิเศษ CH3 Plus Premium ล่าสุดอยู่ที่ 6 หมื่นราย การทำเอ็กซ์คลูซีฟ คอนเทนต์ผ่าน Virtual Conference Call เช่น กิจกรรม Cozy Dinner Live ซึ่งเป็นกิจกรรมทานข้าวร่วมกับดารานักแสดงผ่าน Zoom กิจกรรม One on One on Call ร่วมพูดคุยกับดาราศิลปิน
– ขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ให้แพตลฟอร์ม OTT (เผยแพร่ในประเทศไทย)
3. การขายลิขสิทธิ์ละครในต่างประเทศ (Global Content Licensing)
– ออกอากาศละครในต่างประเทศพร้อมประเทศไทย (Simulcast)
– ขายละครสำเร็จรูป (Finished Product)
– ขายละครให้แพลตฟอร์มต่างประเทศ (เผยแพร่ในต่างประเทศ)
ปี 2564-2565 Netflix ได้ซื้อลิขสิทธิ์ละคร 6 เรื่องสำหรับการเผยแพร่พร้อมประเทศไทย (Simulcast)
– ไตรมาส 3 ปี 2564 มีละคร 2 เรื่อง คือ ให้รักพิพากษา (Dare to love) และ ดวงตาที่สาม (I See Dead People)
– ส่วนไตรมาส 4 ปี 2564 มีอีก 2 เรื่อง คือ Help me คุณผีช่วยด้วย (Help me! Oh My Ghost) และ เกมล่าทรชน (Game of Outlaws) ปี 2565 เรื่อง พิศวาสฆาตเกมส์ (The Deadly Affair)
– โดยทั้ง 5 เรื่องนี้ เผยแพร่พร้อมประเทศไทยไปใน 10 ประเทศ คือ ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บูรไน สิงคโปร์ มาเลเซีย และติมอร์ตะวันออก
– ส่วนอีก 1 เรื่อง คือ คุณหมีปาฎิหารย์ (The Miracle of Teddy Bear) ที่จะออกอากาศในปี 2565 Netflix ได้ซื้อลิขสิทธิ์เพื่อเผยแพร่พร้อมประเทศไทยไปในภูมิภาคเอเชีย 25 ประเทศ
– นอกจากนี้ VIU ได้ซื้อลิขสิทธิ์ช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ ละครเรื่อง พฤษภา-ธันวา รักแท้แค่เกิดก่อน (May December Romance) ไปเผยแพร่ใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ส่วนปี 2565 VIU ได้ซื้อลิขสิทธิ์แบบ Simulcast ครั้งแรก กับละครเรื่อง ยมทูตกับภูติสาว (Love Forever After) ไปเผยแพร่ในอินโดนีเซีย
แผนธุรกิจ ปี 2565 บีอีซี เตรียม Diversify หารายได้จากธุรกิจใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งมีดารานักแสดงในสังกัดจำนวนมาก เพื่อโอกาสเพิ่มรายได้ในอนาคต
1. การทำภาพยนตร์ โดยร่วมมือกับบริษัทจัดทำภาพยนตร์ คาดเปิดกล้องถ่ายทำได้ต้นปี 2565 โดยใช้ดารานักแสดงช่อง 3
2. ธุรกิจเพลง เช่น เพลงภาพยนตร์ คาดเห็นผลงานไตรมาสแรก ปี 2565 สามารถใช้ช่องทางต่างๆ ของบีอีซี ทั้งทีวีและดิจิทัล แพลตฟอร์ม ในการเผยแพร่ผลงานได้
3. การบริหารศิลปิน (Artist Management) เพื่อใช้สินทรัพย์ดารานักแสดงที่มีอยู่อย่างเต็มรูปแบบ รวมทั้งการคัดเลือกศิลปินใหม่เริ่มต้นปี 2565
4. การสร้างรายได้จากลิขสิทธิ์ละครมากขึ้น เช่น การขายลิขสิทธิ์นำไปผลิตเวอร์ชั่นใหม่ รวมทั้งการเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ป้อนแพลตฟอร์มโอทีที (Original Content)
กำไร 5 ไตรมาสติดกัน ปี 64 พ้นขาดทุน
ในด้านตัวเลขรายได้ บีอีซี หลังเจอกับภาวะขาดทุนมาตั้งแต่ปี 2561 ที่ 330 ล้านบาท ปี 2562 ขาดทุน 397 ล้านบาท และ ปี 2563 ขาดทุน 214 ล้านบาท
หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ในปี 2563 หารายได้จากหลายช่องทาง และมาตรการลดต้นทุน ทำให้ บีอีซี กลับมาทำกำไรตั้งแต่ ไตรมาส 3 ปี 2563 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน รวม 5 ไตรมาสติดกัน
– ไตรมาส 3 ปี 2563 กำไร 60.1 ล้านบาท
– ไตรมาส 4 ปี 2563 กำไร 267.5 ล้านบาท
– ไตรมาส 1 ปี 2564 กำไร 138.8 ล้านบาท
– ไตรมาส 2 ปี 2564 กำไร 184.7 ล้านบาท
– ไตรมาส 3 ปี 2564 กำไร 142.9 ล้านบาท
โดยไตรมาส 3 ปีนี้ บีอีซี มีรายได้รวม 1,272 ล้านบาท ลดลง 3.8% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
– รายได้ขายโฆษณาช่อง 3 อยู่ที่ 1,062 ล้านบาท ลดลง 7.1% (จากการถอดงบ บีอีซี-เทโรฯ ออกจากงบรวม ทำให้รายได้และค่าใช้จ่ายลดลง) รายได้ของ บีอีซี มาจากการขายโฆษณา 83.5%
– รายได้จากการขายลิขสิทธิ์และอื่นๆ อยู่ที่ 209 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.8%
ขณะที่ไตรมาส 3 ปีนี้ บีอีซี มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 142.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 137.6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการพลิกกลับมากำไร 5 ไตรมาสติดต่อกัน
โดย 9 เดือนแรกปี 2564 มีรายได้ 4,118 ล้านบาท กำไรสุทธิ 466 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 196% เป็นการพลิกจากขาดทุน 481 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อนมาทำกำไร
หากดูบทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ต่างๆ มองว่าหุ้นบีอีซี Turnaround กลับมาฟื้นตัวแล้ว สรุปทั้งปี 2564 บีอีซี จะกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง!
https://www.brandbuffet.in.th/2021/12/bec-has-turned-around-to-profit-for-five-consecutive-quarters/
ช่อง 3 โกยกำไร 5 ไตรมาสติดกัน ปี 64 พ้นขาดทุน ขยายธุรกิจใหม่ ‘หนัง-เพลง-บริหารศิลปิน สรยุทธ์ ยังแรง
หลังเจอภาวะขาดทุนหนักมาตั้งแต่ปี 2561 เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของ “บีอีซี” เจ้าของช่อง 3 ที่กลับมาเห็น “กำไร” อีกครั้งตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2563 นับถึงปัจจุบันทำกำไรติดกันมาแล้ว 5 ไตรมาส ตัวเลขทั้งปี 2564 จึงมีโอกาสกลับมา “กำไร” แน่นอน
สิ่งที่ “บีอีซี” ทำมาต่อเนื่องนับจาก คุณสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ มานั่งบริหารในตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจโทรทัศน์ บมจ.บีอีซี เวิลด์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ภายใต้กลยุทธ์ Single Content Multiple Platform คือการทำคอนเทนต์ 1 ครั้ง ซึ่งมีต้นทุนครั้งเดียว แต่เผยแพร่ได้หลายช่องทาง สร้างรายได้หลายครั้ง
โจทย์หลักคือต้องทำให้ บีอีซี “พ้นขาดทุน” และกลับมาทำกำไรให้ได้ จึงต้องเพิ่มทั้งฝั่งหารายได้ใหม่ๆ จากการขายลิขสิทธิ์ละครในต่างประเทศ (Global Content Licensing) และการสร้างดิจิทัล แพลตฟอร์ม ของตัวเอง คือ CH3Plus พร้อมทั้งเดินหน้า “ลดต้นทุน” ด้วยการลดขนาดองค์กร ลดพนักงาน และตัดทิ้งธุรกิจขาดทุน อย่าง บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ รวมทั้งปิดบริษัทย่อยสำนักข่าวบีอีซี ,บีอีซี ไอทีโซลูชั่น, บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์
ปัจจุบันบีอีซี ซึ่งมีรายได้หลักมาจากโฆษณาช่อง 3 (ช่อง 33) กว่า 80% แต่ปี 2564 ซึ่งยังต้องเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณาถดถอย
แต่ช่อง 3 ได้ “กรรมกรข่าว” คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา กลับมาจัดรายการข่าวอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ใน 2 รายการข่าว คือ เรื่องเล่าเช้านี้ จันทร์-ศุกร์ เวลา 6.00-8.20 น. และ เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.30-12.15 น. เรียกว่าจัดรายการ 7 วันรวด ส่งผลให้เรตติ้งรายการข่าวเพิ่มขึ้น จากแฟนคลับที่ติดตามคุณสรยุทธ กลายเป็นปัจจัยสำคัญทำให้รายได้โฆษณากลับมาโดดเด่นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปีนี้
รวมทั้งพิธีกรข่าวคนดัง “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในรายการข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์และโหนกระแส ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.20-12.35 น. ทำเรตติ้งเบอร์ 1 ในช่วงเวลาที่ออกอากาศมาต่อเนื่อง แน่นอนว่าโฆษณาเต็ม!
รายได้ข่าวเพิ่มขึ้น 55%
หากดูรายได้โฆษณา 3 ไตรมาสแรก (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2564 ของช่อง 3 อยู่ที่ 3,459 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งได้ดังนี้
– ละคร สัดส่วน 57.2% เพิ่มขึ้น 1.8%
– รายการข่าว สัดส่วน 26.6% เพิ่มขึ้น 55.6%
– วาไรตี้ สัดส่วน 13.3% เพิ่มขึ้น 29.1%
ช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2564 รายได้โฆษณาช่อง 3 เพิ่มขึ้นทุกประเภท “รายการ” ทั้งจากการลงละครใหม่ ทำให้ราคาค่าโฆษณาปรับสูงขึ้นกว่าละครรีรัน
แต่ที่เพิ่มขึ้นชัดเจนคือ “รายการข่าว” ทั้งการเพิ่มขึ้นของ Slots เวลาที่นำเสนอ และการขายโฆษณาในช่วงเวลาที่ออกอากาศได้มากขึ้น โดยเฉพาะรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ และ เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ที่คุณสรยุทธ เป็นผู้ดำเนินรายการ
หากย้อนดูรายได้จากรายการข่าว “เรื่องเล่าเช้านี้” ไตรมาสแรก ปี 2563 มีอัตราการใช้เวลาโฆษณา (Loading) อยู่ที่ 30% ไตรมาสแรกปี 2564 (ก่อนคุณสรยุทธ กลับมา) ขยับมาอยู่ที่ 60% เนื่องจาก ช่อง 3 มีนาทีโฆษณาเพิ่มขึ้น จากโควตาเดิมที่เป็นของบีอีซี เทโรฯ เมื่อมาร่วมกับของช่อง 3 ทำให้จำนวนนาทีขายโฆษณาเพิ่มขึ้น
เมื่อคุณสรยุทธ กลับมาจัด 2 รายการข่าว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 รวมทั้งเพิ่มเวลารายการเรื่องเล่าเช้านี้ อีก 25 นาที จากเดิมเวลา 6.00-7.55 น. เป็น 6.00-8.20 น. วันละ 2.20 ชั่วโมง ทำให้มีนาทีขายโฆษณามากขึ้น โดยราคา Rate Card (ราคาเสนอขาย) อยู่ที่นาทีละ 2.2 แสนบาท ไตรมาส 2 ปีนี้ อัตราการใช้เวลาโฆษณาขยับขึ้นมาอยู่ที่ 75% และไตรมาส 3 ขยับขึ้นไปอีกที่ 80-90% ส่งผลให้รายได้จากรายการข่าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ส่วนรายการ “เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์” เป็นรายการข่าวที่มีอัตราการใช้เวลาโฆษณาสูงของสถานีมาต่อเนื่องอยู่แล้ว ปี 2563 อยู่ที่ 50-60% ไตรมาสแรก 2564 อยู่ที่ 75% ในเดือนพฤษภาคม เมื่อคุณสรยุทธ กลับมา ทำให้อัตราการใช้เวลาโฆษณาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 95% (ราคาโฆษณา Rate Card 2.9 แสนบาทต่อนาที)
จากเรตติ้งข่าวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการใช้เวลาค่อนข้างเต็ม ช่อง 3 มองโอกาสปรับขึ้นราคาโฆษณารายการข่าวในปี 2565 เช่น เรื่องเล่าเช้านี้, เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์, โหนกระแส (ปกติขายโฆษณาเต็ม 100% มาตลอด)
รวมทั้งละคร 19.00 น. เรตติ้งดีตั้งแต่ต้นปี เป็นอีกความสำเร็จของช่อง 3 ที่ทำเรตติ้งอันดับ 1 ได้ในกลุ่ม 15 ปีขึ้นไป พื้นที่กรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ และเป็นอีกรายการที่ขายโฆษณาเต็ม ปัจจุบัน Rate Card นาทีละ 3.6 แสนบาท และละคร 20.00 น.
ขยายธุรกิจใหม่ “หนัง-เพลง-บริหารศิลปิน”
ภายใต้กลยุทธ์ Single Content Multiple Platforms ของ บีอีซี จึงมีแหล่งรายได้หลัก 3 ช่องทาง คือ ทีวี,ดิจิทัล แพลตฟอร์ม และการขายลิขสิทธิ์ละครในต่างประเทศ (Global Content Licensing) ดังนี้
1. กลุ่มธุรกิจทีวี รายได้จากโฆษณาและสปอนเซอร์ (tie-in, กิจกรรมออนกราวด์, แพ็กเกจโฆษณาออฟไลน์และออนไลน์)
– ปัจจุบันรักษาตำแหน่งผู้นำเรตติ้งทีวี ในกลุ่มผู้ชมอายุ 15 ปีขึ้นไป พื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมือง เวลา 6.00-24.00 น. จันทร์-อาทิตย์ และช่วงเวลาไพร์มไทม์ 18.00-22.30 น.
2. ดิจิทัล แพลตฟอร์ม คือ CH3 Plus และ CH3 Plus Premium
– โฆษณาออนไลน์ ผ่านช่องทางแอป CH3 Plus (ดูฟรีเดือนพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 3.2 ล้านราย) โซเชียลมีเดียของช่อง 3 ทั้ง เฟซบุ๊ก ยูทูบ
– สมัครสมาชิกจ่ายรายเดือนดูคอนเทนต์พิเศษ CH3 Plus Premium ล่าสุดอยู่ที่ 6 หมื่นราย การทำเอ็กซ์คลูซีฟ คอนเทนต์ผ่าน Virtual Conference Call เช่น กิจกรรม Cozy Dinner Live ซึ่งเป็นกิจกรรมทานข้าวร่วมกับดารานักแสดงผ่าน Zoom กิจกรรม One on One on Call ร่วมพูดคุยกับดาราศิลปิน
– ขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ให้แพตลฟอร์ม OTT (เผยแพร่ในประเทศไทย)
3. การขายลิขสิทธิ์ละครในต่างประเทศ (Global Content Licensing)
– ออกอากาศละครในต่างประเทศพร้อมประเทศไทย (Simulcast)
– ขายละครสำเร็จรูป (Finished Product)
– ขายละครให้แพลตฟอร์มต่างประเทศ (เผยแพร่ในต่างประเทศ)
ปี 2564-2565 Netflix ได้ซื้อลิขสิทธิ์ละคร 6 เรื่องสำหรับการเผยแพร่พร้อมประเทศไทย (Simulcast)
– ไตรมาส 3 ปี 2564 มีละคร 2 เรื่อง คือ ให้รักพิพากษา (Dare to love) และ ดวงตาที่สาม (I See Dead People)
– ส่วนไตรมาส 4 ปี 2564 มีอีก 2 เรื่อง คือ Help me คุณผีช่วยด้วย (Help me! Oh My Ghost) และ เกมล่าทรชน (Game of Outlaws) ปี 2565 เรื่อง พิศวาสฆาตเกมส์ (The Deadly Affair)
– โดยทั้ง 5 เรื่องนี้ เผยแพร่พร้อมประเทศไทยไปใน 10 ประเทศ คือ ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บูรไน สิงคโปร์ มาเลเซีย และติมอร์ตะวันออก
– ส่วนอีก 1 เรื่อง คือ คุณหมีปาฎิหารย์ (The Miracle of Teddy Bear) ที่จะออกอากาศในปี 2565 Netflix ได้ซื้อลิขสิทธิ์เพื่อเผยแพร่พร้อมประเทศไทยไปในภูมิภาคเอเชีย 25 ประเทศ
– นอกจากนี้ VIU ได้ซื้อลิขสิทธิ์ช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ ละครเรื่อง พฤษภา-ธันวา รักแท้แค่เกิดก่อน (May December Romance) ไปเผยแพร่ใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ส่วนปี 2565 VIU ได้ซื้อลิขสิทธิ์แบบ Simulcast ครั้งแรก กับละครเรื่อง ยมทูตกับภูติสาว (Love Forever After) ไปเผยแพร่ในอินโดนีเซีย
แผนธุรกิจ ปี 2565 บีอีซี เตรียม Diversify หารายได้จากธุรกิจใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งมีดารานักแสดงในสังกัดจำนวนมาก เพื่อโอกาสเพิ่มรายได้ในอนาคต
1. การทำภาพยนตร์ โดยร่วมมือกับบริษัทจัดทำภาพยนตร์ คาดเปิดกล้องถ่ายทำได้ต้นปี 2565 โดยใช้ดารานักแสดงช่อง 3
2. ธุรกิจเพลง เช่น เพลงภาพยนตร์ คาดเห็นผลงานไตรมาสแรก ปี 2565 สามารถใช้ช่องทางต่างๆ ของบีอีซี ทั้งทีวีและดิจิทัล แพลตฟอร์ม ในการเผยแพร่ผลงานได้
3. การบริหารศิลปิน (Artist Management) เพื่อใช้สินทรัพย์ดารานักแสดงที่มีอยู่อย่างเต็มรูปแบบ รวมทั้งการคัดเลือกศิลปินใหม่เริ่มต้นปี 2565
4. การสร้างรายได้จากลิขสิทธิ์ละครมากขึ้น เช่น การขายลิขสิทธิ์นำไปผลิตเวอร์ชั่นใหม่ รวมทั้งการเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ป้อนแพลตฟอร์มโอทีที (Original Content)
กำไร 5 ไตรมาสติดกัน ปี 64 พ้นขาดทุน
ในด้านตัวเลขรายได้ บีอีซี หลังเจอกับภาวะขาดทุนมาตั้งแต่ปี 2561 ที่ 330 ล้านบาท ปี 2562 ขาดทุน 397 ล้านบาท และ ปี 2563 ขาดทุน 214 ล้านบาท
หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ในปี 2563 หารายได้จากหลายช่องทาง และมาตรการลดต้นทุน ทำให้ บีอีซี กลับมาทำกำไรตั้งแต่ ไตรมาส 3 ปี 2563 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน รวม 5 ไตรมาสติดกัน
– ไตรมาส 3 ปี 2563 กำไร 60.1 ล้านบาท
– ไตรมาส 4 ปี 2563 กำไร 267.5 ล้านบาท
– ไตรมาส 1 ปี 2564 กำไร 138.8 ล้านบาท
– ไตรมาส 2 ปี 2564 กำไร 184.7 ล้านบาท
– ไตรมาส 3 ปี 2564 กำไร 142.9 ล้านบาท
โดยไตรมาส 3 ปีนี้ บีอีซี มีรายได้รวม 1,272 ล้านบาท ลดลง 3.8% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
– รายได้ขายโฆษณาช่อง 3 อยู่ที่ 1,062 ล้านบาท ลดลง 7.1% (จากการถอดงบ บีอีซี-เทโรฯ ออกจากงบรวม ทำให้รายได้และค่าใช้จ่ายลดลง) รายได้ของ บีอีซี มาจากการขายโฆษณา 83.5%
– รายได้จากการขายลิขสิทธิ์และอื่นๆ อยู่ที่ 209 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.8%
ขณะที่ไตรมาส 3 ปีนี้ บีอีซี มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 142.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 137.6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการพลิกกลับมากำไร 5 ไตรมาสติดต่อกัน
โดย 9 เดือนแรกปี 2564 มีรายได้ 4,118 ล้านบาท กำไรสุทธิ 466 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 196% เป็นการพลิกจากขาดทุน 481 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อนมาทำกำไร
หากดูบทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ต่างๆ มองว่าหุ้นบีอีซี Turnaround กลับมาฟื้นตัวแล้ว สรุปทั้งปี 2564 บีอีซี จะกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง!
https://www.brandbuffet.in.th/2021/12/bec-has-turned-around-to-profit-for-five-consecutive-quarters/