เบาใจได้หน่อย! ข้อมูล รพ.แอฟริกาใต้ศูนย์กลาง 'โอมิครอน' พบคนไข้อาการเบา ส่วนใหญ่แทบไม่ต้องรักษา
ข้อมูลเบื้องต้นจากสถานพยาบาลหลักแห่งหนึ่งของแอฟริกาใต้ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวกลายพันธุ์โอมิครอน พบแม้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น แต่บรรดาคนไข้จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์น้อยลง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังคงจับตาพัฒนาการของสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้
โรงพยาบาลสตีฟ บีโก และชวาเน ในกรุงพริทอเรีย มีคนไข้รายใหม่เข้ารักษาตัวระหว่างวันที่ 14 ถึง 29 พฤศจิกายน จำนวน 166 คน ในนั้นมีอยู่แค่ 42 คนที่ปัจจุบันยังคงรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยโควิด จากรายงานฉบับหนึ่งที่เปิดเผยถึงข้อมูลอาการเบื้องต้นของคนไข้
ฟารีด อับดุลเลาะห์ ผู้อำนวยการสภาวิจัยการแพทย์แอฟริกาใต้และแพทย์ด้านโรคติดเชื้อแห่งโรงพาบาลสตีฟ บีโก ผู้เขียนรายงานดังกล่าว ระบุว่า ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการแพร่ระบาดของตัวกลายพันธุ์โอมิครอนในชวาเน และรายละเอียดทางคลินิกของคนไข้ที่เข้ารักษาตัวอาจเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า
รายงานฉบับนี้ยังไม่ผ่านการตรวจสอบทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewed)
แม้สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติยืนยันว่าเคสผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งหมดในศูนย์กลางการแพร่ระบาดเป็นตัวกลายพันธุ์ แต่ อับดุลเลาะห์ และคณะทำงานของเขายังไม่สรุปว่าทุกตัวอย่างของตัวกลายพันธุ์นั้นเป็นสายพันธุ์โอมิครอน "ถึงอย่างนั้นมีข้อสันนิษฐานอย่างสมเหตุสมผลว่าเคสต่างๆ ในข้อมูลนี้เป็นตัวแทนของผู้ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์ใหม่" เขากล่าว
ข้อมูลในรายงานพบว่า....👩💻
: คนไข้เกือบทั้งหมดในหอผู้ป่วยโควิดไม่ต้องพึ่งพิงเครื่องช่วยหายใจ ต่างจากการแพร่ระบาดหลายระลอกก่อนหน้านี้
: ในคนไข้วัยผู้ใหญ่ 38 คนในหอผู้ป่วยโควิดในวันที่ 2 ธันวาคม มีอยู่ 6 รายที่ฉีดวัคซีนแล้ว 24 รายยังไม่ฉีดวัคซีน และ 8 คนไม่ทราบเกี่ยวกับสถานะวัคซีน
: มีคนไข้ที่ต้องพึ่งพิงเครื่องช่วยหายใจเพียงรายเดียวที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว และการแทรกแซงทางการแพทย์เป็นเรื่องจำเป็น ก็เพื่อรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทั้งนี้มี 2 คนที่ถูกส่งตัวเข้าห้องไอซียูในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ผลการวินิจฉัยในเบื้องต้นไม่มีใครที่มีมีอาการปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิด
: 80% ของคนไข้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล อายุ 59 ปีขึ้นไป ราว 19% เป็นเด็กอายุสูงสุด 9 ขวบ และ 28% เป็นคนไข้อายุ 30 ถึง 39 ปี
: หอผู้ป่วยโควิดเด็ก ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตในช่วง 2 สัปดาห์หลังสุด ในขณะที่เด็กคิดเป็นสัดส่วน 17% ของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในช่วง 18 เดือนก่อนหน้านี้
: มีคนไข้เสียชีวิต 10 ราย หรือ 6.6% แต่สรุปแล้วว่าตัวกลายพันธุ์โอมิครอนไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิต
: จำนวนผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้น แนวโน้มจะชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า ช่วงเวลาที่จะเห็นว่าสถานการณ์เคสผู้ติดเชื้อจะเลวร้ายลงหรือไม่
: ระยะเวลาเฉลี่ยของการรักษาตัวในหอผู้ป่วยโควิดอยู่ที่ 2.8 วัน น้อยกว่ามากหากเทียบกับช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 8.5 วัน
(ที่มา : บลูมเบิร์ก)
https://mgronline.com/around/detail/9640000120626
ไทยเจ๋งตรวจพบโอไมครอนรายแรกเร็ว หมอเฉลิมชัยชี้มาตรฐานคัดกรองระดับโลก
ไทยเจ๋งตรวจพบโอไมครอนรายแรกเร็ว หมอเฉลิมชัยชี้มาตรฐานคัดกรองระดับโลก ระบุใช้องค์ความรู้ในการตรวจ PCR ที่เป็นบวก รายใดถ้ามีตำแหน่งที่หายไปจะตรวจจีโนมทันที
รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ด่วน !! พบผู้สงสัยติดโอไมครอนรายแรกของไทยแล้ว ทำไมระบบของเราจึงตรวจพบได้รวดเร็ว
วันนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แถลงข่าวด่วนว่า จากระบบการเฝ้าระวังไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โดยเฉพาะโอไมครอน (Omicron)
ได้พบผู้ต้องสงสัย ซึ่งเกือบจะแน่นอนแล้วว่าติดเชื้อโอไมครอนจริง โดยผู้ติดเชื้อรายนี้เป็นคนไทยสัญชาติอเมริกันอายุ 35 ปี อาชีพนักธุรกิจ ไปอยู่ที่สเปนมาเป็นเวลาหนึ่งปี
โดยเป็นผู้ที่แข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เคยติดโควิดมาก่อน และได้รับวัคซีน Johnson & Johnson มาแล้วหนึ่งเข็ม
28 พฤศจิกายน 2564 ออกเดินทางจากสเปน ผลตรวจต้นทาง(PCR)เป็นลบ ไม่มีการติดเชื้อ
29 พฤศจิกายน 2564 พักเปลี่ยนเครื่องที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 9 ชั่วโมง โดยที่สวมหน้ากาก และไม่ได้พูดคุยกับใคร
30 พฤศจิกายน 2564 มาถึงประเทศไทยที่สนามบินสุวรรณภูมิ แล้วเข้าสู่ระบบ Test&Go โดยการตรวจหาด้วยวิธี PCR ที่โรงพยาบาลคู่สัญญา
1 ธันวาคม 2564 ทางโรงพยาบาลแจ้งผลว่า ติดโควิด แต่ยังไม่ทราบชนิดของสายพันธุ์ โดยพบปริมาณไวรัสค่อนข้างน้อย (Ct = 33.10)
3 ธันวาคม 2564 ได้ตรวจหารหัสสารพันธุกรรมหรือจีโนม(Genome) โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และค่อนข้างแน่นอนว่า เป็นไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน
โดยที่ผู้ติดเชื้อรายดังกล่าว ไม่มีอาการแต่อย่างใด เอกซเรย์ปอดปกติ
ทำให้พอจะสบายใจได้ในระดับหนึ่งว่า ระบบการตรวจคัดกรองไวรัสสายพันธุ์ใหม่ของผู้ที่จะผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าประเทศไทยนั้น
เรามีมาตรฐานสากล และตรวจพบได้รวดเร็ว เพราะการตรวจหาสารพันธุกรรมหรือจีโนม ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะทำในผู้ติดเชื้อได้ทุกราย
เพราะขั้นตอนการตรวจซับซ้อน ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก
การตรวจพีซีอาร์ ทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายถูกกว่า จึงสามารถทำได้กับผู้เดินทางเข้ามาทุกคน แต่จะไม่ทราบชนิดของสายพันธุ์ไวรัส
ทั่วโลกจึงไม่สามารถตรวจจีโนมของตัวอย่างในผู้มีผล PCR เป็นบวกทุกรายได้
แต่ในกรณีของประเทศไทย เราใช้องค์ความรู้ว่า ในการตรวจ PCR ที่เป็นบวก รายใดถ้ามีตำแหน่งที่หายไป ก่อให้เกิดความสงสัยว่าเป็นโอมมิครอนเราจะตรวจจีโนมทันที
และในผู้ติดเชื้อรายนี้ เราพบการหายไปในตำแหน่ง K417N และ L452R ทำให้สงสัยว่าจะเป็นโอมมิครอน จึงส่งตรวจหาสายพันธุ์ และยืนยันในเบื้องต้น ว่าค่อนข้างแน่นอนเป็นโอไมครอนจริง
นับเป็นข่าวดี ที่ระบบการคัดกรองของไทยมีมาตรฐานสูง ตรวจจับได้เร็ว
ส่วนสิ่งที่จะต้องพึงระมัดระวังคือ จะต้องช่วยกันคัดกรองและตรวจจับ ไม่ให้มีโอไมครอนหลุดเข้ามาแบบเราไม่ทราบ จะทำให้เกิดการระบาดภายในประเทศกันเอง
อย่างไรก็ตาม ด้วยความสามารถของไวรัสที่มีการแพร่รวดเร็วกว้างขวางกว่าเดลต้าหลายเท่า
ในท้ายที่สุด ก็คงจะพบในทุกประเทศเช่นเดียวกับไวรัสเดลตา ซึ่งในปัจจุบันมีเดลต้าครองโลกอยู่
เราจึงควรร่วมมือกันฉีดวัคซีนให้มากที่สุด และระวังตนเอง ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม ล้างมือบ่อยบ่อยต่อไป ก็จะทำให้ประเทศไทยเราสามารถรับมือกับไวรัสโอไมครอนได้
https://www.thansettakij.com/general-news/505808
โควิดจะจบที่โคมิครอนหรือไม่นะ....?
ขอให้เป็นไปตามข้อมูลของ รพ.แอฟริกาใต้ คือเหมือนเป็นไข้หวัดนิดๆหน่อยๆไม่ต้องรักษาในโรงพยาบาล อาการไม่หนัก
ประเทศไทยมีระบบคัดกรองที่รวดเร็ว ตรวจพบเร็วสะกัดการแพร่เชื้อแบบไม่รู้ตัวเป็นที่น่ายินดีค่ะ
ทุกอย่างยังไม่น่ากังวลนะคะ
💛มาลาริน/เบาใจได้หน่อย! รพ.แอฟริกาใต้ ศูนย์กลาง'โอมิครอน' พบคนไข้อาการเบาแทบไม่ต้องรักษา/ไทยมีมาตรฐานสากลตรวจพบรวดเร็ว
ข้อมูลเบื้องต้นจากสถานพยาบาลหลักแห่งหนึ่งของแอฟริกาใต้ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวกลายพันธุ์โอมิครอน พบแม้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น แต่บรรดาคนไข้จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์น้อยลง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังคงจับตาพัฒนาการของสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้
โรงพยาบาลสตีฟ บีโก และชวาเน ในกรุงพริทอเรีย มีคนไข้รายใหม่เข้ารักษาตัวระหว่างวันที่ 14 ถึง 29 พฤศจิกายน จำนวน 166 คน ในนั้นมีอยู่แค่ 42 คนที่ปัจจุบันยังคงรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยโควิด จากรายงานฉบับหนึ่งที่เปิดเผยถึงข้อมูลอาการเบื้องต้นของคนไข้
ฟารีด อับดุลเลาะห์ ผู้อำนวยการสภาวิจัยการแพทย์แอฟริกาใต้และแพทย์ด้านโรคติดเชื้อแห่งโรงพาบาลสตีฟ บีโก ผู้เขียนรายงานดังกล่าว ระบุว่า ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการแพร่ระบาดของตัวกลายพันธุ์โอมิครอนในชวาเน และรายละเอียดทางคลินิกของคนไข้ที่เข้ารักษาตัวอาจเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า
รายงานฉบับนี้ยังไม่ผ่านการตรวจสอบทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewed)
แม้สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติยืนยันว่าเคสผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งหมดในศูนย์กลางการแพร่ระบาดเป็นตัวกลายพันธุ์ แต่ อับดุลเลาะห์ และคณะทำงานของเขายังไม่สรุปว่าทุกตัวอย่างของตัวกลายพันธุ์นั้นเป็นสายพันธุ์โอมิครอน "ถึงอย่างนั้นมีข้อสันนิษฐานอย่างสมเหตุสมผลว่าเคสต่างๆ ในข้อมูลนี้เป็นตัวแทนของผู้ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์ใหม่" เขากล่าว
ข้อมูลในรายงานพบว่า....👩💻
: คนไข้เกือบทั้งหมดในหอผู้ป่วยโควิดไม่ต้องพึ่งพิงเครื่องช่วยหายใจ ต่างจากการแพร่ระบาดหลายระลอกก่อนหน้านี้
: ในคนไข้วัยผู้ใหญ่ 38 คนในหอผู้ป่วยโควิดในวันที่ 2 ธันวาคม มีอยู่ 6 รายที่ฉีดวัคซีนแล้ว 24 รายยังไม่ฉีดวัคซีน และ 8 คนไม่ทราบเกี่ยวกับสถานะวัคซีน
: มีคนไข้ที่ต้องพึ่งพิงเครื่องช่วยหายใจเพียงรายเดียวที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว และการแทรกแซงทางการแพทย์เป็นเรื่องจำเป็น ก็เพื่อรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทั้งนี้มี 2 คนที่ถูกส่งตัวเข้าห้องไอซียูในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ผลการวินิจฉัยในเบื้องต้นไม่มีใครที่มีมีอาการปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิด
: 80% ของคนไข้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล อายุ 59 ปีขึ้นไป ราว 19% เป็นเด็กอายุสูงสุด 9 ขวบ และ 28% เป็นคนไข้อายุ 30 ถึง 39 ปี
: หอผู้ป่วยโควิดเด็ก ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตในช่วง 2 สัปดาห์หลังสุด ในขณะที่เด็กคิดเป็นสัดส่วน 17% ของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในช่วง 18 เดือนก่อนหน้านี้
: มีคนไข้เสียชีวิต 10 ราย หรือ 6.6% แต่สรุปแล้วว่าตัวกลายพันธุ์โอมิครอนไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิต
: จำนวนผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้น แนวโน้มจะชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า ช่วงเวลาที่จะเห็นว่าสถานการณ์เคสผู้ติดเชื้อจะเลวร้ายลงหรือไม่
: ระยะเวลาเฉลี่ยของการรักษาตัวในหอผู้ป่วยโควิดอยู่ที่ 2.8 วัน น้อยกว่ามากหากเทียบกับช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 8.5 วัน
(ที่มา : บลูมเบิร์ก)
https://mgronline.com/around/detail/9640000120626
ไทยเจ๋งตรวจพบโอไมครอนรายแรกเร็ว หมอเฉลิมชัยชี้มาตรฐานคัดกรองระดับโลก
ไทยเจ๋งตรวจพบโอไมครอนรายแรกเร็ว หมอเฉลิมชัยชี้มาตรฐานคัดกรองระดับโลก ระบุใช้องค์ความรู้ในการตรวจ PCR ที่เป็นบวก รายใดถ้ามีตำแหน่งที่หายไปจะตรวจจีโนมทันที
รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ด่วน !! พบผู้สงสัยติดโอไมครอนรายแรกของไทยแล้ว ทำไมระบบของเราจึงตรวจพบได้รวดเร็ว
วันนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แถลงข่าวด่วนว่า จากระบบการเฝ้าระวังไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โดยเฉพาะโอไมครอน (Omicron)
ได้พบผู้ต้องสงสัย ซึ่งเกือบจะแน่นอนแล้วว่าติดเชื้อโอไมครอนจริง โดยผู้ติดเชื้อรายนี้เป็นคนไทยสัญชาติอเมริกันอายุ 35 ปี อาชีพนักธุรกิจ ไปอยู่ที่สเปนมาเป็นเวลาหนึ่งปี
โดยเป็นผู้ที่แข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เคยติดโควิดมาก่อน และได้รับวัคซีน Johnson & Johnson มาแล้วหนึ่งเข็ม
28 พฤศจิกายน 2564 ออกเดินทางจากสเปน ผลตรวจต้นทาง(PCR)เป็นลบ ไม่มีการติดเชื้อ
29 พฤศจิกายน 2564 พักเปลี่ยนเครื่องที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 9 ชั่วโมง โดยที่สวมหน้ากาก และไม่ได้พูดคุยกับใคร
30 พฤศจิกายน 2564 มาถึงประเทศไทยที่สนามบินสุวรรณภูมิ แล้วเข้าสู่ระบบ Test&Go โดยการตรวจหาด้วยวิธี PCR ที่โรงพยาบาลคู่สัญญา
1 ธันวาคม 2564 ทางโรงพยาบาลแจ้งผลว่า ติดโควิด แต่ยังไม่ทราบชนิดของสายพันธุ์ โดยพบปริมาณไวรัสค่อนข้างน้อย (Ct = 33.10)
3 ธันวาคม 2564 ได้ตรวจหารหัสสารพันธุกรรมหรือจีโนม(Genome) โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และค่อนข้างแน่นอนว่า เป็นไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน
โดยที่ผู้ติดเชื้อรายดังกล่าว ไม่มีอาการแต่อย่างใด เอกซเรย์ปอดปกติ
ทำให้พอจะสบายใจได้ในระดับหนึ่งว่า ระบบการตรวจคัดกรองไวรัสสายพันธุ์ใหม่ของผู้ที่จะผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าประเทศไทยนั้น
เรามีมาตรฐานสากล และตรวจพบได้รวดเร็ว เพราะการตรวจหาสารพันธุกรรมหรือจีโนม ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะทำในผู้ติดเชื้อได้ทุกราย
เพราะขั้นตอนการตรวจซับซ้อน ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก
การตรวจพีซีอาร์ ทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายถูกกว่า จึงสามารถทำได้กับผู้เดินทางเข้ามาทุกคน แต่จะไม่ทราบชนิดของสายพันธุ์ไวรัส
ทั่วโลกจึงไม่สามารถตรวจจีโนมของตัวอย่างในผู้มีผล PCR เป็นบวกทุกรายได้
แต่ในกรณีของประเทศไทย เราใช้องค์ความรู้ว่า ในการตรวจ PCR ที่เป็นบวก รายใดถ้ามีตำแหน่งที่หายไป ก่อให้เกิดความสงสัยว่าเป็นโอมมิครอนเราจะตรวจจีโนมทันที
และในผู้ติดเชื้อรายนี้ เราพบการหายไปในตำแหน่ง K417N และ L452R ทำให้สงสัยว่าจะเป็นโอมมิครอน จึงส่งตรวจหาสายพันธุ์ และยืนยันในเบื้องต้น ว่าค่อนข้างแน่นอนเป็นโอไมครอนจริง
นับเป็นข่าวดี ที่ระบบการคัดกรองของไทยมีมาตรฐานสูง ตรวจจับได้เร็ว
ส่วนสิ่งที่จะต้องพึงระมัดระวังคือ จะต้องช่วยกันคัดกรองและตรวจจับ ไม่ให้มีโอไมครอนหลุดเข้ามาแบบเราไม่ทราบ จะทำให้เกิดการระบาดภายในประเทศกันเอง
อย่างไรก็ตาม ด้วยความสามารถของไวรัสที่มีการแพร่รวดเร็วกว้างขวางกว่าเดลต้าหลายเท่า
ในท้ายที่สุด ก็คงจะพบในทุกประเทศเช่นเดียวกับไวรัสเดลตา ซึ่งในปัจจุบันมีเดลต้าครองโลกอยู่
เราจึงควรร่วมมือกันฉีดวัคซีนให้มากที่สุด และระวังตนเอง ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม ล้างมือบ่อยบ่อยต่อไป ก็จะทำให้ประเทศไทยเราสามารถรับมือกับไวรัสโอไมครอนได้
https://www.thansettakij.com/general-news/505808
โควิดจะจบที่โคมิครอนหรือไม่นะ....?
ขอให้เป็นไปตามข้อมูลของ รพ.แอฟริกาใต้ คือเหมือนเป็นไข้หวัดนิดๆหน่อยๆไม่ต้องรักษาในโรงพยาบาล อาการไม่หนัก
ประเทศไทยมีระบบคัดกรองที่รวดเร็ว ตรวจพบเร็วสะกัดการแพร่เชื้อแบบไม่รู้ตัวเป็นที่น่ายินดีค่ะ
ทุกอย่างยังไม่น่ากังวลนะคะ